"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
มกราคม 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
19 มกราคม 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
39. โสดาบัน...การทำศีลให้บริบูรณ์ ตอนที่ ๓



ผู้เขียนขอย้ำว่า...

สิ่งสำคัญ สำหรับ “การปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม” หรือ “การปฏิบัติธรรม เพื่อการพ้นทุกข์” คือ


๑. ต้องปฏิบัติให้ถูกมรรคถูกทาง

การปฏิบัติธรรม ที่ถูกมรรคถูกทาง คือ การเดินตามทาง “มรรคมีองค์ ๘” โดยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา)” เพื่อชำระล้าง “กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน” ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น


๒. ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามลำดับ

การปฏิบัติธรรม ที่ถูกต้องตามลำดับ คือ การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้น โดยลำดับ เพื่อทำให้เกิด “อธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา”

การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้น โดยลำดับ คือ การกำหนดตั้งศีล ให้สูงขึ้น โดยลำดับ โดยนำเอากิเลสในระดับหยาบ ระดับกลาง และ ระดับละเอียด มากำหนดตั้งให้เป็นศีล โดยลำดับ แล้วทำการอบรมจิต (สมถภาวนา) และ อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) เพื่อทำให้ศีลบริบูรณ์ 

การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้น โดยลำดับ จะทำให้เกิด การขัดเกลากิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ โดยลำดับ คือ หยาบ กลาง และ ละเอียด
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้น โดยลำดับ จะทำให้เกิด การบรรลุธรรม โดยลำดับ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้น โดยลำดับ จะทำให้เกิด “การเคลื่อนไปตามทางมรรคมีองค์ ๘ โดยลำดับ สู่ความพ้นทุกข์”

ลำดับของการกำหนดตั้งศีล คือ

ลำดับที่ ๑ ให้นำเอากิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ในระดับหยาบ (วีติกกมกิเลส) มากำหนดตั้ง ให้เป็นศีล เพื่อทำศีลให้บริบูรณ์

ลำดับที่ ๒ ให้นำเอากิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ในระดับกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) มากำหนดตั้ง ให้เป็นศีล เพื่อทำศีลให้บริบูรณ์

ลำดับที่ ๓ ให้นำเอากิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ในระดับละเอียด (อนุสัยกิเลส) มากำหนดตั้ง ให้เป็นศีล เพื่อทำศีลให้บริบูรณ์
 
๓. ต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย

การปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม หรือ การปฏิบัติธรรม เพื่อการพ้นทุกข์ "ต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย" จึงจะทำให้เกิด การขัดเกลาจิตใจ หรือ จึงจะทำให้เกิด การขัดเกลา หรือ การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ได้จริง

ถ้าไม่มีผัสสะ เป็นปัจจัย จะทำให้เกิด การนอนเนื่องของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน (ไม่ทำให้เกิดมรรคผลจริง) และ จะทำให้เกิด การหลงคิดไปว่า ตนเองบรรลุธรรมแล้ว

“ผัสสะ เปรียบเสมือน แบบฝึกหัด หรือ แบบทดสอบ”

“ถ้าไม่มีผัสสะ เราจะไม่รู้ว่า เราสามารถเอาชนะกิเลสได้แล้ว จริงหรือไม่?”

“ถ้าไม่มีผู้ใด สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เราโกรธ (โทสะ) เราคงไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาอารมณ์โกรธ ออกจากจิตใจ”

“ถ้าไม่มีผู้ใด สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เรา อยากได้ อยากมี หรือ อยากเป็น ในสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต เราคงไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาความโลภ (โลภะ) ออกจากจิตใจ”

“ถ้าไม่มีผู้ใด สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เรา หลงใหลติดใจ หรือ หลงยึดมั่นถือมั่น เราคงไม่มีโอกาส ได้ขัดเกลาความหลง (โมหะ) ออกจากจิตใจ”

๔. ต้องมีความเพียร เป็นที่ตั้ง

การปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม หรือ การปฏิบัติธรรม เพื่อการพ้นทุกข์ "ต้องมีความเพียร เป็นที่ตั้ง" จึงจะทำให้เกิด “การบรรลุมรรคผล”

เพราะ การขัดเกลา หรือ การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย

๕. ต้องมองให้เห็น มรรคผล (ความก้าวหน้า) แม้มีประมาณน้อย

การปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม หรือ การปฏิบัติธรรม เพื่อการพ้นทุกข์ "ต้องมองให้เห็น มรรคผล (ความก้าวหน้า) แม้มีประมาณน้อย" หรือ "ต้องมองให้เห็น ความชนะในความแพ้” จึงจะเกิดพลัง หรือ จึงจะเกิดแรงผลักดัน (ฉันทะ) ให้ปฏิบัติธรรมต่อไป จนบรรลุมรรคผล

เพราะ การขัดเกลา หรือ การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

“กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือสิ่งที่มีฤทธิ์มีแรงมาก”

“กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือสิ่งที่ถูกสั่งสมพอกพูนเอาไว้ ภายในจิตใจ ข้ามภพข้ามชาติมา ไม่รู้ว่า กี่ภพกี่ชาติ”

การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจของเรา

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

เราต้องใช้ความเพียรพยายาม ค่อนข้างสูง

และ เราต้องใช้ระยะเวลา ยาวนานพอสมควร

ถ้าเรามองไม่เห็น “มรรคผล (ความก้าวหน้า)” แม้มีประมาณน้อย

หรือ ถ้าเรามองไม่เห็น “ความชนะในความแพ้”

เราจะทุกข์ เราจะเครียด เราจะท้อแท้ และ เราจะหมดพลัง ในการปฏิบัติธรรม (หมดฉันทะ)
 

 ***************

สิ่งที่เราต้องเพียรทำ คือ

เราต้องเพียร ทำความมีสติ ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เกิดขึ้น ในจิต

เราต้องเพียรหมั่น อบรมจิต (สมถภาวนา)

และ เราต้องเพียรหมั่น อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)

ให้ติดเป็นนิสัย

เพื่อทำให้ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ค่อยๆลดลง จางคลายลง และ ดับสิ้นไป

หรือ เพื่อทำให้ "ศีลบริบูรณ์"
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 19 มกราคม 2563
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2563 2:57:28 น. 0 comments
Counter : 1908 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.