"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

136. ทางเดินไปสู่ “ความดับทุกข์” คือ “อริยมรรคมีองค์ 8” ตอนที่ 2



เมื่อเราเข้าใจจนชัดแจ้งแล้วว่า
 
ทางเดินไปสู่ “ความดับทุกข์” คือ “อริยมรรคมีองค์ 8
 

ในลำดับต่อไป
 
เราต้องทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งว่า
 
วิธีการเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” คืออย่างไร?
 
และ เราต้องทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งว่า
 
อะไร? คือสิ่งบ่งบอกถึง “ความก้าวหน้า” ของการเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
***************
 
การทำความดับทุกข์ คือ การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” คือ
 
การปรับเปลี่ยน “การงานอาชีพ (อาชีวะ) กายกรรม (กัมมันตะ) วจีกรรม (วาจา) และ มโนกรรม (สังกัปปะ)
 
ที่มีปกติเป็น "มิจฉา (อกุศล)"
 
ให้มีปกติเป็น "สัมมา (กุศล)" ยิ่งขึ้น
 
ด้วยการปฏิบัติ "ศีล สมาธิ และ ปัญญา" ให้สูงขึ้น ตามลำดับ
 
เพื่อชำระล้าง หรือ เพื่อละ หรือ เพื่อดับ “กิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน
 
ในระดับหยาบ (วีติกกมกิเลส) ระดับกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) และ ระดับละเอียด (อนุสัยกิเลส)
 
ที่เป็นมูลเหตุของ "อกุศลกรรมและความทุกข์" ทั้งหลาย
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้น ตามลำดับ
 
จะทำให้เกิด “อธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา
 
อธิศีล หมายถึง ศีลที่ยิ่ง คือ มีการงานอาชีพ มีกายกรรม มีวจีกรรม มีมโนกรรม ที่มีปกติ “เป็นสัมมา (เป็นกุศล)” ยิ่งขึ้น
 
อธิจิต หมายถึง จิตที่ยิ่ง คือ มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิยิ่งขึ้น จนบรรลุ ปฐมฌาน (ฌานที่ 1) ทุติยฌาน (ฌานที่ 2) ตติยฌาน (ฌานที่ 3) และ จตุตถฌาน (ฌานที่ 4) ตามลำดับ
 
อธิปัญญา หมายถึง ปัญญาที่ยิ่ง คือ มีความเห็นที่ถูก ที่ตรง ที่ชอบ ที่เป็นสัมมา ยิ่งขึ้น จนพ้นสักกายทิฏฐิ
จนพ้นวิจิกิจฉา จนพ้นสีลัพพตปรามาส จนพ้นกามราคะ จนพ้นปฏิฆะ จนพ้นรูปราคะ จนพ้นอรูปราคะ จนพ้นมานะ จนพ้นอุทธัจจะ และ จนพ้นอวิชชา ตามลำดับ (จนพ้นสังโยชน์ 10) จนไม่เหลือเศษเสี้ยวของอวิชชา
 
***************
 
การปฏิบัติ "ศีล สมาธิ และ ปัญญา" ต้องหมั่นเจริญความเพียรที่เป็นสัมมา (สัมมาวายามะ) และ ต้องหมั่นเจริญสติที่เป็นสัมมา (สัมมาสติ) ร่วมด้วย
 
การเจริญความเพียรที่เป็นสัมมา (สัมมาวายามะ) หมายถึง การเจริญสัมมัปปธาน 4 คือ
 
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น (สังวรปธาน)


๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)


๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น (ภาวนาปธาน)


๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว (อนุรักขนาปธาน)


การเจริญสติที่เป็นสัมมา (สัมมาสติ) หมายถึง การเจริญสติปัฏฐาน 4 คือ
 
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)


๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)


๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)


๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)


ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 06 เมษายน 2567    
Last Update : 6 เมษายน 2567 7:45:20 น.
Counter : 101 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

135. ทางเดินไปสู่ “ความดับทุกข์” คือ “อริยมรรคมีองค์ 8” ตอนที่ 1



ผู้ที่ต้องการจะทำ “ความดับทุกข์
 
ต้องทำความเข้าใจ ให้ชัดแจ้งว่า “ทางเดินไปสู่ความดับทุกข์” คืออะไร?
 
