พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ศิลปะสุโขทัย


พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ในศิลปะสุโขทัย


 พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์เป็นพระพุทธรูปที่พัฒนาขึ้นในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในอินเดียนั้น ไม่ปรากฏช้าง มีแต่ลิง จึงเรียกปางนี้ว่า "รับบาตรพญาวานร" มิใช่ป่าเลไลยก์ ส่วนป่าเลไลยก์นั้น จริงๆก็ไม่ใช่ชื่อของป่า แต่เป็นชื่อของพญาช้างที่มาถวายหม้อน้ำให้พระพุทธองค์เสวย ช้างนั้นถูกเพิ่มขึ้นมาในศิลปะพุกามในพม่า และการปรากฏของช้างนั้นทำให้ลิงลดความสำคัญลง กลายเป็นเน้นช้างแทน และเน้นให้ช้างเป็นศูนย์กลางของเรื่องเล่าด้วย

.
ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปปางนี้ก็คือ การนั่งห้อยพระบาท (ในหนังสือฝรั่งมักจะเรียกว่า "ท่านั่งแบบยุโรป เนื่องจากชาวเอเซียโดยมากมักจะนั่งกับพื้น) แต่เดิม เราไม่เคยพบพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทในศิลปะสุโขทัยเลย จึงมักจะคิดว่า ไม่มีพระปางป่าเลไลยก์ในศิลปะสุโขทัย แต่เมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีการค้นพบพระพุทธรูปสุโขทัยองค์หนึ่งในวัดพระเชตุพนวิมนมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ท่าเตียน (คุณวีรวรรณ นฤปติ ผู้เขียนหนังสือเรื่องพุทธปฏิมาเป็นผู้แจ้งให้ผมทราบ) ปรากฏภาพแสตมป์เล็กๆ รูปลิงและช้างที่พระชานุ (หัวเข่า) ของพระพุทธรูป จึงเชื่อว่า นี่คือป่าเลไลยก์แบบสุโขทัย ซึ่งแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงกับป่าเลไลยก์ของพม่าหรืออยุธยาและรัตนโกสินทร์
.
.


(รูปพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสุโขทัย จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สังเกตว่ามีรูปลิงเล็กๆประทับที่พระชานุ ถ่ายโดย อาจารย์ศรัณย์ มะกรูดอินทร์)

และเมื่อไม่นานมานี้ ผมไปเที่ยวเล่นที่วัดมหาธาตุ สุโขทัย ก็ได้พบภาพปูนปั้น รูปพญาวานรกำลังถวายบาตร บริเวณฐานพระพุทธรูปในซุ้ม ซึ่งปัจจุบัน องค์พระพังทลายไปแล้ว ส่วนภาพช้างนั้นก็พังทลายจนไม่อาจทราบรายละเอียดได้เช่นกัน จึงเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจจะเป็น"ปางป่าเลไลยก์" ในศิลปะสุโขทัย อีกองค์หนึ่งก็เป็นได้




(ภาพลิงถวายบาตร ใต้ต้นไม้ จากวัดมหาธาตุ ศิลปะสุโขทัย)

Actually, this monkey offering a bowl stucco can be considered as the evidence to interpret the precise meaning of the Buddha image on the niche of the corner stupa in the Mahathat temple, Sukhothai,, it's might be the scene from the Buddha's life when the monkey king offering the merit bowl to the lord, that was a specific scence and rarely to see in Sukhothai art, the another specimen bronze image was placed at the gallery of Wat Pho, Kortormor.



Create Date : 06 มกราคม 2561
Last Update : 6 มกราคม 2561 18:18:39 น.
Counter : 1992 Pageviews.

0 comment
พระทรงเครื่องในวิหารพระพุทธชินราช




  ในวิหารพระพุทธชินราช มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอยุธยาตอนปลายองค์หนึ่ง ขนาดกลางๆ แต่ไม่ค่อยมีคนเห็นมากมายนัก อยู่ทางขวามือของพระชินราช

