สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคติดเชื้อรา มัจจุราชเงียบ อย่าชะล่าใจ !

ระวัง มันอยู่กับตัวคุณตลอดเวลา เพียงแค่รอโอกาสดีเท่านั้น !

ลักษณะของโรคติดเชื้อราชนิดต่าง ๆ

1. เชื้อราที่ศีรษะ (Tinea capitis)
ส่วนใหญ่เชื้อราที่หนังศีรษะนี้ มักจะพบในเด็กเท่านั้น เป็นเด็กวัยเรียนหนังสือชั้นประถม ในผู้ใหญ่จะพบน้อยมาก ลักษณะเชื้อรานี้คล้ายกับ ลักษณะของฝีชันนะตุ (Kerion)เป็นหนองแฉะ ๆ บางครั้งเป็นสะเก็ดแห้งกรัง มีขอบเขตเป็นวงค่อนข้างชัดเจน มีอาการคัน หรือเจ็บได้บ้างติดต่อลูกลามไปยังเด็กคนอื่นได้

2. เชื้อราที่ลำตัว แขน ขา (Tinea corporis)
ส่วนใหญ่คนไทยจะเรียกว่า โรคกลาก หรือ ขี้กลาก นั่นเอง ลักษณะผื่นเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน (ringworm) ผื่นวงแหวนสีแดง มีขอบเขตชัดเจนมาก อาจมีขุยสะเก็ดลอกที่ขอบ ๆ ของวงแหวน เมื่อทิ้งไว้ผื่นวงแหวนสีแดงนี้ จะลุกลามขยายวงออกกว้างขึ้นได้ มีอาการคัน ถ้าเหงื่อออกจะยิ่งคันมากขึ้น

3. เชื้อราที่ขาหนีบ (Tinea cruris)
เกิดขึ้นที่บริเวณขาหนีบโดยตรง จะมีผื่นสีแดงจัด ขอบเขตค่อนข้างชัดเจนมาก มีสะเก็ดหรือขุยลอกเล็ก มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองไทยมี 2 ฤดูคือ ร้อนมากกับร้อนน้อย และมีความชื้นสูง เพราะฉะนั้นเชื้อราที่ขาหนีบจึงผูกพันกับคนไทยเป็นพิเศษ

4. เชื้อราที่เล็บ (Tinea unguium)
ลักษณะของเล็บที่เป็นเชื้อราคือ เล็บเปลี่ยนสี เช่น มีสีคล้ำ ดำขึ้น น้ำตาล เขียวคล้ำ เป็นต้น เล็บหนาขึ้น ใต้ฐานเล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนรูปร่างไป เช่น บิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรงเดิม มีรอยหยักเป็นลูกคลื่น เล็บโค้งงอ เล็บกร่อน เล็บผุ พื้นผิวเล็บไม่เรียบ

5. เชื้อราที่ใบหน้า (Tinea faceii)
ลักษณะจะมีผื่นสีแดง รูปวงกลม วงแหวน (ringworm) มีขอบเขตชัดเจน มีขุยสะเก็ดลอก ที่บริเวณใบหน้า อาการคันจะไม่มากนัก

6. เชื้อราที่มือและเท้า (Tinea manum, Tinea pedis)
ส่วนใหญ่มักจะเป็นที่มือ หรื อเท้า ข้างใดข้างหนึ่ง มี 2 ลักษณะคือ

1. ลักษณะแบบแห้ง ๆ ผื่นแดงเป็นวง มีขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดแห้ง ขุยลอก
2. ลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสแตกออก เป็นแบบแฉะ ๆ
เชื้อรานี้มักจะเป็นตามซอกนิ้วมือ ซอกนิ้วเท้า ฝ่าเท้า ที่อับชื้น ทำให้เท้ามีกลิ่นเหม็นได้