และ ต้องทำความเข้าใจ ให้ชัดแจ้งว่า วิธีการเดินไปตาม “ทางเดินไปสู่ความดับทุกข์” นั้น คืออย่างไร?
 
เมื่อเข้าใจจนชัดแจ้งแล้ว
 
ต้องเพียรพยายาม “เดินไปตามทางเดินไปสู่ความดับทุกข์” นั้น
 
จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง คือ “ความดับทุกข์
 
***************
 
เพราะ
 
ทางเดินไปสู่ความดับทุกข์ คือ  “อริยมรรคมีองค์ 8
 
ดังนั้น
 
ผู้ที่ต้องการจะทำ “ความดับทุกข์
 
ต้องทำความเข้าใจ ใน “อริยมรรคมีองค์ 8” ให้ชัดแจ้ง
 
และ ต้องทำความเข้าใจ วิธีการ “เดินไปตามทางอริยมรรคมีองค์ 8” ให้ชัดแจ้ง
 
เมื่อเข้าใจจนชัดแจ้งแล้ว
 
ต้องเพียรพยาม “เดินไปตามทางอริยมรรคมีองค์ 8
 
จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง คือ “ความดับทุกข์
 
***************
 
. วิภังคสูตร ว่าด้วย การจำแนกอริยมรรค
[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่ กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนก อริยมรรคมีองค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
 
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
 
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน)
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
 
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
 
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอทินนาทาน (การลักทรัพย์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอพรหมจรรย์ (พฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์)
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
 
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ 
 
สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
 
สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ
 
สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และ สุข อันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติ และ สุข อันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข”
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ จตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

วิภังคสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑.มัคคสังยุต] ๑.อวิชชาวรรค ๘.วิภังคสูตร
{ที่มา: โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม: ๑๙ หน้า: ๑๐-๑๓}

 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 23 มีนาคม 2567    
Last Update : 23 มีนาคม 2567 7:16:47 น.
Counter : 193 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

134. มาฆบูชา โอวาทปาฏิโมกข์



ในวันมาฆบูชา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดง “โอวาทปาฏิโมกข์” หรือ “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์ เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้ว เป็นเวลา 9 เดือน โดยมีเนื้อความ ดังปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ดังนี้
 
***ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์
 
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงแสดงปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์ ที่กรุงพันธุมดีราชธานีนั้น ดังนี้
 
“ความอดทน คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
 
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
 
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
 
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
 
การไม่ทำบาปทั้งปวง
 
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
 
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
 
นี้คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
 
 
การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
 
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
 
ความสำรวมในปาติโมกข์
 
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
 
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
 
การประกอบความเพียรในอธิจิต
 
นี้คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
 

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร] ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์
{ที่มา: โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม: ๑๐ หน้า: ๕๐-๕๑}

 
***************
 
โอวาทปาติโมกข์ 3 ประการ ที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงแสดง ในวันมาฆบูชา คือ
 

  1. การไม่ทำบาปทั้งปวง
 
  1. การทำกุศลให้ถึงพร้อม
 
 
  1. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
 
ได้ชื่อว่า “เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
 
เพราะเป็น “บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์
 
***************
 
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม กมฺมุนา วตฺตตีโลโก (กัมมุนา วัตตติ โลโก)
 
คนเราเกิดมา เพื่อมารับผลของกรรม ที่ตนได้เคยกระทำ สั่งสมเอาไว้ ในชาติก่อนๆ
 
กรรมดี หรือ การกระทำดี ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ (กุศลกรรม) มีผลเป็น วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก
 
วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก หมายถึง การได้รับ และ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย” (ทำให้ชีวิตเป็นสุข)
 
