เวลาเดินเท่ากันทุกคนแต่หัวใจเราเต้นไม่เท่ากัน ...

<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
23 ธันวาคม 2553
 

My Reviewed : SVI ( มุมมองทางพื้นฐาน )

ปล..ช่วงนี้ ขอคั่น ด้วย มุมมองของหุ้นตัวหนึ่ง บังเอิญไปเขียนไว้ในไทยวีไอ แล้ว คิดว่าน่าจะเอามาเก็บไว้ในบล็อกส่วนตัว ก็เลยมาทบทวนปรับประโยคเล็กๆน้อยๆ แต่เนื้อหายังคงเหมือนเดิมที่เขียนไว้ในกระทู้ ..


1.บริษัท svi ประกอบธุรกิจให้บริการแบบครบวงจรในการประกอบผลิตภัณฑ์ประเภทวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Electronic Manufacturing Service-EMS)ให้แก่ลูกค้าที่เป็นเจ้าของ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Original Equipment Manufacturer:OEM)และลูกค้าที่เป็นผู้รับจ้างออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design House)
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย : เป็นสินค้าเฉพาะทาง (อยากรู้ว่าภาพรวมผลิตอะไรบ้าง ลองดูใน //www.svi.co.th/index.php?action=market )ตย.เช่นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ผบห.เคยให้ข้อมูลว่า มีมาร์จิ้นค่อนข้างดีมากกว่า กลุ่มindustrial

จะเห็นว่า สินค้าที่ผลิตออกมา ไม่ได้เน้นเป็นสินค้านิยม/ทันสมัย ที่ผลิตเป็นลักษณะ mass product
ดังนั้น ...
ด้วยความที่ไม่ใช่ mass product จึงมีโอกาสเกิดความผันผวนในแง่ของการบริโภคสินค้าน้อย
อาจจะถือว่าเป็นจุดเด่นก็ได้ ในแง่ของสินค้าที่มีความผันผวนต่ำ
ผมจึงมองว่าเป็นธุรกิจที่ความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มที่ผลิตสินค้าแนวmass product ในยามที่มีวิกฤตทางเศรษฐกิจเข้ามา...
แต่ในทางตรงข้ามการเติบโตก็จะไม่ได้ก้าวกระโดด เหมือนกัน ..(
ถือว่าเป็นข้อเสียเปรียบหรือเปล่าไม่แน่ใจ)


2. ในเรื่องของการขยายการผลิตนั้น ปัจจุบัน มีโรงงานสามแห่ง รวมถึงมีสาขาย่อยที่จีน ไตหวัน และ เดนมาร์ก (สแกนดิเนเวีย)
จุดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องดูคือ ... ที่ผ่านๆมา บริษัทมักประสบปัญหา การขาดแคลนวัตถุดิบ จุดที่ไม่ห่วงคือ ออร์เดอร์ ดังนั้น การขยายการผลิตให้มากขึ้นแต่ไม่มีวัตถุดิบ
เพื่อแก้ปัญหานี้..บริษัทควรมีกลยุทธ์อะไรในการป้อนวัตถุดิบได้สม่ำเสมอ ..


3..ขอวก กลับมา ในเรื่องของการผลิต mass product

ในแง่ของการผลิตสินค้าประเภทอิเล็กโทรนิคส์ ผมยกตัวอย่าง บริษัทแห่งหนึ่งมีการ ผลิตชิ้นส่วนที่ทำทัชสกรีน ซึ่งเมือหนึ่งปีก่อน บริษัทก็ประสบความสำเร็จในแง่ทีเป็น new mass product ที่เป็น blue ocean แต่ว่า เมื่อมีคู่แข่งที่มากขึ้น กำไรขั้นต้นต่อชิ้นที่มีมากก็ต้องลดลงและจำเป็นต้องมีกลยุทธ์เพื่อรักษาระดับของกำไรproduct ชิ้นนี้สุดท้าย ก็จะเป็น red ocean
บริษัทที่ผลิตสินค้าลักษณะนี้ จึงจำเป็นต้องหา new product ที่จะเกิด blue ocean ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ (ในมุมมองของบัฟเฟ็ตต์ จะไม่เอาเลย เพราะถือว่า ในระยะยาวมีความเสี่ยงสูง ต้องหา new product ไปเรื่อยๆ ถ้าไม่เวิร์ค บริษัทก็จะไม่ได้เติบโตเท่าที่ควร )

