"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
7 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

55. อิทธิบาท 4 กับการดูแลสุขภาพ ตอนที่ 2



หลักการดูแลสุขภาพให้ดี
 
ที่ผู้เขียนได้ยึดถือปฏิบัติอยู่ จนเป็นปกติ
 
คือ หลัก 5อ. + 1
 
***************
 

หลัก 5อ. + 1 ประกอบด้วย
 
1. อ.อารมณ์ดี ไม่มีปัญหา
 
2. อ.อาหารดี มีคุณค่า
 
3. อ.ออกกำลังกาย อย่างเหมาะสม อย่างพอเหมาะ และ อย่างสม่ำเสมอ ให้ติดเป็นนิสัย
 
4. อ.เอนกาย (นอนหลับ) ให้เพียงพอ
 
5. อ.อุจจาระ ให้เป็นปกติวิสัย ทุกวัน
 
+ 1 อ.อิทธิบาท 4 ช่วยขับเคลื่อน 5อ.
 
***************
 
การดูแลสุขภาพ ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก
 
แต่ค่อนข้างยาก ที่จะทำให้ได้ เป็นปกติวิสัย

 
ดังนั้น จึงต้องใช้หลักธรรม “อิทธิบาท 4” ของพระพุทธองค์ มาช่วยขับเคลื่อน ดังนี้
 
1. ต้องสร้าง “ฉันทะ (ความยินดี)” ในการดูแลสุขภาพ ขึ้นมาก่อน เป็นลำดับแรก (ตามที่ได้อธิบายไว้ ในตอนที่ 1)
 
การสร้างฉันทะ (ความยินดี)
 
หรือ การสร้างแรงผลักดัน
 
หรือ การสร้างแรงกระตุ้น
 
หรือ การสร้างแรงจูงใจ
 
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ
 
2. ต้องเพียรทำ (วิริยะ) อย่างต่อเนื่อง และ อย่างสม่ำเสมอ ให้ติดเป็นนิสัย จึงจะเกิดมรรคผลจริง
 
3. ต้องเอาใจใส่ ต้องเอาใจฝักใฝ่ ศึกษาหาความรู้เรื่องสุขภาพ และ หาวิธีการดูแลสุขภาพ ที่เหมาะสมกับตน (จิตตะ)
 
4. ต้องพิจารณาไตร่ตรอง ประเมินผลการปฏิบัติ และ ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ ให้ดียิ่งขึ้นและให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย (วิมังสา)

***************
 
เมื่อเราได้เพียรทำ อย่างถูกต้อง อย่างเหมาะสม อย่างต่อเนื่อง และ อย่างสม่ำเสมอ จนติดเป็นนิสัยแล้ว
 
ก็จะปรากฏผลดีต่อร่างกาย อย่างชัดเจน
 
และ จะส่งผลให้เกิด “ฉันทะ” ที่จะทำต่อไป อย่างต่อเนื่อง เรื่อยๆ (เกิดฉันทะมากขึ้น และ เกิดการหมุนวนรอบของอิทธิบาท 4 ที่แรงขึ้น)
 
***************
 
การสร้างฉันทะ (ความยินดี) ขึ้นมาก่อน
 
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ
 
เพราะ เมื่อมีฉันทะ (ความยินดี) แล้ว
 
ก็จะมีวิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความเอาใจฝักใฝ่) และ วิมังสา (ความพิจารณาไตร่ตรอง) ตามมา
 
***************
 
“ไม่มีใครดูแลสุขภาพแทนเราได้”
 
“ไม่มีใครเจ็บป่วยแทนเราได้”
 
“ถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพของเราให้ดี แล้วเราจะเอาสุขภาพที่ดี มาจากไหน?”
 
“จงอย่ามัววุ่นวายอยู่กับ เรื่องราวของโลก ของสังคม และ ของผู้อื่น จนเกินควร จนลืมดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตน”

 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2563
0 comments
Last Update : 8 มิถุนายน 2563 7:28:11 น.
Counter : 1036 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.