Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

สังคมไทยไม่เคยเปลี่ยน : กม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กับเครื่องมือทางการเมือง กรณี ใจ อึ๊งภากรณ์ ถูกฟ้อง

ใจ อึ๊งภากรณ์’ ได้รับหมายเรียก ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ล่าสุด)



11 ม.ค.52 รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในความผิดฐาน ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยผู้กล่าวหาคือ พันตำรวจโท พันศักดิ์ ศาสนอนันต์ และระบุให้เขาไปรายงานตัวต่อ พันตำรวจโท อุดม เปี่ยมศักดิ์ ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในวันอังคารที่ 13 ม.ค.52 เวลา 13.00 น.

รศ.ใจระบุว่า หมายเรียกดังกล่าวลงวันที่ 25 ธ.ค.51 แต่เนื่องจากเขาเพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศจึงได้รับทราบในวันนี้ (11 ม.ค.) โดยไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกล่าวหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เขาจะแถลงข่าวที่หน้าสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในเวลา 12.30 น. และพร้อมที่จะตอบคำถามของนักข่าวภายหลังที่ได้เข้าไปพบตำรวจแล้ว นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์เรื่องดังกล่าวไปยังสำนักข่าวต่างประเทศ สถานทูตต่างๆ และนักวิชาการที่สนใจประเทศไทยในต่างประเทศอีกด้วย

รศ.ใจกล่าวว่า สถาบันกษัตริย์ได้ถูกนำมาอ้างในการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น กรณี รัฐประหาร 19 กันยา และกรณีการปิดสนามบินโดยพันธมิตรฯ เป็นต้น และข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นเดชานุภาพถูกใช้ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง จนมีนักวิชากรและนักสิทธิมนุษยชนหลายคนมองว่ากฎหมายหมิ่นเดชานุภาพมีผลในด้านลบต่อสถานบันกษัตริย์

“มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่นักรัฐศาสตร์ในประเทศไทยจะต้องพยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ในบรรยากาศที่ต้องมีการปกป้องสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ และสิทธิเสรีภาพทั่วไปในระบอบประชาธิปไตย การใช้กฎหมายหมิ่นเดชานุภาพเพื่อพยายามปิดปากนักวิชาการเป็นการพยายามสร้างบรรยากาศที่ประชาชนจะไม่สามารถรับรู้แลกเปลี่ยนและถกเถียงเกี่ยวกับสถาบันที่มีความสำคัญกับสังคมไทย” ใจ กล่าว

เขากล่าวด้วยว่า เขาได้จัดทำบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่พยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปอ่านอย่างเสรีได้ และนำเสนอบทความดังกล่าวในงานประชุมรัฐศาสตร์แห่งชาติที่พึ่งจัดขึ้นที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อีกด้วย

เขาระบุว่า เนื่องจากข้อกล่าวหาในครั้งนี้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ คำถามสำคัญคือ รัฐบาลใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้และคดีอื่นๆ อีกหลายคดีอย่างไรหรือไม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะเข้มงวดมากขึ้นในคดีหมิ่นเดชานุภาพ และในวันที่ 23 ธันวาคม 2551 ก็มีการกล่าวหานักข่าว BBC ประจำกรุงเทพในข้อหาเดียวกัน

“เราพร้อมที่จะสู้ข้อกล่าวหาคดีหมิ่นเดชานุภาพในทุกรูปแบบเพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย” ใจกล่าว

อนึ่ง รศ.ใจได้แจ้งเปลี่ยนสถานที่แถลงข่าว เป็นที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 13 ม.ค. เวลา 12.30 น. ส่วนการไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สน.ปทุมวัน นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงเวลานัดหมายเป็นวันที่ 20 ม.ค. นี้ ขณะที่รายละเอียดเกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหาครั้งนี้ รศ.ใจได้สอบถามจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทราบว่ามาจากกรณีการเขียนหนังสือภาษาอังกฤษเรื่อง A Coup for the Rich





ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตำรวจนครบาลสั่งห้ามขายหนังสือ A Coup for the Rich




--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ประชาไท วันที่ : 12/1/2552




แถลงข่าวโดย รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ กรณีคดีหมิ่นเดชานุภาพ