ซึ่ง....ในกรณี ของบริษัท svi ผมลองอ่านดู ในมุมมองของผม ไม่สามารถบอกได้ว่า เป็น red blue or white oceanได้เลย (จริงๆแล้วผมอาจจะไม่ได้รู้ลึกก็ได้ ถ้าใครเก่งเรื่อง นี้ลองแชร์ความคิดด้วยนะครับ) จุดเด่นที่ผมพอจะนึกได้ของบริษัทในแง่การแข่งขันก็คือ
- สินค้าที่เป็นรายได้หลักมาจาก ระบบควบคุมอุตสาหกรรม(รายได้เกินห้าสิบเปอร์)และระบบสำนักงาน(รายได้อยู่ราวๆ20-30เปอร์) ซึ่งเป็นสินค้าเฉพาะไม่ใช่ mass product ปริมาณความต้องการไม่ได้มากแต่มีมูลค่าส่วนเพิ่มสูง(ผลิตน้อยๆกำไรต่อชิ้นเยอะเนื่องจากใช้ความสามารถในการผลิตมากไม่ว่าจะเป็นแรงงานหรือเทคโนโลยีขั้นสูง) คู่แข่ง จึงถูกจำกัดหรือมีน้อย เพราะบริษัทใหญ่ๆ ก็ไม่อยากผลิต บริษัทเล็กๆ ก็เกรงต้นทุนที่สูง ไม่คุ้มทุน

ในมุมมองนี้ จึงเอาวงจรของอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิค ที่บอกว่า กำลังเป็นขาขึ้นหรือขาลง มาใช้กับ svi ค่อนข้างลำบาก (อันนี้คือความเห็นส่วนตัว)

-ในแง่ของการกระจายออร์เดอร์ รายได้หลักมาจากกลุ่มประเทศสเกนดิเนเวีย(ปี52 รายได้จากกลุ่มประเทศนี้ 58 เปอร์) และกระจายไปยังกลุ่มอื่นๆอีก บริษัทได้ชี้แจ้งว่า การกระจายในลักษณะนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจ

เมื่ออ่านงบการเงินในปี50-51-52 ที่เกิดวิกฤต จะสังเกตได้ว่า รายได้จากการขายของ บริษัท svi ไม่ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนตามกระแสโลก ..
เช่นกัน ในภาวะที่เศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น บริษัท ผลิตสินค้าจำเพาะเช่นนี้ รายได้จากการขาย ก็อาจจะไม่ได้สูงมากมาย เหมือนอุตสาหกรรมอื่นๆที่เติบโตตามเศรษฐกิจ

โดยสรุป ในมุมมองของผม บริษัทนี้จึงยากที่จะเห็นภาวะเติบโตอย่างก้าวกระโดด เหมือนกับบริษัทอื่นๆ แต่ ก็ไม่ล้มลงแบบเฉียบพลัน ให้เห็น


4.downside risk จากตัวธุรกิจ..

