|
ไอศกรีมโฮมเมด[2]..ช็อกโกเลต
ไอศกรีมช็อกโกเลตน่าจะเป็นไอศกรีมยอดฮิตไม่แพ้วานิลลา(เพิ่มรูปใหม่ บางรูป) โพสต์ไว้ที่นี่ค่ะ
 //topicstock.pantip.com/food/topicstock/2007/03/D5192439/D5192439.html
ต่อจากตอนที่[1] แต่ตอนนี้ขอตัวช่วยหน่อยค่ะ
ขอใช้เครื่องปั่นช่วย ลดเวลาลงนิดหน่อย แต่ถ้าไม่มีก็ยังใช้สองมือเหมือนเดิมได้เลย ความจริงถ้าเราบริหารเวลาดีๆ ทำได้เองไม่ยากเลย ช่วงเวลารอการบ่ม และการแข็งตัวก็ทำอย่างอื่นไปด้วยก็ได้

ยังเป็นการใช้คัสตาร์ดอยู่นะคะ คัสตาร์ดในความหมายการทำอาหารก็คือ การทำให้ไข่และนมเป็นครีมขึ้นมา พร้อมทั้งใส่น้ำตาลและแต่งกลิ่น เช่นด้วยวานิลลาเป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้ในเรื่องของหวาน เมนูของคาวที่ใช้คัสตาร์ดอีกอย่างก็คือคีช(quiche)
 สูตรนี้จะเปลี่ยนส่วนผสม จากที่โพสต์ไปในกระทู้ข้างบนนะคะ ลดไข่แดง และchocolate ลง ยังอร่อยดี ตอนหลังๆทำสูตรนี้ตลอด แต่รูปบางรูปยังใช้ของเดิมๆนะคะ
** ส่วนผสมมีดังนี้ นมสดจืด 250 ซีซี ไข่แดง 2 ฟอง น้ำตาลทราย 80 กรัม แป้งข้าวโพด 1 ชช. Dark chocolate 100 กรัม whipping cream 250 ซีซี
 ส่วนผสมที่เพิ่มมาคือช็อกโกเลตและแป้งข้าวโพด ช็อกโกเลตนี่ก็ทำให้เกิดรสเป็นช็อกโกเลต ตรงไปตรงมา ในบางสูตรของไอศกรีม ที่ใช้แป้งข้าวโพดเพิ่มมา ก็เพื่อช่วยลดการเกิด curd หรือก้อนลิ่มเล็กๆของไข่แดงเวลามันร้อนเกิน 83 องศาซี เวลาที่เราทำไอศกรีมช็อกโกเลตเราต้องเพิ่มเวลาของคัสตาร์ดที่อยู่บนความร้อน เพราะเราต้องละลายช็อกโกเลตลงในคัสตาร์ดร้อน นอกจากนี้มันยังทำให้ส่วนผสมข้นได้เร็วขึ้นด้วย
-หั่นช็อกโกเลตเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ dark choc.ก็ดี ถ้าใครกลัวขมก็ให้แบ่งเป็น milk choc.อย่างละครึ่ง ก็ไม่ผิดกติกา แต่ไม่แนะนำให้ใช้ unsweetened chocolate เพราะเคยทำเลย ขมมั่กๆ แม้จะปรับใส่น้ำตาลมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ถ้าใครมีสูตรที่ใช้ unsweetened choc. อยู่แล้วจะใช้ก็ได้
 จะไม่โพสต์รูปขั้นตอนซ้ำๆนะคะ กลับไปดูที่ตอน[1]..รสวานิลลา นิดนึง -ทบทวนขั้นตอนอีกทีนะคะ อุ่นนม> ตีไข่กับน้ำตาล ทำคัสตาร์ด> ทำให้เย็น บ่ม > ทำให้แข็งตัว(ตะกุยๆ) >ทำให้แน่นแข็ง Scalding>custard making>age>freezing>hard คราวนี้พี่ขี้โกงตีไข่กับเครื่องตี อย่าลืมใส่แป้งข้าวโพดตอนตีใกล้เสร็จนะคะ -จะเริ่มกันตรงที่ทำคัสตาร์ดใกล้เสร็จ เราก็จะใส่ช็อกโกเลตตอนทำคัสตาร์ดก่อนจะบ่ม
 เหมือนเคยนะคะ ทำให้มันเย็นเร็วขึ้นอีกหน่อย ก่อนเอาใส่ตู้เย็น