อย่างที่ทราบกัน ผมได้รับหมายเรียกพบตำรวจที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในวันอังคารที่ 20 มกราคม 2552 เวลา 10.00 น. คดีนี้มาจากหนังสือวิชาการภาษาอังกฤษของผมชื่อ “A Coup for the Rich” ซึ่งตีพิมพ์ในต้นปี ๒๕๕๐

มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่นักรัฐศาสตร์ในประเทศไทย จะต้องพยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ในบรรยากาศที่มีเสรีภาพทางวิชาการ แต่สถาบันกษัตริย์ได้ถูกนำมาอ้างในการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น กรณี รัฐประหาร 19 กันยา และกรณีการปิดสนามบินโดยพันธมิตรฯเป็นต้น และข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นเดชานุภาพถูกใช้ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง

1. กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประเทศไทยเป็นอุปสรรคในการทำงานของสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตย เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและห้ามไม่ให้พลเมืองตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ด้วยความโปร่งใส พลเมืองไทยถูกชักชวนให้เชื่อว่าเราดำรงอยู่ในระบบกษัตริย์แบบโบราณ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างระบบศักดินา ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข

2. การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประเทศไทยเป็นการพยายามจำกัดการพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วยปัญญา เป็นการพยายามที่จะห้ามการคิดเองเพื่อส่งเสิรมระบบท่องจำในหมู่ประชาชน ตัวอย่างที่ดีคือ กรณีเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเมื่อมีการเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชวัง มีความคาดหวังในสังคมว่าเราจะชื่นชมและยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่ดีที่การล้างสมองแบบนี้ไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะสังคมใดที่พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในเรื่องในโยบายเศรษฐกิจและการเมืองไม่ได้ ย่อมเป็นสังคมที่ด้อยพัฒนา

3. กองทัพมักจะอ้างว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์ในระบบรัฐธรรมนูญ แต่ทหารไทยมีประวัติอันยาวนานในการทำลายรัฐธรรมนูญด้วยการทำรัฐประหาร บ่อยครั้งรัฐประหารดังกล่าวจะอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ รัฐประหารหาร 19 กันยา เป็นตัวอย่างที่ดี เราควรเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าวมิได้กระทำเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นการอ้างถึงสถาบันกษัตริย์เพื่ออ้างความชอบธรรมกับการปฏิบัติของทหาร ดังนั้นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกใช้โดยทหารและกลุ่มเผด็จการอื่นๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเขา การสร้างภาพว่าสถาบันกษัตริย์มีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เป็นการพยายามสร้างความชอบธรรมกับตนเองโดยทหารและกลุ่มอื่นๆ

4. ระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญภายประชาธิปไตยทั่วโลกมีเสถียรภาพ ในขณะที่ประชาชนมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์อย่างเต็มที่ ดั้งนั้นเราจะต้องสรุปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างเสถียรภาพกับสถาบันกษัตริย์แต่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น

5. ผู้ที่กล่าวหาผมว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวหาผมเพราะผมมีจุดยืนและอุดมการณ์ในการต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการ นักเคลื่อนไหวอื่นหลายคนถูกข้อกล่าวหาเช่นเดียวกัน และเราไม่ควรจะลืมกรณีของพวกเขา เราจะต้องรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยและการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งในสังคมไทยและเวทีสากล


หนังสือ A coup for the rich

ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ หลังการทำรัฐประหาร 19 กันยา เพื่อเป็นการวิเคราะห์วิกฤติการเมืองไทยในเชิงวิชาการจากจุดยืนที่สนับสนุนประชาธิปไตย ในขณะที่ผมวิพากษ์วิจารณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทักษิณมาตลอด ผมได้เสนอว่าการทำรัฐประหารขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง ผมเสนอว่ากลุ่มที่สนับสนุนรัฐประหารประกอบไปด้วย ทหาร พันธมิตรฯ นักธุรกิจบางส่วน นักเสรีนิยมสุดขั้ว และข้าราชการอนุรักษ์นิยม กลุ่มเหล่านี้มีจุดร่วมในการดูถูกคนจน เขาไม่ชื่นชมในระบบประชาธิปไตย เพราะเขามองว่าคนจนไม่ควรจะมีสิทธิเลือกตั้ง และเขาเกลียดชังพรรคการเมืองของทักษิณเพราะมีความสามารถในการชนะการเลือกตั้งในขณะที่เขาเองชนะการเลือกตั้งไม่ได้