- ปัญหาที่เจอในหลายๆปี ก็คือ การจัดหาวัตถุดิบ บริษัทได้ชี้แจ้งไว้ ได้ปรับเปลียนกลยุทธ์ โดยมีการจัดหาวัตถุดิบล่วงหน้า และได้ทำข้อตกลงกับคู่ค้าในระบบ (VMI) ทำให้ลดปัญหานี้ได้ส่วนหนึ่ง
-ปัญหาจากการแลกเปลี่ยนเงินตรา บริษัททำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่เรียกว่า forward exchange contract

ในมุมมองผม แม้ว่ารายได้จะไม่ผันผวนมากจากภาวะเศรษฐกิจ แต่เมื่ออ่านงบการเงินอย่างละเอียด เราจะสังเกตว่า ปีวิกฤติ ออร์เดอร์ ที่เข้ามาก็ยังลดลงเช่นกัน ดังนั้น การที่บริษัท เพิ่มโรงงาน ก็มีส่วนในการเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทให้โตมากขึ้น แต่ในทางกลับกันมุมมองที่ต้องระวังก็คือ ย่อมมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆมากขึ้น ในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจล้มลงอีกรอบ และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อธุรกิจมากกว่าแต่ก่อน

-ส่วนความเสี่ยงอีกหนึ่ง ก็คือ ความเสี่ยงของการที่มีผถห. รายใหญ๋ ก็คือ บริษัท MGF (จริงๆแล้วคุณโพธ์ ก็ถือหุ้นของบริษัทนี้แทนค่อนข้างมาก )
ความเสี่ยงนี้ ผมไม่สามารถวิเคราะห์ได้ เพราะว่า เพิ่งมาลงทุน เลยไม่ทราบความเป็นมาและรายละเอียดของบริษัทนี้ ว่าทำไมถึงถือหุ้นคอ่นข้างมาก( ณ ปัจจุบัน ถือครองหุ้นมากกว่า 50 เปอร์ ) ถ้ามีผู้รู้ มาเล่าประวัติให้ฟังจะดีมากเลยครับ ขอบคุณล่วงหน้า

หมายเหตุ : บริษัท MGF นี้เข้าซื้อหุ้น svi โดยการทำ Management Buy Out โดยซื้อจากกองทุนต่างชาติที่ถืออยู่ ที่ราคา 1.40 บาท เมื่อกลางปีที่แล้ว หลังจากนั้นก็นำกำไรสะสมมาจ่ายปันผลคืน เท่ากับคุณโพธิ์ ได้ SVI ไปโดยแทบจะไม่มีต้นทุน (ข้อมูลจากเพื่อนนักลงทุน ในไทยวีไอ )


5. มุมมองเกี่ยวกับการเติบโตของบริษัท

-ในภาพรวม บริษัทได้เริ่มจดทะเบียนในตลท. ตั้งแต่ปี 2532 จนมาปัจจุบัน เริ่มต้นมีเพียง svi1 (โรงงานหนึ่ง) ปี2546 เปิดโรงงานสอง 2549เปิดโรงงานที่ประเทศจีน 2553 เปิดโรงงานที่สาม
-ในภาพการผลิตสินค้า รายได้จากการขายสินค้า ย้อนหลังห้าปี ก็จะพบว่า ก็จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปี2548 มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 4457 ล้านบาท จนปัจจุบัน ปี 2552 มีรายได้จากการขาย 6466 ล้านบาท
-ในแง่ของกำไรสุทธิต่อหุ้น(EPS) เรียงไปห้าปีตั้งแต่ปี 2548 คือ 0.179 0.22 0.3 0.38 0.48 ตามลำดับ
-ในแง่ของการปันผล มีการปันผลต่อเนื่องมาตลอด (ถ้าไม่นับปันผลพิเศษ) (ขอคำนวณแบบแตกพาร์ไปจะได้ไม่งง) เรียงไปห้าปีตั้งแต่ปี 2549 เท่ากับ 0.05 0.06 0.06 0.07 0.095 ตามลำดับ
-ข้อมูลอัตราส่วนสำคัญทางการเงินย้อนหลังห้าปี




