พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ศิลปะสุโขทัย


พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ในศิลปะสุโขทัย


 พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์เป็นพระพุทธรูปที่พัฒนาขึ้นในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในอินเดียนั้น ไม่ปรากฏช้าง มีแต่ลิง จึงเรียกปางนี้ว่า "รับบาตรพญาวานร" มิใช่ป่าเลไลยก์ ส่วนป่าเลไลยก์นั้น จริงๆก็ไม่ใช่ชื่อของป่า แต่เป็นชื่อของพญาช้างที่มาถวายหม้อน้ำให้พระพุทธองค์เสวย ช้างนั้นถูกเพิ่มขึ้นมาในศิลปะพุกามในพม่า และการปรากฏของช้างนั้นทำให้ลิงลดความสำคัญลง กลายเป็นเน้นช้างแทน และเน้นให้ช้างเป็นศูนย์กลางของเรื่องเล่าด้วย

.
ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปปางนี้ก็คือ การนั่งห้อยพระบาท (ในหนังสือฝรั่งมักจะเรียกว่า "ท่านั่งแบบยุโรป เนื่องจากชาวเอเซียโดยมากมักจะนั่งกับพื้น) แต่เดิม เราไม่เคยพบพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทในศิลปะสุโขทัยเลย จึงมักจะคิดว่า ไม่มีพระปางป่าเลไลยก์ในศิลปะสุโขทัย แต่เมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีการค้นพบพระพุทธรูปสุโขทัยองค์หนึ่งในวัดพระเชตุพนวิมนมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ท่าเตียน (คุณวีรวรรณ นฤปติ ผู้เขียนหนังสือเรื่องพุทธปฏิมาเป็นผู้แจ้งให้ผมทราบ) ปรากฏภาพแสตมป์เล็กๆ รูปลิงและช้างที่พระชานุ (หัวเข่า) ของพระพุทธรูป จึงเชื่อว่า นี่คือป่าเลไลยก์แบบสุโขทัย ซึ่งแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงกับป่าเลไลยก์ของพม่าหรืออยุธยาและรัตนโกสินทร์
.
.


(รูปพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสุโขทัย จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สังเกตว่ามีรูปลิงเล็กๆประทับที่พระชานุ ถ่ายโดย อาจารย์ศรัณย์ มะกรูดอินทร์)

และเมื่อไม่นานมานี้ ผมไปเที่ยวเล่นที่วัดมหาธาตุ สุโขทัย ก็ได้พบภาพปูนปั้น รูปพญาวานรกำลังถวายบาตร บริเวณฐานพระพุทธรูปในซุ้ม ซึ่งปัจจุบัน องค์พระพังทลายไปแล้ว ส่วนภาพช้างนั้นก็พังทลายจนไม่อาจทราบรายละเอียดได้เช่นกัน จึงเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจจะเป็น"ปางป่าเลไลยก์" ในศิลปะสุโขทัย อีกองค์หนึ่งก็เป็นได้




(ภาพลิงถวายบาตร ใต้ต้นไม้ จากวัดมหาธาตุ ศิลปะสุโขทัย)

Actually, this monkey offering a bowl stucco can be considered as the evidence to interpret the precise meaning of the Buddha image on the niche of the corner stupa in the Mahathat temple, Sukhothai,, it's might be the scene from the Buddha's life when the monkey king offering the merit bowl to the lord, that was a specific scence and rarely to see in Sukhothai art, the another specimen bronze image was placed at the gallery of Wat Pho, Kortormor.



Create Date : 06 มกราคม 2561
Last Update : 6 มกราคม 2561 18:18:39 น.
Counter : 1975 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปลาทองสยองเมือง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]



New Comments