*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
Advanced Criminal Law : ส่วนที่สาม

การพยายามกระทำความผิด หรือ Attempt

พ.ต.ท.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ
JSD University of Illinois



1. โดยหลักการแล้ว ความผิดที่จะมี Attempt ได้ จะต้องเป็นความผิดที่ต้องการ “MR” ในระดับ Specific intent ไม่ใช่ General intent กล่าวคือ ต้องไม่ใช่การกระทำโดยประมาท นอกจากนี้ จะต้องมีการกระทำการใด ๆ หรือ “AR” ในระดับที่เกินกว่าระดับการเตรียมการ (Preparation) ไปแล้ว

2. การกระทำใด จะถือเป็นเพียงการเตรียมการ หรือ ถึงขั้นพยายามกระทำความผิดแล้วหรือไม่นั้น มีหลายทฤษฎีที่จะใช้ในการอธิบาย เช่น

a. ตามแนวคิดของ MPC นั้น กากระทำนั้น จะต้องผ่านขั้นตอนลงมือที่สำคัญ หรือ ‘a substantial step’ ไปแล้ว เพื่อให้มุ่งไปสู่ผลสำเร็จของการกระทำผิดนั้น โดยขั้นตอนลงมือที่สำคัญนั้น จะต้องแสดงให้เห็นเจตนาในการกระทำผิด ในลักษณะที่เป็นส่วนสำคัญ (“strongly corroborative”) กับเจตนาหรือความรับรู้ของจำเลย

b. ส่วนแนวคิดของ Common Law ได้อธิบายโดยใช้ทฤษฎีต่าง ๆ เช่น

i. ทฤษฎีว่าด้วย physical proximity test : PP test โดยพิจารณาว่า จำเลยยังเหลือสิ่งใดที่จะต้องกระทำเพื่อให้ความผิดที่มุ่งหมายกระทำนั้น ประสบความสำเร็จ หรือ อีกนัยหนึ่ง การกระทำของจำเลยนั้น ใกล้ชิดต่อผลสำเร็จเพียงใด โดยพิจารณาจาก ความใกล้ในเรื่องขั้นตอนสุดท้าย (Close in steps) หรือ ความใกล้ชิดเรื่องเวลา (Close in time) และ ความใกล้ชิดเรื่องทางภูมิศาสตร์ (Close in geography)

ii. ทฤษฎีว่าด้วย Dangerous proximity test : DP test โดยพิจารณา นอกจากสิ่งที่จำเลยได้กระทำลงนั้นใกล้ชิดต่อผลสำเร็จแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาประกอบกันด้วย เช่น

1. ความร้ายแรงของอาชญากรรม (Gravity of crime)

2. ความรู้สึกหวาดกลัวของเหยื่อ (Fear aroused in victim)

3. แนวโน้มที่การกระทำผิดจะสำเร็จ (Likelihood of success)

หากว่า องค์ประกอบ 1-3 มีลักษณะใกล้ชิด หรือร้ายแรงมาก ศาลก็จะกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดทางอาญาด้วย หากยังไม่ถึงขั้นฯ ก็อาจจะเป็นเพียงตระเตรียมการเท่านั้น

iii. ทฤษฎี RIL – Res Ipsa Loquitur หมายถึง Thing speaks itself. หลักเกณฑ์เรื่องนี้ พัฒนาจากหลักละเมิด โดยจำเลยได้กระทำการที่ชัดเจน ถึงขนาดไม่ต้องสงสัยได้เลยว่า ต้องเป็นจำเลยเท่านั้นที่กระทำผิดจริง หากจะเปรียบ ก็จะเหมือนกับการเอาข้อเท็จจริงนั้นถ่ายทำเป็นภาพเคลื่อนไหว และเมื่อข้อเท็จจริงยุติลง เหมือนหยุดภาพในวิดีโอ หากมีคำตอบสุดท้ายคำตอบเดียวว่า จำเลยมุ่งประสงค์จะกระทำอะไรแล้วละก็ การกระทำนั้น เป็นการพยายามกระทำผิด

การที่ศาลจะใช้ทฤษฎีใดนั้น ขึ้นกับแนวคิดของศาล ซึ่งอาจจะแตกต่างกัน หรือ อาจจะนำมาใช้ผสมผสานกันก็ได้ แล้วแต่กรณี

c. ทฤษฎีของเยอรมัน ว่าด้วย การละเมิดคุณธรรมทางกฎหมาย หากการกระทำนั้น ถึงขั้นที่เป็นการละเมิดคุณธรรมทางกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองแล้ว ก็จะเป็นการลงมือกระทำผิด หาใช่เพียงการตระเตรียมการ เช่น กรณีการซื้อขายเสียง การที่จำเลย นำเงินจำนวน ๑๒๐ บาท ติดกับแผ่นป้ายหมายเลขรับสมัครเลือกตั้งโฆษณาหาเสียง ถือเป็นการลงมือกระทำผิดแล้ว หาใช่เพียงการตระเตรียมการไม่ เพราะคุณธรรมทางกฎหมายได้ถูกละเมิดจนเกิดเป็นอันตรายแล้ว

3. ระดับของจิตใจ หรือ Mental state: MR: สำหรับความผิดฐานพยายามกระทำความผิดจะต้องเป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดระดับ MR ไว้ที่ระดับ “intent or purpose” เท่านั้น รวมถึง กรณีที่กฎหมายต้องการผล (result) และจำเลยต้องการให้เกิดผลเช่นนั้น การพิจารณาว่ามีเจตนากระทำผิดหรือไม่ อาจจะพิจารณาจากสภาวะแวดล้อมได้ เช่น หากรู้ว่าจำเลย ได้ล่วงรู้ว่ามีผลจะเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ หรือ “substantial certainty of result” หากจำเลย ได้ลงมือทำและคาดเห็นเช่นนั้นได้ จึงถือว่าเจตนากระทำ และต้องรับผิดฐานพยายาม หากเป็นการกระทำที่ไม่ประสบผลสำเร็จ

4. ดังนั้น ความผิดที่กฎหมายกำหนดให้มี MR ที่ระดับ recklessness, negligence หรือ strict liability: จึงไม่อาจจะมีความผิดฐานพยายามกระทำผิดได้ ด้วยเหตุนี้ หากไม่มีผลเกิดขึ้น ก็จะไม่มีความรับผิดในทางอาญา แต่หากมีผลเกิดขึ้น เขาอาจจะต้องรับผิดสำหรับความผิดที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ (underline crime) นั้น ๆ