มุมมองของผม จากการดูอัตราส่วนสำคัญทางการเงิน

ถ้าคุณ ต้องหาค้นหา บริษัทที่มีการเติบโตเร็ว Fast growers มี net profit gross /net profit margin ยอดเยี่ยม มีมุมมองในลักษณะของ buffet theory ผมคิดว่า คุณอาจจะไม่หันมามอง svi เมื่อคุณไปศึกษางบการเงินย้อนหลังห้าปี
ผมคิดว่า เมื่อลองแงะ งบการเงินออกมา แล้วอยากได้ ความสามารถในการทำกำไรที่โดดเด่น svi ยังอยู่ในเขต ที่เรียกว่า grey zone คือก้ำกึ่ง
แต่ถ้ามองว่า มีโอกาสเป็นหุ้น Stalwarts(ศัพท์นี้ เอามาจากpeter lynch ) หรือเรียกว่า หุ้นทนน้ำทนฝน คุณอาจจะมีความหวังกับมัน..



และสุดท้าย ขอแบ่งการดูอัตราส่วนทางการเงินเป็นสามส่วน
1.ส่วนแรก ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)
-.สิงที่ต้องดูอันแรกคือ อัตรากำไรขั้นต้น จากปี 2548 จะเห็นว่าอยู่แค่เพียง 9.3 เปอร์ จนมาปัจจุบัน 12.7 อัตราการเติบโตของอัตรากำไรขั้นต้น จึงเป็นอะไรที่น่าสนใจ ถ้าคำนวณคร่าวๆ จากห้าปี เติบโตขึ้นมาเฉลี่ยปีละเกือบสิบเปอร์ (ถ้า บัฟเฟท จะส่ายหน้า บอกว่า อยากได้ 20 เปอร์ทุกปี 555 )
- ROE ไม่พูดถึงก็คงไม่ใช่นักลงทุน ก็เติบโตจนเข้าโซน criteria ของ ดร.นิเวศ ( ROE มากกว่า 20เปอร์)

2 ประสิทธิภาพในการทำงาน
โดยทั่วไปก็ดูจาก อัตราตอบแทนจากสินทรัพย์รวม ปี 52 จะอยู่เพียง15.1 เปอร์ (ถ้าบัฟเฟท อยากได้เยอะๆ ตัวอย่าง 15เปอร์เนียะ เค้ามองเป็นธุรกิจธรรมดามากๆ ) แต่ถ้าเทียบย้อนหลังไปห้าปี จะพบว่า การเติบโตของอัตราส่วนนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ บ่งบอกว่า อย่างไรดีล่ะ ถ้าอนาคตจะหยุดอยู่แค่ 15เปอร์ หรือ ก้าวไปถึง 20 เปอร์ดี อันนี้ ตอ้งดูต่อไป

3.ส่วนสุดท้าย สภาพคลอ่งทางการเงิน
- current ratio ยิ่งสูงยิ่งดี จริงไหม เค้าบอกกันว่า 2/1 ถือว่าผ่าน มีความสามารถชำระหนี้ในระยะสั้น แต่ ในมุมมองนี้ ไม่ได้วัดถึงความสามารถในการเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืน จึงไม่ควรมาพิจารณามาก มีหลายๆบริษัท ที่มีอัตราส่วนต่ำกว่าหนึ่ง แต่มีความสามารถในการทำกำไรได้มากมาย และหลายๆตัวก็เป็นหุ้นที่เติบโตอย่างดี
-ในแง่ของอัตราส่วนหนี้สิน ถือว่าผ่าน ต่ำกว่า 1 เป็นรายการเดียวที่เขียนมาว่า เห็นโอกาสจากบัฟเฟท 555


ทั้งหมดนี้ ก็เป็นสรุปย่อๆ สำหรับหุ้นตัวหนึ่งในมุมมองของผมจากหลักพื้นฐาน ใครมีข้อเสนอแนะ ติชม ได้เลยครับผม


Create Date : 23 ธันวาคม 2553
Last Update : 23 ธันวาคม 2553 16:36:44 น. 8 comments
Counter : 5988 Pageviews.  
 
