Group Blog
สิงหาคม 2561

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
การใช้ดินสอหัดเขียนของเด็กเล็ก
 
 
ทำไมเราควรให้เด็กๆ ใช้ "ดินสอไม้" ในการขีดเขียน
 ทั้งๆ ที่ "ปากกาลูกลื่น" “ดินสอกด” ใช้ง่าย ไม่ต้องเหลา สะดวกสบายกว่าตั้งเยอะ?
 
เหตุผลคือ ดินสอไม้นอกจากจะมีความแข็งแรง ทนต่อแรงกดของเด็กแล้ว ด้ามจับที่ทำจากไม้ส่งผลต่อการจับที่มั่นคง เพราะผิวสัมผัสไม่ลื่นเหมือนพลาสติกหรือเหล็ก ที่สำคัญเนื้อไส้ดินสอที่ทำให้การเขียนต้องออกแรงกดพอประมาณ ไส้ไม่หักง่ายเหมือนดินสอกด และไม่ลื่นเหมือนปากกาลูกลื่น ทำให้เด็กๆ ต้องค่อยๆ ลาก ค่อยๆ ขีด ค่อยๆ เขียน ความช้าที่เกิดขึ้นทำให้เด็กมีสมาธิมากกว่า การใช้อุปกรณ์ที่เขียนได้ลื่นมือ นอกจากนี้ด้วยราคาที่ไม่แพงจนเกินไปผนวกกับความเรียบง่ายของดินสอไม้ ทำให้เด็กๆ สามารถให้ความสนใจสิ่งสำคัญอย่าง “การเขียน” และ “การวาด” ได้อย่างเต็มที่
 
ดังนั้น ความสำคัญของการเลือกอุปกรณ์สำหรับการขีดเขียนให้เด็กๆ จึงต้องคำนึงมากกว่า “ความสวยงาม” และ “ความสะดวกสบาย” แต่ต้องคำนึงถึง “ความเหมาะสม” กับการใช้งานของเด็ก แต่ละช่วงวัยของเขาด้วย
 
ในเด็กวัย 1 ปี - 1 ปีครึ่ง เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มหัดจับอุปกรณ์เพื่อขีดเขียน เราไม่ควรให้เริ่มจากอุปกรณ์ที่มีตัวด้ามรูปร่างผอม (ขนาดดินสอหรือปากกาปกติ) เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กของเขาเพิ่งจะพัฒนา “สีเทียน” ด้ามอ้วน จึงเหมาะแก่การฝึกจับในช่วงแรก นอกจากตัวด้ามที่เหมาะมือแล้ว ความคงทนต่อแรงกดของเด็กน้อย ที่ยังควบคุมน้ำหนักมือไม่ได้ จึงทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการฝึกใช้อุปกรณ์เพื่อขีดเขียน
 
ในเด็กวัย 2 - 3 ปี เด็กๆ เริ่มพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมาพอสมควร การเลือกใช้อุปกรณ์สามารถนำ “ดินสอ” สำหรับเด็ก ที่มาตัวด้ามจับที่ใหญ่กว่าปกติ อาจจะเป็นด้ามที่มีลักษณะแบบสามเหลี่ยมจะยิ่งเหมาะมือเด็กมากขึ้น ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่เราต้องให้เด็กรู้สึกดีกับการขีดเขียน ไม่ใช่การบังคับเขียน ให้เขาได้วาดอิสระ เขียนเส้นขยุกขยุย เส้นขีดมากมาย ได้เต็มที่เลย ขอเพียงเด็กน้อยสนุกกับการขีดเขียนก็พอ
 
ในเด็กวัย 3 - 4 ปี เด็กๆ เริ่มจับดินสอได้ดีขึ้น อาจจะยังไม่ถูกสักทีเดียว แต่เราสามารถปรับแต่งท่าทางได้เรื่อยๆ เป็นวัยที่เรายังปรับเปลี่ยนเขาได้อยู่ การเขียนในวัยนี้อาจจะเพิ่มการวาดรูปต่างๆ ตามจินตนาการ ที่มีเป้าหมายมากขึ้น และเพิ่มการควบคุมน้ำหนักมือเวลาลากเส้นต่างๆ แต่การเขียนตัวอักษรได้ยังไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของวัยนี้ 
 
ในเด็กวัย 4 ปีครึ่ง - 7 ปี เป็นวัยที่การจับดินสอต้องถูกต้อง เพื่อให้เด็กเรียนรู้ และจดจำท่าทางที่เหมาะสมไปตลอด การจับดินสอที่ถูกต้องจะช่วยให้เด็กไม่เมื่อยล้า และไม่เกิดการเสียดสีที่บางนิ้วมือจนเป็นตุ่มพอง เด็กจะเขียนได้ดี และควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้นเมื่อจับดินสอได้ถูก การเขียนในวัยนี้นอกจากเส้น และรูปทรงแล้ว ตัวเลขจะเป็นสิ่งที่เด็กเริ่มเขียนได้ ต่อมาคือตัวอักษรภาษาอังกฤษ และภาษาไทย เพราะลำดับความซับซ้อนของเส้น ตัวเลขจะง่ายที่สุด ตามมาคือตัวอักษรภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
 