ที่สำคัญ เป็นพระที่สวยงามมาก ประทับนั่งบนชุดฐานสิงห์มีผ้าทิพย์ มีตัวมารแบกด้านล่างสุดเกือบครบ ถัดขึ้นไปเป็นสิงห์แบก เหลืออยู่แค่สองตัว ลายผ้าทิพย์ยังเห็นกรวยเชิงงามบริบูรณ์ดี เสียดายว่าผ่านการซ่อมแซมมาแล้วทำให้ฝีมือดูแปร่งๆไป ไปไหว้พระพุทธชินราชลองสังเกตดูนะครับ สวยงามมาก ถ้าให้ผมกำหนดอายุ เข้าใจว่าเป็นงานหลวงรุ่นพระเจ้าบรมโกศ น่าจะมาคราวเดียวกับทำสังเค็ดยาวกับบุษบกธรรมาสน์ (ที่เก็บไว้ในห้องระเบียงคด)







Create Date : 24 ตุลาคม 2559
Last Update : 24 ตุลาคม 2559 15:23:18 น.
Counter : 1477 Pageviews.

0 comment
อลังการวิหารวัดพวงมาลัย



ผมพยายามหาประวัติของวัดพวงมาลัย ที่แม่กลองสมุทรสงครามมาหลายต่อหลายเวป แต่ก็ไม่มี นอกจากทราบเพียงว่าสร้างโดยสัสดีพ่วงและนางมาลัย โดยนิมนต์หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร (พระครูวินัยธรรม) มาจำพรรษาที่นี่ท่านเด่นดังด้านตะกรุดใบลานและวิชาอาคมต่างๆโดยมีเจ้านายหลวงพระองค์เสด็จมาสนทนาธรรมด้วยทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพโดยเฉพาะสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุมาศวรเดช นั้นพระองค์ทรงคุ้นเคยกับหลวงพ่อแก้วเป็นพิเศษ โดยได้สร้างตำหนักส่วนพระองค์ชื่อว่า“ญาโณยาน” ไว้ที่ข้างวัดพวงมาลัย  1 หลังเพื่อเป็นที่พักผ่อน ตำหนักหลังดังกล่าวเป็นหลังเดียวกับที่สมเด็จกรมพระนครสวรรค์วรพินิต เคยเสด็จมาประทับแต่ปัจจุบันตำหนักนั้นได้ชำรุดทรุดโทรมลงและถูกรื้อไปในที่สุดเหลือเพียงที่ดินตกทอดแก่ทายาทในตระกูลภาณุพันธ์ ซึ่งทายาทท่านนั้นก็ได้ถวายให้เป็นที่ธรณีสงฆ์แก่วัดพวงมาลัยแล้ว


                แต่ในวันนี้ไม่ได้พาท่านไปกราบหลวงพ่อแก้วแต่จะพาไปชมโบราณวัตถุสถานสำคัญๆในวัด อันได้แก่พระวิหารและพระอุโบสถที่น่าตื่นตกใจก็คือ ภายในวิหารหลังนี้มีพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ปางต่าง ๆจำนวนมาก บางองค์ก็ยังพิจารณาไม่ได้ว่าเป็นปางอะไรเพราะตำราที่สร้างนั้นแตกต่างกันไป จักใช้ตำราใดตำราหนึ่งมาตัดสินก็หามิได้ของควรชมในวิหารแห่งนี้ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรกศิลปะรัตนโกสินทร์ที่มีการสร้างน้อยมาก พบจำนวนไม่กี่องค์ ที่สำคัญๆได้แก่ที่วัดป่าโมกข์ อ่างทองวัดสามโคก ปทุมธานี และพระพุทธรูปประธานในวิหารทิศ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเท่านั้น



                โบสถ์เองก็มีของควรชมอันได้แก่ ปูนปั้นซุ้มประตูประดับกระเบื้องเคลือบซึ่งประดิษฐ์เป็นลวดลายสัตว์ต่างๆ เขามอ ต้นไม้ดอกไม้กระบวนลายอย่างจีนอันคล้ายคลึงกับงานปูนปั้นประดับวิหารพระพุทธไสยาสน์วัดปากน้ำอัมพวาที่อยู่ไม่ไกลกัน จนเชื่อว่าน่าจะสร้างด้วยช่างคนเดียวกัน ซึ่งที่วิหารพระพุทธไสยาสน์นั้นมีลายครบสมบูรณ์กว่าและมีจารึกว่าสร้างในสมัยปลายรัชกาลที่5  ลวดลายพริ้วไหวบางซุ้มมีห้อยตุ้งติ้งประดับ เมื่อโดนลมก็ไหวไปมา แต่เดิมงานประดับลายกระเบื้องกระบวนจีนแบบนี้เคยมีมากในวัดโพธิ์ท่าเตียนแต่เมื่อผ่านงานซ่อมแล้ว ช่างที่ปฏิสังขรณ์ฝีมือไม่เท่าถึงช่างครูโบราณตัดกระเบื้องเป็นใบหญ้าหรือเส้นขนไก่มิได้ ก็ทำให้เสียความงามไปอย่างน่าเสียดาย



