ท้องเสีย อาการมือเท้าเย็นและรักษาโรครูมาติก
ขิงอ่อน และขิงแก่ จะให้สรรพคุณแตกต่างกัน
ขิงอ่อน มีสรรพคุณ แก้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
ส่วนขิงแก่ มีสรรพคุณ แก้ไอ หอบ ท้องอืด ปวดท้อง ปวดเอว (มีความเย็นมาก)
มือเท้าเย็น รักษาภาวะน้ำตาลมาก แก้อาเจียน
พุทราจีน ภาษาจีนเรียกว่า อั่งจ๊อ และหมุยจ้อ
สรรพคุณ
มีฤทธิ์อุ่น รสหวาน นิยมนำมาประกอบในตำรับจีนเพื่อลดฤทธิ์ความรุนแรงของเครื่องยาจีน
ช่วยให้ร่างกายดูดซึมยาได้ดีขึ้น และลดอาการแพ้ยา
ผลสดและแห้ง บำรุงร่างกาย ม้าม ตับ สมอง ช่วยขับปัสสาวะ เพิ่มปริมาณเลือด บรรเทาอาการโลหิตจาง รักษาเบาหวาน แก้อาการนอนไม่หลับ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดไขมันในเลือด รักษาอาการตับแข็งในผู้ที่ดื่มสุรา
พุทราจีนแห้ง กินป้องกันมะเร็ง แก้ท้องเสีย
ราก ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเปื่อย โรคทางเดินอาหาร และแก้ไข้
ใบ มีรสฝาด เพราะมีสารแทนนิน (tannin) สูงใช้เป็นยาลดไข้
เนื้อในเมล็ด ช่วยผ่อนคลายประสาท ทำให้นอนหลับสบาย
สารเพกทิน ( pectin)
ในพุทราจีน ช่วยจับโลหะหนักที่ตกค้างในร่างกาย และลดคอเลสเตอรอล
เห็ดหูหนูดำ ภาษาจีนเรียกว่า โอวหมักยื่อ
สรรพคุณ
มีฤทธิ์เป็นกลาง รสหวาน บำรุงกำลัง บำรุงเลือด
ขับลมในกระเพาะ ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี
ช่วยห้ามเลือด จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในเรื่องการถ่ายปัสสาวะ
หรือ อุจจาระปนเลือด หรือมีเลือดออกในช่องท้อง
มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์
มีเส้นใยอาหารสูงและมีไขมันต่ำ จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
มีเบตาแคโรทีน
มีโปรตีนที่ดี และย่อยง่าย ทั้งยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ที่ร่างกายต้องการ
(ขอบคุณสรรพคุณประโยชน์ขิงพุทราจีนเห็ดหูหนูดำจากหนังสือมหัศจรรย์สมุนไพรจีนบ.ซีเอ็ดยูเคชั่น ฯ)

วิธีทำ
1. ขิงแก่ ปอกเปลือกหรือไม่แล้วแต่ ล้างน้ำให้สะอาด ทุบหรือหั่นชิ้นบางๆ
2. พุทราจีนแช่น้ำ ล้างให้สะอาด ฉีกครึ่งลูก
3. เห็ดหูหนูสดหรือแห้ง แช่ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
4. สมุนไพร ทั้ง 3 อย่างใช้แต่ละครั้งในปริมาณเท่ากัน เช่น
อย่างละ 1 กำมือใช้น้ำ 1 ลิตร หรือ อย่างละ 100 กรัม ต่อน้ำ 2 ลิตร ต้มในน้ำเดือดเบาๆ
เมื่อต้มไปสักพักใช้ทัพพีนำพุทราจีนที่ลอยมากดข้างหม้อให้เนื้อพุทราจีนกระจาย
จะต้มนาน 30 นาที หรือตุ๋นนาน มากกว่า 1 ชั่วโมงแล้วแต่สะดวก
( เพราะตามสูตรที่เผยแพร่ตุ๋นนานถึง 2-4 ชม.)
5. เมื่อต้มนานตามต้องการ ก็กรองหรือตักแต่น้ำใส่ถ้วย/แก้วดื่มอุ่นๆ หรือเย็นตามชอบ
6. เนิื้อ ขิง พุทราจีน เห็ดหูหนู ที่นำน้ำออกไปแล้วจะนำไปทำอาหารอื่นๆ
หรือปั่นเป็นซุปปรุงรสตามชอบ แต่ถ้าต้มตุ๋นใส่เนื้อหมู ฯ
( ระวังไขมันในเนื้อสัตว์ด้วย ควรใช้เนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน) ก็กินไปด้วยกันได้เลย

ไฟเขียววิจัย 3 สมุนไพร รักษาเส้นเลือดตีบ
" จากกรณี นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ หรือ
หมอเบิร์ด ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาท
โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม จ.เชียงใหม่
ออกมาระบุว่า ได้รับคนไข้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบมารักษาหลายราย แต่อาการไม่ดีขึ้น เพราะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เพื่อทำบัลลูนขยายหลอดเลือด แต่คนไข้กลัวการผ่าตัดมาก จึงหลีกเลี่ยงและขอไปรักษาด้วยการกินยาสมุนไพร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมา น่าตกใจ เมื่อเอกซเรย์ และฉีดสีดูเส้นเลือดที่ตีบ พบว่าเส้นเลือดจากผิวขรุขระ กลายเป็นผิวเรียบสวย
โดยคนไข้เล่าให้ฟังว่า พุทราจีนแห้ง-ขิง-เห็ดหูหนูดำ เมื่อนำมาตุ๋นรวมกันแล้วดื่มในตอนเช้าและเย็น จนมีอาการดีขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ข้อมูลทั้งหมดยังไม่มีงานวิจัยออกมารองรับ หากโรงพยาบาลของรัฐมีความสนใจ ทางโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม พร้อมที่จะให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและรักษาในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
ความคืบหน้าในเรื่องนี้ นพ.ประชา กล่าวกับ เดลินิวส์ออนไลน์ ว่า ขณะนี้ได้รับอนุญาตจากนพ.วรพันธ์ อุณจักร ผอ.โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม ให้ประสานไปยังแพทย์อายุรกรรมผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อต่อยอดในการทำวิจัยสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด มาใช้รักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