"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
กันยายน 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
3 กันยายน 2566
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
127. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ ตอนที่ 11



การปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์
 
คือ การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
เพื่อปรับเปลี่ยน “การงานอาชีพ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม
 
ที่เป็นมิจฉา (อกุศล)
 
ให้เป็นสัมมา (กุศล)
 
ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
 
เพื่อดับกิเลส หรือ ขจัดกิเลส หรือ ชำระล้างกิเลส
 
ที่เป็นมูลเหตุของอกุศลกรรมและความทุกข์ทั้งหลาย
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
 
ต้องปฏิบัติให้สูงขึ้น โดยลำดับ
 
เพื่อให้เกิดเป็น “อธิศีล (ศีลที่ยิ่ง) อธิจิต (จิตที่ยิ่ง) และ อธิปัญญา (ปัญญาที่ยิ่ง)
 
จึงจะเกิดการเคลื่อนไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
สู่ความดับทุกข์
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา
 
จะทำให้เกิด “ความเห็นที่ถูก ที่ตรง ที่เป็นสัมมา (สัมมาทิฏฐิ)” ยิ่งๆขึ้น
 
จนพ้นอวิชชา
 
***************
 

ศีล คือสิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา เพื่อปรับเปลี่ยน “กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” ที่เป็นมิจฉา (อกุศล) ให้เป็นสัมมา (กุศล)
 
การปฏิบัติศีล คือการตั้งใจไม่กระทำ หรือ ตั้งใจหยุดกระทำ หรือ ตั้งใจเลิกกระทำ “สิ่งที่ไม่ดี (อกุศล)” ที่เป็นการละเมิดศีล เพื่อไม่สร้าง “อกุศลวิบาก” มาเติมเพิ่มในชีวิต หรือ เป็นการตั้งใจ ไม่ปล่อยให้ “กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” ไหลเลื่อนไปตามอำนาจของกิเลส
 
ศีล เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ให้กลายเป็นปกติของตน โดยไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ (ให้พ้นสีลัพพตปรามาส) เพื่อปรับเปลี่ยน “กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” ที่มีปกติเป็นมิจฉา (อกุศล) ให้มีปกติเป็นสัมมา (กุศล)
 
การปฏิบัติศีล ให้กลายเป็นปกติของตน โดยไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ (ให้พ้นสีลัพพตปรามาส) คือ การทำความดับ หรือ การขจัด หรือ การชำระล้าง “กิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล
 
การปฏิบัติศีล ให้กลายเป็นปกติของตน โดยไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ (ให้พ้นสีลัพพตปรามาส) ต้องใช้ "การปฏิบัติสมาธิ (สมถภาวนา หรือ การอบรมจิต)" และ "การเจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา หรือ การอบรมปัญญา)" ร่วมกัน
 
การปฏิบัติศีลเพียงอย่างเดียว สามารถหยุดการกระทำ "สิ่งที่ไม่ดี (อกุศลกรรม)” ที่เป็นการละเมิดศีลได้ แต่จะไม่สามารถทำให้ศีล กลายเป็นปกติของตนได้ (ไม่พ้นสีลัพพตปรามาส)
 
***************
 

สมถภาวนา (การอบรมจิต) คือการทำจิตใจ ให้สงบ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้ไม่กระเพื่อมไหว ให้มีสติ ให้มีสมาธิ ให้ไม่หลงปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส เพื่อทำให้กิเลส ระงับดับลงไป โดยไม่ให้เกิดการกระทำที่ไม่ดี (อกุศลกรรม) ที่เป็นการละเมิดศีล
 
สมถภาวนา เป็นการทำความมีสติ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของกิเลส โดยไม่ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส เมื่อมีผัสสะมากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ
 
สมถภาวนา เป็นการเพียรพยายามไม่ปล่อยให้กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม ไหลเลื่อนไปตามอำนาจของกิเลส จนเกิดการละเมิดศีล
 
สมถภาวนา เป็นการระงับ “การกระทำที่ไม่ดี (อกุศลกรรม)” ที่เป็นการละเมิดศีล เพื่อไม่ให้เกิดอกุศลวิบาก มาเติมเพิ่มในชีวิต
 
การปฏิบัติสมถภาวนา (การอบรมจิต) เพียงอย่างเดียว จะไม่พ้นอวิชชา
 
***************
 

วิปัสสนาภาวนา (การอบรมปัญญา) คือการเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลงใหลติดใจ ความหลงยึดมั่นถือมั่นเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นชอบใจ เป็นไม่ชอบใจ เป็นเฉยๆ เป็นอยากได้ เป็นอยากมี เป็นอยากเป็น เป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน ฯลฯ
 
การได้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล จะทำให้เกิด “การละหน่ายคลาย” และ เกิด “การปล่อยวางได้” ชื่อว่า “พ้นสักกายทิฏฐิ” คือ ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นในกิเลส ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน หรือ เป็นของของตน
 
การได้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล จนพ้นสักกายทิฏฐิ ชื่อว่า “พ้นวิจิกิจฉา” หรือ “พ้นความลังเลสงสัย” ในกิเลสที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล (ทำให้เกิดปัญญา ล้างอวิชชา)

เมื่อเกิด “การละหน่ายคลาย” จนเกิด “การปล่อยวางได้” จน “พ้นความลังเลสงสัย” แล้ว ก็จะทำให้ “ฤทธิ์แรงของกิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ค่อยๆลดลง และ ดับสิ้นไป (กิเลสดับ) และในที่สุด จะทำให้ศีล กลายเป็นปกติของตน ชื่อว่า “พ้นสีลัพพตปรามาส” คือ ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ ไม่ต้องฝึกไม่ต้องฝืน อีกต่อไป

 
การเจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นการทำความเห็น ให้ถูก ให้ตรง ให้เป็นสัมมา (สัมมาทิฏฐิ) จนพ้นความลังเลสงสัย (พ้นวิจิกิจฉา) จนพ้นอวิชชา
 
การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา (การอบรมปัญญา) เพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิด ความเนิ่นช้า
 
***************
 
[๓๒] ธรรม ๒ ประการนี้เป็นฝ่ายวิชชา
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ)
๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมให้จิตเจริญ
จิตที่เจริญแล้ว ย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมให้ปัญญาเจริญ
ปัญญาที่เจริญแล้ว ย่อมให้สำเร็จประโยชน์อะไร
คือ ย่อมละอวิชชาได้
จิตที่เศร้าหมองเพราะราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
ปัญญาที่เศร้าหมองเพราะอวิชชา ย่อมไม่เจริญ
เพราะสำรอกราคะ จึงมีเจโตวิมุตติ
เพราะสำรอกอวิชชา จึงมีปัญญาวิมุตติ
พาลวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๗๖ }


***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ร่วมกัน
 
ให้สูงขึ้น โดยลำดับ
 
เพื่อทำความดับ “กิเลส” ในระดับหยาบ (วีติกมกิเลส) ระดับกลาง (ปริยุฎฐานกิเลส) และ ระดับละเอียด (อนุสัยกิเลส)
 
จะทำให้เกิด “การบรรลุธรรม” โดยลำดับ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 03 กันยายน 2566
Last Update : 1 มกราคม 2567 6:50:05 น. 0 comments
Counter : 234 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.