Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
27 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

พัฒนาการ (แบบเลวลง) ของระบบการควบคุมจราจรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2543 - 2553





เมื่อวานนี้ผมได้รับเชิญให้เข้า ร่วมกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการ แลกบัตรเข้ามหาิวิทยาลัยเชียงใหม่ แวบแรกคือแปลกใจที่ไม่อยากเชื่อ ว่าปัญหานี้ยังคงเป็นปัญหา อีกหรือ ตั้งแต่ผมเข้าเรียนปีหนึ่งเมื่อ ปี 43 จนกระทั่งเมื่อวาน ปาเข้าไป 10 ปีแล้วที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้

พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม้ค่อนข้างกว้าง แต่ทว่าคณะส่วนใหญ่กลับกระจุกในเขตวงเวียนสังคม ทั้งมนุษย์ สังคม วิทยาศาสตร์ อีคอน แคมป์ ฯลฯ แถมด้วย อ.มช. ตึกเรียนรวม สหกรณ์และห้องสมุดที่อยู่ใกล้ก ัน ประกอบกับถนนหนทางที่ค่อนข้างแคบ แถมพื้นที่ของโซนหอในก็ติดกับโซน ตึกเรียนโดยไม่มี buffer zone ส่งผลให้ในช่วงเวลาเร่งด่วน การจราจรในเขต มช. อยู่ในระดับชวนอารมณ์เสีย (ไม่นับวินัยจราจรของนักศึกษาที่เรียกได้ว่าชวนเหนื่อยในหลาย ๆ เคส)

คณะผู้บริหารเริ่มแก้ปัญหาการจราจร โดยเริ่มแก้จากเด็กที่อยู่ หอในซึ่งถือเป็นประชากร ส่วนใหญ่ใน มช. ในช่วงก่อนผมเข้าเรียนนักศึกษาทุกคนสามารถเอารถมอเตอร์ไซค์มาใช้กันได้เป็นเรื่องปกติ จนกระทั่งเมื่อปี 42 ได้ประกาศนโยบายห้ามเด็กปีหนึ่ง นำมาใช้เด็ดขาด พอมาปี 43 ห้ามทุกชั้นเว้นปีสี่ และปี 44 ห้ามทุกชั้นปีโดยเด็ดขาด ทว่าอย่างไรก็ดีแม้จะมีการห้ามอย่างไรนักศึกษาก็ยังลักลอบนำรถมาใช้จอดกันเต็มเกลื่อนหน้าและหลังหอ (ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าไร้ระเบี ยบและหลาย ๆ ครั้งก็ทำให้รถติดเพราะรถจอดกันถนนหายไปหนึ่งเลน)

ตึกหน้ามีมาตรการจัดการกับเรื่อ งนี้โดยกดดันมาทางหอในให้ต รวจสอบ และดำเนินมาตรการกระตุ้นอะดรี นาลินด้วยการ 'ยกรถ'

การยกรถนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเริ่ม เทอมหนึ่งได้ไม่นานนัก ตึกหน้าจะส่งทีมยกรถ (ซึ่งก็คือภารโรงของมหาลัย) ตระเวนทั่วบริเวณหอในในเวลาประมาณตี 1- ตี 3 หากใครถูกเจ้าหน้าที่ยกรถไปจะ ต้องตกหอทันที ไม่มีสิทธิแก้ตัวใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการยกรถจึงเป็นเรื่องที่ชวนตระหนกของเด็กหอในมาก ๆ (ยิ่งกว่าแจกของเสียอีก) เหตุการณ์จะเริ่มต้นจากทางหอหนึ่ง ชาย (ปัจจุบันคือหอหญิงเก้า) เจ้าหน้าที่จะมาอย่างช้า ๆ ทว่าเมื่อเริ่มปฎิบัติการ นักศึกษาที่อยู่ใต้หอจะพร้อมใจกันตะโกนลั่น และตะโกนกันไปเรื่อย สู่ หอหก ห้า สามและสี่ ทันใดที่ได้ยินเสียง อะดรีนาลีนจะหลั่งทันที ผมพรวดลุกขึ้นมา มือขวาคว้ากุญแจรถ วิ่งลงจากชั้นสี่ไปชั้นหนึ่งภายในเวลาไม่ถึงสิบวินาที แล้วก็ขับมอเตอร์ไซค์ออกไปนอก มอ. สักยี่สิบนาทีค่อยกลับเข้ามาใหม่ เรื่องแบบนี้สำหรับนักศึกษาหญิง ถือว่าเป็นเรื่องลำบากมากและ ตกหอกันมาหลายรายแล้วเพราะ หอปิดสี่ทุ่ม ถึงกับเคยเกิดกรณีกระโดดจากชั้นสองเพื่อมาเอารถหนี ทว่าขากลับหักแถมยังต้องตกหอซ้ำ อีก ถือว่าซวยสุด ๆ

