
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
GDP -ข่าวดีที่ต้องทบทวน
เมื่อบ่ายวันศุกร์ ผมได้ sms ตอนเวลา 14.57 มีข้อความว่า ธปท. ปรับคาดการณ์ GDP ปี 53 โต 6.5 -7.7 % จาก 4.3-5.8% คาด Q2/53 โตเกิน 7 %
(หมายเหตุ : โดยทั่วไปแล้วตัวเลขที่เกิดมักจะกล่าวในแง่การเติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหรือ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เช่นข้อมูลข้างต้น Q2/53 โตเกิน 7 % = เทียบกับ Q2/52 )
อ่านคร่าวๆแล้วรู้สึกถึงหัวใจพองโต เนื่องจากความสัมพันธ์ของ ตลาดหุ้น ในแง่ของ Market Capitalization และ GDP นั้นมักจะสอดคล้องกันเสมอ กล่าวโดยย่อๆคือ (แท้แล้วมีปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลด้วยเสมอแต่ถ้าเอาแค่สองปัจจัยมาเชื่อมโยงกันก็จะเป็นดั่งที่จะเขียนต่อไป)
โดยทั่วไปตลาดหุ้น จะมีIndexรวม ที่ปรับตัวขึ้นมาได้นั้นต้องมี Market Capitalization มาsupport นะครับ ถ้าขึ้นแบบไม่support ก็ทำให้ไม่เสถียรเพราะสุดท้ายแล้ว index โดยรวมของตลาด ก็ตอ้งปรับตัวลงมาให้สอดคล้องกับ Market Capitalizationเสมอ
และ GDP เองก็มีส่วนในการสนับสนุน Market Capitalization ก็คือ ถ้า GDP เราไม่เติบโตเพียงพอ การมี Market Capitalization ที่มากหรือสูง ก็จะแปรสภาพคล้ายๆ ภาวะฟองสบู่ (คนซื้อขายจำนวนมาก set indexสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ เศรษฐกิจหรือบริษัทจดทะเบียนไม่ได้มีการเติบโตตามได้ทัน) ท้ายสุด เมื่อฟองสบู่แตก ก็เป็นภาวะการปรับฐานของตลาดเมื่อรับกับความเป็นจริง .........
เขียนมาตั้งเยอะ ขอเล่าคร่าวๆของที่มาของ GDP ก่อน
GDP ย่อมาจากGross Domestic Product ( ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ )
แล้ว GDP เป็นการรวมของสิ่งใดได้บ้างล่ะ ..
GDP = C +I+G+(X-M)
C= Consumption การบริโภคสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายของครัวเรือน I= Investment การลงทุนของภาคเอกชน G=Government spending การบริโภคสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายและการลงทุนของภาครัฐบาล
X= Export การส่งออกสินค้าและบริการไปยังต่างประเทศ M=import การนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ ........
ที่ผมเขียนหัวข้อไว้ข้างบน ว่า ข่าวดี ที่ต้องทบทวน เพราะเหตุใด .......
1. การเติบโตของGDP นั้น ไม่ได้แปลว่า เศรษฐกิจของเราเหมารวมจะเติบโต เราจะเห็นว่าGDP มีตัวแปรหลายตัว คือ CIGXM ตย.เช่น ในช่วงที่ผ่านมามีข่าวเรื่องยอดการส่งออกสูงขึ้น แต่ในส่วนอื่นๆอาจจะไม่ได้สูงก็ได้
2. เมื่อเราทราบว่าการ GDP สูงขึ้น จากปัจจัยใด ก็ตอ้งลงลึกไปว่า ปัจจัยนั้นเกิดจากอะไร เช่น การส่งออกดี สินค้าอะไรที่มียอดการส่งออกดี ไม่ได้เหมารวมหมด ไม่งั้น เราก็จะพิจารณาการเลือกหุ้นได้ไม่ถูกตัว
3. ตัวประกาศหรือคาดการณ์นั้นคือ ตัวเลขในอดีต ไม่ได้แปลว่า อนาคตจะดีตามด้วยเช่นกัน
4. ตัวเลขGDP ที่คิดเทียบต่อไตรมาสต่อปีนั้น อาจจะเป็นภาพลวงตา ถ้าเรามาดูข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ ในปีก่อนๆ หรือไตรมาสเดียวกันของปีก่อนๆ อาจจะเติบโตมาจากฐานที่ต่ำก็ได้
หมายเหตุ :.ข้อมูลบางส่วนยกมาจากหนังสือออมไว้ในหุ้น ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ใครมีไอเดียมาแชร์หรือ คำแนะนำก็ยินดีครับผม
Create Date : 24 กรกฎาคม 2553 |
Last Update : 24 กรกฎาคม 2553 20:24:41 น. |
|
2 comments
|
Counter : 3645 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: Albert IP: 124.122.191.242 วันที่: 25 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:36:48 น. |
|
โดย: ไม่หล่อแต่เลว IP: 110.164.238.112 วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:23:04:45 น. |
|
| |
|
kunjoja |
 |
|
 |
|