"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
มกราคม 2567
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 มกราคม 2567
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
133. ปรับเปลี่ยนกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม ให้เป็นสัมมา (ให้เป็นกุศล) ตอนที่ 4



ทุกๆคน ที่ต้องการจะทำ “ความดับแห่งกองทุกข์
 
ต้องเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” เหมือนกัน
 
จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง คือ “ความดับแห่งกองทุกข์” เหมือนกัน
 
สิ่งที่แตกต่างกัน คือ จุดเริ่มต้น หรือ ฐานของการปฏิบัติ (กรรมฐาน) ของแต่ละคน จะแตกต่างกันไป
 
ขึ้นอยู่กับ ความมากน้อยของกิเลส และ ชนิดของกิเลส ที่มีอยู่ภายในจิตใจ หรือ ที่ครอบงำจิตใจอยู่ เป็นพื้นฐาน
 
หรือ ขึ้นอยู่กับ “บารมีในทางธรรม” ของแต่ละคน ที่เคยปฏิบัติสั่งสมเอาไว้ ในชาติก่อนๆ
 
***************
 

คนบางคน อาจมี “การไม่ฆ่าสัตว์” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่ลักทรัพย์” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่ประพฤติผิดในกาม” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่พูดเท็จ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่พูดคำหยาบ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่พูดส่อเสียด” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่พูดเพ้อเจ้อ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “ความไม่โลภ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว แต่อาจจะยังมี “ความอยากได้” อยู่ อาจจะยังมี “ความอยากมี” อยู่ และ อาจจะยังมี “ความอยากเป็น” อยู่ แต่มีไม่มาก จนเกินความจำเป็นของชีวิต หรือ จนเกิดการเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่น
 
คนบางคน อาจมี “ความไม่โกรธ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว แต่อาจจะยังมี “ความขัดเคืองใจ (ปฏิฆะ)” อยู่ อาจจะยังมี “ความไม่ชอบใจ (อรติ)” อยู่
 
ฯลฯ
 
***************
 
การปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา”
 
สามารถปฏิบัติได้ 2 แนวทาง คือ
 
  1. ปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้นโดยลำดับ โดยใช้ศีลที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้แล้ว คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และ ศีลพระปาฏิโมกข์
 
  1. ปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้นโดยลำดับ โดยใช้ "อริยมรรคมีองค์ 8" เป็นแนวทาง ในการกำหนดตั้งศีล ให้สูงขึ้นโดยลำดับ ชื่อว่าอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา”
 
***************
 
๔. วัชชีปุตตสูตร

ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร

[๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี

ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาถึงวาระ ที่จะยกขึ้นแสดง เป็นข้อ ๆ ตามลำดับ ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ ไม่สามารถศึกษา ในสิกขาบทนี้ได้”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษา ในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา หรือ”

ภิกษุวัชชีบุตรนั้น กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ สามารถศึกษา ในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้”

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา

เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้น เธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรม ที่เป็นอกุศล จักไม่ประพฤติ สิ่งที่เลวทรามอีก

ครั้นต่อมา ภิกษุนั้น ศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อเธอ ผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรม ที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติ สิ่งที่เลวทรามอีก


วัชชีปุตตสูตรที่ ๔ จบ
 
เชิงอรรถ : ๑ วัชชีบุตร หมายถึง เป็นบุตรของวัชชีราชสกุล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๓๙)

เชิงอรรถ : ๒ สมัยที่พระวัชชีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้น สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ มีเพียง ๑๕๐ ข้อ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๔๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๐-๓๑๑ }


***************
 
การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
สู่ “ความดับแห่งกองทุกข์
 
เราต้องรู้ว่า
 
ณ ตอนนี้ เรายืนอยู่ ตรงจุดไหน?
 
และเรา จะเดินต่อไป เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง อย่างไร?
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 21 มกราคม 2567
Last Update : 25 มกราคม 2567 4:16:56 น. 0 comments
Counter : 181 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.