ผมเองตอนแรก ๆ ก็หวั่น ๆ ช่วงปีสามปีสี่ซึ่งถือว่าเป็นพี่เบิ้มใหญ่ในหอก็มีน้องมาร้องห่มร้องไห้ว่าจะทำอย่างไรดีครับพี่ถึงจะได้รถคืนและได้อยู่หอในต่อ เวลาได้ยินข่าวว่าจะมีการยกรถ เมื่อใด ผมก็เอารถข้ามถนนไปจอดฝั่งคณะ วิศวะ ตรงเมเจอร์ไฟฟ้า ไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่ถนนสองเลนกั้น จะไม่มีปัญหาอะไรเลยแม้แต่น้อย

ส่วนเรื่องระบบขนส่งในช่วงนี้นอก จากรถแดงแล้วยังมีลักษณะ เป็นรถรางขนาดใหญ่แบบที่ใช้เที่ยว ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ (รู้สึกจะมี 3 สาย ถ้าจำไม่ผิด) ราคา 3 บาทต่อเที่ยวต่อคน (ซึ่งถือว่าแพงทีเดียว เพราะตอนนั้นราคารถแดงในมอ.คือ 2 บาท ไปหลังมอ. 3บาท) โครงการนี้ทำได้สักปีเดียว พอหมดปีการศึกษา 43 ก็ล้มเลิก

ตึกหน้าใช้วิธียกรถมาเรื่อย ๆ แต่จำนวนรถจักรยานยนต์ใน มช. โดยเฉพาะหอในก็ยังไม่ลด จึงเริ่มมาตรการต่อมาคือ แจกบัตรเข้าออก ซึ่งเป็นกระดาษสี่เหลี่ยม (จำไม่ได้ว่าสีอะไร ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นสีเหลือง) โดยอ้างเหตุผลเรื่องสิ่งแวดล้อม (ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สินเลยสักนิด)

การแจกบัตรเป็นไปเพื่อไม่ให้เด็ก หอในเอารถเข้ามาใช้ได้เนื่อง จากพอเข้ามาก็ต้องรับบัตร ขาออกก็ต้องคืนบัตร ใครอยู่หอในจะเอาช่องทางไหนเอารถออกจากมอ. ตอนแรก ๆ ก็เครียด ๆ กัน ทว่าเวลาผ่านไปแค่ไม่กี่วัน ความหย่อนยานของทีมงานยามก็ทำ ให้เรายิ้มร่า เมื่ออยู่ดี ๆ เราก็ขี่มอเตอร์ไซค์ออกนอกมอ.ไปได้อย่างไม่มีใครสนใจ พอเข้ามอ.เราก็ได้บัตรมาไว้เป็น ที่ครอบครอง ความฮาเกิดขึ้นเมื่อเริ่มไม่เห็นความสำคัญของการคืนบัตร หลาย ๆ คนจึงมีบัตรเข้าออกมอ.เก็บไว้เป็นปึ๊ง บ้างก็โยนทิ้งเล่นเป็นขยะอยู่กลางที่จอดรถหอสี่ชาย รกหูรกตามาก ๆ ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ของนักศึกษา ที่อยู่หอนอกก็ให้ไปทำเรื่อง ขอสติกเกอร์มาแปะ

