My World
 
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
21 กรกฏาคม 2552
 
 
กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท 'หมอนรองกระดูก' คนไทยชักแถว 'เดี้ยง'

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท 'หมอนรองกระดูก' คนไทยชักแถว 'เดี้ยง'
กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

credit จาก: //www.nonthavej.co.th/About/About_patientth.asp...

อีกหนึ่งเทคโนโลยีล่าสุดในการ รักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
หากมองดูรอบตัวเราในวันนี้ จะเห็นได้ว่ามีเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต อาทิ เทคโนโลยีการย่อส่วนของใช้เครื่องมือต่างๆ ให้มีขนาดเล็กลงแต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น เทคโนโลยีการมองเห็นระยะไกล โดยการใช้รังสีการใช้เลนส์ และระบบส่งต่อภาพเป็นสัญญาณที่ชัดเจนความละเอียดสูงทำให้เกิดความปลอดภัย ไม่ผิดพลาด นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนา เพื่อคุณภาพชีวิตในศตวรรษที่ 20 เช่นเดียวกับทางการแพทย์ที่พยายามคิดค้นและแสวงหาหนทางต่างๆ เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ด้วยหลากหลายวิธีรวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยในการผ่าตัดที่ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์สูงสุด เป็นต้น

ในปัจจุบัน การผ่าตัดได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ซึ่งไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่ให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บป่วย อย่างรวดเร็วที่สุดเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยมีแผลเล็กและเจ็บน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ อีกทั้งไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานานเหมื่อนก่อน ซึ่งเรียกแนวทางการผ่าตัดนี้ว่า Minimally Invasive Surgery หรือ MIS โรงพยาบาลนนทเวชก็เป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่นำ MIS มาช่วยให้การรักษาสมบูรณ์แบบมากขึ้น

โดยล่าสุดได้นำอุปกรณ์ที่ช่วยรักษา ผู้ป่วยที่ทรมานจากอาการปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขาอย่างรุนแรง จากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ที่เรียกว่าระบบกล้อง "Full Endoscopic Spine Surger" ซึ่งกำลังแพร่หลายในต่างประเทศ ทั้งอเมริกาและยุโรป ที่ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดกว้างเพียง 0.8 เซนติเมตรเท่านั้น ข้อแตกต่าง คือ วิธีการผ่าตัดหมอนรองกระดูกแบบเดิมจะต้องเปิดแผลยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร เพื่อที่จะเข้าไปเห็นให้ได้ถึงจุดที่เป็นสาเหตุของการกดทับเส้นประสาท การผ่าตัดแบบ "Full Endoscopic Spine Surgery" นี้ จะทำให้การมองเห็นเส้นประสาทและหมอนรองกระดูกที่แตกออกมากดทับชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการใช้กล้องแบบสอดจะมีเลือดออกมาในบริเวณผ่าตัดน้อยมาก แพทย์สามารถแยกความแตกต่างของเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างชัดเจน และสามารถเข้าแก้ไขหาตรงจุดอย่างแม่นยำ

วิธีการผ่าตัดแบบนี้ มีคุณสมบัติเด่นคือ ตัวกล้องที่เล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึงหนึ่งเซนติเมตร ทำให้สามารถเปิดแผลเพียงแผลเดียวขนาดเล็กๆ ได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนทั้งกล้องและอุปกรณ์อยู่ในท่อเดียวกัน เลนส์ที่อยู่ปลายกล้องนี้มีกำลังขยายได้ถึง 30 เท่า ดังนั้นจึงมองเห็นสิ่งที่กดทับเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน ผ่านทางจอโทรทัศน์

สามารถสอดอุปกรณ์คีบหมอนรองกระดูก ที่อยู่ลึกหลายเซนติเมตรได้ โดยการเปิดแผลขนาดเล็กๆ เพียงแค่ให้กล้องสอดเข้าไปได้เท่านั้น