กรรมไม่ดี หรือ การกระทำไม่ดี ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ (อกุศลกรรม) มีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก
 
วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก หมายถึง การได้รับ และ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย” (ทำให้ชีวิตเป็นทุกข์)
 
***************
 
เมื่อคนเราเกิดมาแล้ว
 
คนเราก็จะทำ ทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี คละเคล้ากันไป
 
ทำให้ต้องเวียนวน กลับมาเกิดอีก
 
เพื่อมารับผลของกรรม ที่ตนได้เคยกระทำ สั่งสมเอาไว้
 
เป็นความสุขและความทุกข์ คละเคล้ากันไปอีก
 
ทำให้ชีวิต ต้องเวียนวน อยู่ในวังวนของ “ความสุข (โลกียสุข) และความทุกข์” ไม่มีที่สิ้นสุด เป็น “วัฏสงสาร
 
***************
 
ถ้าต้องการจะทำความดับทุกข์ หรือ ต้องการจะหลุดพ้นออกไปจากวัฏสงสาร
 
ต้องปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3” ทั้ง 3 ข้อ คือ
 
  1. ไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง ไม่สร้างอกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมที่ไม่ดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
  1. ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง หมั่นสร้างกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
     
  2. ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว หมายถึง หมั่นชำระล้าง หรือ หมั่นทำความดับ “กิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน” ที่มีอยู่ภายในจิตใจ หรือ ที่ครอบงำจิตใจอยู่ ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ เพื่อทำให้จิตใจ ใสสะอาด ปราศจาก “กิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน” เพราะ “กิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน” คือ มูลเหตุของ “อกุศลกรรมและความทุกข์” ทั้งหลาย
     
***************
 
การปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3” คือ การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” เพื่อปรับเปลี่ยน “การงานอาชีพ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” ที่เป็น “บาปอกุศล (มิจฉา)” ให้เป็น “กุศล (สัมมา)” และ เพื่อชำระล้าง หรือ เพื่อดับ “กิเลส ราคะ ตัณหา และ อุปาทาน” ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ เพื่อทำให้จิตใจ “ใสสะอาดผ่องแผ้ว
 
ชาญ คำพิมูล

ขอขอบคุณภาพจาก: สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มทร.รัตนโกสินทร์
 




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2567    
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2567 9:01:23 น.
Counter : 209 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

133. ปรับเปลี่ยนกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม ให้เป็นสัมมา (ให้เป็นกุศล) ตอนที่ 4



ทุกๆคน ที่ต้องการจะทำ “ความดับแห่งกองทุกข์
 
ต้องเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” เหมือนกัน
 
จึงจะถึงจุดหมายปลายทาง คือ “ความดับแห่งกองทุกข์” เหมือนกัน
 
สิ่งที่แตกต่างกัน คือ จุดเริ่มต้น หรือ ฐานของการปฏิบัติ (กรรมฐาน) ของแต่ละคน จะแตกต่างกันไป
 
ขึ้นอยู่กับ ความมากน้อยของกิเลส และ ชนิดของกิเลส ที่มีอยู่ภายในจิตใจ หรือ ที่ครอบงำจิตใจอยู่ เป็นพื้นฐาน
 
หรือ ขึ้นอยู่กับ “บารมีในทางธรรม” ของแต่ละคน ที่เคยปฏิบัติสั่งสมเอาไว้ ในชาติก่อนๆ
 
***************
 

คนบางคน อาจมี “การไม่ฆ่าสัตว์” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่ลักทรัพย์” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่ประพฤติผิดในกาม” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่พูดเท็จ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่พูดคำหยาบ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่พูดส่อเสียด” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “การไม่พูดเพ้อเจ้อ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว
 
คนบางคน อาจมี “ความไม่โลภ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว แต่อาจจะยังมี “ความอยากได้” อยู่ อาจจะยังมี “ความอยากมี” อยู่ และ อาจจะยังมี “ความอยากเป็น” อยู่ แต่มีไม่มาก จนเกินความจำเป็นของชีวิต หรือ จนเกิดการเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่น
 