 
 
 
ที่เขียน ไม่ได้ เขียนแนวเชียร์ หุ้น
แต่เขียนไว้เป็นหลักการคิดย่อๆ
ใครสนใจหลักการคิด แบบพื้นฐาน ก็ลองอ่านดูคร่าวๆนะครับ เอาไปประยุกต์ใช้กับหุ้นตัวอื่นๆได้ เช่นกัน ครับผม
 
 

โดย: kunjoja วันที่: 23 ธันวาคม 2553 เวลา:16:43:33 น.  

 
 
 
เห็นภาพชัดมากครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
 
 

โดย: Palermo IP: 115.87.89.181 วันที่: 29 ธันวาคม 2553 เวลา:13:48:29 น.  

 
 
 
กระทู้ล่อเป้ามากเลยนะครับ เดี่ยวนี้เวลาใครเอา หุ้นรายตัวมาวิเคราะห์ ในสินธร จะต้องเจอข้อหา เชียร์หุ้น เรียกแขกตลอดเลย
 
 

โดย: coffee4you วันที่: 15 มกราคม 2554 เวลา:8:17:31 น.  

 
 
 
แต่ของ คุณ kunjoja นี้ผมชอบมาก เพราะเอาพื้นฐานมาคุยมันคือของจริงที่เราจับต้องได้ ยังไงก็ขอบคุณมากที่เอามาแชร์ครับ

ผมมีข้อสงสัยจากตัวเลขจากงบการเงินนิดหนึ่งครับคือทำไม อัตราส่วนสภาพคล่องนั้น ลดลงทุกปีตั้งแต่ปี 49 มันสะท้องเรื่องเงินทุนหมุนเวียนหรือไม่ครับ

การก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้น ผมดูจาก D/E ในระดับปี 2552 ที่ D/E ขึ้นมาถึง 1 จัดว่าสูงเกินไป ไหมครับ สำหรับบริษัทนี้ครับ

รบกวนแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ
 
 

โดย: coffee4you วันที่: 15 มกราคม 2554 เวลา:8:28:53 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับที่เข้ามาอ่าน...

ตัวผมเอง เพิ่งได้เข้ามาศึกษาตราสารหุ้น ไม่นานนี้ราวๆปีกว่าๆ เท่านั้น เริ่มตั้งแต่ศูนย์ ไม่มีความรู้ทางการเงิน งบการเงินเหรอ ว่างเปล่า ก็ค่อยๆศึกษาไปเรื่อยๆ จนบัดนี้ ก็ขอแชร์ไอเดีด ผิดพลาดประการใด ขอคำชี้แนะด้วยครับ
..
เรื่องราว svi มีก่อนที่ผมจะเริ่มเข้าลงทุน ถ้าใครได้ศึกษาหรือได้ตามในช่วงก่อนการปันผลพิเศษ จะเข้าใจได้ ว่า ทำไม D/E ถึงเพิ่มมาเป็น 1
เหตุไม่ได้เกิดจากผลประกอบการ ไม่ได้เกิดจากตัวธุรกิจโดยตรง แต่เป็นเหตุจาก การเปลียนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น

เข้าใจว่า ในสมัยนั้น ผถห. ดีแตก กันไปตามๆกัน จากการปันผลพิเศษ

ผลที่เกิดขึ้น
บริษัท เอ็มเอฟจี โซลูชั่น จำกัด (ซึ่งมี นายพงษ์ศักดิ์ โล่ห์ทองคำ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.96 ) ทำให้เป็นผถห.มากที่สุดของ svi ในปัจจุบัน..
เข้าใจว่า การปันผลพิเศษ เพื่อช่วยบริษัท MFGซึ่งแรกเริ่มมีทุนจดทะเบียนแค่สองรอ้ยกว่าล้านบาท จ่ายเงินกู้ให้กับกสิกรไทยในการ ทำการเปลียนแปลงโครงสร้างผถห. ผมเข้าใจว่า น่าจะเข้าข่าย formal venture capitalที่เรียกว่า Management buyout – MBO
ผลที่เกิดทำให้ svi มี D/E เพิ่มขึ้น รวมถึงกระแสเงินสดลดลง จากการเอาเงินไปปันผลพิเศษ ก็ทำให้อัตราสภาพคล่องลดลง เช่นกัน
...