โรคเชื้อราผิวหนัง

สาเหตุ / ลักษณะของโรค / และการรักษา

เชื้อราผิวหนัง เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคในคนที่พบมากที่สุดนั้นเป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ที่จากสถิติทางการแพทย์ได้ลดจำนวนลงมากแล้ว แต่มูลนิธิแสง-ไซกีไปออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่คราวนี้ที่หนองบัวลำพูและอุดรธานี มีนายแพทย์สุทัศน์ ดวงดีเด่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง และนายแพทย์ธนู ลอบันดิส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเด็กและโรคผิวหนังเด็ก จากรพ.เลิดสินทั้งสองท่าน ไปช่วยตรวจโรคผิวหนัง วันแรกตรวจเฉพาะโรคผิวหนังไป 70 รายเป็นการติดเชื้อราที่ผิวประเภทกลากและเกลื้อนรวมกัน กว่า 30 ราย เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยผิวหนังทั้งหมด วันที่สองคิดว่าน่าจะน้อยลงปรากฏว่าสูสีคือเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยผิวหนังทั้งหมด เช่นกัน ซึ่งนพ.สุทัศน์ กล่าวว่าเทียบกับผู้ป่วยเชื้อราที่ผิวหนังตามสถิติของรพ.เลิดสิน ตรวจทั้งปีในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยติดเชื้อราที่ผิวหนัง 481,441 และ 315 รายเทียบกับจำนวนผู้ป่วยนอกโรคผิวหนังของโรงพยาบาลเลิดสินในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา คือ 2996,3785 และ 4371 รายตามลำดับ จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคเชื้อราที่โรงพยาบาลมีแค่ประมาณ 1 ใน 10 แต่ชาวบ้านที่มาพบแพทย์ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่เป็นโรคเชื้อราที่ผิวหนังเกือบครึ่งห นึ่ง

โรคเชื้อราที่ผิวหนังอันดับหนึ่งในคราวนี้คือ โรคเกลื้อน เป็นโรคติดเชื้อราที่ชาวบ้านรู้จักกันดี วินิจฉัยได้เองไม่ต้องรอพบแพทย์ แต่คนไข้ที่พบในครั้งนี้หลายรายไม่รู้ว่าตัวเองหรือลูกหลานเป็นโรคอะไร เพราะโรคเกลื้อนบางครั้งก็มีลักษณะที่แสดงแตกต่างออกไปจากที่พบเห็นกันบ่อยๆ โรคเกลื้อนที่พบมากที่สุดคือเป็นวงขาวตามตัว และหลัง โรคนี้เกิดจากเชื้อยีสต์ที่ชอบกินไขมันที่อยู่ที่รูขุมขนเป็นอาหาร ชื่อว่าเชื้อ malassesia furfur ฝรั่งเขาตั้งชื่อว่า tinea versicolor แปลว่าเชื้อราที่มีหลายสี บางคนจึงเห็นเป็นสีแดงที่เขาเรียกกันว่าเกลื้อนดอกหมาก บางทีก็เห็นเป็นสีน้ำตาลบ้าง เห็นเป็นสีดำบ้าง ทำให้แม้แต่เจ้าหน้าที่อนามัยก็ไม่มั่นใจว่าเกลื้อนหรือไม่ สำหรับแพทย์ผิวหนังมีวิธีตรวจยืนยันอยู่ 2 วิธีที่ใช้กันบ่อยๆคือ การใช้แสงจากเครื่องมือที่เรียกว่า wood's lamp ซึ่งเป็นหลอดไฟที่มีความยาวคลื่นแสงเฉพาะ ซึ่งถ้าเป็นเชื้อราก็จะเห็นเป็นสีเหลืองทองหรือสีเขียวแล้วแต่ชนิดของเชื้อ อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กันมากที่สุดคือ ขูดเอาผิวหนัง ไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