เรื่องสติกเกอร์นี่ก็เห็นการเปลี่ยน แปลงมาเรื่อย ๆ ช่วงผมอยู่ปีหนึ่งปีสองเป็นสติกเกอร์บอกว่ารถคนนี้อยู่หออะไร ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นสติกเกอร์วงกลมสีแดงเท่าเหรียญห้า ต่อมาเปลี่ยนเป็นรูปช้างชูไอติม ทุกวันนี้ไม่ทราบว่าเป็นเช่นไร

จนกระทั่งปี 46 เกิดนโยบายแข็งขันของทางตึกหน้าที่จะไม่ให้รถจากภายนอกเข้ามาในมหาิวิทยาลัยเลย ส่งผลให้เกิดการถกเถียงในวงกว้าง ทั้งในชีวิตประจำวันและในเวบ บอร์ด CMUPARK เรื่องคราวนั้นเป็นประเด็นใหญ่โตมากจนเกิดการตั้งวงอภิปรายใหญ่กลาง อ.มช. ซึ่งหนึ่งในคนที่ขึ้นพูดวันนั้น มีผมอยู่ด้วย

มหาวิทยาลัยต้องการให้นักศึกษา ใช้ระบบขนส่งภายในเช่น รถแดง และรถไฟฟ้าที่ลักษณะคล้ายปัจจุบันแต่จุคนได้มากกว่า ตอนนั้นถึงขั้นออกโครงการลูกช้าง ไปเฮียน ที่มีรถบัสวิ่งรับส่งตั้งแต่ในม อ. ออกหลังมอ.ไปจนถึงสวนดอก ตีวงกลับทางกาดสวนแก้ว รินคา เข้าหน้ามอ. แต่โครงการนี้ก็ทำได้แค่สัปดาห์ เดียวเพราะโดนการต่อต้านและ ประท้วงจากสหกรณ์รถแดง ปัญหาที่ต้องการแก้ (เด็กหอในใช้รถ สิ่งแวดล้อมและการจราจร) ดูจะแ้ก้ไม่ได้สักอย่าง อย่างกรณี ขนส่งมวลชนของ มช. ที่คิดขึ้นมาก็มีปัญหาในแง่ไม่ เพียงพอต่อความต้องการเพราะ วิ่งค่อนข้างอ้อมและช้ามาก ส่วนเรื่องความปลอดภัยในมหาิวิ ทยาลัยนั้นแทบไม่มีการพูดกัน เลย

สรุปแล้วนโยบายที่จะใช้ในปี 46 ก็เป็นอันยุบไป ก็มีการตรวจเข้าออกเข้มขึ้นนิดหน่อย แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ต่างจากเดิม

จุดเปลี่ยนสำัคัญที่ทำให้เกิดการ ตื่นตัวต่อระบบรักษาความปลอดภัย (ซึ่งผมคิดว่ามหาวิทยาลัยพึ่งเริ่ม ต้นจริงจังโดยมุ่งเน้นเรื่อง ความปลอดภัยในมหาวิทยา ลัยมากกว่าการแกล้งนักศึกษา หอใน) ก็คือ การฆาตกรรมอำพราง ณ บริเวณต้นไม้ใกล้ปั้มน้ำมัน ในเดือนมกราคม 2548 ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนรับ ปริญญาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น