5. การพยายามกระทำความผิด กับ การตระเตรียมการ (Attempt v. Preparation): ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ลำพังแค่ความคิดไม่อาจจะถือเป็นการกระทำความผิดได้ เช่นเดียวกับ การตระเตรียมการ หรือ preparation ก็ไม่อาจจะถือเป็นอาชญากรรมเช่นเดียวกัน สำหรับปัจจัยที่ใช้การพิจารณาว่าอะไรจะถือเป็นการลงมือกระทำผิด หรือ อะไรจะถือเป็นเพียงการตระเตรียมการนั้น อาจจะพิจารณาได้ตามแนวคิด เช่น ตามแนวคิด Common Law อาจจะกล่าวแบบสรุปโดยพิจารณาปัจจัย ดังนี้ :

a. ความใกล้ชิดต่อผลสำเร็จ - The proximity test: (1) พิจารณาว่า จำเลยได้กระทำผิดใกล้ชิดต่อผลสำเร็จเพียงใด (How close to succeed?) และ/หรือ (2) ภยันตรายจากการกระทำผิดนั้น มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นหรือไม่เพียงใด หรือ

b. ทฤษฎี RIL- ทฤษฎีว่าด้วย ความไม่คลุมเครือ หรือ unequivocal test: โดยพิจารณาจากจุดเริ่มต้นว่า จำเลยได้กระทำการใดไปไกลเพียงใด (How far does defendant go?) ทฤษฎีนี้ จะพิจารณาว่า การกระทำของจำเลยนั้น ชัดเจนไร้ข้อสงสัยว่าจำเลยมุ่งประสงค์จะทำอะไร เหมือนกับการหยุดภาพยนตร์แล้วมีคำตอบสุดท้ายว่า จำเลยต้องการกระทำอะไร

6. การพยายามกระทำผิดตามหลัก MPC: นั้น จำเลยจะถูกลงโทษในฐานพยายามกระทำความผิด ถ้าการกระทำของจำเลยประกอบด้วย :

a. เป็นขั้นตอนลงมือที่สำคัญ (Substantial step in a course of conduct) ที่ได้กระทำลงไปตามตามที่คิดตัดสินใจ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำความผิดนั้น และ

b. การกระทำดังกล่าว ตาม ข้อ a. มีเจตนากระทำผิด หรือ “strongly corroborative’ ตามที่ได้คิดและตัดสินใจนั้น

7. ในกรณีที่การกระทำไม่สำเร็จลง จำเลยมักจะอ้างว่า สิ่งที่ตนเองกระทำนั้น มีลักษณะเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ (Impossibility) ซึ่งมักจะอ้างเป็น Defense ให้พ้นความรับผิดทางอาญาเสมอ ดังนั้น คำถามสำคัญ ก็คือ อะไรคือ Impossibility

a. ความเป็นไปไม่ได้ในเพราะข้อกฎหมาย หรือ Legal impossibility: การกระทำบางประการ เช่น กรณีจำเลยที่ ได้ลงมือกระทำไปหมดแล้วเพื่อบรรลุผลที่ต้องการ แต่เนื่องจากปัจจัยสภาวะแวดล้อมภายนอก (External circumstances) ทำให้ไม่มีความผิดอาญา (No substantive crime) เกิดขึ้นตามที่ต้องการ ดังเช่น กรณีที่ จำเลยได้หยิบเอากระเป๋าเงินของผู้เสียหายมา ปรากฏว่าไม่มีเงินในกระเป๋า จึงคืนกระเป๋าของผู้เสียหายไว้ที่เดิม หรือ กรณีที่จำเลยตั้งใจจะข่มขืนหญิงสาว แต่ไม่ทราบว่า หญิงดังกล่าวได้ตายไปก่อนหน้านั้นแล้ว หรือ กรณีที่จำเลยได้ซื้อน้ำตาลมาโดยคิดว่าได้ซื้อผงเฮโรอีนมา กรณีเช่นนี้ จำเลยไม่อาจจะอ้างเป็น defense ได้ แต่จำเลยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตามที่จำเลยเชื่อหรือมี MR ในการกระทำผิดนั้น เพราะตัวอย่างข้างต้นไม่ใช่ Legal impossibility

อย่างไรก็ตาม เป็นการยากมาก ที่จะโต้แย้งเพื่อให้อ้างว่าเป็น Legal Impossibility เพื่อให้ได้ defense ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้เพราะข้อกฎหมายอย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็น True legal impossibility คือ เป็นการกระทำที่ผู้กระทำได้ลงมือกระทำจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่มีทางจะเป็นความผิดกฎหมายได้ ซึ่งยากจะทำการโต้แย้ง เป็นต้นว่า หากกฎหมายกำหนดว่า บุคคลที่อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ไม่สามารถซื้อและดื่มสุราได้ จำเลยอายุเกิน ๒๐ ปี แต่ไม่เกิน ๒๑ ปี คิดว่า อายุที่จำกัด คือ ๒๑ ปี ดังนี้ จะเห็นว่า แม้จำเลยจะคิดว่าการกระทำของตนเองมีความผิดตามกฎหมาย ก็ไม่อาจจะทำให้การกระทำที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายเลย เป็นความผิดตามกฎหมายไปได้ หรือในกรณีที่ จำเลยได้ไปลักทรัพย์ แต่กลายเป็นว่า ทรัพย์ดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่ถูกเจ้าสละสิทธิ์การครอบครองและได้นำไปทิ้งแล้ว เช่นนี้ อาจจะโต้แย้งได้ว่าเป็น Legal Impossibility เพราะขาดองค์ประกอบในเรื่องการแย่งการครอบครอง เป็นต้น

8. การกระทำผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ เพราะมีข้อเท็จจริงบางประการ หรือ Factual impossibility : เป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริงที่เป็นปัจจัยภายนอกไม่ได้ล่วงรู้ต่อผู้พยายามกระทำผิด ทำให้การพยายามกระทำความผิดนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้ บางกรณี factual impossibility ก็อาจจะเป็น defense แต่บางกรณี ก็อาจจะไม่ใช่ ตัวอย่างเช่น กรณีจำเลย ไม่รู้ว่าจำเลยยิงปืนใส่นายเอ โดยไม่รู้ว่า ปืนดังกล่าวไม่มีกระสุน จำเลยมุ่งหมายจะข่มขืนหญิงอื่น แต่ปรากฎว่าเขากลายเป็นคนสมรรถภาพทางเพศเสื่อมไม่อาจร่วมเพศได้ โดยเขาไม่ทราบมาก่อน หรือ กรณีจำเลยได้ใช้ให้นายวี เป็นคนเข้าไปลักเงินจากธนาคารแล้วส่งเงินให้ตนเอง แต่ความผิดไม่สำเร็จเพราะนายวี เป็นตำรวจนอกเครื่องแบบ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่รู้แก่ผู้ลือกระทำความผิด ดังนี้ หากจำเลยเชื่อว่าตนเองทำผิด ข้อเท็จจริงที่ไม่รู้แก่จำเลยดังกล่าว แม้จะทำให้การกระทำดังกล่าวไม่สำเร็จลง ก็ยังต้องยอมรับความผิดทางอาญา เพราะความเชื่อดังกล่าวของเขา

9. เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ หรือ True legal impossibility: เป็นกรณีที่จำเลยกระทำไปโดยเชื่อว่าสิ่งที่กระทำนั้น ผิดต่อกฎหมาย แต่เนื่องจาก จำเลยตีความกฎหมายผิดไปเอง การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดใด ๆ เลย กรณีนี้ จึงเหรียญคนละด้านของ แนวคิดที่ว่า ไม่อาจจะอ้างความสำคัญผิดในข้อกฎหมายให้พ้นความรับผิดทางอาญาได้ (“mistake of law is no excuse.”) กล่าวคือ ในทางตรงกันข้าม จำเลยไม่อาจจะอ้างได้ว่า ตนคิดว่าการกระทำของตนเองไม่เป็นความผิดกฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นความรับผิดได้ ในอีกทางหนึ่ง เขาไม่อาจจะถูกลงโทษได้ ถ้าหากสิ่งที่เขากระทำและเขาคิดว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย กลับกลายเป็นว่า ไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายแต่ประการใด

10. ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง กับผลของความสัมพันธ์ในกันในทางกฎหมาย (Mistake of fact governing legal relationship): ถ้าจำเลยเข้าใจว่ากฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้จำเลยกระทำการใด ๆ โดยสำคัญผิดไปเองว่า เขากระทำสิ่งไปในขอบเขตของกฎหมายนั้น จำเลยจะต้องรับผิดเท่าที่เขาเชื่อ ตัวอย่างเช่น เขาถูกล่อหลอกให้รับของโจร ซึ่งเขาก็ทราบดีซึ่งข้อเท็จจริงนั้น และเขาเชื่อว่าผู้ที่นำทรัพย์มาขายแก่ตนเองนั้นประสงค์จะขายของโจรนั้นจริง แต่ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการล่อขายเอง เช่นนี้ เขาจะมีความผิดฐานพยายามครอบครองของโจร หรือในกรณีที่จำเลย ได้มีเพศสัมพันธ์กับ X โดยเขาเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า X ยังมีชีวิตอยู่ แท้จริงเธอเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว ดังนี้ เขายังคงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนอยู่นั่นเอง

11. การพิจารณาว่ากรณีใดเป็น Impossibilities แบบใด ให้พิจารณาจาก คำถามดังนี้ “ผู้กระทำจะตกเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ หากข้อเท็จจริงซึ่งผู้กระทำเข้าใจหรือเชื่อเช่นนั้นมีอยู่จริงตามความเชื่อ?” ถ้าคำตอบเป็นเชิงปฏิเสธ ก็จะถือว่า เป็น True legal impossibility แต่ถ้าคำตอบในเชิงบวก คือ หากมีข้อเท็จจริงเช่นอยู่จริง ผู้กระทำก็จะต้องรับผิดทางอาญา ฉะนั้น ก็จะเป็น Impossibility อีกรูปแบบอื่น

12. การถอนตัวจากการกระทำผิด (Renunciation) : Renunciation จะถือเป็น defense ถ้า...มีการละทิ้งความพยายามในการกระทำผิดโดยสมัครใจก่อนที่จะกระทำผิดข้อหาหลักเป็นผลสำเร็จ

13. คำว่า Renunciation must be voluntary กล่าว จะต้องกระทำโดยสมัครใจนั้น หมายความว่า จะต้องปราศจากการการข่มขู่ว่าจะถูกจับกุม หากมีการกระทำผิดไปโดยตลอด และ การเลื่อนแผนการกระทำผิดออกไป โดยเชื่อว่าจะได้ผลที่ดีกว่า แต่มาถูกจับได้ก่อน ย่อมไม่ถือเป็นการละทิ้งการกระทำผิดโดยสมัครใจ

ความรับผิดเพื่อการกระทำของบุคคลอื่น (Criminal Liability for Conduct of Another.)

กรณีมีการกระทำผิดด้วยตนเอง ผู้กระทำย่อมจะต้องรับผิดทางอาญา การวิเคราะห์ก็อาจจะไม่ยุ่งยากนัก แต่สำหรับการใช้ผู้อื่นกระทำผิด หรือ ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด ไม่ว่ากรณีใด ผู้ก่อฯ แม้จะไม่ได้ลงมือกระทำเอง ก็ย่อมต้องรับผิดทางอาญาด้วย ในทางกฎหมายอาญา ได้สร้างทฤษฎีสำหรับลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิด แม้จะไม่ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะเทียบได้กับตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ฯลฯ ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย แต่ในกฎหมายของอเมริกา ได้กำหนดไว้แตกต่างจากประมวลกฎหมายอาญาของไทยพอสมควร และยังคงมีความแตกต่างกันระหว่าง common law และ MPC jurisdiction ด้วย โดยเรียกว่าทฤษฎี Complicity ซึ่งโดยตัวของมันเอง ไม่ใช่ฐานความผิดหลัก (Underline crime) จะต้องมีการกระทำฐานความผิดหลักเกิดขึ้นเสมอ และฟ้องคดีอาญาควบคู่กันไป กับการกระทำความผิดหลัก โดยไม่สนใจว่า ผู้ที่เป็นตัวการหลักจะพ้นความรับผิดเพราะเหตุใดก็ตาม ก็ไม่มีผลต่อผู้ก่อให้เกิดหรือผู้ที่จะต้องรับผิดร่วมกัน เช่น กรณีสามีก่อให้เพื่อนมาข่มขืนภรรยาตน โดยหลอกลวงว่า ภรรยาของตนเองเป็นโรคจิต อยากร่วมเพศกับชายอื่น วันเกิดเหตุ สามีได้บังคับร่วมเพศกับภรรยาต่อหน้าเพื่อน และชักชวนให้เพื่อนร่วมเพศกับภรรยาของตนหลังจากนั้น เมื่อเพื่อนหลงเชื่อโดยสำคัญผิด จึงได้ร่วมเพศกับหญิงดังกล่าว ดังนี้ แม้ศาลจะเชื่อว่าผู้ร่วมข่มขืนนั้นสำคัญผิดในข้อเท็จจริงคิดว่าหญิงยินยอมโดยสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร จึงไม่ลงโทษชายดังกล่าวก็ตาม แต่สามีก็หาได้พ้นความรับผิดไป เพียงเหตุเพราะ ผู้ลงมือไม่ต้องรับผิดด้วยแต่ประการใด

ทฤษฎี Complicity นี้ จะแตกต่างกันไประหว่างแนวคิดของ Common Law Jurisdiction กับ MPC Jurisdiction โดยใน Common Law จะแบ่งประเภทของ Accomplice หรือ ผู้ร่วมกระทำผิดเป็น First degree principal, Second degree principle, Accessory before the fact, Accessory after the fact, Innocent Agent และ Conspiracy ซึ่งโดยหลักแล้ว ทฤษฎีเหล่านี้ จะไม่ได้เป็นฐานความผิดหลักในตัวของมันเอง ยกเว้น Conspiracy ซึ่งเป็นฐานความผิดหลักในทางอาญาของตนเอง และ ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการลงโทษผู้ร่วมกระทำผิดอื่นด้วย ทฤษฎี Complicity จึงเปรียบเสมือนส่วนเติมเต็มให้กับทฤษฎีความผิดในเรื่อง Inchoate Crime เช่น การพยายามการกระทำความผิดที่กล่าวไปแล้ว

