
 |
|
 |
 |
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
My view: SVI part 2.2 การเติบโตของยอดขาย (growth of revenue )
ยอดขายของบริษัท svi นั้นเราต้องมาดูว่ามีปัจจัยอะไรที่มีผลกระทบบ้าง ก็พอจะนึกเลาๆได้ เท่าที่พอจะรู้ (อาจจะไม่ครบถ้วน แต่น่าจะคลุมปัจจัยหลักๆได้บ้าง) -จะขายได้มาก ก็ต้อง ผลิตออกมาได้มาก การผลิตออกมาได้มากก็ต้อง อยู่กับสิ่งที่รองรับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการผลิตแต่ละโรงงาน วัตถุดิบที่ป้อนเข้าโรงงาน และที่สำคัญ ผลิตมาไม่มีคนซื้อ ก็คงขายไม่ได้ ดังนั้น ต้องมีลูกค้า(มี order) ..... ดังนั้นผมเลยต้องเอาหัวข้อนี้มาดูว่า ปัจจัยข้างต้น มีข้อมูลอะไรบ้างที่จะช่วยสนับสนุนให้เราคิดว่า บริษัท กำลังจะมีการเติบโตของยอดขาย ได้จริง...

ก่อนจะมาดูปัจจัยต่างๆที่รายล้อม ผลของการเกิดรายได้จากการขาย(ขั้นต้น) ก็ขอยกกราฟที่แอบCopy มาจาก opp day ล่าสุดมาให้ดู จากกราฟจะแสดงให้เห็นอะไรบ้าง -แนวโน้มของยอดขายย้อนหลังไปห้าปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (แต่ไม่ได้แปลว่าปีหน้าจะมากกว่านี้ ต้องดูปัจจัยต่างๆ ) - Net profit ในสามปีย้อนหลัง (ปี 2551-2553) ยังคงรักษาระดับยืนแถวๆ 9 % ได้ทั้งๆที่ยอดขายเติบโตขึ้น และผลกระทบจากค่าเงินบาท ก็ดูเหมือนไม่กระทบต่อ net profit เท่าไรทั้งๆที่ในสามปีข้างต้น ค่าเงินบาทก็มีความผันผวนมากอยู่ (ผบห.ได้อธิบายถึงว่า ได้มีการทำ hedging ค่าเงินบาทเอาไว้ส่วนหนึ่งทำให้ช่วยลดความผันผวนตรงส่วนนี้ได้)
1.ความสามารถในการผลิตสินค้า
สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือการเพิ่มกำลังผลิต ก็จะเป็นสัญญาณที่ดีของการผลิตสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งก็จะนำไปสู่ ยอดการขายที่มากขึ้นได้เช่นกัน ( อย่าลืมว่า มี order มาก มีวัตถุดิบเหลือเฟือ แต่ไม่มีที่ผลิต หรือผลิตได้จำกัด ก็ไร้ค่า ดังนั้น บริษัทจำต้องเตรียมความพร้อม สิ่งเหล่านี้ให้เพียงพอในอนาคต (ถ้าคาดหวังว่ายอดการผลิตจะเติบโตมากกว่านี้เรื่อยๆ )

การเพิ่มกำลังผลิต มีตัวแปรอะไรที่มองได้บ้าง (เอาคร่าวๆ) คือ พื้นที่ และ เครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ ความหมายก็คือ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อสร้างกำไรในอนาคต เค้ามีการใช้ ตัวเลขชุดหนึ่งมาดู ก็คือ Capital Expenditure ( CAPEX )เงินสดซื้อสินทรัพย์ถาวรที่ใช้ในกิจการ(หาได้จากงบกระแสเงินสด)
