"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2563
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
18 ตุลาคม 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
71. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 12



การทำความดับแห่งกองทุกข์ ที่พระพุทธองค์ทรงให้มุ่งทำ คือ การทำความดับแห่งตัณหา
 
วิธีการทำความดับแห่งตัณหา ที่ผู้เขียนยึดถือปฏิบัติอยู่ มีแนวทาง ดังนี้

1. ทำความมีสติ ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของอารมณ์สุข ราคะ และ ตัณหา
 
2. เมื่อมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (โผฏฐัพพะ) และ ธรรมารมณ์ มากระทบสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ แล้วทำให้เกิด อารมณ์สุข ราคะ และ ตัณหา ขึ้นมา ภายในจิตใจ ให้เพียรพยายาม ระงับดับตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น โดยให้เพียรพยายาม ทำจิตใจ ให้ตั้งมั่น ให้เป็นสมาธิ ให้สงบระงับ ให้ไม่ไหลเลื่อนปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอารมณ์สุข ราคะ และ ตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อทำให้ตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น ระงับดับลงไป (สมถะ)

3. ให้เพียรเพ่งพิจารณา (วิปัสสนา) เพื่อให้เห็น จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความไม่เที่ยง ในความไม่ยั่งยืน ในความแปรปรวน ในความไม่แน่นอน และ ในความไม่อาจยึดถือเอาไว้ได้ ของอารมณ์สุข ที่กำลังเกิดขึ้น (อนิจจัง)

4. ให้เพียรเพ่งพิจารณา (วิปัสสนา) เพื่อให้เห็น จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็นทุกข์ เป็นโทษ และ เป็นภัย ของการหลงใหลติดใจ และ การหลงยึดมั่นถือมั่น ในอารมณ์สุข ที่กำลังเกิดขึ้น (ทุกขัง)

5. ให้เพียรเพ่งพิจารณา (วิปัสสนา) เพื่อให้เห็น จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความไม่ตัวไม่ใช่ตนของตน และ ไม่ใช่ของของตน ของอารมณ์สุข ที่กำลังเกิดขึ้น และ ให้เพียรเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่า จริงๆแล้ว อารมณ์สุข มันเป็นแค่เพียง สิ่งที่เกิดขึ้นจาก “อุปาทาน” ที่คนเรามีอยู่ในความทรงจำ แตกต่างกัน เท่านั้นเอง และ มันเป็นสิ่งที่ สามารถทำให้ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ สูญสิ้นไปจากจิตใจได้ (อนัตตา)

***************

การทำให้ตัณหา ระงับดับลงไป ต้องใช้พลังสมาธิ หรือ สมาธิพละ เพื่อทำให้จิตใจ สงบระงับ ไม่ให้เกิดการไหลเลื่อนปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอารมณ์สุข ราคะ และ ตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น (สมถะ)

การทำให้เกิด การละหน่ายคลายในอารมณ์สุข และ การทำให้เกิด การปล่อยวางอารมณ์สุขได้ ต้องใช้พลังปัญญา หรือ ปัญญาพละ เพื่อทำให้เกิด “ปัญญา” ที่ละสักกายทิฏฐิและอัตตานุทิฏฐิได้ (วิปัสสนา)

***************

การทำให้ตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น ภายในจิตใจ ระงับดับลงไป

โดยไม่ให้เกิดการไหลเลื่อนปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอารมณ์สุข ราคะ และ ตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น

เป็นเรื่องที่ ค่อนข้างทำได้ยาก 

โดยเฉพาะ ผู้ที่ไม่เคยเพียรหมั่นฝึกปฏิบัติสมถกรรมฐาน

ส่วนใหญ่แล้ว มักจะเกิดการไหลเลื่อน ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอารมณ์สุข ราคะ และ ตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น
 
***************

ไม่ว่าเรา จะสามารถทำให้ตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น ระงับดับลงได้

หรือ ไม่สามารถจะทำให้ตัณหา ที่กำลังเกิดขึ้น ระงับดับลงได้

สิ่งที่สำคัญ ที่เราควรยึดถือปฏิบัติ คือ

1. เราควรเพียรพยายาม ทำความมีสติ ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของอารมณ์สุข ราคะ และ ตัณหา

2. เราควรเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา (วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของอารมณ์สุขทั้งหลาย (โลกียสุข) เพื่อทำให้เกิด “การละหน่ายคลายในอารมณ์สุขทั้งหลาย” และ เพื่อทำเกิด “การปล่อยวางอารมณ์สุขทั้งหลายได้” จึงจะทำให้เกิด “การดับสูญสิ้นไปของตัณหา”

ชาญ คำพิมูล



Create Date : 18 ตุลาคม 2563
Last Update : 18 ตุลาคม 2563 8:41:48 น. 0 comments
Counter : 672 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.