แม้ว่าจะวินิจฉัยโรคได้ไม่ยากนัก แต่โรคเกลื้อนนั้นรักษาแล้วหลายคนถอดใจเพราะไม่เห็นว่ารอยขาวเป็นวงมันจะหายไปสักที เนื่องจากเชื้อราไปสร้างกรด azeleic ซึ่งจะไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง ทำให้เกิดวงขาวขึ้น การรักษาแบบพื้นบ้านดั้งเดิมไทยเราใช้ ทองพันชั่งบ้าง ชุมเห็ดเทศบ้าง หรือเทียนบ้านบ้าง โดยเอาใบมาตำ ทำเป็นยาทา ในการรักษาการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งก็ใช้ได้ผลดีพอสมควร การรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันนั้นมีทั้งการให้ยาทาถ้าเป็นไม่มาก ถ้าเป็นมากอาจจะต้องให้ยากิน ครูแพทย์ผิวหนังทางด้านเชื้อราที่มีชื่อเสียงมาก คือท่านอาจารย์แพทย์หญิงเรณู โคตรจรัส อดีตผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ท่านได้เคยสอนแพทย์ผิวหนังว่าเชื้อราเป็นโรคที่รักษาได้ด้วยยาทา ไม่จำเป็นจริงๆไม่ควรให้ยากินเลย เพราะเป็นเชื้อราชนิดตื้นแบบนี้ไม่ตาย แต่ถ้าให้ยากินอาจจะเป็นอันตรายกับคนไข้ได้ คุณหมอสุทัศน์กล่าวว่า สมัยนี้ใจร้อนกันทั้งหมอทั้งคนไข้ คนไข้ชอบมาถามหายาฉีดว่า มีไหมยาฉีดรักษาเชื้อราเอาแบบเข็มเดียวหายเลยนะหมอ ซึ่งก็คงไม่มีแพทย์ท่านใดบ้าจี้ตามคนไข้สั่งยาฉีดฆ่าเชื้อราซึ่งเป็นยาที่มีผลข้างเค ียงมาก ไม่คุ้มที่จะให้กับคนไข้ที่เพียงแค่ทายาส่วนมากก็หายแล้ว หมอผิวหนังส่วนมากอาจจะให้แชมพูสระผมที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราเช่น 0.2% ketoconazole shampoo, 1-2 % Zinc pyrithion shampoo, 2% selenium sulfide shampoo ฟอกทั่วบริเวณที่เป็น ทิ้งไว้ 15 นาทีค่อยล้างออก ทาวันละครั้งติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์ แต่ยายอดฮิตที่แพทย์ชอบสั่ง คือ 20% sodium thiosulfate ทาวันละ 2 ครั้งนาน 2-4 สัปดาห์เช่นเดียวกัน แต่คนไข้ไม่ค่อยชอบใช้ บอกว่าเหม็นมาก คนรอบข้างมักจะรับไม่ได้ สำหรับยาครีมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น clotrimazole cream, miconazole cream, ketoconazole cream ได้ผลใกล้เคียงกัน อาจจะมี sertaconazole ได้ผลดีขึ้นมาอีกหน่อย แต่ถ้าเป็นเยอะ เป็นบริเวณกว้าง พวกนี้แพทย์อาจจะตัดสินใจให้ยากิน คือ ketoconazole 200 mg กินวันละเม็ดพร้อมอาหาร ติดต่อกัน 14 วัน หลังจากนั้นอาจพิจารณาให้ยา 200 mg ติดต่อกัน 3-5 วัน เดือนละครั้ง ติดต่อกัน 4-6 เดือน เวลาใช้ก็ต้องระวังหน่อยเพราะยาตัวนี้อาจทำให้เกิดอาการตับอักเสบรุนแรงได้ เพราะฉะนั้นไม่แนะนำให้ไปซื้อหามากินเอง ยิ่งถ้าไปกินทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นเดือน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ยากินอื่นที่ใช้ได้ผลเช่นกัน ได้แก่ itraconazole แต่ว่ามีราคาแพงขึ้น สำหรับยากิน fluconazole นั้นคุณหมอสุทัศน์กล่าวว่า ไม่แนะนำให้ใช้ในการรักษาเชื้อราที่ผิวหนังในผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะเกิดการแพ้ยาได้บ่อยกว่าตัวอื่น เวลาแพ้เกิดอาการแพ้รุนแรงกว่า และแพทย์อยากที่จะสงวนเอาไว้ใช้กับการติดเชื้อราที่รุนแรงกว่า การติดเชื้อราที่ผิวหนัง