คนบางคน อาจมี “ความไม่โกรธ” เป็นปกติของตนอยู่แล้ว แต่อาจจะยังมี “ความขัดเคืองใจ (ปฏิฆะ)” อยู่ อาจจะยังมี “ความไม่ชอบใจ (อรติ)” อยู่
 
ฯลฯ
 
***************
 
การปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา”
 
สามารถปฏิบัติได้ 2 แนวทาง คือ
 

  1. ปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้นโดยลำดับ โดยใช้ศีลที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้แล้ว คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และ ศีลพระปาฏิโมกข์
 
  1. ปฏิบัติศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้สูงขึ้นโดยลำดับ โดยใช้ "อริยมรรคมีองค์ 8" เป็นแนวทาง ในการกำหนดตั้งศีล ให้สูงขึ้นโดยลำดับ ชื่อว่าอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา”
 
***************
 
๔. วัชชีปุตตสูตร

ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร

[๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี

ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาถึงวาระ ที่จะยกขึ้นแสดง เป็นข้อ ๆ ตามลำดับ ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ ไม่สามารถศึกษา ในสิกขาบทนี้ได้”

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษา ในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา หรือ”

ภิกษุวัชชีบุตรนั้น กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ สามารถศึกษา ในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้”

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา

เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้น เธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรม ที่เป็นอกุศล จักไม่ประพฤติ สิ่งที่เลวทรามอีก

ครั้นต่อมา ภิกษุนั้น ศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อเธอ ผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรม ที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติ สิ่งที่เลวทรามอีก


วัชชีปุตตสูตรที่ ๔ จบ
 
เชิงอรรถ : ๑ วัชชีบุตร หมายถึง เป็นบุตรของวัชชีราชสกุล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๓๙)

เชิงอรรถ : ๒ สมัยที่พระวัชชีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้น สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ มีเพียง ๑๕๐ ข้อ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๔๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๐-๓๑๑ }


***************
 
การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8
 
สู่ “ความดับแห่งกองทุกข์
 
เราต้องรู้ว่า
 
ณ ตอนนี้ เรายืนอยู่ ตรงจุดไหน?
 
และเรา จะเดินต่อไป เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง อย่างไร?
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 21 มกราคม 2567    
Last Update : 25 มกราคม 2567 4:16:56 น.
Counter : 172 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

132. ปรับเปลี่ยนกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม ให้เป็นสัมมา (ให้เป็นกุศล) ตอนที่ 3



การปฏิบัติศีล ให้เป็นปกติ

ต้องใช้ “การปฏิบัติสมาธิ (สมถภาวนา)” และ “การปฏิบัติปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” ร่วมกัน
 
***************
 
การปฏิบัติสมาธิ (สมถภาวนา) หมายถึง การอบรมจิต

การอบรมจิต หมายถึง การทำจิตใจ ให้สงบ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้ไม่กระเพื่อมไหว ให้มีสติ ให้มีสมาธิ ให้ไม่หลงปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส” เพื่อไม่ให้เกิด “การละเมิดศีล” เมื่อมี “ผัสสะ” มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ
 
การปฏิบัติสมาธิ หรือ สมถภาวนา เป็นการทำให้กิเลส ระงับดับลงไป เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำที่ไม่ดี (อกุศลกรรม) ที่เป็นการละเมิดศีล

การปฏิบัติสมาธิ หรือ สมถภาวนา เป็นการทำความมีสติ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของกิเลส โดยไม่หลงปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส” เมื่อมี “ผัสสะ” มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

การปฏิบัติสมาธิ หรือ สมถภาวนา เป็นการเพียรพยายาม ไม่ปล่อยให้ “กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม” ไหลเลื่อนไปตาม “อำนาจของกิเลส” จนทำให้เกิด “การละเมิดศีล