 ขั้นตอนที่คิดว่าจะเสียเวลาที่สุดคือตอน freezing นีแหละ เพราะต้องกระทำการซ้ำซาก -เครื่องทำไอศกรีมตัวช่วยวันนี้จะมาช่วยทำขั้นตอนให้แข็งตัวหรือตอนfreezing เร็วขึ้น -หลักการก็คือทำให้เกิดฟองอากาศในส่วนผสม โดยใช้ใบพัดหมุนแทรกไปในส่วนผสมที่ทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว ความจริงถ้าเราไปตะกุยส่วนผสมได้เองในช่องฟรีซ ตอนที่ส่วนผสมเริ่มเย็นลงก็ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยก็ได้ อิอิ
 เครื่องช่วย(ice cream maker)จะมีหลายแบบ -ของที่พี่ใช้อยู่จะประกอบด้วยถังใส่ส่วนผสม
 -ผนังจะเป็นสองชั้น ระหว่างผนังทั้งสองก็คือ cooling liquid เวลาจะใช้ก็ต้องยกทั้งถังนี้ไปแช่ในช่องฟรีซ เพื่อให้เจ้าของเหลวที่ว่านี้ แข็งตัวไปเลย คล้ายกับน้ำแข็งที่ใส่พร้อมเกลือของถังปั่น แบบดั้งเดิม ข้อดีของเครื่องปั่นแบบนี้ก็คือไม่ต้องใช้น้ำแข็ง ข้อด้อยคือต้องเสียเวลาฟรีซไว้ก่อน แต่พี่ชอบแบบนี้นะ สะดวกดี ตอนที่บ้าๆทำ ยังสั่งซื้อถังมาเพิ่มอีกสองอันเป็นสามอัน ฟรีซไว้เลย นึกอยากจะทำก็ทำต่อเนื่องได้ ไม่ต้องรอcooling liquid แข็งตัว ที่อยากรู้ก็คือ cooling liquid นี่มันคืออะไร ถามพนักงานก็ไม่รู้ โทรถามที่บริษัทจำหน่ายก็ไม่รู้เช่นกัน.. มาลองถามคุณกู..ก็ยังไม่เจอคำตอบเลย
 คุณ..n0nglek..ได้มาให้คำตอบไว้ว่า ..Cooling Agent ด้านใน Jacket ของถัง คือ potassium chloride ค่ะ .. KCl กับ NaCl จะเป็นญาติ ๆ กันค่ะ หลักการไม่มีอะไรมาก ใช้สารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กทำละลายในน้ำ ก็จะดึงจุดเยือกแข็งของน้ำลง การใช้เกลือน้ำแข็งปั่นไอศกรีม เกลือก็คือ NaCl ที่จะดึงจุดเยือกแข็งของน้ำให้ลดลง
ทั้งคู่มีราคาถูก หาง่าย แต่ NaCl จะมีคุณสมบัติที่ด้อยกว่า คือจะกัดกร่อนโลหะ ดังนั้นในอุตสาหกรรมไอศกรีม ในน้ำสำหรับให้ความเย็นไอศกรีม จึงนิยมใช้ KCl มากกว่าค่ะ
พวก ฟรีออนและแอมโมเนีย ใช้ในเครื่องเย็นแบบมีคอมเพลสเซอร์ พวกตู้เย็นและแอร์ ใช้ความดันเป็นตัวเปลี่ยนสถานะของสารจากก๊าซเป็นของเหลว การเปลี่ยนสถานะของสารนี้จะดูดพลังงานในรูปของความร้อนเข้าไปเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเย็นค่ะ แต่ถังปั่นแบบนี้ไม่มีระบบ compressor ไม่มีตัวสร้างความดัน