อีกโรคหนึ่งที่พบมากไม่เป็นรองกันสักเท่าไรคือโรคกลาก ซึ่งแม้ว่าจะดูน่าเกลียดกว่าเกลื้อนมาก แต่ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาที่ถูกต้องกลับหายเกลี้ยงอย่างรวดเร็ว ผิดกับเกลื้อนที่หลายคนเชื้อราหาย แต่ผิวหนังยังเป็นดวงขาวๆไปอีกเป็นเดือน จนหลายคนคิดว่ารักษาแล้วไม่ได้ผล เพียงแต่ว่าเชื้อกลากนั้นมีอยู่ทั้งในดิน น้ำ และสัตว์ ทำให้คนที่ทำงานเป็นเกษตรกร ผู้ที่ใช้น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเช่นน้ำคลอง หรือผู้ที่เล่นคลุกคลีใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงเช่นแมว หมา เป็นประจำ มีโอกาสเกิดโรคนี้ซ้ำใหม่ได้ง่าย โรคนี้เวลาเป็นแล้วจะคันกว่าเกลื้อนมาก นอกจากผิวหนังจะเป็นวงๆ ขึ้นมาดูไม่สวยแล้ว กิริยาอาการที่คนเป็นมีอาการคันเกาอยู่ตลอดเวลาทำให้เป็นที่น่ารังเกียจ ยิ่งถ้าเป็นที่ขาหนีบละก็ เขาตั้งชื่อให้ว่าเป็นโรคสังคัง เป็นที่อับอายแก่คนที่เป็น เพราะเชื่อกันว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบบหนึ่ง ประเภทไปเที่ยวผู้หญิงอะไรมา ปานนั้น จริงๆก็มีส่วน แต่คนที่เป็นสังคังส่วนมากนั้นเกิดจากการดูแลเรื่องความสะอาดบริเวณขาหนีบไม่ดี ปล่อยให้บริเวณขาหนีบอับชื้นอยู่เป็นเวลานาน

วิธีรักษามาตรฐานสำหรับโรคกลากผิวหนัง ยกเว้นที่เล็บ ศีรษะ และเส้นผม ใช้ยาทาอย่างเดียวก็ได้ผล ที่ใช้กันแพร่หลายได้แก่ขี้ผึ้ง whitfield หรือบางคนเรียกว่าขี้ผึ้งกลากเกลื้อนขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นส่วนผสมของ benzoic acid และ salicylic acid ออกฤทธิ์ทำให้หนังกำพร้าหลุดลอก พวกนี้มีจุดอ่อนคือ ถ้าไปทาบริเวณที่เป็นจุดอับเช่น รักแร้ ขาหนีบ ซอกนิ้ว อาจจะเกิดการระคายเคืองทำให้แสบผิว ผิวแดงได้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ต่อการแบ่งตัวของเชื้อราโดยตรง ได้แก่ครีมทาเชื้อราพวกclotrimazole,ketoconazole,miconazole โดยแนะนำผู้ป่วยให้ทาเลยขอบวงเชื้อราไปสัก 1-2 เซนติเมตร และให้ทานานอย่างน้อย 1 เดือน แพทย์แนะนำ ให้ดูว่าผื่นเชื้อราหายหมดเกลี้ยง แล้วทายาต่อไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำคือเอาแชมพูที่มีส่วนผสมของยาต้านเชื้อรา ได้แก่ ketoconazole ฟอกผิวบริเวณที่เป็นต่อไป

