"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2566
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 พฤษภาคม 2566
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
120. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ ตอนที่ 6



การปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์

คือ การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8" สู่ความดับทุกข์
 
***************
 
การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8" สู่ความดับทุกข์

คือ การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา

เพื่อทำความดับกิเลส หรือ ละกิเลส หรือ ชำระล้างกิเลส

ที่เป็นมูลเหตุของ มิจฉาอาชีวะ มิจฉากัมมันตะ มิจฉาวาจา และ มิจฉาสังกัปปะ หรือ อกุศลกรรมทั้งหลาย
 
ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนการกระทำที่ไม่ดี ที่เป็นมิจฉา ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ (อกุศลกรรม)

ให้เป็นการกระทำที่ดี ที่เป็นสัมมา ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ (กุศลกรรม)
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา

ต้องปฏิบัติให้สูงขึ้นโดยลำดับ

เพื่อทำความดับกิเลสในระดับหยาบ (วีติกมกิเลส) ระดับกลาง (ปริยุฎฐานกิเลส) และ ระดับละเอียด (อนุสัยกิเลส) โดยลำดับ
 
***************
 

ศีล คือสิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา เพื่อทำความดับกิเลส หรือ ละกิเลส หรือ ชำระล้างกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการกระทำ ที่เป็นมิจฉา หรือ ที่เป็นอกุศล

ศีล เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ให้เป็นปกติของตน หรือ ให้เป็นปกติวิสัยของตน โดยไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ ไม่ต้องฝึกไม่ต้องฝืน
 
***************

การปฏิบัติศีล ให้เป็นปกติของตน

ต้องใช้ "การอบรมจิต (สมถภาวนา)" และ "การอบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)" ร่วมกัน
 
การอบรมจิต (สมถภาวนา) หมายถึง การหมั่นฝึกฝนอบรมจิต ให้เข้มแข็ง ให้สงบ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่น ให้ไม่กระเพื่อมไหว (ให้มีสมาธิ) เพื่อให้สามารถระงับจิต ไม่ให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน และ เพื่อให้มีสติ สามารถรับรู้ “การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป” ของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 
การอบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) หมายถึง การหมั่นเพ่งพิจารณาให้เห็นจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน เพื่อทำให้เกิด “การละหน่ายคลายและปล่อยวางได้
 
***************

การอบรมจิต หรือ สมถภาวนา

เป็นการทำให้ “กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน” ที่กำลังเกิดขึ้น ระงับดับลง
 
***************
 
การอบรมปัญญา หรือ วิปัสสนาภาวนา เป็นการทำให้เกิด “ปัญญา” ล้าง "อวิชชา"

หรือ เป็นการทำให้เกิด “ความเห็นที่ถูก ที่ตรง ที่ชอบ ที่เป็นสัมมา (สัมมาทิฏฐิ)

หรือ เป็นการทำให้พ้นวิจิกิจฉา (พ้นความลังเลสงสัย) จนเกิดการละหน่ายคลายและปล่อยวางได้ (พ้นสักกายทิฏฐิ)
 
เมื่อเกิดการละหน่ายคลายและปล่อยวางได้แล้ว

ก็จะทำให้ “ศีล” กลายเป็นปกติของตน ชื่อว่า พ้นสีลพตรปรามาส
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา

จะเริ่มต้นด้วยการ “ปฏิบัติศีล 5” ให้เป็นปกติของตน ให้ได้ก่อน
 
เมื่อมีศีล 5 เป็นปกติของตนแล้ว

ให้ปฏิบัติศีล 8 ศีล 10 และ ศีลพระปาฏิโมกข์ ตามลำดับ

เพื่อดับกิเลสในระดับหยาบ (วีติกมกิเลส) ระดับกลาง (ปริยุฎฐานกิเลส) และ ระดับละเอียด (อนุสัยกิเลส) ตามลำดับ

***************
 
สำหรับผู้ที่มี “ศีล 5” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว

ให้ปฏิบัติศีล 8 ศีล 10 และ ศีลพระปาฏิโมกข์ ตามลำดับ

***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้น ตามลำดับ

อาจใช้วิธีการ “กำหนดตั้งศีล” ให้สูงขึ้น ตามลำดับ

โดยใช้ “อริยมรรคมีองค์ 8” เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง

โดยมุ่งหมายไปที่ “การดับกิเลส” ในระดับหยาบ (วีติกมกิเลส) ระดับกลาง (ปริยุฎฐานกิเลส) และ ระดับละเอียด (อนุสัยกิเลส) ตามลำดับ

ชื่อว่า “อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
 
***************
๔. วัชชีปุตตสูตร

ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร

[๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี

ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถศึกษาในสิกขาบทนี้ได้”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา หรือ”

ภิกษุวัชชีบุตรนั้น กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้”

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา

เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้นเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล จักไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก

ครั้นต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก

วัชชีปุตตสูตรที่ ๔ จบ
 

เชิงอรรถ : ๑ วัชชีบุตร หมายถึงเป็นบุตรของวัชชีราชสกุล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๓๙)

เชิงอรรถ : ๒ สมัยที่พระวัชชีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้น สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้มีเพียง ๑๕๐ ข้อ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๔๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๐-๓๑๑ }
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 21 พฤษภาคม 2566
Last Update : 21 พฤษภาคม 2566 6:42:57 น. 3 comments
Counter : 305 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณRain_sk, คุณปัญญา Dh


 
สุขสันต์วันเกิดนะครับ


โดย: Rain_sk วันที่: 23 พฤษภาคม 2566 เวลา:13:12:40 น.  

 
สุขสันต์วันเกิดครับ


โดย: ปัญญา Dh วันที่: 23 พฤษภาคม 2566 เวลา:16:28:17 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับ คุณ Rain_sk คุณ ปัญญา Dh


โดย: chancamp (chancamp ) วันที่: 24 พฤษภาคม 2566 เวลา:7:40:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.