ทฤษฎี Complicity ตาม Common Law ประกอบด้วย

1. Principal in the First Degree – คือ บุคคลที่ลงมือกระทำผิดจริง

2. Principal in the Second Degree – คือ บุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ไม่ได้ลงมือกระทำผิด

3. Accessory before the fact – คือ บุคคลที่ช่วยเหลือ (aid & abet) ผู้อื่นให้กระทำผิด แต่ไม่ได้ปรากฏตัวในที่เกิดเหตุ

4. Accessory after the fact – คือ บุคคลที่ช่วยเหลือหลังมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ กฎหมายจะบัญญัติความผิดฐานอื่น ๆ ไว้สำหรับการกระทำประเภทนี้ไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (Obstruction of Justice) อันเนื่องจากบุคคลดังกล่าวได้ทำลายพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ

5.Doctrine of Innocent Agent ซึ่งเป็นการกระทำผิดด้วยตนเอง โดยการใช้บุคคลที่ไม่ต้องรับผิดทางอาญา เช่น เด็กเล็ก (infancy) หรือ คนที่บกพร่องทางสติปัญญา (Insanity) กระทำการผิดแทนตน หรือ ใช้สัตว์ ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดของตนเอง เช่นว่า ฝึกสุนัขอย่างดี สามารถสั่งการให้ไปลักทรัพย์ หรือ ทำร้ายศัตรูได้ หรือ การทำให้สำคัญผิดในข้อเท็จจริง เป็นต้น

มีตัวอย่างคดีใน ประเทศอังกฤษ คือ กรณีสามีภรรยา มีเรื่องทะวิวาทกันเป็นประจำ และภรรยาเป็นคนขี้น้อยใจ เมื่อทะเลาะกันแล้ว ภรรยาก็กระโดดลงน้ำฆ่าตัว พร้อมนำลูกไปด้วย สามีก็ไม่ได้ห้ามปราบหรือช่วยเหลือใด ๆ ศาลวินิจฉัยว่า โดยปกติแล้ว ลำพังการปรากฏตัวในที่เกิดเหตุ อาจจะไม่เพียงพอในการลงโทษจำเลย แต่ถ้าจำเลยมีพันธะหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น กรณีนี้คือ หน้าที่ระหว่างสามีภรรยาที่จะต้องห่วงหาอาทร และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การที่สามีนิ่งเฉยไม่ช่วยเหลือ ฯลฯ จึงอาจถือเป็นการยุยงส่งเสริมให้กระทำผิดได้ ดังนี้ แม้สามีจะนิ่งอยู่เฉย ๆ ก็ต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามทฤษฎี complicity

ส่วนตามแนวคิดของ MPC ได้บัญญัติความผิดไว้ตามมาตรา 2.06 ซึ่งกำหนดความรับผิดสำหรับบุคคลที่ได้ช่วยเหลือ หรือ ตกลงจะช่วยเหลือ หรือ พยายามจะช่วยเหลือ ฯลฯ ในวางแผนหรือกระทำผิด เป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวกันในรายละเอียดต่อไป

การสมคบ หรือ Conspiracy: เป็นทั้งฐานความผิด และเป็นทฤษฎีกำหนดความรับผิดเพื่อการกระทำของบุคคลอื่น ในกรณีที่เป็นความผิดทางอาญาเพื่อการกระทำของบุคคลอื่นนั้น มีจะมีความแตกต่างกันระหว่าง Common Law & MPC Jurisdiction

1. Conspiracy: ตามแนวคิดของ Common Law นั้น กำหนดไว้ว่า – ต้องเป็นข้อตกลงกันของสองฝ่าย (bilateral) ขึ้นไป ระหว่างบุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น ในการกระทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือ อาจจะกระทำสิ่งที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย โดยผู้สมควบมี MR ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มุ่งประสงค์จะกระทำผิดตามที่ตกลงกันนั้น

2. ข้อตกลง หรือ Agreement: นั้น ตาม Common Law นั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกรณีที่มีการประชุมแล้วเห็นพ้องต้องกันทุกประการ (Meeting of the mind is not required.) ดังนั้น แค่มีการสนทนาต่อกันที่จะกระทำความผิดเท่านั้น , แต่สำหรับ MPC- อาจจะเป็นข้อตกลงฝ่ายเดียว หรือ unilateral agreement ก็ได้ แต่จะต้องมีการกระทำการ overt act ด้วย ความผิดฐานสมคบ ถือเป็นฐานความผิดหลัก (Stand alone conspiracy crime) แยกต่างหากจากการกระทำผิดตามที่สมคบกัน ดั้งนั้น แม้ว่า การตกลงกันระหว่าง ผู้สมคบฝ่ายหนึ่ง กับ อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบมา ก็คือว่าเป็น Agreement ตามแนวคิด MPC ซึ่งแม้ว่าจะตำรวจจะไม่ใช่ผู้ร่วมสมคบ (co-conspirators)

3. ความผิดฐานสมคบ หรือ Conspiracy เป็นฐานความผิดอาญาในตัวมันเอง หรือ Stand alone crime โดยผู้ร่วมสมคบ หรือ co-conspirators โดยตาม Common Law นั้น กำหนดความรับผิดอย่างกว้างขวาง แม้ผู้สมคบจะยังไม่ได้อะไรเลยก็ตาม ผู้สมคบก็ยังจะต้องรับผิดในทางอาญาสำหรับความผิดเพื่อการกระทำของผู้อื่น โดยหลักการก็คือ เมื่อสมคบกันแล้ว การกระทำของคนใดคนหนึ่งในบรรดาของผู้ร่วมสมคบ ถือเป็นการกระทำของทุกคน จะต้องรับผิดฐานสมคบนี้ด้วยเสมอ ซึ่งจะแตกต่างจากการสมคบ ตาม MPC กล่าวคือ หากผู้ร่วมสมคบไม่ได้กระทำการในลักษณะ Overt act เลย ก็ไม่ต้องรับผิดในฐานสมคบด้วย

4. ระดับของ MR – ก็คือจะต้องพิสูจน์ได้ว่า ผู้ร่วมสมคบแต่ละคน มีความประสงค์ที่จะกระทำความผิดตามที่ตกลงกัน (“at least the mental state required for the object crime.” )

5. เจตนาที่จะกระทำผิดฐานสมคบนั้น จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่รัฐต้องพิสูจน์ และในกรณีที่ความผิดนั้นต้องการผล ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่า ผู้ร่วมสมคบนั้น มีเจตนาประสงค์ที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้นด้วย ***

6. ระดับของ MR ที่ knowledge คือรับรู้ว่า จะมีผู้หนึ่งผู้ใด กระทำผิดอาญาขึ้น ยังไม่เพียงพอในการลงโทษฐานสมคบ ตามหลัก Common law นั้น ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องมีเจตนาที่ร่วมกระทำผิด ที่เรียกว่า Stake in venture หรือ purpose โดยจะต้องแสดงให้เห็นว่า เขามีส่วนในการช่วยเหลือในการกระทำผิด (aiding or abetting) ตัวอย่างเช่น

a. สามารถควบคุมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้เพื่อช่วยเหลือในการกระทำผิด (Controlled commodities: the material substances of aiding or etc) ;

b. การได้ผลประโยชน์พิเศษ จากการทำให้ราคาสูงขึ้น (Inflated charge) เพื่อจะได้กำไรหรือราคาสูงขึ้นจากการขายสินค้านั้น ๆ

c. มีการเสนอขายสินค้าปริมาณที่มาก (Large proportion of sales) อันเกี่ยวข้องกับความผิดที่ได้กระทำลง

d. ความรุนแรงของความผิดที่ร่วมกันสมคบ (Serious crime):

7. ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปได้ว่า สำหรับความผิดที่ต้องการระดับ MR ที่ recklessly หรือ negligently จะไม่อาจมีการกระทำผิดฐานสมคบกันได้

8. องค์ประกอบความรับผิดทางอาญา นั้น นอกจาก มีส่วนของการกระทำการ (Conduct) และผลของการกระทำ (Result) แล้ว ก็ยังจะต้องมีในเรื่อง ปัจจัยภายนอกที่เป็นองค์ประกอบความรับผิดทางอาญาที่จะต้องมีอยู่ตามฐานความผิดนั้น ๆ ที่เรียกว่า Circumstances สำหรับ MPC แล้ว พนักงานอัยการจะต้องพิสูจน์ได้ว่า ผู้ร่วมสมคบมีระดับความรู้ถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของการกระทำผิดนั้นในระดับ knowledge ด้วย จึงจะสามารถลงโทษผู้ร่วมสมคบนั้นได้ ซึ่งแตกต่างจากในระบบ Common law อย่างสิ้นเชิง

9. ตามระบบ Common law นั้น การสมคบจะเป็นความผิดโดยสมบูรณ์ เมื่อมีการตกลงกัน ในขณะที่ MPC นั้น ผู้ร่วมสมคบจะต้องมีการกระทำการที่เรียกว่า overt act อันจะเป็นส่วนหนึ่งทำให้ความผิดที่สมคบกันประสบความสำเร็จ ซึ่งการกระทำ overt act ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายใด ๆ เลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เป็นความผิดที่จะกระทำผิดร้ายแรง ที่เรียกว่า สมคบเพื่อกระทำผิด a felony of the first หรือ second degree อาจจะไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เกี่ยวกับ overt act ก็ได้

10. การกระทำที่เรียกว่า overt act ปกตินั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นการที่แสดงออกอย่างเด่นชัด (explicit conduct) ว่าจะกระทำผิดกฎหมาย เพราะบางครั้ง ก็เป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมายเลยก็ได้ เพราะ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใหญ่ของการกระทำผิด เป็นต้นว่า การไปจัดหาหรือซื้ออุปกรณ์ที่จะใช้ในการกระทำผิดฐานผลิตเหล้าเถื่อน ฯลฯ ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์ทั่วไปที่อาจซื้อหาได้

11. ความรับผิดทางอาญา ในกรณีของสมคบนั้น จะมีความผิด 2 ฐานความผิดได้แก่ (1) ความผิดฐานสมคบ ซึ่งเป็นความผิดอาญาในตัวของมันเอง และ (2) ความผิดหลักที่สมคบจะกระทำ หรือ substantive crime… เป็นต้นว่า นาย A ตกลงที่จะปล้นธนาคาร กับ B โดยไม่ได้วางแผนจะฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดเลย โดยนาย A ตกลงว่าจะขับให้กับ B; ก่อนที่ B จะปล้นธนาคารได้ A ก็ถูกจับกุม ดังนี้ A ก็ยังผิดทั้งความผิดฐานสมคบกันปล้นธนาคาร อันเป็น substantive crime และความผิดฐานสมคบเพื่อจะกระทำผิดฐานอื่น ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากว่า A ได้ให้ความช่วยเหลือ B โดยขับรถยนต์ให้กับ B ซึ่งเป็นไปตาม MPC ที่จะต้องมีการกระทำบางอย่างเสียก่อน แต่สำหรับ C/L นาย A ผิดตั้งแต่ตกลงปลงใจจะร่วมกระทำผิดกับ B แล้ว แม้ก่อนจะถึงวันปล้นตามที่ตกลงกัน A ได้ถูกจับติดคุกในข้อหาทำร้ายร่างกายคนอื่นไปแล้ว ความผิดในฐานสมคบก็ยังคงอยู่ ซึ่งเป็นไปตาม หลัก Pinkerton Rule

12. ตาม C/L นั้น กำหนดขอบเขตความรับผิดไว้อย่างกว้างขวาง โดยขอบเขตความรับผิดของ A เพราะการกระทำของ B ยังขยายไปถึงกรณีที่ B ได้ฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตายในระหว่างการปล้นนั้นด้วย แม้จะไม่ได้ตกลงกันไว้เลยก็ตาม ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่า ตาม C/L เห็นว่า ผู้ร่วมสมคบ ย่อมสามารถคาดเห็นผลได้ว่าอะไรน่าจะเกิดขึ้นระหว่างการกระทำผิดเช่นว่านั้นด้วย (Co-conspirator is likely to reasonably foreseeable what the probable consequence of such agreement in furtherance of conspiracy. [Pinkerton rule.] )

13. อย่างไรก็ตาม สำหรับ MPC แล้ว เห็นว่า ขอบเขตความรับผิดดังกล่าวกว้างขวางเกินไป ดังนั้น จึงเห็นว่า ลำพังการตกลงกันที่จะเป็นสมาชิกของแก๊งผู้สมคบ เห็นว่า หากผู้ร่วมสมคบไม่ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ความผิดที่สมคบประสบความสำเร็จแล้ว ก็จะไม่มีความผิดใด ๆ ดังนั้น หากผู้ร่วมสมคบ ไปกระทำผิดและก่อให้เกิดผลร้ายอื่น ๆ จะไม่มีผลต่อความรับผิดของผู้ร่วมสมคบด้วย

14. ระยะเวลาของการเป็นผู้สมคบ หรือ จุดจบของ conspiracy.

a. การละทิ้ง (Abandonment) ตาม MPC ก็คือ ผู้ร่วมสมคบทุกคนไม่ได้มีการกระทำอะไรเลย แต่สำหรับ C/L ยังคงเป็นความผิดอยู่ เพราะความผิดฐานสมคบนั้น ผิดสำเร็จทันทีที่ตกลงกัน

b. การถอนตัว หรือ Withdrawal โดยผู้ร่วมสมคบ จะมีผลเฉพาะไม่ต้องรับผิดอาญาภายหลังจากที่ถอนตัวไปแล้ว แต่ยังคงมีความรับผิดสำหรับการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนถอนตัวนั้น .

c. การกลับใจแก้ไข (Renunciation) ตาม C/L จะไม่ถือเป็น defense หากผู้กระทำได้กลับใจแก้ไข แต่สำหรับ MPC ถือเป็น defense หากจำเลยได้กระทำการโดยสมัครใจ และขัดขวางมิให้ความผิดที่สมคบนั้นประสบความสำเร็จ เช่น การแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ทราบถึงการสมคบ.

