
 |
|
 |
 |
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
ความสัมพันธ์ต่างๆในภาวะเงินเฟ้อ
สำหรับวันหยุดสบายๆ ผมมาอ่านจับใจความและขอคัดลอกประโยคต่างๆใน Wealth management (special report) เรื่อง ลงทุนหุ้น เพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ ในหนังสือ money and wealth ฉบับที่ 84 ปล. สำหรับใครอยากอ่านบทความทั้งหมดสามารถไปหาอ่านได้ครับผม
......
-.สภาพัฒน์ฯ รายงานเงินเฟ้อประเทศไทยในปีที่แล้วโดยเฉลี่ยติดลบ0.9% โดย เดือนกค. ติดลบมากสุด4.4%และหลังจากนั้นก็ค่อยๆขยับดีขึ้นต่อเนื่องจนมาบวกได้เดือนตค. เดือนสุดท้ายของปีที่แล้วบวก 3.5%
-นักวิเคราะห์ประเมินเงินเฟ้อในปีนี้ ว่า ปีนี้เงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วโดยเดือนมกราคม ที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.1% และคาดว่า ปีนี้ อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยน่าจะอยู่แถวๆ 3.3-3.5%
-หากพูดถึงเงินเฟ้อย่อมมีผลด้านลบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะว่าเงินเฟ้อขยับขึ้น แบงก์ชาติคงต้องใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัว(เช่นการขึ้นดอกเบี้ย) เพื่อสกัดการใช้จ่ายของประชาชน แต่ เมื่อดูสภาพคล่องทางการเงินที่ยังสูงอยู่ (การเกินดุลการค้าและเม็ดเงินไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง)บวกกับรัฐบาลยังไม่มีการใช้เงิน ภาคเอกชนยังชะลอการลงทุน แบงค์ชาติจึงยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มดอกเบี้ย
-การขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาจะพบว่า ก่อนการขึ้นดอกเบี้ยประมาณ 1-2 เดือน ตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลง และเมือประกาศขึ้นดอกเบี้ย ตลาดหุ้นจะเริ่มขยับตัว อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ เงินเฟ้อยังไมใช่ปัจจัยน่ากังวล แต่ตลาดหุ้นกลับมีความเสี่ยงทางด้านการเมืองสูง
-เมือไรที่เล็งเห็นว่าภาวะเงินเฟ้อเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้นในไม่ช้า สิ่งที่นักลงทุนควรทำข้อแรกคือ ลดการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว โดยเฉพาะตราสารหนี้อายุ 3 ปีขึ้นไปควรหลีกเลี่ยงเพราะผลตอบแทนจะปรับลดลง
-เวลาเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ธุรกิจจะปรับราคาขึ้นก็ต่อเมือต้นทุนสูง หรือ มีความต้องการจากผู้บริโภคมากขึ้น สำหรับธุรกิจที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น สิ่งที่พิจารณาคือ ใครสามารถปรับราคาขึ้นได้ หรือมีอำนาจการต่อรอง(Pricing power) คือสามารถผลักภาระไปให้ผู้บริโภคได้ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
-สถิติเกี่ยวกับดัชนีหุ้นกลุ่มต่างๆเมือเทียบกับดัชนีหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2544-2552 โดยดูราคาหุ้นอย่างเดียว หุ้นที่Outperform ในช่วงเงินเฟ้อขยับขึ้น ปรากฏว่า ดัชนีหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลดีสุด รองลงมาคือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม พาณิชย์ พลังงาน เกษตร และ ธนาคาพาณิชย์ แต่ต้องบอกไว้ก่อน เวลาเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขยับขึ้น ดัชนีหุ้นจะมีการปรับลงก่อน แต่จะติดลบน้อยกว่าดัชนีตลาดโดยรวม
-หุ้นที่เสียประโยชน์จากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น คือบริษัทที่มีหนี้สินเยอะๆ เช่น กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เพราะดอกเบี้ยขยับ ต้นทุนทางการเงินก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย จึงต้องระวังในบริษัทที่มีโครงสร้างหนี้สินสูงๆ สำหรับหุ้นได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อเป็นบริษัทที่มีลักษณะ Pricing power ยกตัวอย่างเช่นcpall หรือธุรกิจให้เช่าเช่น CPN สามารถผลักภาระต้นทุนให้กับผู้บริโภคได้
-เมือมองภาวะเงินเฟ้อกับภาพรวมของการลงทุนในตลาดตราสารต่างๆแล้ว พบว่า ภูมิภาคเอชียอยู่ในช่วงเพิ่งเริ่มต้นฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และจากนี้ไปอีก3-4 ปีข้างหน้าการเติบโตก็จะดีไปเรื่อยๆ และตลาดหุ้นจะเป็น Asset class ที่ได้ประโยชน์สูง จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่การขยับขึ้นของเงินเฟ้อของตัวตลาดทุนจะถูกกระทบน้อย เพราะมี pricing power ขณะที่ตลาดตราสารหนี้จะได้รับผลกระทบเชิงลบ
ขอสรุปไว้เพียงแค่นี้ครับ (จริงๆแล้วมีการแนะนำหุ้นต่างๆไว้ด้วย แต่คิดว่า เป็นแค่รายละเอียดย่อยๆ ใครสนใจน่าจะไปหาอ่านเองได้ครับผม)
Create Date : 02 พฤษภาคม 2553 |
Last Update : 2 พฤษภาคม 2553 11:17:46 น. |
|
9 comments
|
Counter : 3522 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: Kaiti-kid IP: 114.128.110.1 วันที่: 2 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:42:50 น. |
|
โดย: amvarin วันที่: 2 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:42:45 น. |
|
โดย: thanitsita วันที่: 2 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:30:19 น. |
|
โดย: เอกนนท์ IP: 124.121.26.212 วันที่: 2 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:59:43 น. |
|
โดย: ibozla วันที่: 2 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:37:00 น. |
|
โดย: ไอ้แคท.ราชาแมงเม่า (Catrule ) วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:29:00 น. |
|
โดย: Bank IP: 110.49.106.123 วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:39:04 น. |
|
โดย: ibozla วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:15:23 น. |
|
โดย: ibozla วันที่: 4 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:02:09 น. |
|
| |
|
kunjoja |
 |
|
 |
|
ถ้าเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวสูงขึ้น
ปัญหาเงินเฟ้อคงย้อนกลับมาแน่ ๆ
ขอบคุณมากน่ะครับสำหรับสรุปดี ๆ แบบนี้
^O^