Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
เปิด "จุดอ่อน" ที่ไร้ "จุดแข็ง" กม.มั่นคงของไทย VS ของนอก


ที่มา - ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการด้านความมั่นคง ให้ข้อคิดเห็นถึงกฎหมายแม่บทด้านความมั่นคงในต่างประเทศ เทียบเคียงกับ ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ... ของไทย มีข้อน่าสนใจหลายประการ "มติชน" ขอนำเสนอ...

"...กฎหมายในลักษณะของซิเคียวริตี้แอ๊ค โดยหลักการแล้วจำเป็นต้องมี เพราะปัจจุบันภัยในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะภัยการก่อการร้าย สงคราม และอาชญากรรมรูปแบบใหม่ต่างๆ เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน หลายประเทศยังไม่มีกฎหมายรับมือเรื่องนี้

"แต่สำหรับประเทศไทย ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ...ที่อยู่ในขั้นการพิจารณาของกฤษฎีกา ผมมองว่าหลักการนั้นพร้อม แต่พอได้อ่านในเนื้อหา กลับคิดว่ายังไม่เหมาะ เพราะเขียนเอาไว้ค่อนข้างสับสน ทั้งเรื่องการใช้อำนาจและการตรวจสอบถ่วงดุลเมื่อเทียบกับต่างประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้ยังห่างชั้น

"กฎหมายในลักษณะชิเคียวลิตี้แอ๊คมีหลายประเทศใช้อยู่ ไม่ว่าสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย จะคล้ายคลึงกันในเรื่องหลักการ แต่กฎหมายของแต่ละประเทศจะออกแบบเพื่อให้กับสถานการณ์ในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน แต่รวมๆ แล้วยังแตกต่างกับของไทย

"ในต่างประเทศ กฎหมายถูกออกแบบมาเพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาภัยรูปแบบใหม่อย่างแท้จริง แต่ของไทยยังไม่นำไปสู่สิ่งเหล่านี้ ยังไม่เข้าหลักการที่กฎหมายด้านความมั่นคงพึงมี คิดว่า พ.ร.บ.ความมั่นคงเป็นการผสมผสานระหว่าง พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ ถ้ากฎอัยการศึกอยู่ในระดับ 5 พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่ในระดับ 3 พ.ร.บ.ความมั่นคงจะอยู่ในระดับ 4

"แต่กฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ก็ยังไม่ตอบโจทย์ของการแก้ปัญหาความมั่นคง โดยเฉพาะการก่อการร้ายสากล แต่ส่วนใหญ่จะตอบการแก้ปัญหาทางการเมืองเสียมากกว่า เพราะมีหลายส่วนที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ

"สหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่มี พ.ร.บ.กระทรวงความมั่นคงประเทศ หรือที่เรียกกันว่า กระทรวงโฮมแลนด์ ฝ่ายทหารจะมีบทบาทน้อยมาก เป็นเพียงผู้ปฏิบัติ แต่อำนาจดำเนินการ บริการสั่งการ เป็นของฝ่ายบริหารและพลเรือน มีการตั้งกรรมการซึ่งมาจากฝ่ายบริหารและพลเรือนขึ้นมาโดยเฉพาะ รวมทั้งสิงคโปร์ มาเลเซียก็ให้ฝ่ายพลเรือนกำกับดูแลเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงภายใน แต่ของไทยให้อำนาจฝ่ายทหารมากเกินไป แม้ พ.ร.บ.ความมั่นคงจะให้นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งเป็นบอร์ดใหญ่ แต่อำนาจในการออกประกาศคำสั่ง สั่งการ กลับตกอยู่ในมือของ ผอ.รมน.ก็คือ ผบ.ทบ.โดยตำแหน่ง

"หลักการของการออกกฎหมายความมั่นคง ต้องไม่ขัดหลักการกฎหมายทุกฉบับ ทั้ง กฎหมายอาญา กฎหมาย ปปง. โดยเฉพาะกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าขัดหลักการตรงนี้จะนำไปสู่การใช้อำนาจตามอำเภอใจได้