15. สำหรับบุคคลที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองเป็นพิเศษ หรือ บุคคลที่เป็นเหยื่อของอาชญากรรม จะไม่สามารถตกเป็นผู้ร่วมสมคบในการกระทำ เนื่องจาก บุคคลดังกล่าวนั้น ผู้ร่างกฎหมายเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดไว้อันเป็นส่วนประกอบสำคัญในความผิดอาญาฐานนั้น ทั้งนี้ ได้เลือกที่จะลงโทษองค์ประกอบที่มีความผิดน่าตำหนิมากกว่า เป็นสำคัญ

16. การพิจารณาลงโทษนั้น ตาม C/L – รัฐส่วนใหญ่เห็นว่า สามารถลงโทษแบบสะสมโทษ (a cumulative sentence) ได้ เช่น ลงโทษทั้งฐานความผิด conspiracy และฐานความผิดหลัก หรือ underlying crime; แต่สำหรับ MPC ไม่ได้ใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจจะถูกลงโทษได้แบบต่อเนื่องสะสม เพราะความผิดฐาน Conspiracy ก็เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐาน ดังนั้น MPC จึงนิยมใช้หลักการลงโทษโดยใช้ แนวคิดเกี่ยวกับ rule of accomplice liability.

สำหรับทฤษฎีที่สอง ที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้ร่วมกระทำผิดแม้จะไม่ได้ลงมือกระทำโดยตรงจะต้องผิดทางอาญาด้วยเสมอ เป็นต้นว่า ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ฯลฯ เป็นต้น โดยจะมีแนวคิดที่แตกต่างกันระหว่าง C/L และ MPC ที่ได้กล่าวไปแล้วในบางส่วน เช่น ทฤษฎีว่าด้วย Complicity โดยผู้ร่วมกระทำผิด จะเรียกว่า accomplice

ความรับผิดฐาน Accomplice และ Solicitation

1. ตามแนวคิด C/L: จะแบ่งผู้ร่วมกระทำผิดหลายระดับ เช่น (1) principal in the first degree, (2) principal in the second degree: (3) accessory before the fact; and (4) accessory after the fact รวมถึง ผู้ร่วมกระทำผิดประเภทอื่นๆ เช่น การก่อให้ผู้ไม่ต้องรับผิดทางอาญากระทำผิดแทนตน ตามหลัก Innocent Agent เป็นต้น

2. ตามแนวคิดของ MPC: ได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งตาม มาตรา 2.06 ความสรุปว่า บุคคลจะต้องรับผิดในฐานร่วมกระทำผิด ก็ต่อเมื่อ 1. ได้ช่วยเหลือ ตกลงว่าจะช่วยเหลือ หรือ พยายามจะช่วยเหลือผู้อื่นในการวางแผนหรือลงมือกระทำผิด 2. การชักชวนให้ผู้อื่นกระทำผิด หรือ 3. การไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในกรณีที่ตนเองมีหน้าที่จะต้องป้องกันมิให้ความผิดเกิดขึ้น

3. ตัวการสำคัญ หรือ Principal คือ บุคคลที่ได้ลงมือกระทำผิด โดยมี physical act ด้วยตนเอง แต่สำหรับ accomplice จะหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่น หรือ กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือตัวการสำคัญในการกระทำผิดกฎหมาย

4. หลักการนี้ แตกต่างจาก conspiracy โดยผู้ร่วมสมคบ อาจจะต้องรับผิดเพราะการกระทำของคนอื่น แม้ว่าบุคคลที่ร่วมสมคบอื่นอาจจะไม่ได้รับการลงโทษก็ได้ แต่โดยทฤษฎีแล้ว ความรับผิดของ accomplice จะมีได้สำหรับความผิดฐานหลัก เมื่อเขาได้ช่วยเหลือ หรือกระตุ้นให้มีการกระทำผิดนั้น ด้วยเหตุนี้ ผู้ร่วมกระทำผิดหรือ accomplice ไม่อาจจะถูกลงโทษได้ หากว่า ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ลงมือกระทำผิด principal มีความผิดในฐานหลักนั้นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ตามที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น หากมีการกระทำผิดจริง ๆ ความผิดอาญาก็ได้เกิดขึ้นจริง แต่ผู้ลงมือรอดพ้นจากความผิดเพราะความสำคัญผิดหรือมีข้อแก้ตัวอื่น ๆ ก็หาได้เป็นเหตุให้ผู้ก่อให้ผู้กระทำนั้นรอดพ้นความผิดไปได้ เพราะเป็นคนละคำถามกฎหมายกัน และ ความผิดหลัก็เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว

5. ผู้ช่วยเหลือ หรือ Accomplice: จะต้องมีการกระทำการบางประการ เช่นว่า ช่วยเหลือ (aids & abets) กระตุ้นเร่งเร้า (encourages) หรือช่วยหลือบุคคลอื่นในการกระทำความผิด เป็นต้นว่า บุคคลที่เร่งเร้าหรือกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำผิด ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้กระทำผิดทางอาญาโดยตรง แต่ลำพังการกระตุ้นปลุกเร้าให้กระทำผิด เป็นความผิดฐานนี้ได้ ดังนั้น การปรากฏตัวในที่เกิดเหตุ แต่ไม่ได้กล่าวอะไร หรือปลุกเร้า จึงไม่อาจจะเป็นผู้ร่วมกระทำผิดได้ เว้นแต่จะมีหน้าที่ผูกพันระหว่างกันตามกฎหมายหรือตามประเพณีระหว่างสามีภรรยา ซึ่งต้องดูแลกัน หากสามีปล่อยให้ภรรยาที่ขี้น้อยใจ ฯลฯ ฆ่าตัวตายโดยไม่ห้ามปราม สามีก็อาจจะผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลือให้ผู้อื่นกระทำการผิดได้ เช่นนี้ สามีย่อมผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา โดยอาศัยทฤษฎี complicity นี้เอง

6. การกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำผิด (Encouragement) แม้จะไม่ได้ปรากฎตัวในที่เกิดเหตุด้วย ก็ถือเป็นการเพียงพอที่จะต้องรับผิดในฐานะเป็น accomplice ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ลำพังเพียงแค่ปรากฏตัวในที่เกิดเหตุ โดยปราศจากหลักฐานว่าเขามีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการช่วยเหลือ หรือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกระทำผิดแล้วละก็ จะไม่เพียงพอในการลงโทษในฐานะ accomplice ได้

7. การไม่ห้ามปราม ไม่อาจจะถือเป็น accomplice ได้ เว้นแต่ ผู้ไม่ห้ามปรามนั้น มีหน้าที่จะต้องแทรกแซง โดยหน้าที่นั้น อาจจะเป็น affirmative legal duty ตัวอย่างเช่น หน้าที่ระหว่างบิดามารดากับเด็ก บิดาจึงเป็น accomplice สำหรับความผิดละเมิดต่อสิทธิของเด็ก ในกรณีที่มีการทำร้ายร่างกาย (battery) หรือ ละเมิดอื่น ๆ (child abuse) ถ้าบิดา นิ่งเงียบ เมื่อมารดาตีลูกอย่างรุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจากบิดามีหน้าที่สำคัญที่จะต้องทำการปกป้องบุตรของตน แต่ไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่

