Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
15 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
ขนมตั้งเปรต..ในงานบุญเดือน 10 ชาวเมืองคอน

วันนี้ (14 ตค. 50) เป็นวันสุดท้ายของงานบุญสารทเดือน 10 ของเมืองนครศรีธรรมราชในปีนี้ ช่วงเดือนที่แล้วแม่ผมไปทำงานอยู่นครศรีธรรมราช 17 วัน ในระหว่างนั้นมีการแถลงข่าวงานบุญเดือนสิบ ที่โรงแรมทวินโลตัส ซึ่งในงานก็บอกเล่าประวัติความเป็นมาของประเพณีนี้ ที่สรุปได้ว่าเป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษที่ทำไม่ดีตอนมีชีวิตอยู่ ทำให้ตายไปต้องไปอยู่ในแดนอบายภูมิ 2 แห่ง คือ เปรตภูมิ กับคนนรกภูมิ โดยเชื่อกันว่า.. ผู้ที่อยู่ในแดนอบายภูมิดังกล่าวนี้จะมารับอาหารและบุญกุศลจากลูกหลานในวันแรม 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบ ดังนั้นในวันนี้ลูกหลานจะเตรียมอาหารหวานคาวใส่หฺมฺรับ (สำรับ)เพื่อส่งไปให้บรรพชนรวมทั้งจัดอาหารให้บิดามารดา ผู้มีพระคุณ และถวายพระภิกษุด้วย เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนและครอบครัว จากที่แม่ผมฟังที่มาของประเพณีทำให้สรุปได้ว่าคนไทยในอดีตจริงใจ กตัญญู และยอมรับความจริงมาก คือ รู้ว่าบรรพชนตนเองทำตัวไม่ดี ต้องไปเป็นเปรตใช้กรรม แต่ลูกหลานก็ไม่อายยอมรับได้ และมีความกตัญญูโดยการทำบุญไปให้ทุกปี



โดยในวันแรม 15 ค่ำ จะเรียกว่าวันหลองหฺมฺรับ(ฉลองสำรับ) หรือส่งเปรต ก็จะมีการยกหฺมฺรับใหญ่ถวายพระ และทำหฺมฺรับไปตั้งรวมไว้ที่บริเวณตั้งเปรต ในอาหารที่ตั้งสำรับนี้ขนมหวานสำคัญของประเพณีเดือนสิบที่ขาดไม่ได้ของชาวนครฯ คือ ลา พอง ไข่ปลา(กง) สะบ้า และดีซำ(เบซำ) เมื่อตั่งสำรับอาหารเสร็จก็จะอธิษฐานให้เปรตบรรพชนได้กิน แล้วก็จะมีการให้สัญญาณชิงอาหารและสิ่งของที่ตั้งไว้ให้เปรต เรียกว่า "การชิงเปรต" เป็นกิจกรรมหนึ่งในประเพณีนี้ที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน



โดยขนมทั้ง 5 ที่ใช้ในวันหลองหฺมฺรับจะเป็นขนมที่ทำจากแป้งผสมกับน้ำตาลแล้วนำไปทอดทั้งสิ้น ซึ่งในวันแถลงข่าวมีขนมทั้ง 5 มาให้สื่อมวลชนชิม แม่ผมชิมแล้วไม่ชอบสักอย่าง เพราะแม่ผมไม่ชอบแป้งทอดหวานๆ แบบกระด้างๆ ซึ่งขนมแต่ละอย่างจะมีความหมายและวิธีทำคร่าวๆ ดังนี้

ขนมลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า แพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลามีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้



วิธีทำขนมลา

- ผสมแป้งมันสำปะหลัง 9 ส่วน แป้งข้าวเจ้า 2 ส่วน และ น้ำตาลปี๊บ 5 ส่วน โดยผสมน้ำตาลปี๊บและน้ำเปล่าเล็กน้อย และนำ ไปตั้งไฟอ่อน ๆ เพื่อให้น้ำตาลปี๊บกับน้ำละลายเข้ากันได้ดี ทิ้งไว้ให้อุ่น แล้วเทแป้งทั้งสองลงไปจนหมด ในขณะที่เทต้องใช้ไม้พายเล็ก ๆ กวนให้แป้งและน้ำตาลปี๊บเข้ากัน ซึ่งการกวนแป้งนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที แป้งที่ออกมาจะมีลักษณะเหนียว ๆ ข้น ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน



- ถ้าจะทำขนมลากรอบ ตั้งกระทะใช้ไฟแรงปานกลาง เช็ดกระทะด้วยแท่ง อะลูมิเนียมยาวที่พันผ้าไว้ ตรงปลาย ซึ่งจุ่มน้ำมันพืชเตรียมไว้ จากนั้นตักแป้ง ใส่ลงในกระป๋องสเตนเลส ที่เจาะรูไว้ แล้วนำมาโรยวนรอบกระทะ 2-3 รอบ ทิ้งไว้ สักครู่เพื่อให้ขนมสุกออกสีเหลือง ใช้ที่ตักขนมลาแซะ ขนมขึ้นมาพันกับแท่งอะลูมิเนียมอีกอันหนึ่งให้ทั่วทั้งแท่ง แล้วค่อย ๆ ดึงขนมออกมาโรยน้ำตาลตั้งพักไว้



