116. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ ตอนที่ 2

การปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3” ทั้ง 3 ข้อ
คือ การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ ๘” สู่ความดับทุกข์ *************** การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ ๘” สู่ความดับทุกข์
คือ การปรับเปลี่ยน การงานอาชีพ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม
ที่เป็นอกุศล (มิจฉา) ให้เป็นกุศล (สัมมา)
โดยการชำระล้าง หรือ การขจัด หรือ การดับ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่เป็นมูลเหตุของอกุศลกรรมทั้งหลาย *************** การปรับเปลี่ยน การงานอาชีพ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม
ที่เป็นอกุศล (มิจฉา) ให้เป็นกุศล (สัมมา)
โดยการชำระล้าง หรือ การขจัด หรือ การดับ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่เป็นมูลเหตุของอกุศลกรรมทั้งหลาย
คือ การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา)” *************** การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา)”
ต้องปฏิบัติให้สูงขึ้นโดยลำดับ
ให้เกิดเป็น “อธิศีล (ศีลที่ยิ่ง) อธิจิต (จิตที่ยิ่ง) อธิปัญญา (ปัญญาที่ยิ่ง)”
จึงจะเกิด “การเคลื่อนไปตามทางอริยมรรคมีองค์ 8 สู่ความดับทุกข์” *************** ศีล คือสิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา เพื่อปรับเปลี่ยน การงานอาชีพ การกระทำทางกาย (กายกรรม) การพูด (วจีกรรม) และ การคิด (มโนกรรม) ที่เป็นอกุศล (มิจฉา) ให้เป็นกุศล (สัมมา) ศีล คือสิ่งที่ต้องทำให้เป็นปกติของตน หรือ ต้องทำให้เป็นปกติวิสัยของตน (ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ) ผู้ที่มีศีล ที่เป็นปกติของตนแล้ว
คือ ผู้ที่มีปกติ “ไม่ทำอกุศลกรรม” ที่เป็นการละเมิดศีลของตนแล้ว
ตัวอย่างเช่น เป็นผู้มีปกติ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ การทำศีลให้เป็นปกติของตน คือ การชำระล้าง หรือ การขจัด หรือ การดับ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล *************** การทำศีลให้เป็นปกติของตน ต้องใช้ “การหมั่นอบรมจิต (การเจริญสมถะ)” และ "การหมั่นอบรมปัญญา (การเจริญวิปัสสนา)" ร่วมกัน การหมั่นอบรมจิต (การเจริญสมถะ) และ การหมั่นอบรมปัญญา (การเจริญวิปัสสนา) ต้องใช้ ความเพียรที่เป็นสัมมา (สัมมาวายามะ) และ สติที่เป็นสัมมา (สัมมาสติ) ร่วมด้วย การอบรมจิต (สมถะ) คือ การเพียรทำความมีสติ เพื่อทำจิตให้สงบ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้ไม่หลงปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล การอบรมจิต เป็นการทำให้ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่กำลังเกิดขึ้นในจิต ระงับดับลง เพื่อไม่ให้เกิด “การละเมิดศีล” (ยังไม่ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจ) การอบรมปัญญา (วิปัสสนา) คือ การเพียรทำความมีสติ เพื่อเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรละเมิดศีล และ เพื่อเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ “สิ่งที่หลงยึดมั่นถือมั่น” และของ “กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ที่คอยชักนำจิตใจ ให้ละเมิดศีล เป็นการทำให้เกิด “ปัญญา” ล้างอวิชชา หรือ ทำให้เกิด การ ”พ้นวิจิกิจฉา” การอบรมปัญญา (วิปัสสนา) ดังกล่าว เป็นการทำให้เกิด “การละหน่ายคลาย” และ ทำให้เกิด “การปล่อยวางได้” คือ “ทำให้ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นไปตามอำนาจของกิเลส (ทำให้อุปาทานดับ)” ส่งผลให้ “ตัณหาและกิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจ (พ้นสักกายทิฏฐิ) เมื่อกิเลสที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจของตนแล้ว ก็จะทำให้ “ศีล” เป็นปกติของตน (พ้นสีลัพพัตตปรามาส) *************** การหมั่นอบรมจิต (การเจริญสมถะ)
และ การหมั่นอบรมปัญญา (การเจริญวิปัสสนา)
จะทำให้เกิด “สมาธิ” ที่ถูก ที่ตรง ที่ชอบ ที่เป็นสัมมา (สัมมาสมาธิ) ยิ่งขึ้น
และ จะทำให้เกิด “ปัญญา” ล้างอวิชชา หรือ ทำให้เกิด “ความเห็น” ที่ถูก ที่ตรง ที่ชอบ ที่เป็นสัมมา (สัมมาทิฏฐิ) ยิ่งขึ้น ชาญ คำพิมูล
Create Date : 19 มีนาคม 2566 |
Last Update : 24 มีนาคม 2566 4:13:09 น. |
|
0 comments
|
Counter : 203 Pageviews. |
 |
|
|
|
|