"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 กันยายน 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
67. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 8



การปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา
 
ต้องใช้ ความเพียรที่เป็นสัมมา (สัมมาวายามะ) และ สติที่เป็นสัมมา (สัมมาสติ) ร่วมด้วย
 
***************
 
ความเพียรที่เป็นสัมมา (สัมมาวายามะ)
 
หมายถึง ความเพียรเพื่อละกิเลส ราคะ โทสะ และ โมหะ
 
***************
 
ความเพียรเพื่อละกิเลส ราคะ โทสะ และ โมหะ
 
คือ สัมมัปปธาน 4
 
***************
 
 [๖๗๓-๖๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้

แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล แล้วเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก

ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล แล้วเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล แล้วเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
 

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๖๓ พลกรณียาทิสูตร}

***************
 
สติที่เป็นสัมมา (สัมมาสติ)
 
หมายถึง ความระลึกรู้ตัวทั่วพร้อม เพื่อละกิเลส ราคะ โทสะ และ โมหะ
 
***************
 
ความระลึกรู้ตัวทั่วพร้อม เพื่อละกิเลส ราคะ โทสะ และ โมหะ
 
คือ สติปัฏฐาน 4
 
***************
 
๕. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยะ

[๓๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เถิด”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรมทั้งหลาย ให้หมดจดก่อน อะไร เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และ ความเห็นที่ตรง พาหิยะ เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และ ความเห็นจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล แล้วพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง

คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ

๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

พาหิยะ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล แล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืน หรือ วันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”

ลำดับนั้น ท่านพระพาหิยะ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณ แล้วจากไป

ต่อมา ท่านพระพาหิยะ ก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป”

อนึ่ง ท่านพระพาหิยะ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

พาหิยสูตรที่ ๕ จบ


{ที่มา: โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม: ๑๙ หน้า: ๒๓๖-๒๓๗ }

***************

***ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
 
อภิชฌา [อะ-พิด-ชา] (มค. อภิชฺฌา) น. ความโลภ, ความอยากได้, ตัณหา.

โทมนัส [โทม-มะ-นัด] (มค. โทมนสฺส) น. ความเศร้าใจ, ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ.

ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 06 กันยายน 2563
Last Update : 6 กันยายน 2563 8:14:55 น. 1 comments
Counter : 590 Pageviews.

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 2876811 วันที่: 6 กันยายน 2563 เวลา:18:50:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.