"นอกจากนี้ต้องได้ดุลพอสมควรระหว่างการใช้อำนาจกับการตรวจสอบการใช้อำนาจ และฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบโดยตรง หากการใช้อำนาจตามกฎหมายมีปัญหา ในต่างประเทศถึงขนาดฝ่ายบริหารต้องลาออก แต่ของไทยกลับมีบทบัญญัตินิรโทษกรรมในมาตรา 37 ที่ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง อาญา และวินัย รวมถึงมาตรา 36 ที่ไม่ถือว่าเป็นวิธีพิจารณาคดีทางปกครองคือ ฟ้องศาลไม่ได้ ของต่างประเทศเปิดโอกาสให้ฟ้องได้ สมมุติว่าถูกอายัดบัญชีเงินฝาก พอสู่ภาวะปกติแล้วไม่ปรากฏว่าผู้ถูกอายัดเกี่ยวข้องกับภัยความมั่นคง สามารถฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายระหว่างถูกอายัดได้ ดังนั้น ต้องเปิดให้กระบวนการยุติธรรมทางศาลมามีบทบาทด้วย

"ในต่างประเทศต้องยุติลดระดับการใช้อำนาจทันที เมื่อสถานกาณ์คลี่คลายลง ตัวอย่างเช่น ที่ลอนดอนของอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้ที่เกิดเหตุคาร์บอมบ์ รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินขั้นสูงสุด คือในระดับ 5 มีความเป็นไปได้ที่อาจมีการโจมตีสู้รบเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่เมื่อมีการคุมสถานการณ์จับกุมได้แล้ว เพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ลดระดับลงทันที เหลือระดับ 4 และลดลงมาสู่ภาวะปกติ ตรงนี้ระบุไว้ชัดในตัวกฎหมาย แต่ของไทยไม่มี ดังนั้น ควรกำหนดระดับขั้นในการปฏิบัติด้วย อาจแบ่งเป็น 5 ขั้นก็ได้

"ที่สำคัญคือฝ่ายปฏิบัติของไทยคือ กอ.รมน.ต้องมีขีดความสามารถและศักยภาพ ในการปฏิบัติและรับมือต่อภัยรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะการก่อการร้ายสากล แต่เชื่อว่า ฝ่ายปฏิบัติของเราก็ยังไม่เชี่ยวชาญ ที่สำคัญอีกอย่างคือ หลายถ้อยคำเกี่ยวกับการใช้อำนาจเขียนเอาไว้ให้มีการตีความ อาจเกิดความผิดพลาดได้ โดยเฉพาะการใช้อำนาจเกินขอบเขต

"ของสิงคโปร์ มาเลเซีย ให้ฝ่ายพลเรือนมามีบทบาทมาก ตั้งเป็นหน่วยที่เรียกว่า อินเทอร์นอล ซิเคียวลิตี้ ดีพาร์ตเมนต์ (กองความมั่นคงภายใน) ขึ้นมา แต่ กอ.รมน.ของเรายังไม่มีสถานภาพเทียบเคียงได้

"นอกจากนี้ในต่างประเทศจะมีมาตรการถ่วงดุลการใช้อำนาจ อาทิ การหมดอายุของกฎหมาย โดยต้องมีการต่ออายุโดยรัฐสภาที่เป็นตัวแทนประชาชน รวมทั้งมีการตั้งกรรมมาธิการอิสระขึ้นมาตรวจสอบการใช้อำนาจโดยเฉพาะ แต่ของไทยยังไม่ครอบคลุม..."

มติชน วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10720
หน้า 11




Create Date : 17 กรกฎาคม 2550
Last Update : 17 กรกฎาคม 2550 17:10:47 น. 1 comments
Counter : 923 Pageviews.

 
ส่วนใหญ่ กฏหมายอะไรก็น่าจะดีน่ะครับ

และก็ส่วนใหญ่ก็ขึ้นด้วยไว้ว่าคนที่นำมาใช้ ใช้ยังไง

ได้คนดีมาใช้ก็โชคดีประชาชนเรา


โดย: เด็กผู้ชายที่ไม่แตะบอลตอนกลางวัน (kanapo ) วันที่: 17 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:12:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.