ข้อดีที่สุดของการผ่าตัดวิธีนี้ คือ การบาดเจ็บจากแผลเล็กเพียง 0.8 เซนติเมตร ทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยมากจนแทบจะไม่รู้สึกว่ามีการผ่าตัดแล้ว ความเล็กของกล้องสามารถจะสอดเข้าไประหว่าง ช่องว่างของกระดูกได้โดยไม่ต้องตัดแต่งกระดูกให้เป็นช่องแบบวิธีเดิม ส่งผลให้ความรู้สึกที่แผ่นหลัง เมื่อผ่าตัดแล้วได้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุดลดอุบัติการณ์ของความรู้สึกผิดปกติ ภายหลังการผ่าตัดหมอนรองกระดูก (Post discectomy syndrome) ได้ และยังใช้เวลาพักฟื้นแค่คืนเดียวก็กลับบ้านได้แล้วไม่เกิน 1 สัปดาห์ก็สามารถกลับไปทำงานตามปกติได้ และที่สำคัญผู้ป่วยบางรายที่หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมา ในตำแหน่งบางมุมของกระดูกสันหลังที่การผ่าตัดแบบเดิมเข้าไม่ถึงแต่กล้องตัวนี้ทำได้ผลดีอย่างยิ่ง

การแนะนำเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ถึงแม้อุปกรณ์นี้จะช่วยให้ผู้ป่วย หายจากอาการปวดร้าวสะโพกลงขา จากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทให้ได้ผลดีมากว่าหลายประการ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการคัดกรองผู้ป่วยที่เหมาะสมที่จะทำการผ่าตัดด้วย เนื้องจากมิได้มีผู้ป่วยทุกรายที่เหมาะสม กับการผ่าตัดวิธีนี้ ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังที่เชี่ยวชาญต้องพยายามคิดถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับสูงสุดทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต โดยการเลือกวิธีรักษาให้กับผู้ป่วยเป็นขั้นตอนตามลำดับตั้งแต่ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยการับประทานยา การทำกายภาพบำบัด หากไม่หายปวดขั้นตอนต่อไปคือการรักษาแบบ Interventional technique โดยการใช้เข็มพิเศษเข้าไปทำการลดอาการปวดและในที่สุด หากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด การผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally invasive surgery) จะต้องถูกนำมาพิจารณาก่อนการผ่าตัดแบบแผลเปิดให้ (Conventional surgery) การผ่าตัดโดยใช้กล้องแบบสอดที่เรียกว่า Full Endoscopic Discectomy ซึ่งรพ.นนทเวช พร้อมให้บริการนี้ เป็นการผ่าตัดแบบ Minimally invasive ที่มีแผลเล็กที่สุดที่สามารถทำได้ และอย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด และการแนะนำเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมถูกต้องให้มากที่สุดคือ ศิลปะในการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังของ รพ.นนทเวช ซึ่งสุดท้ายผลลัพท์คือ ผู้ป่วยจะหายจากความเจ็บปวดด้วยวิธีที่ดีที่สุดนั่นเอง[/size]


'หมอนรองกระดูก' คนไทยชักแถว 'เดี้ยง'
นอกจากหวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ครึกโครมแล้ว ยุคนี้ถ้าพูดถึงโรคร้ายแรงที่หันไปทางไหนก็มักจะได้ยินข่าวคนนั้นป่วย-คนโน้นเสียชีวิต...ก็ยังคงเป็นมะเร็ง แต่หากจะว่ากันถึงโรคที่ร้ายแรงน้อยกว่ามะเร็ง ทว่าก็มิใช่เพียงโรคพื้น ๆ โรคที่คนไทยยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะคนในเมืองวัยทำงานเป็นกันมาก โรคต่อไปนี้ก็ถือว่าติดกลุ่มอันดับต้น ๆ

โรคนี้คือโรคที่เกี่ยวกับ “หมอนรองกระดูก”

