"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
กันยายน 2562
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
6 กันยายน 2562
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
27. การปล่อยวางความสุข (โลกียสุข) ไม่ใช่เรื่องง่าย



การปล่อยวาง "ความสุข อันเป็นโลกียสุข" หรือ ความสุขในทางโลก

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

เพราะเหตุว่า

๑. ความสุข อันเป็นโลกียสุข เป็นสิ่งที่คนเราคุ้นเคย

๒. ความสุข อันเป็นโลกียสุข เป็นสิ่งที่มีอิทธิพล ต่อจิตใจของคนเรามากมาย

หลายๆคน ต้องยอมเหน็ดเหนื่อบเมื่อยล้า เพื่อให้ได้มาซึ่ง “ความสุข อันเป็นโลกียสุข”

หลายๆคน ต้องยอมทำผิดศีลธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่ง “ความสุข อันเป็นโลกียสุข”

หลายๆคน ต้องยอมเสี่ยงโรค เสี่ยงภัย เสี่ยงคุกตะราง เพื่อให้ได้มาซึ่ง “ความสุข อันเป็นโลกียสุข”

หลายๆคน ต้องยอมเสี่ยงชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่ง “ความสุข อันเป็นโลกียสุข”

๓. ความสุข อันเป็นโลกียสุข เป็นสิ่งที่คนเรา มุ่งมาดปรารถนา มุ่งได้ใฝ่หา และ เป็นเป้าหมายในชีวิต

๔. หลายๆคนเชื่อว่า ชีวิตนี้ จะไม่มีความหมายอะไรเลย ถ้าปราศจากความสุข (โลกียสุข)

๕. หลายๆคน ไม่มั่นใจว่า "เมื่อเราปล่อยวาง “ความสุข อันเป็นโลกียสุข” ได้แล้ว ชีวิตของเรา จะดำเนินต่อไปได้ อย่างมีความสุขยิ่งกว่า" จริงหรือไม่?

๖. คนส่วนใหญ่ ไม่รู้ว่า จริงๆแล้ว ยังมีความสุข ที่ยิ่งใหญ่ เหนือกว่า “ความสุข อันเป็นโลกียสุข” มากมาย คือ ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข หรือ ความสุขในทางธรรม

***************

จากประสบการณ์ การปฏิบัติธรรมของผู้เขียน

ผู้เขียนพบว่า ถ้าเราต้องการจะปล่อยวาง “ความสุข อันเป็นโลกียสุข” ให้ได้ เพื่อความพ้นทุกข์

เราต้องทำให้ตัวเรา ได้สัมผัส หรือ ได้รับ “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” ในระดับหนึ่งก่อน

โดยการปฏิบัติธรรม ให้เป็นไปโดยลำดับ

***************

สิ่งที่เรา ควรทำการปล่อยวาง ให้ได้ก่อน เป็นลำดับต้นๆ

เพื่อทำให้ตัวเรา ได้รับ “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” ในระดับหนึ่ง

คือ ความทุกข์ ความเครียด ความวิตกกังวลใจ

ความขุ่นข้องหมองใจ ความอึดอัดขัดเคืองใจ

ความไม่ชอบ ความไม่พอใจ

ความโกรธ ความเกลียดชัง

***************

เมื่อเราปล่อยวาง สิ่งดังกล่าว ได้แล้ว

เราจะได้รับ “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” ในระดับหนึ่ง


และ เมื่อเราได้รับ “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” ในระดับหนึ่ง แล้ว

เราจะรู้ว่า “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” เป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ เหนือกว่า “ความสุข อันเป็นโลกียสุข” มากมาย

เราจะเริ่มมองเห็น ความจริงตามความเป็นจริงของ “ความสุข อันเป็นโลกียสุข”

และ เราจะเริ่มมีฉันทะ หรือ มีความปรารถนา ที่จะปล่อยวาง “ความสุข อันเป็นโลกียสุข” 

***************

การพยายามจะปล่อยวาง “ความสุข อันเป็นโลกียสุข” ทั้งหมด

ในขณะที่เรา ยังคงมี ความทุกข์ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ อยู่

จะทำให้เกิด “ความทุกข์ และ ความเครียด” เพิ่มมากยิ่งขึ้น

และ จะไม่ทำให้เกิด “ความก้าวหน้าในธรรม” โดยลำดับ

***************

“ความสุข อันเป็นโลกียสุข” ที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดเอาไว้ เป็นเบื้องต้น

เพื่อให้พวกเรา "ทำความปล่อยวาง"

และ เพื่อให้พวกเรา ทำให้ "ความหลงใหลติดใจ และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น" ลดลง จางคลายลง

คือ “ความสุข อันเป็นโลกียสุข” ที่มีโทษมีภัยมาก ได้แก่

๑. ความสุขอันเกิดจาก การเสพสุรา และ สิ่งเสพติดทั้งหลาย

ความสุขอันเกิดจาก การเสพสุรา และ สิ่งเสพติดทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรา "ต้องทำความปล่อยวางให้ได้" เป็นเบื้องต้น

๒. ความสุขอันเกิดจาก อบายมุขทั้งหลาย

ความสุขอันเกิดจาก อบายมุขทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรา "ต้องทำความปล่อยวางให้ได้" เป็นเบื้องต้น


๓. ความสุขอันเกิดจาก กามเมถุน

ความสุขอันเกิดจาก กามเมถุน เป็นสิ่งที่เรา ต้องทำให้ "ความหลงใหลติดใจ และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น" ลดลง จางคลายลง จนไม่ละเมิดศีล ข้อ ๓ เป็นเบื้องต้น


***************

ความสุขที่เกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง และ สัมผัส ที่มีโทษมีภัยน้อย หรือ กามคุณ ๕

ไม่ใช่สิ่งที่เรา จะต้องทำความปล่อยวางให้ได้ ในลำดับต้นๆ

เพราะ ยังคงมีประโยชน์ (คุณ) ในการหล่อเลี้ยงดวงจิต ในช่วงต้นๆ ของการปฏิบัติธรรม

***************

การปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์

ต้องปฏิบัติให้ถูกมรรคถูกทาง

และ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามลำดับ

โดยมีผัสสะเป็นปัจจัย

จึงจะเกิด “ความก้าวหน้าในธรรม” โดยลำดับ

และ จึงจะเกิด “การบรรลุธรรม” โดยลำดับ

โดยไม่ก่อให้เกิด ความทุกข์ และ ความเครียด จากการปฏิบัติธรรม
 
ชาญ คำพิมูล 

 


Create Date : 06 กันยายน 2562
Last Update : 15 มีนาคม 2565 7:12:52 น. 0 comments
Counter : 2599 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.