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในหนังสือของผม เป็นการตั้งคำถามกับความเชื่อในสังคมไทยว่าวิกฤตินี้มาจากความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์กับทักษิณ ประเด็นนี้อาจจะสร้างความโกรธแค้นในหมู่ทหาร คมช. เพราะเขาต้องการสร้างความชอบธรรมจากพระราชวังในการทำรัฐประหาร ในประเด็นนี้ผมพยายามที่จะกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยการตั้งคำถามว่าสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตยควรจะปกป้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยหรือไม่ ในบทที่สองของหนังสือ ผมพยายามวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ไทยตามประวัติศาสตร์ โดยเสนอว่าสถาบันกษัตริย์ในยุคนี้เป็นสถาบันสมัยใหม่ ไม่ใช่สถาบันศักดินา

ผมปฏิเสธโดยสิ้นเชิงข้อกล่าวหาว่าผมได้ก่ออาชญากรรมด้วยการเขียนหนังสือเล่มนี้ และผมพร้อมที่จะสู้ข้อกล่าวหาคดีหมิ่นเดชานุภาพในทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย

เนื่องจากข้อกล่าวหาในครั้งนี้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ คำถามสำคัญคือ รัฐบาลใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้และคดีอื่นๆอีกหลายคดีอย่างไร เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะเข้มงวดมากขึ้นในคดีหมิ่นเดชานุภาพ


13 มกราคม 2552






‘ใจ’ เชื่อโดนฟ้องคดีหมิ่นฯ เพราะต้านรัฐประหาร-เผด็จการ


เมื่อเวลา 12.30น. ของวันที่ 13 ม.ค. ใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีได้รับหมายเรียกในความผิดฐาน ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ม.112 ป.อาญา) หรือคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ณ ตึก 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศหลายสำนักเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวและซักถาม



ใจระบุว่า คดีนี้มาจากหนังสือวิชาการภาษาอังกฤษของเขาที่ชื่อ “A Coup for the Rich” ซึ่งตีพิมพ์ในต้นปี 2550 แต่ยังไม่ทราบว่าส่วนใดของหนังสือที่ถูกดำเนินคดี ทั้งนี้ เขาจะไปรายงานตัว ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในวันอังคารที่ 20 มกราคม 2552 เวลา 10.00 น.



ใจกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ หนังสือเล่มนี้ได้ถูกปฎิเสธไม่วางจำหน่ายจากศูนย์หนังสือจุฬาฯ และต่อมา ตำรวจสันติบาลได้เคยทำหนังสือขอความร่วมมือไปศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ให้จำหน่ายหนังสือดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าหนังสือของเขาเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและอยู่ระหว่างสืบสวน อย่างไรก็ตาม ใจกล่าวว่า หนังสือดังกล่าวซึ่งมียอดพิมพ์ทั้งสิ้น 1,000 เล่ม ได้ขายหมดแล้ว แต่สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ //wdpress.blog.co.uk/



เขากล่าวว่า มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่นักรัฐศาสตร์ในประเทศไทย จะต้องพยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ในบรรยากาศที่มีเสรีภาพทางวิชาการ แต่สถาบันกษัตริย์ได้ถูกนำมาอ้างในการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น กรณีรัฐประหาร 19 กันยา และกรณีการปิดสนามบินโดยพันธมิตรฯ เป็นต้น และข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นเดชานุภาพถูกใช้ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง



“กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยเป็นอุปสรรคในการทำงานของสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตย เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและห้ามไม่ให้พลเมืองตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ด้วยความโปร่งใส พลเมืองไทยถูกชักชวนให้เชื่อว่าเราดำรงอยู่ในระบบกษัตริย์แบบโบราณ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างระบบศักดินา ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข”



ใจ แสดงความเห็นว่า การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยเป็นการพยายามจำกัดการพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วยปัญญา เป็นการพยายามที่จะห้ามการคิดเองเพื่อส่งเสริมระบบท่องจำในหมู่ประชาชน ตัวอย่างที่ดีก็คือกรณีเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเมื่อมีการเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชวัง มีความคาดหวังในสังคมว่า เราจะชื่นชมและยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ดีที่การล้างสมองแบบนี้ไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะสังคมใดที่พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองไม่ได้ ย่อมเป็นสังคมที่ด้อยพัฒนา



