"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2563
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 สิงหาคม 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

65. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 6



การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8

โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน

ต้องปฏิบัติให้เกิดเป็น อธิศีล (ศีลที่ยิ่ง) อธิจิต (จิตที่ยิ่ง) และ อธิปัญญา (ปัญญาที่ยิ่ง)

จึงจะเกิดการเคลื่อนไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” สู่ความดับทุกข์

***************

การปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา เพื่อทำให้เกิดเป็น อธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา

คือการปฏิบัติ ที่มีการกำหนดตั้งศีลให้สูงขึ้นโดยลำดับ โดยใช้อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง แล้วใช้สมาธิและปัญญาร่วมกัน เพื่อทำให้ศีลเป็นปกติสูงขึ้นโดยลำดับ (อธิศีล)

การปฏิบัติดังกล่าว จะทำให้เกิดจิตที่ยิ่ง หรือ จิตที่มีสมาธิยิ่งขึ้น (อธิจิต) และ จะทำให้เกิดปัญญาในทางธรรม มากยิ่งขึ้น (อธิปัญญา)
 
***************


ในเบื้องต้น

พระพุทธองค์ได้ทรงนำเอาบางส่วนของ “อริยมรรคมีองค์ 8” มาบัญญัติไว้ในศีล 5 เพื่อให้ยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ คือ

1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ (ไม่ฆ่าสัตว์)

2. เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ (ไม่ลักทรัพย์)

3. เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม (ไม่ประพฤติผิดในกาม)

4. เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ (ไม่พูดเท็จ)
 
***************
 
เมื่อมีศีล 5 เป็นปกติของตนแล้ว

ให้กำหนดตั้งศีลให้สูงขึ้นโดยลำดับ เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นปกติ

โดยใช้อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง ดังนี้

1. ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นมิจฉาอาชีวะ

2. ไม่พูดส่อเสียด (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)

3. ไม่พูดคำหยาบ (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)

4. ไม่พูดเพ้อเจ้อ (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)

5. ไม่โลภ (ดำริในการไม่เบียดเบียน)

6. ไม่โกรธ (ดำริในการไม่พยาบาท)

7. ไม่หลงใหลติดใจ และ ไม่หลงไปยึดมั่นถือมั่น ในอารมณ์สุขที่เกิดจาก อุปาทานขันธ์ 5 (ดำริในการออกจากกาม)
 
***************
 
มิจฉาอาชีวะ คือ

1. การโกง (กุหนา)

2. การล่อลวง (ลปนา)

3. การตลบตะแลง (เนมิตฺติกตา)

4. การยอมมอบตนในทางผิด (นิปฺเปสิกตา)

5. การเอาลาภต่อลาภ (ลาเภนลาภํนิชิคีสนตา)

*************** 

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน

คือ การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ

นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ


{ที่มา: พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม ๑๔ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ }

ชาญ คำพิมูล
 




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2563
0 comments
Last Update : 23 สิงหาคม 2563 6:10:30 น.
Counter : 706 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.