"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2562
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
9 กุมภาพันธ์ 2562
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
9. เริ่มต้น ก้าวเดินไปตามทาง มรรคมีองค์ ๘ สู่ความพ้นทุกข์

 
 
ถ้าเราต้องการ จะทำ “ความพ้นทุกข์”
เราต้องเริ่มต้น ก้าวเดินไปตามทาง “มรรคมีองค์ ๘”
ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา”
เพื่อชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน อันเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น
 
การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
 
เราต้องเพียรหมั่น “อบรมจิต” ฝึกฝืนจิต กดข่มจิต 
เพื่อทำให้จิตตั้งมั่น เป็น “สมาธิ” ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อมไหว ไปตาม กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่กำลังเกิดขึ้น ในจิตใจ 
เป็นการทำความระงับ ดับกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่กำลังเกิดขึ้น
 
และ เราต้องเพียรหมั่น “อบรมปัญญา” เพื่อสั่งสม “ปัญญา” ในทางธรรม ด้วยการเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เกิดขึ้น ในจิตใจ จนทำให้เกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ เพื่อสลายความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดี ในจิตใจ หรือ เพื่อทำให้เกิด “ปัญญา” ล้าง “อวิชชา”
 
ในช่วงต้นๆ ของการปฏิบัติธรรม
โดยส่วนใหญ่แล้ว
เรามักจะตามระงับ ดับกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ไม่ทัน
ดังนั้น เราจึงควรใช้วิธีการ เพียรหมั่น “อบรมปัญญา” หรือ เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ย้อนหลัง
เพื่อสลายความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดี ในจิตใจ และ เพื่อสั่งสม “ปัญญา” ในทางธรรม
 
การเพียรหมั่น “อบรมปัญญา” หรือ การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ย้อนหลัง อยู่เป็นประจำ
จะทำให้เรา มีพลังสติ มีพลังสมาธิ และ มีพลังปํญญา (ทางธรรม) มากขึ้น โดยลำดับ
จนทำให้เรา สามารถตามระงับ ดับกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ได้ทัน
และ ทำให้ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ในจิตใจของเรา ค่อยๆลดลง จางคลายลง และ ดับสิ้นไป เป็นที่สุด
 
การเพียรหมั่น “อบรมปัญญา” หรือ การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ย้อนหลัง นี้
เราต้องทำให้ติด เป็นนิสัย หรือ ต้องทำให้เป็น ปกติวิสัย
จึงจะเกิด “มรรคผล” จริง ดังเช่น
 
เมื่อใดก็ตาม ที่มีอารมณ์ไม่ชอบใจไม่พอใจ หรือ มีอารมณ์ขัดเคืองใจ เกิดขึ้น ในจิตใจ
ไม่ว่า เราจะตามระงับ ดับได้ทัน หรือ เราจะตามระงับ ดับไม่ทัน
ให้เราเพียรหมั่น เพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง ว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรไม่ชอบใจไม่พอใจ หรือ เราไม่ควรขัดเคืองใจ
และ ให้เราเพียรหมั่น เพ่งพิจารณา ให้ความเป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา) ของอารมณ์ไม่ชอบใจไม่พอใจ หรือ อารมณ์ขัดเคืองใจ
เพื่อสลายความรู้สึกที่ ไม่ชอบใจไม่พอใจ หรือ ขัดเคืองใจ ในจิตใจ และ เพื่อสั่งสม “ปัญญา” ในทางธรรม
 
ชาญ คำพิมูล



Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2562
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:26:29 น. 0 comments
Counter : 698 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.