นอกจากนี้ “ท่าทางการนั่ง” ก็ส่งผลต่อการเขียนของเด็กเช่นกัน ไม่ควรนอน หรือ นั่งพื้นเพื่อเขียนหนังสือ เพราะจะทำให้เมื่อยล้า และเสียสุขภาพทั้งหลัง (ไม่ตรง) และสายตาได้
 
อย่างไรก็ตาม ในเด็กที่เริ่มใช้ปากกาได้ คือช่วงวัย 10 ปีขึ้นไป การใช้ปากกาลูกลื่นควบคู่กับการใช้ปากกาหมึกซึมหรือปากกาแร้ง (จุ่มหมึก) จะช่วยให้เด็กๆ ไม่รีบร้อนเขียน และควบคุมน้ำหนักมือได้ดี ที่สำคัญได้ฝึกสมาธิด้วย
 
สมัยที่แอดมินเป็นนักเรียนประถมปลาย (ประมาณ 15 ปีก่อน) แอดมินต้องเรียนวิชา “คัดลายมือ” ปากกาที่ใช้คือ “ปากกาหมึกซึม” และ “ปากกาคอแร้ง” 
ช่วงแรกที่แอดมินใช้ปากกาหมึกซึม แขนเสื้อนักเรียนที่เป็นแขนยาวจะมีรอยดวงหมึกกลับบ้านเป็นประจำ เช่นเดียวกับสมุดที่เขียนหน้าหนึ่งทะลุไปถึงหน้าหลัง ดีไม่ดีทะลุไปสองสามหน้า ถ้ากดหนักจนหัวปากกาแตก แต่ไม่นานหลังจากนั้นแอดมินพบว่า ตัวเองเขียนได้ดี ตัวอักษรมีความสม่ำเสมอ และเป็นระเบียบกว่าตอนที่ใช้ปากกาลูกลื่นเขียนมาก 
 
“อุปกรณ์การเขียน” จึงสำคัญพอๆ กับการฝึกเขียน สิ่งที่ใหม่กว่า สวยงามกว่า สะดวกสบายกว่า ใช่ว่าจะเหมาะสมกับการฝึกเขียน 
"ความเรียบง่าย แต่คงทน" และ "ช้าๆ แต่สม่ำเสมอ" อาจจะจำเป็นกว่านัก
 
ถ้ามีโอกาส ลองเหลาดินสอด้วยมีดคัตเตอร์ เหมือนสมัยก่อนให้เด็กๆ ได้เห็น เขาอาจจะอึ้งและทึ่งมาก เพราะปัจจุบันนี้เขาคงเห็นแต่ขั้นตอนที่เขานำดินสอเสียบเข้าไปในเครื่องไม่กี่วินาที ดินสอก็ถูกเหลาจนแหลมแล้ว การที่เขาได้เห็นถึงที่มาที่ไป ก็เป้นการเรียนรู้อย่างหนึ่งเช่นกัน
 
ความสำคัญของการเขียนจึงไม่ใช่แค่เพื่อให้ได้ตัวอักษรที่สวยงาม แต่เพื่อให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเขา ให้มือจดจำน้ำหนักและทิศทางการเคลื่อนไหว เพื่อให้สมองได้พัฒนา และการควบคุมน้ำหนักมือจะช่วยให้เขาควบคุมตนเองได้ดีขึ้น
 
ไป “ช้าๆ ไป “เรื่อยๆ” แต่ ไป “จนจบ” ดีกว่า
 
 
อ้างอิง
Selin, A-S. Pencil grip: a descriptive model and 4 empirical studies (dissertation). Abo Akademi University Press, 2003.
 
 
ที่มา : เพจตามใจนักจิตวิทยา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=270332077092887&id=199345480858214
 
 เคยจำได้มีหนังสือเขียนเรื่องนี้ เคยอ่านนานแล้ว น่าจะของสำนักพิมพ์แพรวหรืออย่างไร ลองหาดูน่ะค่ะ
 
เพิ่มเติม  ดูได้จากบล็อคของครูมดอีกหน้าน่ะค่ะ    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jewelmoda&month=12-01-2013&group=19&gblog=29



Create Date : 11 สิงหาคม 2561
Last Update : 15 มีนาคม 2566 7:31:22 น.
Counter : 43 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jewelmoda
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]



ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่อยากทำงานด้านเด็ก อยากเป็นครู แต่กลับต้องไปทำงานแบงค์ เมื่อขอเออรี่ออกมา ขอหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อการพัฒนาเด็กไทย

Myspace angels graphics
New Comments
Friends Blog
[Add jewelmoda's blog to your weblog]