<การลงทุนสินทรัพย์ของบริษัท ที่ผ่านมาเราได้ข้อมูลอะไรบ้าง

1.svi-1 ได้ทำการย้ายการผลิตไป ยัง svi-3 เฟสแรก (ในส่วนยอดการขายที่ โรงงานหนึ่งมีกำลังผลิตที่ทำได้ ตกราวๆ 100 US dollar) ซึ่ง ปัจจุบันได้ทำการย้ายฐานการผลิตรวมถึงศูนย์กลางในงานบริหารต่างๆได้เกือบหมด (คุณโพธ์บอกว่าในsvi-1 พนักงานเกือบทั้งหมดย้ายไปโรงงานสามแล้วยกเว้นพนักงานจำเป็นแค่สองคนก็คือ คุณโพธิ์ กับ ผบห.อีกท่านที่ยังคงอยู่ในโรงงานหนึ่งและคาดว่า อีกไม่นานคงย้ายตามไป) ตรงนี้เป็นจุดที่น่าสังเกตว่า ในช่วงระหว่างการย้ายฐานการผลิต แสดงว่า svi-1 ก็จะยังไม่สามารถผลิตสินค้าออกมาได้ ดังนั้น ในไตรมาสหนึ่งของปี 54 จึงอาจจะมีผลกระทบบ้าง (อันนี้เป็นมุมมองส่วนตัว) 2.svi-2 มี full capcity ตกราวๆ 190 ล้าน US dollar 3.svi-3 เฟสแรกนั้นรองรับยอดขายได้ เต็มที่ 200 ล้าน US dollar โดยรองรับ จาก SVI-1 100 ล้านUS dollar และยังสามารถรองรับยอดขายได้อีก 100 US dollar 4.svi-3 เฟสสอง และเฟสสาม full capcity ได้เฟสละ 200 ล้าน us dollar
จากข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า... ในปัจจุบัน svi-2 และ svi-3 เฟสแรก ก็มีความสามารถ generate ยอดขายได้ราวๆ 390 ล้าน us dollar แล้ว ...(แต่ฟังคุณโพธ์บอกว่า ถ้าเอาfull capacity จริงๆก็สามารถคูณสองได้ แปลว่าสามารถ generate ยอดขายได้สองเท่าจากเดิม อือ ...)
ข้อมูลแผนในอนาคต จะเป็นอย่างไร-
ปัจจุบัน svi-3 เฟสแรก เสร็จสิ้นไป เกือบแปดสิบเปอร์ คาดว่า สิ้นสุด Q1/54 ก็จะสมบูรณ์ครบ -แผนขายโรงงาน svi-1 ซึ่งราคาขายนั้น สามารถนำไปลงทุนในการสร้างโรงงาน svi-5 ได้โดยไม่ต้องกู้เงินหรือเพิ่มทุนแต่อย่างใด -แผนปี 2012 จะเตรียมการขยาย svi-3 เฟสสองกับสาม -ส่วน svi-5 มีแผนไว้รองรับ vertical market ในอนาคต (ขนาดพื้นที่ความจุ เท่ากับ svi-3)
มีคนถามคุณโพธิ์ว่า ถ้าเปิด SVI มีแผนจะเปิดได้ full capacity เมื่อไร (หมายถึง สามารถเปิดและผลิตเต็มที่ทุก โรงงาน ตั้งแต่ svi-2 จนถึง svi-5) ก็ได้คำกล่าวติดตลกว่า ถึงเวลานั้น ผมคงเกษียณไปก่อนแล้ว... ทั้งหมดที่เขียน เพื่อให้เห็นข้อมูลแนวโน้ม ความสามารถในการผลิตสินค้า น่าจะพอจะช่วยให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น
2. วัตถุดิบต่างๆ..
ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของบริษัท/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนอิเลคโทรนิค ก็คือ การหาวัตถุดิบที่มีจำกัด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ทำให้ยอดการผลิตลดลงได้ จุดเสี่ยงในไตรมาสสองและสามของปี 2554 คือ การหาและป้อนวัตถุดิบมายังโรงงาน ยังไงๆก็ยังเชื่อว่า (ความเห็นส่วนตัว) เมื่อไรระบบวัตถุดิบมีปัญหาที่จุดหนึ่ง( หมายถึงญี่ปุ่นที่เกิดซึนามิ) ซึ่งแม้ไม่ได้เป็นประเทศคู่ค้ากับบริษัท svi ก็ตาม ก็ยังมีแนวโน้มที่เป็นห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องกันอยู่ดี...คำอธิบายคือ.. แหล่งวัตถุดิบในการซื้อป้อนเข้าบริษัทของอุตสาหกรรม อิเลคโทรนิกนั้น มีคู่ค่าสำคัญๆใหญ่ๆอยู่ไม่กี่ประเทศ ดังนั้น เมื่อญี่ปุ่นไม่สามารถส่งวัตถุดิบมาให้บริษัทต่างๆได้ บริษัทต่างๆเหล่านี้ก็ต้องดิ้นรนขวนขวายหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่นๆ ซึ่ง นำไปสู่ เหตุผลของการเชื่อมโยงเป็นห่วงโซ่ได้เช่นกัน แต่สิ่งที่บริษัทได้ให้คำอธิบายคือ ได้มีการใช้ระบบจัดการ ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อนำเข้าจากหลายๆประเทศ ถ้าประเทศหนึ่งชะลอการส่งวัตถุดิบ ก็จะยังสามารถติดต่อกับประเทศอีกประเทศได้ การสร้างสัมพันธ์กับคู่ค้า การใช้ระบบซื้อพ่วงกับบริษัทยักษ์ใหญ่( หมายถึง บริษัทยักษ์ใหญ่ซื้อวัตถุดิบในปริมาณมากๆ เราก็ขอพ่วงสั่งออร์เดอร์ซึ่งมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่ เราจึงมีโอกาสได้วัตถุดิบได้มาก) หรือแม้แต่การใช้กลยุทธ์ ซื้อเมื่อไม่มีใครต้องการ ดังเช่นในปี 2553 จะเห็นว่างบกระแสเงินสดลดลงเนื่องจากนำเงินสดไปซื้อวัตถุดิบกักตุนไว้ต้นปี 2553 ซึ่งท้ายสุด ในปลายปี 2553 ทำให้มียอดการขายพุ่งขึ้น
สรุปว่า วัตถุดิบ จึงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดสำหรับ ธุรกิจด้านนี้
3.order ลูกค้า... ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ส่วนนี้ (แม้ว่าจะหาข้อมูลตรงนี้ได้ยาก เพราะว่าน่าจะเป็นความลับพอสมควร) ถ้าไม่มีคนสั่งซื้อสินค้า มีความสามารถผลิตมากได้แค่ไหน วัตถุดิบมีเพียงพอแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่มีประโยชน์ ... สิ่งที่ บริษัทได้ทำกลยุทธ์ในส่วนนี้ คือการรุกคืบเข้าสู่ non -consumer market และการพยายามสร้างฐานลูกค้า
*** ผมมีข่าว ที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยเรื่อง ออร์เดอร์ลูกค้า ....(ขอลอกมาให้อ่าน)**** ที่มา: หนังสือพิมพ์ทันหุ้น Friday, March 11, 2011
นางพิสมัย สายบัว ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) ความต้องการ สินค้ายังคงเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากผลิตภัณฑ์กล้องวงจรปิดที่รวมคอมพิวเตอร์ไว้ในเครื่อง (IP-Camera) โดยล่าสุดทำให้คำสั่งซื้อล่วงหน้า ในมือ(Backlog) ของบริษัทปรับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงคิดเป็นกว่า 85% ของเป้าหมายการขายทั้งปี 2554 ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของยอดขายในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐในปีนี้จะสามารถขยายตัวได้สูงถึง 28% จากปีที่แล้วมาอยู่ที่ 330 ล้านบาท หรือมีมูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท "เป้าหมายยอดขายของถ้าดูในรูปของเงินเหรียญ (ดอลลาร์) จะตั้งไว้ที่ 28% ตอนนี้เรามีออเดอร์ล่วงหน้ากว่า 85% แล้ว ถ้าในรูปเงินบาทจะขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนแต่เรามีเป้าหมายไว้ที่ 1 หมื่นล้านบาท ถ้าค่าบาทแข็งค่าขึ้น บริษัทก็จะเร่งทำยอดขายให้สูงขึ้นเพื่อให้โตที่1 หมื่นล้านบาท" นางพิสมัยกล่าว พร้อมกันนี้ประเมินแนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส 1/2554 บริษัทคาดจะมียอดขายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 5% เมื่อเปรียบเทียบกับยอดขายในไตรมาส 4/2553 ที่ทำได้ประมาณ80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นางพิสมัย กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทจะมีกำลังการผลิตที่สามารถรองรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้จะมาจากโรงงานแห่งที่ 3 (SVI-3)มีกำลังการผลิตเต็มที่รวม 200 ล้านดอลลาร์ โดยขณะนี้ได้ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ เฟส 1 ขนาด 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว ส่วน SVI-3 เฟส 2 น่าจะสามารถดำเนินการผลิตได้ในช่วงกลางปีนี้ ส่วนกำลังการผลิตที่เหลือจะมาจากโรงงานแห่งที่ 2 (SVI-2) จำนวน200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโรงงานแห่งที่ 4 (SVI-4) ที่ตั้งอยู่ในประเทศจีน อีกกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโรงงานแห่งที่ 1 (SVI-1 )บริษัทอยู่ระหว่างการดำเนินการขายกิจการ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการหาผู้สนใจซื้อกิจการของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งบริษัทคาดหวังจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 2/2554 นี้ อย่างไรก็ตามตอนนี้บริษัทอยู่ระหว่างการลงทุนในโรงงานแห่งที่ 5 (SVI-5) ซึ่งปัจจุบันได้รับการโอนสินทรัพย์แล้ว โดยปีนี้ตั้งงบลงทุนในโรงงานแห่งที่ 5 จำนวน 250 ล้านบาท ภายใต้งบลงทุนทั้งปีนี้ที่ตั้งไว้ที่460 ล้านบาท
นอกจากนั้นแผนเข้าซื้อกิจการ(เทกโอเวอร์) ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับธุรกิจของ SVI ในประเทศแถบยุโรปขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาจำนวน 2-3 ราย ซึ่งบริษัทคาดจะได้ข้อสรุปช่วงไตรมาส 3/2554 ตามแผนที่กำหนดไว้ บริษัทในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่มีสต๊อก 1-2 เดือน - SVI มีลูกค้าที่ญี่ปุ่นหนึ่งราย อยู่ที่โอซาก้า ยอดขายไม่มากแต่กำไรดี เป็นการจ้างให้ผลิกอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งใช้เวลาในการผลิตนาน คำสั่งซื้อประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี และยังคงผลิตสินค้าให้ลูกค้าตามปกติ - โดยหลัก SVI จะรับจ้างผลิต หากต้นทุนวัตถุดิบมีการเพิ่มขึ้น สามารถผลักภาระคือเพิ่มราคาขายได้ - 1Q54-2Q54 เห็น Order หมดแล้ว อยู่ที่ว่าผลิตให้ทันหรือเปล่า แต่คาดว่าไม่น่ามีปัญหา - 3Q54-4Q54 ปัญหาต่างๆ ของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นน่าจะหมดไป - การสร้างโรงงานขึ้นมาใหม่ในญี่ปุ่น มองว่าเป็นผลดีสำหรับ SVI เพราะลูกค้าต้องใช้อุปกรณ์ในการควบคุมวงจรต่างๆ ของอุตสาหกรรม ตอนนี้ก็เริ่มมีติดต่อเข้ามาแล้ว ทำให้ Booking ดีขึ้น
สุดท้าย ด้วยความที่ปัจจุบันลูกค้าหลักของ svi ก็คือ กลุ่มตลาดในสแกนดิเนเวีย (กลุ่มนี้เป็นตลาดที่เล็กมากเมื่อเทียบกับ global market share ) แต่ด้วยศักยภาพของบริษัทที่พยายามเพิ่มสินทรัพย์ เพิ่มยอดการขาย เพิ่มความสามารถของบริษัท ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่เราจะติดตามก็คือ บริษัทกำลังพยายามจะโตในที่เล็กได้สำเร็จแค่ไหน ต้องลองติดตามดู .........
Create Date : 09 พฤษภาคม 2554 |
Last Update : 9 พฤษภาคม 2554 21:51:31 น. |
|
7 comments
|
Counter : 6949 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: ขอให้รุ่งเรืองๆครับ (PhooBearxx61 ) วันที่: 9 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:04:15 น. |
|
โดย: kunjoja (kunjoja ) วันที่: 9 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:09:06 น. |
|
โดย: ซี ศรีวะรมย์ IP: 61.19.67.208 วันที่: 9 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:19:08 น. |
|
โดย: kunjoja IP: 180.180.158.145 วันที่: 9 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:41:31 น. |
|
โดย: ซี ศรีวะรมย์ IP: 61.19.67.208 วันที่: 9 พฤษภาคม 2554 เวลา:23:03:59 น. |
|
โดย: kunjoja IP: 125.27.140.116 วันที่: 10 พฤษภาคม 2554 เวลา:6:05:41 น. |
|
โดย: dcc IP: 182.52.210.220 วันที่: 10 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:17:03 น. |
|
| |
|
kunjoja |
 |
|
 |
|