- ถ้าเป็นขนมลานิ่มให้ตักขนมจากกระทะขึ้นมาเป็น แผ่นเลย แล้วตั้งทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้ขนมนิ่ม จากนั้น พับเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังมีการนำขนมลานิ่มมาห่อพระธาตุ แล้วประดับด้วยขนมอื่นๆ



ขนมพอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ และเป็นสัญลักษณ์แทนเรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพมีน้ำหนักเบาย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้



วิธีทำขนมพอง ทำจากข้าวเหนียวเหมือนกับขนมนางเล็ด แช่ข้าวสารเหนียวไว้สัก 1 คืนก็พอ แล้วนำมานึ่งให้สุก อัดลงพิมพ์ที่ทำจากแผ่นไม้ไผ่บาง ๆ มัดด้วยหวายเป็นรูปกลม ใส่กระด้งไปตากแดดจนแห้ง แล้วจึงเอามาทอดให้ฟูพอง

ขนมเจาะหู (เบซำ หรือดีซำ) ใช้แทนเงิน เบี้ยหรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนมคล้ายเบี้ยหอย



วิธีทำขนมเจาะหู (เบซำ หรือดีซำ) ทำจากแป้งข้าวจ้าวและน้ำผึ้งโหนด โดยแช่ข้าวสารไว้เพียงคืนเดียว แล้วนำมาล้างให้หมดกลิ่น กระจายทิ้งไว้จนแห้งจึงเอามาตำให้ได้แป้งเนื้อละเอียดเป็นผง ร่อนเอาแต่ที่ละเอียดจริง ๆ ผึ่งทิ้งไว้ให้แห้งอีกครั้ง แล้วจึงเอาลงละลายกับน้ำผึ้งโหนดให้แค่นพอปั้นได้ แล้วให้ปั้นแป้งเป็นวงแบน ๆ เจาะตรงกลางให้เป็นรู (เหมือนโดนัท) เอาไปทอดจนสุก

ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ และเป็นสัญลักษณ์แทนลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่นต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้ามีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน



วิธีทำขนมบ้า ทำจากแป้งข้าวเหนียวกับน้ำผึ้งโหนด โดย นำข้าวสารเหนียวโดยแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วนำมาล้างให้หมดกลิ่น กระจายทิ้งไว้จนแห้งจึงเอามาตำให้ได้แป้งเนื้อละเอียดเป็นผง ร่อนเอาแต่ที่ละเอียดจริง ๆ ผึ่งทิ้งไว้ให้แห้งอีกครั้ง แล้วจึงเอาลงละลายกับน้ำผึ้งโหนดให้แค่นพอปั้นได้ โดยปั้นแป้งให้เป็นแผ่นกลมๆ แล้วทอด

ขนมไข่ปลา (ขนมกง ) เป็นเสมือนเครื่องประดับ ใช้ตกแต่งร่างกาย

วิธีทำขนมไข่ปลา (ขนมกง ) ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำผึ้งโหนด กะทิ เมล็ดถั่วเขียว โดยเตรียมแป้งเหมือนขนมบ้าแต่ไม่ใส่น้ำผึ้ง ใส่หัวกะทิแทน เอาเมล็ดถั่วเขียวไปคั่วจนสุกหอม แล้วมาบดละเอียดกับครกบด ใส่น้ำผึ้งโหนดพอเหนียวจับตัว แล้วคลึงเป็นเส้นยาวเหมือนนิ้วมือ หรือเหมือนไข่ปลา (บางที่เรียกว่า ขนมไข่ปลา) แล้วไปคลุกแป้งที่เตรียมไว้ก่อนทอดกับน้ำมันร้อน ๆ




Create Date : 15 ตุลาคม 2550
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2550 1:39:04 น. 23 comments
Counter : 1117 Pageviews.

 
อืมมมมมมมมมม ไม่เคยเห็นพิธีแบบนี้เลยนะครับ น่าสนใจมากๆเลย ดีครับที่ได้เข้ามาชมบล็อคนี้ ทั้งพิธีกรรมที่น่าสนใจและแปลก ทั้งขนมต่างๆ น่าทานมากๆเลย เคยเห็นขนมลามาเหมือนกันนะครับ หวาน หอม อร่อยมากๆเลย


โดย: ซอร์บอนน์ (ซอร์บอนน์ ) วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:2:49:29 น.  

 
หืม ทำไมน่ากินแบบนี้นะ ขนมเจอะหูนี่ยอมโดนเจาะหูเลยแต่ขอแอบกินหน่อย


โดย: แป๊กก วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:6:15:16 น.  

 
บล็อคนี้มีสาระเสมอค่ะ เข้ามาแล้วได้อะไรดีๆเสมอ ไม่เคยทราบประวัติความเป็นมาละเอียดขนาดนี้เลย
ขอบคุณแม่บัดดี้มากนะคะ


โดย: นินจาไร้เงา IP: 222.123.104.19 วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:6:16:43 น.  

