DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
1 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
Digital Autopsy นวัตกรรมใหม่ในการชันสูตรศพ



                เผยเทคโนโลยี Digital Autopsy สร้างนวัตกรรมภาพ 3 มิติ ช่วยให้การชันสูตรพลิกศพรวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาการผ่าพิสูจน์ ช่วยบอกตำแหน่งต้องสงสัยของการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติ พร้อมบอกข้อมูลของผู้ตายได้อย่างแม่นยำ อาทิระบุตัวบุคคล วันที่ สถานที่เกิดเหตุ สาเหตุการตาย ชี้เทคโนโลยีนี้เหมาะกับการชันสูตรศพที่ต้องใช้ระยะเวลาเร่งด่วน เช่น การเกิดภัยธรรมชาติ สึนามิ หรือเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ รวมถึงศพที่ไม่สามารถผ่าได้ เช่น ศพติดเชื้อที่อาจเป็นโรคระบาดรุนแรง และศพชาวมุสลิม


                ขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้กระบวนการยุติธรรมสามารถคลี่คลายคดีได้ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิต คือ การชันสูตรพลิกศพ ซึ่งจะช่วยให้พิสูจน์สาเหตุของการเสียชีวิตได้อย่างถูกต้อง และจะถูกนำไปเป็นข้อมูลในชั้นศาลเพื่อให้ในการพิจารณาคดีต่อไป นอกจากนี้การชันสูตรพลิกศพยังใช้เพื่อพิสูจน์หาตัวบุคคล ในกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ตายเป็นใคร ทว่าการชันสูตรพลิกศพด้วยรูปแบบปกติอาจไม่สามารถทำได้ในบางกรณี เช่น ศพเน่าเปื่อย ศพติดเชื้อ ศพที่เกิดจากการก่อการร้าย ซึ่งการผ่าชันสูตรพลิกศพอาจทำให้ระเบิดที่ฝังอยู่ในศพเกิดระเบิดขึ้นมาได้ หรือศพของชาวมุสลิมที่ไม่สามารถผ่าศพได้ เนื่องจากขัดต่อหลักความเชื่อทางศาสนา ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีการชันสูตรพลิกศพด้วยระบบดิจิตอล หรือ Digital Autopsy ขึ้นมาใช้แทนการชันสูตรพลิกศพแบบดั้งเดิม เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว และลดภาระงานของบุคลากรนิติเวช


                ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการชันสูตรพลิกศพด้วยระบบดิจิตอล สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม จึงได้จัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง Digital Autopsy นวัตกรรมใหม่ในการชันสูตรพลิกศพ โดย ดร.ปราโมท จี บากาลี พยาธิแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช จากประเทศมาเลเซีย และมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการชันสูตรพลิกศพเข้าร่วม อาทิ ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ทนายความ พยาธิแพทย์ นักนิติวิทยาศาสตร์และนักวิชาการ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550


                ดร.ปราโมท จี บากาลี พยาธิแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช กลุ่มบริษัทอินโฟวาลเล่ย์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีการชันสูตรพลิกศพด้วยระบบดิจิตอล หรือ Digital Autopsy เป็นการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสแกนร่างกายของผู้เสียชีวิต และประมวลผลออกมาเป็นร่างกายแบบ 3 มิติ ซึ่งจะช่วยให้เห็นรายละเอียดของศพได้ครบถ้วน จึงใช้ในการระบุตัวผู้เสียชีวิต วันที่และสถานที่เกิดเหตุ รวมถึงลักษณะหรือสาเหตุของการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งผลการชันสูตรด้วยระบบดิจิตอลยังสามารถนำมาใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานต่อศาลได้ และข้อมูลในส่วนนี้ยังเป็นสิ่งที่ฝ่ายคู่ความสามารถนำมาเรียกดูได้


                     “ภาพร่างกายจำลองแบบ 3 มิติ (3D Virtual Body) ซึ่งได้จากการถ่ายโดย 16-slices CT scanner จะช่วยให้บุคลากรด้านนิติเวชมองเห็นร่างกายของผู้เสียชีวิตได้ทุกด้าน ตั้งแต่ภาพร่างกายภายนอก กล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน และโครงกระดูกโดยที่ไม่ต้องผ่าพิสูจน์จริง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้สามารถทำการวิเคราะห์ร่องรอยและสาเหตุการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติได้ ทั้งนี้ จากสถิติที่ผ่านมาพบว่ากว่า 85% ของศพที่ถูกส่งเข้ามาชันสูตร สามารถวิเคราะห์ร่องรอยของสาเหตุการเสียชีวิตได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าศพชันสูตรเลย นอกจากนี้ยังช่วยระบุตำแหน่งในร่างกายในรายที่จำเป็นต้องผ่าพิสูจน์ ซึ่งจะช่วยลดงานของแพทย์ และลดการรบกวนร่างผู้เสียชีวิต ในกรณีที่เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อญาติอันเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนา


                การนำเทคโนโลยี Digital Autopsy เข้ามาใช้ มิได้เป็นการนำมาแทนที่การชันสูตรแบบดั้งเดิมทั้งหมด แต่เป็นการนำมาใช้เพื่อช่วยให้การชันสูตรพลิกศพในบางกรณีเท่านั้น อาทิ ชันสูตรศพที่เน่าเปื่อย ซึ่งการชันสูตรพลิกศพด้วยวิธีดั้งเดิมไม่สามารถทำได้ ชันสูตรศพเพื่อระบุตัวบุคคลในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เช่น การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว การเกิดอุบัติเหตุ เช่น เครื่องบินตก และการเกิดเหตุก่อการร้าย เช่น การวางระเบิด เป็นต้น Digital Autopsy จะใช้เวลาการวิเคราะห์เพียงไม่กี่นาที โดยไม่ต้องอาศัยการชันสูตรพลิกศพ ศพจึงไม่เน่าเปื่อยจนไม่สามารถผ่าชันสูตรได้ ชันสูตรศพที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรคระบาดร้ายแรงบุคลากรนิติเวชไม่สามารถสัมผัสศพได้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น โรคซาร์ส โรคอีโบล่า และไข้หวัดนก เป็นต้น” ดร.ปราโมท กล่าว


                การใช้ Digital Autopsy ไม่เพียงมีประโยชน์ในแง่การชันสูตรและเป็นข้อมูลในกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น หากแต่ยังมีประโยชน์ในแง่การศึกษาของนักศึกษาแพทย์ที่อาจไม่มีโอกาสได้ศึกษาจากศพจริงมากนัก ซึ่ง Digital Autopsy จะช่วยเปิดโอกาสให้นักศึกษาแพทย์ได้เห็นการเสียชีวิตในหลายกรณี ถือเป็นการช่วยเพิ่มความชำนาญให้กับแพทย์ได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี การนำ Digital Autopsy มาใช้ในประเทศไทยยังต้องมีการศึกษาด้านเทคนิคต่อไป โดยเฉพาะการนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม ต้องมีการให้ข้อมูลที่มาที่ไปของข้อมูลจากการวิเคราะห์ด้วยระบบดิจิตอลกับทนายและอัยการเพื่อใช้ในการพิจารณาคดีต่อไป




Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2553 23:58:27 น. 0 comments
Counter : 1318 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.