การปฏิบัติสมาธิ หรือ สมถภาวนา เป็นการระงับ “การกระทำที่ไม่ดี (อกุศลกรรม)” ที่เป็นการละเมิดศีล เพื่อไม่ให้เกิด “อกุศลวิบาก” มาเติมเพิ่มในชีวิต
 
***************
 
การปฏิบัติปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) หมายถึง การอบรมปัญญา
 
การอบรมปัญญา หมายถึง การเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) จนพ้นสักกายทิฏฐิ จนพ้นวิจิกิจฉา จนพ้นสีลัพพตปรามาส โดยมีแนวทางในการเพ่งพิจารณา ดังนี้
 

  1. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรละเมิดศีล ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด โดยเพ่งพิจารณา ให้เห็นถึง ความทุกข์ ความโศก โรค โทษ ภัย และ กรรมวิบาก (ผลของกรรม) ที่จะเกิดขึ้นตามมา จากการละเมิดศีล
 
ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่น หรือ การทำร้ายทำลายผู้อื่นสัตว์อื่น เราควรหมั่นเจริญ “เมตตาจิต”
 
ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความหลงใหลและความหลงยึดมั่นถือมั่นในรูปร่างกายของตน หรือ ความหลงใหลในรูปร่างกายของผู้อื่น เราควรหมั่นเจริญ “อสุภะ” เราควรหมั่นเจริญ “ปฏิกูลมนสิการ” และ เราควรหมั่นเจริญ “ธาตุมนสิการ”
 
  1. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลงใหลติดใจ ความหลงยึดมั่นถือมั่นเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นชอบใจ เป็นไม่ชอบใจ เป็นเกลียด เป็นชัง เป็นความอยาก เป็นความใคร่อยาก เป็นความอยากได้ เป็นความอยากมี เป็นความอยากเป็น เป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน ฯลฯ
 
การได้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา” ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล จะทำให้เกิด “การละหน่ายคลาย” และ เกิด “การปล่อยวางได้” ชื่อว่า “พ้นสักกายทิฏฐิ” คือ ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นในกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน หรือ เป็นของของตน
 
การได้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล จนพ้นสักกายทิฏฐิ ชื่อว่า “พ้นวิจิกิจฉา” หรือ “พ้นความลังเลสงสัย” ในกิเลสที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล (ทำให้เกิดปัญญา ล้างอวิชชา)
 
เมื่อเกิด “การละหน่ายคลาย” จนเกิด “การปล่อยวางได้” จน “พ้นความลังเลสงสัย” แล้ว ก็จะทำให้ “ฤทธิ์แรงของกิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของการละเมิดศีล ค่อยๆลดลง และ ดับสิ้นไป (กิเลสดับ) และในที่สุด จะทำให้ศีล กลายเป็นปกติของตน ชื่อว่า “พ้นสีลัพพตปรามาส” คือ ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ ไม่ต้องฝึกไม่ต้องฝืน อีกต่อไป
 
การเจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นการทำความเห็น ให้ถูก ให้ตรง ให้เป็นสัมมา (สัมมาทิฏฐิ) จนพ้นความลังเลสงสัย (พ้นวิจิกิจฉา) จนพ้นอวิชชา
 
***************
 
“กิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของ “การละเมิดศีล” ในแต่ละข้อ ของแต่ละคน อาจมีความแตกต่างกันไป
 
ตัวอย่างเช่น 

การละเมิดศีลข้อที่ 1 ด้วยการฆ่าสัตว์

อาจมีมูลเหตุมาจาก ความโลภ ความโกรธ ความพยาบาทอาฆาตแค้น ความเกลียด ความกลัว ความหลงเข้าใจผิด ความหลงใหลติดใจในรสชาติของเนื้อสัตว์ ที่มีมาก จนต้องลงมือฆ่าด้วยตนเอง เพื่อให้ได้กินแบบสดๆ ฯลฯ
 
ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 13 มกราคม 2567    
Last Update : 13 มกราคม 2567 7:24:07 น.
Counter : 157 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.