จาก เหตุการณ์ฆาตกรรมอำพรางเอา ศพมาแขวนไว้ที่ต้นไม้ แม้ว่าจุดนั้นจะค่อนข้างมืดและเปลี่ยวแต่ก็ไม่ไกลจากประตูปั้มน้ำมันที่มียามอยู่นัก ผมคิดว่าทีมงานยามของมหาลัยคงโดนเล่นซะอ่วมเป็นแน่ นโยบายที่ส่งผลต่อชีวิตผู้คนอ ย่างรุนแรงคือการสั่งปิดตายประตู เล็ก ๆ จำนวนมากรอบมอ. (เช่น ประตูเล็กตรงข้ามหอธารทิพย์มาวิศวะ และประตูหมาลอดหน้ามอ. การปิดประตูหมาลอดหน้ามอ.ทำเอา ธุรกิจหน้ามอ.ถึงกับเจ๊งกัน ถ้วนหน้าเพราะปกตินักศึกษา จะเอารถมาจอดแถวนั้นแล้วลอด ประตูไปเพราะหน้ามอ.ไม่มีที่ จอดรถ การปิดประตูนี้ทำให้นักศึกษาจำน วนมากขี้เกียจประกอบกับมี การย้ายตลาดของกินไปไว้หลังมอ.ตามนโยบาย เคลียร์ทางเสด็จขึ้น ภูิพิงค์ ทำให้หน้ามอ.ที่เคยคึกคักกลับกลาย เป็นเงียบเหงา ดีที่ทุกวันนี้มีการสร้างตลาดแห่งใหม่ตรงบริเวณโรงแรมโพรวิเดนซ์เดิม ทำให้หน้ามอ.คึกคักขึ้นมาพอควร แต่ก็ไม่เท่ากับในอดีต) และการปิดประตูปั้มน้ำมันหลังสี่ทุ่มพร้อมตรวจตราผู้เข้าออกอย่างเคร่งครัด (แต่ถ้ามีบัตรนักศึกษาก็เข้าหรือ ออกได้เลย)

มาตรการดังกล่าวถูกใช้มาจนถึงทุก วันนี้ อย่างไรก็ดีมาตรการด้านความปลอดภัย เข้มแต่เรื่องจราจรก็ยัง อ่อน ยิ่งปัญหาสำคัญของนักศึกษาฟากสวน ดอกที่มหาลัยยังแก้ไม่ได้ คือเรื่องที่จอดรถ เนื่องจากมหาลัยเอาพื้นที่ตรงคณะสังคมที่สามารถจอดได้ประมาณ 100 คันไปทำตึกสักอย่าง (ดูรูปประกอบ) ไหนจะพื้นที่จอดรถมอเตอร์ไซค์ตรง อ.มช. ที่กลายเป็นลานกิจกรรม ส่งผลให้รถมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก มุ่งเข้าไปจอดหน้า RB5 อย่างอัดแน่น ส่วนสาวสังคมและมนุษย์ก็ต้องถ่อไปจอดกันถึงโซนบ้านพักอาจารย์ด้านอ่างแก้วเลยทีเดียว

สรุปง่าย ๆ ตึกหน้าแทบไม่เคยมองการแก้ปัญหาเรื่องนี้แบบรวมกันไปเลย บางปีก็เน้นเรื่องความปลอดภัย บางปีก็เน้นเรื่องจราจร บางปีก็เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม (คือเวลาคิดเขาก็คงคิดไปพร้อม ๆ กัน แต่ผมวิเคราะห์จากสิ่งที่มัน express ออกมาว่าทำอะไรจริงแค่ไหน)

ในฐานะศิษย์เก่าผมถ้าให้เสนอแนว ทางแก้ปัญหาก็คงมีดังนี้

1. เรื่องความปลอดภัย ผมคิดว่าการแลกบัตรมันก็ช่วยได้ในระดับหนึ่งแต่ทั้งหมดทั้งมวลมันอยู่ที่ความเข้มของยาม โดยส่วนตัีวก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องลำบากกอะไรถ้าจะเข้าประตูเดิมออกประตูเดิม ทว่ามาตรการนี้ต้องใช้กับทุกคน ไม่เว้นแม้แต่รถของอธิการบ ดี และอย่าใช้มาตรการนี้เพื่อเล่น งานเด็กหอใน