เชื้อราผิวหนังที่พบได้บ่อยอีกบริเวณหนึ่ง คือ ที่เท้า ซึ่งถ้าเป็นหน่วยแพทย์ที่ไปออกตรวจพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย จะพบเห็นกันได้บ่อยมาก ที่เราเรียกกันว่าโรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต ซึ่งมักจะมีอาการเท้าเปื่อย คัน โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ยิ่งถ้าไม่รู้จักดูแลปล่อยเด็กออกไปเล่นน้ำนานๆ จนเท้าเปื่อย ก็จะยิ่งทำให้เกิดการติดเชื้อราที่เท้าได้ง่าย การรักษาต้องดูแล เรื่องการติดเชื้อแบคทีเรียที่มักพบร่วมกันเสมอ การดูแลหลังจากทำความสะอาดแล้วต้องเช็ดเท้าให้แห้งสนิท ก่อนที่จะใส่ถุงเท้าหรือรองเท้า ถุงเท้าต้องเปลี่ยนทุกวันอย่าใส่ถุงเท้าเปียกเป็นเวลานาน รองเท้าควรจะมีมากกว่า 1 คู่เอาไว้ใช้สลับบ้าง โดยเฉพาะรองเท้าประเภทหุ้มปิดมิดชิดเป็นตัวการสำคัญ สมัยก่อนที่ยังไม่มีการใส่รองเท้าประเภทนี้ การติดเชื้อราที่เท้ามีน้อยกว่านี้มาก เพราะฉะนั้นกรณีที่มีการติดเชื้อราที่เท้าก็ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่ปิดมิดชิด ทำให้ซอกเท้าอับชื้น เกิดการติดเชื้อราที่เท้าได้ง่าย และที่เป็นอยู่ก็จะรักษายากตามไปด้วย เสื้อผ้า ถุงเท้าหลังซักทำความสะอาดแล้วต้องตากแดดให้แห้งสนิท ก่อนที่จะนำมาใช้ ยาทาที่แพทย์ชอบใช้เวลาไปตรวจพื้นที่น้ำท่วม ได้แก่ ยาทา castellani's paint ที่ออกฤทธิ์ฆ่าได้ทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย และยังทำให้ผิวที่เปื่อยดูดีขึ้นอีกด้วย แต่แพทย์หลายท่านไม่นิยมใช้บอกว่าเป็นยาที่ล้าสมัย เดี๋ยวนี้มีตัวอื่นดีกว่า และเพียงแค่ดูแลเรื่องความสะอาดให้ดี ให้ยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสมเดี๋ยวก็หาย

กลากที่ศีรษะ มักพบในเด็ก อาการที่พบได้แก่ ผมร่วงเป็นหย่อม เส้นผมหักเป็นจุดดำๆ หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงเป็นสะเก็ด ในรายเป็นรุนแรงจะมีตุ่มหนองรอบรูขุมขนและลุกลามกลายเป็นก้อนนูนมีน้ำเหลืองกรัง เรียกว่า "ชันนะตุ" พวกนี้รักษาด้วยยาทาไม่ได้ผล ต้องกินยานานอย่างน้อย 3 เดือน

สำหรับรายที่เป็นที่เล็บ เส้นผม และหนังศีรษะ ต้องกินยาถึงจะหาย แถมยังต้องกินให้นานพออีกด้วย ถ้าเป็นที่เล็บบางคนอาจต้องให้ยานานมากกว่า 3 เดือน ยาทาอย่างเดียวไม่ได้ผล ยากินที่ใช้ได้แก่ยา griseofulvin, ketoconazole, itraconazole, terbinafine และ fuconazole แต่ละตัวล้วนเป็นยาที่มีผลข้างเคียงพอสมควร แนะนำให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาให้ดีกว่า นพ.สุทัศน์ ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ติดเชื้อราที่ผิวหนังว่า ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น หวี เสื้อผ้า หมวก รองเท้า รักษาความสะอาดบริเวณที่อับชื้น เช่นซอกรักแร้ ซอกขาหนีบ ง่ามเท้า หลังอาบน้ำควรเช็ดให้แห้งสนิท อาจโรยแป้งฝุ่นช่วย ทำความสะอาดของที่ใช้ร่วมกันเช่น ห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้น หมั่นล้างมือให้สะอาดและอย่าเกาเพราะจะทำให้เชื้อลุกลามไปที่อื่นได้ ป้องกันการแพร่เชื้อ โดยแยกเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ปะปนกันและควรซักทำความสะอาดตากแดดให้แห้งทุกครั้ง

และพึงระลึกไว้เสมอว่า โรคติดเชื้อรารักษาด้วยสมุนไพร ไม่หายขาด อย่าอุตริไปรักษากันเอาเอง ถ้าไม่ปรึกษาแพทย์ !




ขอบคุณข้อมูลจาก
//www.thaiza.com


Create Date : 08 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2553 9:33:50 น. 0 comments
Counter : 3250 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
8 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.