"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2563
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
16 สิงหาคม 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

64. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 5



การทำความดับแห่งกองทุกข์

คือ การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ (ทุกขสมุทัย) ในความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธ) และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)

***************

ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ หรือ ทางเดินไปสู่ความดับแห่งกองทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)

คือ อริยมรรคมีองค์ 8


***************

การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8
 
คือ การปฏิบัติเพื่อทำความดับแห่งกองทุกข์

***************
การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8

จะใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน

***************
การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน

คือ การปฏิบัติที่มีการกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติให้เป็นปกติ โดยใช้ ”อริยมรรคมีองค์ 8” เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง แล้วใช้ “สมาธิ (สมถะ)” และ “ปัญญา (วิปัสสนา)” ร่วมกัน เพื่อทำให้ศีลเป็นปกติ (ไม่ต้องยึดไม่ต้องถือ)

***************

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑๐. มหาสติปัฏฐานสูตร มัคคสัจจนิทเทส
 
[๑๓๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ นั่นแล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)

๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)

๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)

๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)

๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)

๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
 
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร

คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
 
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร

คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน

นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
 
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร

คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
 
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร

คือ เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
 
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร

คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วย สัมมาอาชีวะ

นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
 
สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
 
สัมมาสติ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

นี้เรียกว่า สัมมาสติ
 
สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
 
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ }
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 16 สิงหาคม 2563
0 comments
Last Update : 22 สิงหาคม 2563 5:56:00 น.
Counter : 695 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.