2. เรื่องจราจร ถ้าอยากให้ชาวบ้านเขาใช้ขนส่งก็ต้องทำใ้ห้ดีกว่านี้ ผมไปเชียงใหม่ทีไรก็ใช้เหมือนกัน เพราะขี้เกียจเดินในมอ. ทว่า เ้้ส้นทางเดินรถที่กว้างมาก ส่งผลให้จำนวนความถี่ต่อคันมัน มาช้ามาก ๆ บางคนถึงกับยอมนั่งรถจากหอกลางไปหน้ามอ.เพื่อจะได้ขึ้นต้นทาง ทั้ง ๆ ที่จุดมุ่งหมายคือแอคบาหรือวิจิตร ดังนั้นต้องคิดสายรถใหม่ วิ่งในสั้นลง วงแคบลง เ้น้นให้นักศึกษาไปต่อรถสายอื่น แม้ไม่สะดวกเท่าแต่รวดเร็วกว่า ซึ่งมองในระยะยาวแล้วจะดีกว่ามาก

3. มหาวิทยาลัยต้องยอมรับว่าห้ามนัก ศึกษาใช้รถไม่ได้ ระบบขนส่งในเชียงใหม่เหี้ยขนาดไหนคงไม่ต้องบอก แล้วนับประสาอะไรกับหน่วยย่อยอ ย่างมหาลัย การจัดที่จอดรถอย่างเป็นสัดส่วนแบบทุกวันนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ (เว้นแต่โซนหอหญิงที่ยังดูเกะกะบ้าง) เรื่องที่จอดรถต้องทำควบคู่ไปกับการออกแบบสายรถไฟฟ้าให้สั้นลง

4. เรื่องสิ่งแวดล้อม ต้นไม้น่าจะช่วยได้ (ไม่รู้ว่าจริ ๆ เป็นอย่างไร แต่ดูหน้ามอ.กับหลังมอ.แล้วมัน ต่างกันฟ้ากับเหว) โซนหลังมอ.นี่มันดินแดงที่มีแต่ฝุ่นชัด ๆ มหาลัยต้องปลูกต้นไม้ยืนต้นในระดับ 'เขียวพรีบ' ทั้งหลังมอ. ก็คงต้องแลกกันระหว่างการจัดการ ดูแลกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผมว่าควรใส่ใจกับเืรื่องหลังมากกว่า เห็นตึกหลังแอคบาแล้วแบบว่า หัวแดงจากฝุ่นกันเลยทีเดียว

อันนี้เป็นข้อเขียนคร่าว ๆ ที่อยากเล่าและเสนอความคิดเห็นให้กับคนรุ่นเด็ก ๆ ได้ฟัง ใครมีข้อเสนอแนะอะไรก็ลองเสนอ น้องเขาไปกันดู เราแก่ ๆ กันแล้วขอให้กำลังใจและไอเดียไปละกัน





 

Create Date : 27 มิถุนายน 2553
3 comments
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 20:59:23 น.
Counter : 903 Pageviews.

 

แวะเข้ามาอ่านเพราะเป็นลูกช้างเหมือนกัน

พี่ไม่มีความคิดเห็นเพราะนึกสภาพ มช. ไม่ออกแล้ว เดือน พค.ที่ผ่านมา แวะไปจำสภาพเดิมแทบไม่ได้

เห็นด้วยว่ารถเยอะมาก พลุกพล่าน ทำให้ถนนดูแคบไปถนัดตา

 

โดย: คุณอาผู้น่ารัก 27 มิถุนายน 2553 21:11:11 น.  

 

ไม่ใช่ลูกช้าง แต่แวะมาทักทายครับ
เชียร์บอลทีมไหนบ้างไหมครับ?

 

โดย: คนขับช้า 28 มิถุนายน 2553 0:03:20 น.  

 

กำลังอ่านเรื่องสั้นเรื่องราโชมอน ยังไม่มีหนังดู แต่เห็นเรื่องสั้นเล่มนี้ในงานหนังสือเลยคว้ามา อ่านแล้วก็ดีนะครับ ให้คิดต่อดี

 

โดย: คนขับช้า 4 กรกฎาคม 2553 19:57:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.