บ้างก็ “เสื่อม” บ้างก็ “กดทับเส้นประสาท”

ทั้งนี้ “หมอนรองกระดูก” ก็ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญของมนุษย์ มันคือชิ้นส่วนของร่างกายที่ทำหน้าที่ตั้งแต่รองรับน้ำหนัก ไปจนถึงรองรับแรง กระแทก โดยเป็นชิ้นส่วนที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเปลือกหรือเยื่อหุ้มที่ชั้นนอกและมีส่วนที่เป็นสายหรือเส้นเนื้อเยื่อคล้ายวุ้นอยู่ด้านใน เป็นชิ้นส่วนที่อยู่ ณ ตำแหน่งระหว่างปล้อง “กระดูกสันหลัง”

ร่างกายมนุษย์เรานั้นมีโครงกระดูกเป็นโครงร่างแข็งในการค้ำจุนและการเคลื่อนไหว โดยร่างกายมนุษย์เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีกระดูก 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่ โดยที่ 126 ชิ้นจะเป็น “กระดูกระยาง” กระดูกที่ยื่นจากกระดูกแกนออกไป ได้แก่ กระดูกแขน-ขา กระดูกสะบัก กระดูกไหปลาร้า กระดูกเชิงกราน

อีก 80 ชิ้นจาก 206 ชิ้น จะเป็น “กระดูกแกน” กระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกก้นกบ กระดูกซี่โครง และรวมถึงกระดูกสันหลัง ซึ่งว่ากันเฉพาะในส่วนของกระดูกสันหลัง หนึ่งในกระดูกแกนที่สำคัญของร่างกาย จะมีหน้าที่ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของ ร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็ก ๆ ลักษณะเป็นข้อ ๆ

แต่ละข้อของกระดูกสันหลังจะเชื่อมต่อกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น และนอกจากนี้ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อก็จะมีแผ่นกระดูกอ่อนที่เรียกว่า “หมอนรองกระดูก” ซึ่งก็ “สำคัญ” เพราะคอยทำหน้าที่รองรับและเชื่อม ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อเพื่อป้องกันการเสียดสีในขณะร่างกายเคลื่อนไหว

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคนไทยมีปัญหาสุขภาพร่างกายจาก “หมอนรองกระดูก” กันมาก อันเนื่องจากหมอนรองกระดูกเกิดการเสื่อม การเคลื่อน การแตกหรือฉีกขาด แล้วกดทับเส้นประสาท โดยอาการที่จะเกิดขึ้นก็คือ “ปวด” ปวดหลัง ตะโพก ก้น ปวดร้าวลงสู่ขาบางข้างหรือทั้งสองข้าง ซึ่งโดยปกติหมอนรองกระดูกจะมีความแข็งแรง เพราะต้องมีหน้าที่ช่วยรองรับแรง กระแทก รองรับน้ำหนัก แต่มันก็สามารถจะเสื่อมหรือเสียหายบาดเจ็บได้ ไม่ว่าจะด้วยวัยที่สูงขึ้น หรือจากการเกิดอุบัติเหตุ แต่ในยุคปัจจุบันนั้น...สาเหตุมีเพิ่มมากขึ้น-เสี่ยงมากขึ้น

ด้วยสภาพการใช้ชีวิต สภาพการทำงานของผู้คนในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะกับกลุ่มคนในเมืองวัยทำงาน นี่ก็อาจเป็นสาเหตุของหมอนรอง กระดูกเสื่อม-กดทับเส้นประสาทได้ง่าย ๆ ซึ่งนอกจาก “เคลื่อนไหวร่างกายไม่ถูกท่า-ไม่ถูกวิธี” การ “ก้มตัวยกของหนัก” การ “ออกกำลังกาย” “นั่งทำงานนาน ๆ” หรือแม้แต่นั่งท่องโลกอินเทอร์เน็ตหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ก็เป็นสาเหตุได้ !!