Ethylene Glycol ซึ่งเป็นตัว antifreeze ก็จริง แต่ใช้ในการทำให้น้ำไม่แข็งตัวมากกว่าใช้ในการทำไอศกรีม เนื่องจาก Ethylene Glycol สามารถดึงจุดเยือกแข็งของน้ำลงไปได้ต่ำเกินความจำเป็นในการทำไอศกรีมค่ะ การปั่นไอศกรีม ต้องการจุดเยือกแข็งของสารให้ความเย็นที่ประมาณ -18 C เท่านั้น เพื่อให้สารนั้นเปลี่ยนสถานะ โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยน หากจุดเยือกแข็งต่ำกว่านี้ ก็จะไม่สามารถดึงความร้อนออกจาก mix ที่อุณหภูมิประมาณ -18 C ได้นานค่ะ ..ขอบคุณคุณn0nglek ...................... -ฐานเป็นมอเตอร์สำหรับหมุนถังส่วนผสม ต่างจากถังแบบใช้น้ำแข็งที่หมุนใบพัด แต่แบบนี้ใบพัดอยู่กับที่แต่ถังหมุนแทน
 - ใส่ใบพัดลงไป
 ปิดด้วยฝาครอบ ที่จะเป็นตัวยึดใบพัดให้อยูกับที่
 พอเราบ่มส่วนผสมได้ที่4 ชม.ขึ้นไป ก็เอาวิปปิ้งครีมมาเทผสมรวมกันผสมให้เข้ากัน
 ทุ่นแรงอีกรอบ ใช้เครื่องช่วย ตีให้แค่พอเข้ากัน ใช้พายหรือที่ตีแบบธรรมดาก็ได้
 -จากนั้นก็เปิดให้เครื่องหมุน ใส่ส่วนผสมที่บ่มได้ที่แล้วลงไป
 ปล่อยให้เครื่องมันทำหน้าที่ของมันไป ใครมีเครื่องช่วยแบบไหนก็อ่านคู่มือการใช้ให้เข้าใจ ทำตามที่คู่มือบอก ถ้าไม่มีเครื่องถึงตอนนี้ก็กลับไปดูขั้นตอน[1]เดิม ลากวิปปิ้งครีมมาตีๆๆๆ เทส่วนผสมที่บ่มแล้วเข้าไป จับเข้าช่องฟรีซ ได้เวลาก็เอาออกมาตะกุยๆๆ ข่วนๆๆ ............... ขั้นตอนนี้พี่ปั่นกับเครื่อง 30 นาที หรือจนมันหนืด แกนไม่หมุน
 ส่วนผสมที่ได้หลังจากผ่านเครื่องประมาณ 30นาที

เก็บใส่กล่อง ปิดฝา เข้าช่องฟรีซ 2-3 ชม. เสร็จแล้ว มาหม่ำกัน

กับรสวานิลลาช็อกชิฟ

Create Date : 14 มีนาคม 2550 |
Last Update : 22 ตุลาคม 2553 20:27:54 น. |
|
13 comments
|
Counter : 9864 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: moopu (moopu ) วันที่: 15 มีนาคม 2550 เวลา:21:52:38 น. |
|
|
|
โดย: angielicious (angielicious ) วันที่: 19 มีนาคม 2550 เวลา:2:27:15 น. |
|
|
|
โดย: เพ็ญเพียงพอ วันที่: 19 มีนาคม 2550 เวลา:13:10:23 น. |
|
|
|
โดย: พิเชษฐ IP: 124.121.138.41 วันที่: 3 พฤษภาคม 2550 เวลา:21:07:05 น. |
|
|
|
โดย: PiN.VE IP: 58.137.129.220 วันที่: 10 มิถุนายน 2551 เวลา:15:23:38 น. |
|
|
|
โดย: คนเพิ่งหัดทำ IP: 117.47.31.49 วันที่: 27 กันยายน 2551 เวลา:13:18:48 น. |
|
|
|
โดย: ร่ำอักษรา วันที่: 28 กันยายน 2551 เวลา:15:33:47 น. |
|
|
|
โดย: คนเพิ่งหัดทำ IP: 222.123.0.84 วันที่: 29 กันยายน 2551 เวลา:16:56:36 น. |
|
|
|
โดย: คนเพิ่งหัดทำ IP: 222.123.0.84 วันที่: 29 กันยายน 2551 เวลา:16:56:58 น. |
|
|
|
โดย: ฝน IP: 183.89.61.141 วันที่: 22 ตุลาคม 2553 เวลา:19:37:11 น. |
|
|
|
โดย: ฝน IP: 183.89.61.141 วันที่: 22 ตุลาคม 2553 เวลา:19:47:45 น. |
|
|
|
โดย: ร่ำอักษรา วันที่: 22 ตุลาคม 2553 เวลา:20:47:11 น. |
|
|
|
| |
|
|