ทั้งนี้ กองทัพมักจะอ้างว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์ในระบบรัฐธรรมนูญ แต่ทหารไทยมีประวัติอันยาวนานในการทำลายรัฐธรรมนูญด้วยการทำรัฐประหาร บ่อยครั้งรัฐประหารดังกล่าวจะอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ รัฐประหาร 19 กันยาเป็นตัวอย่างที่ดี เราควรเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าวมิได้กระทำเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นการอ้างถึงสถาบันกษัตริย์เพื่ออ้างความชอบธรรมกับการปฎิบัติของทหาร ดังนั้นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกใช้โดยทหารและกลุ่มเผด็จการอื่นๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเขา การสร้างภาพว่าสถาบันกษัตริย์มีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เป็นการพยายามสร้างความชอบธรรมกับตนเองโดยทหารและกลุ่มอื่นๆ



“ระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกมีเสถียรภาพ ในขณะที่ประชาชนมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์อย่างเต็มที่ ดังนั้นเราจะต้องสรุปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างเสถียรภาพกับสถาบันกษัตริย์แต่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น”



ใจกล่าวว่า ผู้ที่กล่าวหาผมว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวหาผมเพราะผมมีจุดยืนและอุดมการณ์ในการต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการ นักเคลื่อนไหวอื่นหลายคนถูกข้อกล่าวหาเช่นเดียวกัน และเราไม่ควรจะลืมกรณีของพวกเขา เราจะต้องรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยและการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งในสังคมไทยและเวทีสากล



ส่วนหนังสือ A Coup for the Rich นั้น ใจกล่าวว่า เขาเขียนหนังสือเล่มนี้ หลังการทำรัฐประหาร 19 กันยา เพื่อเป็นการวิเคราะห์วิกฤติการเมืองไทยในเชิงวิชาการจากจุดยืนที่สนับสนุนประชาธิปไตย ในขณะที่เขาวิพากษ์วิจารณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทักษิณมาตลอด เขาได้เสนอว่าการทำรัฐประหารขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง เสนอว่ากลุ่มที่สนับสนุนรัฐประหารประกอบไปด้วยทหาร พันธมิตรฯ นักธุรกิจบางส่วน นักเสรีนิยมสุดขั้ว และข้าราชการอนุรักษ์นิยม กลุ่มเหล่านี้มีจุดร่วมในการดูถูกคนจน ไม่ชื่นชมในระบบประชาธิปไตย เพราะมองว่าคนจนไม่ควรจะมีสิทธิเลือกตั้ง และเกลียดชังพรรคการเมืองของทักษิณเพราะมีความสามารถในการชนะการเลือกตั้งในขณะที่ตนเองชนะการเลือกตั้งไม่ได้



“อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในหนังสือของผม เป็นการตั้งคำถามกับความเชื่อในสังคมไทยว่าวิกฤตินี้มาจากความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์กับทักษิณ ประเด็นนี้อาจจะสร้างความโกรธแค้นในหมู่ทหาร คมช. เพราะเขาต้องการสร้างความชอบธรรมจากพระราชวังในการทำรัฐประหาร ในประเด็นนี้ผมพยายามที่จะกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยการตั้งคำถามว่าสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตยควรจะปกป้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยหรือไม่ ในบทที่สองของหนังสือ ผมพยายามวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ไทยตามประวัติศาสตร์ โดยเสนอว่าสถาบันกษัตริย์ในยุคนี้เป็นสถาบันสมัยใหม่ ไม่ใช่สถาบันศักดินา



“ผมปฏิเสธโดยสิ้นเชิงข้อกล่าวหาว่าผมได้ก่ออาชญากรรมด้วยการเขียนหนังสือเล่มนี้ และผมพร้อมที่จะสู้ข้อกล่าวหาคดีหมิ่นเดชานุภาพในทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย”



เขากล่าวว่า เนื่องจากข้อกล่าวหาในครั้งนี้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ คำถามสำคัญคือ รัฐบาลใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้และคดีอื่นๆ อีกหลายคดีอย่างไร เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะเข้มงวดมากขึ้นในคดีหมิ่นเดชานุภาพ




--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ประชาไท วันที่ : 14/1/2552





 

Create Date : 14 มกราคม 2552
0 comments
Last Update : 14 มกราคม 2552 14:50:38 น.
Counter : 1208 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.