8. ตาม MPC: การพยายามช่วยเหลือในการกระทำผิด ตาม มาตรา 2.06 นั้น ถือเป็นการพยายามช่วยเหลือ แม้ว่าจะไม่มีความผิดหลักเกิดขึ้น เนื่องจากผู้ลงมือกระทำผิด (principal) กระทำผิดไม่สำเร็จ ในกรณีนี้ ทั้งผู้ช่วยเหลือ และ ผู้ลงมือกระทำผิด (accomplice & principal) จะต้องรับผิดต่อความผิดฐานหลัก (substantive crime) ที่มุ่งกระทำด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ศาลส่วนใหญ่จะไม่ลงโทษผู้สนับสนุน (accomplice) ในกรณีที่ตัวการ (principal) ไม่ได้ลงมือกระทำความผิดอาญาจริง ๆ [ ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในระบบกฎหมายถือว่า Accomplice เป็นผลผลิต (derivative) ของความผิดอาญาฐานหลัก แต่อย่างไรก็ตาม จำเลยอาจจะมีความฐาน ผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด “solicitation” โดยศาลก็อาจจะลงโทษเขาในฐานะเป็นพยายามกระทำความผิดได้

9. สำหรับ MR นั้น : พนักงานอัยการจะต้องพิสูจน์ถึงระดับ state of mind ว่า จำเลย : (1) มีความประสงค์ที่จะช่วย หรือกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย ; (2) และ mental state เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีอยู่ในขณะที่กระทำผิดโดยบุคคลอื่น

10. ระดับ MR – : ที่จะต้องมีสำหรับ Conduct – คือ purpose หรือ ความประสงค์ในการเป็น accomplice ในการกระทำความผิดหลัก (underline crime) ในขณะกระทำ ; ส่วน Circumstance – จะต้องมี MR ในระดับ knowledge ; และ ส่วนของ Result – จะมี MR ในระดับเดียวกับความผิดหลัก (underline crime) ดังนั้น ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องมี purpose เหมือนกันกับ principal ในการกระทำผิดเดียวกัน , และส่วนของ circumstances ผู้ช่วยเหลือจะต้องมี knowledge ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบที่จะต้องมีตามองค์ประกอบความผิดตามความผิดนั้น

11. ในกรณีที่ความผิดนั้น ต้องการ MR ในระดับ recklessness หรือ negligent เช่น การขับรถโดยประมาทแล้วก่อให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ดังนั้น ถ้าจำเลยให้ผู้อื่นยืมรถยนต์ไปขับ และเขาทราบดีว่าคนที่ยืมไปนั้น อยู่ในสภาพมึนเมาสุรา หากผู้ขับขี่รถยนต์ที่เมานั้น ขับรถยนต์ชนคนเดินข้ามถนนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ให้ยืมรถยนต์ไป ก็จะต้องมีความผิดฐานฆ่าคนตาย (manslaughter) ตามทฤษฎี complicity ด้วย เนื่องจากความผิดฐานนี้ ต้องการผล (result) กล่าวคือ ความตายของผู้อื่น สำหรับความผิดที่ต้องการผลลัพท์ ในส่วนของ MR ก็จะต้องมีในสำหรับผลแห่งการกระทำผิดในความผิดหลัก (underline crime)ในระดับเดียวกัน ดังนั้น ความผิดฐาน manslaughter พนักงานอัยการจะต้องพิสูจน์ว่า ผู้ให้ยืมรถยนต์ จะต้อง MR ในระดับ recklessness ในระดับเดียวกับผู้ขับขี่ที่เมาสุรานั้น ส่วน MR ในส่วนของ conduct นั้น จำเลยที่ให้ยืมรถยนต์แก่ผู้ขับขี่ จะต้องมีเจตนา (purpose) กล่าวคือ จำเลยทราบดีในขณะนั้นว่า ผู้ที่ยืมรถยนต์นั้น อยู่ในภาวะมึนเมา แล้วยังมีเจตนาให้เขายืมรถยนต์ไปอีก

12. ขอบเขตความรับผิดของ Accomplices – ตาม Common law นั้น ได้สร้างความผิดเพิ่มเติมสำหรับผู้ร่วมกระทำผิด เพื่อการกระทำของของผู้ลงมือกระทำผิด (principal) ผู้อื่น ตามหลักการที่ว่า : หากผู้ร่วมกระทำผิดนั้น สามารถคาดเห็นผลลัพท์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติของการกระทำนั้น (Natural and probable result) ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องรับผิดอย่างไม่จำกัด สำหรับผลที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นด้วย แม้จะไม่ได้ทำการตกลงกันไว้ล่วงหน้าก็ตาม ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่า ผู้ลงมือกระทำผิด (principal) อาจจะกระทำผิดอย่างอื่น ๆ ไม่เพียงเท่าที่ตกลงกันที่จะช่วยเหลือ หรือสิ่งที่เขาได้กระตุ้นให้เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ผู้ลงมืออาจจะกระทำผิดอื่น ๆ อีก ระหว่างที่ทำผิดอาญาที่ตกลงกันนั้นด้วย ดังนี้ ผู้ร่วมกระทำผิด (accomplice) จะต้องรับผิดสำหรับการกระทำผิดอาญาดังกล่าวด้วย โดยสรุป ความรับผิดทางอาญาจะเกิดขึ้น ถ้า : (1) ความผิดที่ผู้ลงมือได้กระทำในภายหลังนั้น มีลักษณะเป็นผลที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ หรือ ‘natural and probable’ consequence แม้ว่า ผู้ร่วมกระทำผิดจะไม่ได้มีเจตนาหรือตกลงจะกระทำผิดดังกล่าวเลยก็ตาม และ (2) ผู้ลงมือ (principal) ได้กระทำผิดอาญาอื่น ๆ เพิ่มเติมจากการกระทำความผิดดั้งเดิมที่มุ่งประสงค์จะช่วยเหลือ ทั้งนี้ ความผิดที่เกิดขึ้นในภายหลัง (additional crime) จะต้องเป็นสิ่งที่ผู้ร่วมกระทำผิด สามารถคาดเห็นได้ด้วยอย่างสมเหตุสมผล (Durham rule)

13. อย่างไรก็ตาม MPC ได้ปฏิเสธ กฎของ Durham Rule ตามแนวคิดของ Common Law อย่างสิ้นเชิง โดย MPC ได้กำหนดให้ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องรับผิดเฉพาะผลของความผิดอาญาที่ผู้ร่วมกระทำผิดมุ่งประสงค์จะช่วยเหลือ หรือที่ได้ยั่วยุ ชักชวน หรือ กระตุ้นให้เขากระทำผิดเท่านั้น กล่าวง่าย ๆ ก็คือ รับผิดเท่าที่มีความประสงค์