เกือบทุกองค์สร้างในศิลปะรัตนโกสินทร์ สังเกตจากเทคนิคการปั๊มลายดอกพิกุลบนจีวรและฐาน ลายส่วนมากเล็กละเอียดและซ้ำๆกัน พระพุทธรูปพระพักตร์นิ่งเฉย สงบราบเรียบคล้ายหุ่นไม่แสดงอารมณ์เหมือนศิลปะอยุธยา


พระพุทธไสยาสน์ข้างหน้าสุด


ฉัตรต่างๆยังคงเหลืออยู่ครบ หวังว่าคงจะไม่ล่อตาล่อใจโจรขโมยใจบาป


พระพุทธรูปที่ไม่ทราบว่าเป็นปางอะไร ศิลปะรัตนโกสินทร์ 


พระพุทธรูปนาคปรกองค์ใหญ่ ศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ไม่ค่อยได้สร้างกันมากนัก มีตัวอย่างให้พบเห็นได้น้อย ยิ่งองค์งามๆที่มีเศียรนาคลอยตัวพริ้วไหวเช่นนี้ แทบจะไม่มีเลย.



ปูนปั้นประดับซุ้มประตูหน้าต่างโบสถ์ แสดงภาพพระพุทธเจ้าและสาวกประทับบนดอกบัว ช่างจีนตัดกระเบื้องลายกลีบดอกไม้ใบไม้ได้คมและละเอียด สังเกตขนของนกหงส์ ตัดจากกระเบื้องทีละชิ้นประกอบกันเป็นตัวนก เป็นงานประณีตศิลป์ที่ทำไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบัน




Create Date : 24 ตุลาคม 2559
Last Update : 6 มกราคม 2561 18:07:18 น.
Counter : 1554 Pageviews.

0 comment
พระพุทธรูป "มหาเถรจันทรังสีเจ้า"




พระพุทธรูป "มหาเถรจันทรังสีเจ้า" ้เป็นพระสิหิงค์จำลองที่น่าสนใจ องค์นี้ปรากฎมีจารึกที่ฐาน 

ระบุคาถา ปฐม นามผู้หล่อสร้าง มหาเถรจันทรังสีเจ้า 

วัดหมื่นคต ให้หล่อไว้เพื่อบูชา
ศักราชที่ระบุไว้ลบเลือน 

ดร.ฮันส์ เพนธ์ เสนอว่า อาจจะเป็นปี พ.ศ.1994 หรือ

 พ.ศ.2054 หรือ พ.ศ.2114 ส่วนพระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธรูปหักหายไป จึงหล่อชิ้นใหม่ใส่เข้าไปแทน ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ 

ประดิษฐานอยู่ ณ วัดห้วยหก เวียงแหง เชียงใหม



ขอบคุณคุณ Mod-Ex Chiangmai

สำหรับเรื่องและภาพครับ ผมคิดว่าวันหนึ่งจะไปดูให้ได้





Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 28 ตุลาคม 2559 1:20:48 น.
Counter : 451 Pageviews.

0 comment
หลวงพ่อชินราช กาญจนบุรี
หลวงพ่อใหญ่ชินราช วัดบ้านถ้ำ กาญจนบุรี ขอบคุณภาพจากคุณ Kornkit Disthan  ครับ


เชื่อว่าน่าจะเป็นพระในยุคเดียวกันกับวัดไลย์ เป็นอู่ทองหน้าหนุ่ม หรืออู่ทอง 2 ที่คล้ายคลึงกับ

พระวัดพิชัยปุรณาราม อุทัยธานี




ลองเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปจากวัดจอมคีรีนาคพรตกันนะครับ น่าจะรุ่นเดียวกัน





Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2558 12:35:44 น.
Counter : 1353 Pageviews.

0 comment
1  2  

ปลาทองสยองเมือง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]



New Comments