สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

พิษภัยในบ้าน

ในช่วงหน้าฝนนี้ สัตว์ที่น่ากลัวคงหนีไม่พ้นแมงป่องและตะขาบที่มักคลานยั้วเยี้ยเข้ามาในบ้าน ไม่แต่สร้างความตกใจ ยังสร้างความหวาดกลัว เนื่องจากพิษของมัน ถ้าใครแพ้อาจตายได้





แมงป่อง (Scorpions)

แมงป่องจัดอยู่ใน Class Arachnida, Order Scorpiones พบกระจายอยู่ทั่วโลก ในประเทศไทยมีหลายชนิดเช่น แมงป่องชนิด Keterometrus longimanus มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดพบทางภาคเหนือ แมงป่องบางชนิดมีพิษไม่รุนแรง บางชนิดพิษรุนแรงมาก อาจทำให้ตายได้


แมงป่องมีรูปร่างคล้ายปู มีขนาดยาว 2-10 เซนติเมตร ลำตัวประกอบด้วยส่วนหัวและอกรวมกัน ส่วนท้องลักษณะยาวและแบ่งเป็นปล้องๆ ส่วนปากมีลักษณะเป็นก้ามขนาดใหญ่คล้ายก้ามปูไว้สำหรับจับเหยื่อ ส่วนหางมี 5 ปล้อง ปลายหางยกขึ้น ปล้องสุดท้ายมีอวัยวะสำหรับใช้ต่อยและมีต่อมพิษอยู่ที่ส่วนปลาย


แมงป่องออกลูกเป็นตัว (larviparous) ลูกแมงป่องจะอาศัยอยู่บนหลังของตัวแม่ ภายใน 2 สัปดาห์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแยกจากตัวแม่ไปหากินอิสระ จากนั้นลอกคราบอีก 6-7 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลานาน 1 ปี แมงป่องออกหากินในเวลากลางคืน มักพบในห้องน้ำ ครัว ผนังห้อง ท่อแอร์ ชอบที่เย็น กลางวันซุกอยู่ตามกองไม้ กองหิน และในดิน อยู่ได้ทั้งในทะเลทรายและป่าแถบร้อนชื้น


พิษของแมงป่องประกอบด้วยสาร neurotoxin เป็นส่วนใหญ่ มีคุณสมบัติทนต่อความร้อน ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์ประสาท กล้ามเนื้อหัวใจ หลังถูกต่อย ผู้ป่วยเริ่มมีอาการภายใน 4-7 นาที และมีอาการปวดมากในเวลา 30 นาที พิษจะถูกกำจัดทางปัสสาวะภายในเวลา 4.2 – 13.4 ชั่วโมง ปริมาณพิษที่ได้รับมากจะเกิดอาการมาก เช่น มีอาการปวดบวมแดง ปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณที่ถูกต่อย บางครั้งจะเป็นรอยไหม้ คัน ชา มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเข้าสู่กระแสโลหิตจะไปมีผลต่างๆ เช่น ง่วงซึม อัมพาตบางส่วน กล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายไหล ชัก ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะน้อย หัวใจเต้นเร็ว น้ำคั่งในปอด และอาจเสียชีวิตจากภาวะการหายใจล้มเหลว ระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการพิษจะเริ่มในเวลา 1.5 – 42 ชั่วโมงหลังถูกแมงป่องต่อย





ตะขาบ (Centipedes)

ตะขาบจัดอยู่ใน Class Chilopoda เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ทั่วไปในแถบร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก ตะขาบมีขนาดความยาวลำตัวตั้งแต่ 3 – 8 เซนติเมตร ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15 – 100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ โดยมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ


ตะขาบวางไข่ในที่ชื้น หรือต้นพืช หญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนาน ลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 3 – 5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ในที่เย็นๆ ใต้ก้อนหิน ออกล่าเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงและสัตว์ขาข้อตัวเล็กๆ เป็นอาหาร


เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยว 2 รอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ถูกกัด พิษของตะขาบประกอบด้วยสารก่อปฏิกิริยาอักเสบต่อร่างกาย ได้แก่ hydroxytryptamine หรือ cytolysin ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวมแดง ร้อน ชา เกิดอัมพาตตรงบริเวณที่ถูกกัด ในบางรายอาจมีอาการแพ้หรือกระวนกระวาย อาเจียน หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มึนงง ปวดศีรษะ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตรงบริเวณที่ถูกกัด อาจเป็นแผลไหม้อยู่ 2 – 3 วัน


การรักษาพิษของตะขาบและแมงป่อง โดยทำความสะอาดแผล ห้ามขยับบริเวณที่ถูกต่อย ใช้ผ้าพันแผลพันไว้และประคบด้วยน้ำแข็ง ให้ยาแก้ปวด อาจใช้ยาชา Xylocane ฉีดเข้าตรงบริเวณที่ถูกกัด ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น บวมมาก ปวดมาก หรือมีประวัติของการแพ้มากให้รับไว้รักษาในโรงพยาบาลทันที





ขอบคุณข้อมูลจาก//www.si.mahidol.ac.th




 

Create Date : 13 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 13 ตุลาคม 2552 8:28:50 น.
Counter : 1958 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.