ทั้งนี้ กับสิ่งที่ยืนยันได้ดีว่านับวันมนุษย์รุ่นใหม่ ๆ จะป่วยด้วยสาเหตุจากปัญหา “หมอนรองกระดูก” สูงมากขึ้น ก็คือการที่วงการแพทย์ต้องคิดค้นพัฒนาวิทยาการ-อุปกรณ์ใหม่ ๆ ในการรักษาให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

กับการรักษา “หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท” แนวทางใหม่ ๆ นั้น นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม หัวหน้าศูนย์ระบบประสาทไขสันหลัง เครือโรงพยาบาลพญาไท ให้ความรู้ความเข้าใจว่า... ปัจจุบันแพทย์จะมีเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Spine) ช่วยในการตรวจวินิจฉัย-ตรวจหาความผิดปกติของหมอนรองกระดูกในผู้ที่มีอาการต้องสงสัย ซึ่งถ้าพบว่าสาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกก็จะวางแผนการรักษา

สำหรับในการรักษาปัจจุบันก็มีพัฒนาการสูงขึ้นโดยไม่ต้องเปิดแผลผ่าตัด (Non Opening Surgery) ซึ่งมี 2 แบบคือ... หากมีภาวะของหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทไม่มาก สามารถรักษาด้วยรูปแบบนิวคลีโอพลาสตี (Nucleoplasty) ซึ่งจะไม่มีแผล รักษาแล้วกลับบ้านได้เลย เพราะใช้เข็มขนาด 2.5 มม. สอดเข้าในหมอนรองกระดูกที่มีปัญหา แล้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุ ซึ่งจะเกิดความร้อนที่ปลายเข็ม จะสลายหมอนรองกระดูกส่วนหนึ่งออกไป

กรณีปวดหลังเรื้อรังและปวดร้าวลงขาเนื่องจากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง จะรักษาโดยใช้กล้องขนาดจิ๋วเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มม. หรือกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope) เจาะและสอดกล้องผ่านใยกล้ามเนื้อไปยังจุดที่มีปัญหา โดยใส่เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องเข้าไปตัดหมอนรองกระดูกโดยตรง ไม่ต้องเลาะกล้ามเนื้อหรือตัดกระดูกสันหลัง แผลจะมีขนาดเล็กเพียง 8 มม. ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว ระยะในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จะสั้น

อย่างไรก็ดี นพ.ธีรศักดิ์บอกว่า... หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทนี้ เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากผู้ป่วยไม่ปรับพฤติกรรม ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องปวดหลัง คือ “การป้องกันไม่ให้เกิด”

“หลักสำคัญของการป้องกันคือ พยายามจัดท่าทางการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง ต้องให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเสมอ และหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ใช้กล้ามเนื้อหลังมาก ๆ รวมถึงหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป” ...หัวหน้าศูนย์ระบบประสาทไขสันหลังให้คำแนะนำที่อย่ามองข้าม

ยุคนี้ไปทางไหนก็ได้ยินคนป่วยเพราะ “หมอนรองกระดูก”

วงการแพทย์ได้ “พัฒนาวิธีการรักษา” ที่มีประสิทธิภาพสูง

แต่ก็เหมือนกับทุกโรค...คือ “ป้องกันไม่ให้เกิดดีที่สุด !!!”.

credit ; //news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=264081&ch=hn
//www.drawting.com/webboard/index.php?topic=1442.0


Create Date : 21 กรกฎาคม 2552
Last Update : 21 กรกฎาคม 2552 12:23:49 น. 1 comments
Counter : 1124 Pageviews.

 
ไม่พร้อมผ่าตัด ปรึกษาได้ ครับ

//kunsine.blogspot.com/2010/02/blog-post.html


โดย: kunsine IP: 192.168.1.203, 203.144.144.164 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:13:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

องุ่นทอง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
[Add องุ่นทอง's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com