คำถามที่ต้องถามต่อว่า d/e ที่สูงขึ้น มีความเสี่ยงสูงไหม..

ในธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง การมีD/E ต่ำๆก็จะปลอดภัย เช่นเดียวกับ อัตราสภาพคล่องควรจะสูงๆ ในแง่ของวิชาการ

ในอีกแนวความคิดหนึ่ง จำเป็นไหมต้องมี D/E ที่ต่ำๆ ในธุรกิจที่ความเสี่ยงนั้นไม่มากนัก เราพอจะยอมรับมันได้ไหม อันนี้ ตอ้งกลับไปคิด เช่นกัน
ถ้าบริษัทนั้น มีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้นๆ ความเสี่ยงที่เรากลัว ในแง่ของ อัตราสภาพคล่องนั้น กลัวไม่มีเงินสดระยะสั้นจ่ายเจ้าหนี้ แล้วเราจะละเลยไม่สนใจบริษัทนั้นหรือไม่ ... น่าคิดนิดนึง..

ผลงานที่ผ่านมาของบริษัท svi ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ก็ยังคงความสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่อง ก็น่าจะพออนุโลม การมีอัตราสภาพคลอ่งที่ต่ำได้ไหม...

ผมเคยอ่านการตีความงบการเงินของบัฟเฟท แนวคิดของบัฟเฟท ก็ไม่ได้มองว่า อัตราสภาพคล่องที่ต่ำกว่าหนึ่งเป็นบริษัทที่ไม่น่าลงทุน กลับมองว่า ถ้ามีความสามารถในการทำกำไร แสดงว่า น่าจะมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินสดหมุนเวียนในระยะสั้นได้ดีเสียอีก แทนที่จะเก็บเงินสดกองไว้โดยไม่ได้ทำอะไร ..

ขอแชร์ไอเดียแค่นี้ ครับ ผิดถูกประการใด ขอคำชี้แนะด้วย ครับผม


 
 

โดย: kunjoja วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:16:32:10 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ ชัดเจนดีครับกับคำตอบ ขอถามอีกนิด คิดยังไงกับการที่ ผบญ. ไล่เก็บหุ้น มีนัยหรือ มูลค่าที่ เรายังประเมินไม่เห็นไหมครับ
 
 

โดย: coffee4you วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:22:09:46 น.  

 
 
 
สำรับความคิดผม

ผบห. ซื้อในจำนวนมากๆ/ ก็น่าจะดีกว่า การที่ผบห ขายหุ้นจำนวนๆมาก

อย่างน้อย ผถห. น่าจะได้รับประโยชน์จากตรงนี้ด้วย เพราะผบห. ก็คือ ผถห.

ส่วนเหตุผลอะไรก็ตาม ไม่ทราบจริงๆ ไม่ขอแสดงความคิดเห็น
บางอย่าง อาจจะเป็นอะไรที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นไปด้
อย่าไปคิดอะไรล่วงหน้า หรือหวาดวิตกอะไรล่วงหน้า
ผมถือหลักการ ทำและคิดในสิ่งที่เราคิดได้ เป็นใช้ได้
ถ้ามันเป็นข้อผิดพลาด ที่ไม่ใช่จากสิ่งที่เราคิด นั้นก็ไม่ถือว่า เราผิดพลาด
เริ่มต้นใหม่ได้เสมอ จนกว่า จะไม่สามารถลงทุนได้ แค่นั้น
 
 

โดย: kunjoja IP: 125.27.146.158 วันที่: 17 มกราคม 2554 เวลา:10:17:34 น.  

 
 
 
โห ซื้อตัวนี้ไว้เหรอครับ รวยเละ ยินดีด้วยครับ
 
 

โดย: ษุภณัฏฐ์ วันที่: 21 มกราคม 2554 เวลา:16:57:13 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kunjoja
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add kunjoja's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com