 
ชื่อขนมน่ากลัวจริง ๆ เคยทานขนมลาด้วยหล่ะค่ะ เพื่อนที่อยู่ทางใต้เอามาให้ชิมค่ะ


โดย: คุณย่า วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:6:20:14 น.  

 
อือ ........หลาย ๆ อย่างไม่รู้มาก่อนเลยนะคะ ขอบคุณที่มาแบ่งปันให้เจ๊หลี ทราบค่ะ


โดย: กิน ๆ เที่ยว ๆ วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:6:53:22 น.  

 
ถูกใจคนใต้ที่สุดเลย


โดย: grappa วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:7:12:31 น.  

 
ว้าว ปีนี้เราทำบุญแล้วเหมือนกัน และก็ไม่ลืมทานขนมเดือนสิบด้วยล่ะ


โดย: kai (kaichu ) วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:7:20:04 น.  

 
ขนมน่าสนใจทั้งนั้นเลยครับ ขนมลาแบบเป็นสีๆไม่เคยเห็นเลยครับ แปลกดี


โดย: หลั่มหมั่นเหม่ง วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:8:07:45 น.  

 
นอกจากได้เห็นขนมแล้วก็ยังได้รู้ประวัติความเป็นมา
อีกด้วยนะค่ะ ...


โดย: JewNid วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:8:29:11 น.  

 
ขอบคุณความรู้ดีดีที่นำมาแบ่งปันนะคะ


โดย: ทูน่าค่ะ วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:10:31:35 น.  

 
ขนมหน้าตาน่ากิน
แต่ชื่อขนมนี่สิครับ


โดย: กุมภีน วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:12:54:53 น.  

 
อืม... ตั้งใจทำกันเป็นเรื่องเป็นราวดีจังครับ ขอบคุณครับ
ทางเขมรก็มีทำบุญให้บรรพบุรุษในช่วงนี้ และมีความเชื่อเกี่ยวกับเปรตเหมือนทางใต้ ช่วงนี้จะบรรเลงเพลงๆ หนึ่ง ชื่อ "เสียงคร่ำครวญของเปรต" เพื่อให้ลูกหลานได้คิดและมาร่วมกันทำบุญ


โดย: c (chaiwatmsu ) วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:14:11:50 น.  

 
สืบทอดกันเอาไว้นะ ประเพณีไทยดีๆ

แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ


โดย: เนระพูสี วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:14:33:33 น.  

 
ขนมที่เคยกิน เคยกินขนมพองคะ
แต่อย่างอื่่นที่เอามลง ไม่เคยกินเลยอ่ะคะ...



โดย: ดอกหญ้าเมืองเลย วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:0:48:44 น.  

 
ขนมลาน่ากินจัง


โดย: FreakGirL วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:7:39:36 น.  

 
ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย แปลกดี


โดย: fairy_tells วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:9:10:36 น.  

 
ชอบมากๆครับมีที่ไปดี..


โดย: Megu วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:13:01:51 น.  

 
น่ากินจัง ชอบมากๆๆๆๆไม่เคยเห็นมาก่อนเลยสวยจิงๆน่ากินมากน้ำลายไหลหน้าคอมเลยค่ะ...........อิอิ


โดย: แพนนี่ IP: 222.123.151.162 วันที่: 24 ตุลาคม 2550 เวลา:19:08:59 น.  

 


โดย: sine IP: 125.25.190.152 วันที่: 29 ตุลาคม 2550 เวลา:18:00:04 น.  

 
น่ารักมาก


โดย: sine IP: 125.25.190.152 วันที่: 29 ตุลาคม 2550 เวลา:18:06:48 น.  

 
ขนมนางเล็ด

สนใจขนมนางเล็ดโบราณ ของทานเล่นยามว่างคลิกที่ //www.langandlove.com
ขนมนางเล็ดสูตรโบราณ สนใจจะติดต่อขายส่ง คลิกที่ //www.langandlove.com
ขนมนางเล็ดคุณยายลั้ง สนใจจะติดต่อขายส่ง คลิกที่ //www.langandlove.com
ของฝากจากอยุธยา

มีทั้งขายปลีกและขายส่ง
สามารถเลือกซื้อได้ที่ เจ้เล้ง ดอนเมือง
สนใจติดต่อ
และ คุณศุภรัตน์ ชัยรัชนีบูลย์
โทร. 089-8133667
E-mail : lang7love@Gmail.com
www.langandlove.com


โดย: คุณศุภรัตน์ IP: 58.10.84.197 วันที่: 1 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:18:28 น.  

 
ภาพเปรตสวยมาก


โดย: เต้ IP: 118.173.160.4 วันที่: 2 กันยายน 2551 เวลา:17:52:58 น.  

 
ภาพเปรตสวยมาก


โดย: เต้ IP: 118.173.160.4 วันที่: 2 กันยายน 2551 เวลา:17:52:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อ้วนดำปื๊ดปื๊อ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 59 คน [?]




Friends' blogs
[Add อ้วนดำปื๊ดปื๊อ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.