14. ความผิดสำหรับ principal: หลักการทั่วไป ตัวผู้ร่วมกระทำผิด หรือ accomplice ไม่อาจรับผิดได้ หากพนักงานอัยการไม่อาจจะพิสูจน์ให้เห็นว่า บุคคลที่เป็น principal ได้ถูกพิพากษาว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดในความผิดอาญาหลัก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ศาลได้พัฒนาแนวคิดใหม่ โดยวางหลักว่า ตัวที่เป็นผู้ลงมือกระทำผิด หรือ principal ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดทางอาญาก็ได้ ตัวอย่างเช่น นาย A ได้ช่วยเหลือนาย B ในการปล้นธนาคาร แต่นาย B ไม่เคยถูกจับมาดำเนินคดีเลย นาย A ก็ยังสามารถถูกพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำผิดในฐานปล้นธนาคาร โดยเป็น accomplice สำหรับความผิดหลักในฐานปล้นทรัพย์

15. การยกเลิก หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ร่วมกระทำผิด (Withdrawal by the accomplice): โดยปกติ การยกเลิกฯ จะไม่ใช่ defense หากจำเลยไม่ได้กระทำการใด ๆ ให้ความผิดที่มุ่งประสงค์จะช่วยเหลือฯ นั้นสิ้นผลไป แนวคิดกฎหมายอเมริกา จะให้ defense สำหรับการถอนตัวและพยายามทำให้ความผิดสิ้นผลไป (renunciation) หากจำเลยได้ทำให้การกระทำผิดนั้นสิ้นผลไป ตามแนวคิด common law แต่สำหรับ MPC การแจ้งตำรวจให้ทราบถึงการกระทำผิดดังกล่าว ก็จะถือว่า ได้ defense แล้ว แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การ renunciation จะไม่ครอบคลุมไปถึงความผิดอาญาที่ได้กระทำไปแล้ว

16. เหยื่ออาชญากรรม และ ข้อยกเว้นสำหรับความผิดฐาน complicity เช่น หญิงที่อายุต่ำกว่าที่กำหนด ยินยอมให้ผู้อื่นร่วมเพศด้วย หญิงจะไม่มีความผิดฐาน ตามทฤษฎี complicity แม้จะพบว่า แท้จริงแล้ว หญิงนั้น ได้กระตุ้นหรือช่วยเหลือให้จำเลยกระทำผิดในความผิดฐานข่มขืนเด็กฯ ด้วยก็ตาม

17. ความผิดกรณีชักชวนหรือก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด (Solicitation): สำหรับ C/L ความผิดเพราะ solicitation จะเกิดขึ้น หากบุคคลนั้นได้เรียกร้อง ขอร้อง หรือกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำผิด ไม่ว่าอีกฝ่ายที่ถูกชักชวนฯ จะตกลงกระทำผิดด้วยหรือไม่ก็ตาม บุคคลที่ชักชวนบุคคลอื่น อาจจะถูกลงโทษแม้ว่า ถึงแม้ว่าบุคคลที่ถูกร้องขอให้กระทำผิดนั้น จะไม่ได้มีมีการกระทำที่จะมุ่งไปสู่การกระทำผิดอย่างเปิดเผยก็ตาม (No affirmative act required).

18. การถอนตัวและทำให้สิ้นผล (Renunciation) : จะเป็น defense ของ accomplice (ซึ่งจะต้องไม่ใช่เป็น conspiracy crime (C/L)) แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง C/L และ MPC จะเป็น defense ก็ต่อเมือ จำเลยไม่ได้กระทำการใด ๆ ทำให้ substantive crime สิ้นผลไป ใน C/L จำเลย จะต้องกระทำการทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น เอาปืนกลับมา (หลังจากมอบไปแล้ว) และการกระทำผิดอื่น โดยจะต้องดำเนินการภายในเวลาอันสมควร ส่วน MPC นั้นได้ทำให้ง่ายขึ้นโดยการกำหนดให้ ผู้ร่วมกระทำผิดจะต้องแจ้งตำรวจให้ทราบ ก็จะได้ defense แล้ว

19. โปรดระลึกเสมอว่า ใน Common Law นั้น จำเลยสามารถถูกพิพากษาว่ากระทำผิดฐาน conspiracy และการกระทำผิดานหลัก รวมถึงวามผิดอื่น ๆ ซึ่งอาจจะคาดเห็นได้ว่าจะอาจขึ้นโดยธรรมดา. อย่างไรก็ตาม จำเลยไม่อาจจะถูกพิพากษาให้กระทำผิดตาม accomplice เนื่องจากผู้ช่วยเหลือกระทำผิดหรือ accomplice นั้นไม่ได้เป็นความผิดหลักในตัวมันเอง แต่มันเป็นเพียงทฤษฎีในการอธิบายว่า บุคคลที่แม้ไม่ได้ลงมือกระทำผิดโดยตรงด้วยตนเองก็ตาม

ความผิดบางประการ ตาม MPC

ความผิดฐานฆาตรกรรม และความผิดต่อร่างกายของบุคคล

1. ความผิดฐานฆ่าคนตาย หรือ Homicide: จะมีสาระสำคัญ ได้แก่ ระดับความผิด (grading of homicide) ซึ่งจะแบ่งเป็น (1) การเจตนาฆ่า (murder) และ (2) ฆ่าคนตายโดยไม่ได้มีเจตนาฆ่าโดยตรง (manslaughter) แต่มีเหตุผลอื่น ๆ ประกอบ

2. การฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือ Murder อาจจะแบ่งได้เป็น (1) ฆ่าคนตายในระดับร้ายแรงสุด ได้แก่ first degree murder – เช่น การฆ่าคนตายโดยคิดและตัดสินใจโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (premeditation and deliberation) หรือฆ่าคนตายในระหว่างการกระทำอาญาร้ายแรง และ (2) ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน คือ second degree murder – ซึ่งกรณีนี้ เป็นกรณีที่ไม่ต้องมีไตร่ตรอง (premeditation and deliberation) นาการกระทำผิดอื่น ๆ .

3. ความผิดฐาน Manslaughter แบ่งได้เป็น 2 ประเภท (1) การฆ่าคนตายโดยสมัครใจ ได้แก่ voluntary manslaughter – ซึ่งกรณีนี้ จะเป็นฆ่าคนตาย เพราะอยู่ในภาวะกดดัน (Heat of Passion) ไม่ได้จงใจจะฆ่าคนตาย และ(2) กรณี involuntary manslaughter – นั้น ต้องการ MR ในระดับ recklessly หรือ negligently ในกรณีที่ทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาทอย่างร้ายแรง

4. สำหรับ Common Law อาจจะแบ่ง Murder ได้เป็น 4 ประเภท :

a. เจตนาฆ่าผู้อื่น Intent-to-kill murder;

b. เจตนาฆ่าผู้อื่น โดยก่อให้เกิดการทรมาน หรือ Intent-to-commit-grievous-bodily-injury murder;

c. การกระทำผิดโดยประมาทอย่างร้ายแรง หรือ Depraved heart (เช่น การที่จำเลยเอาปืนไปเล่น แล้วให้เพื่อนเล่นรัสเซียนรูเล็ต โดยผู้ที่หยิบยื่นปืนให้ ทราบว่า มีลูกปืนและหากลั่น ก็จะต้องมีคนเสียชีวิตอย่างแน่นอน เช่น การกระทำที่ประเภทไม่สนใจใยดีในชีวิตมนุษย์ หรือ reckless indifference to the value of human life’ และ

d. ความผิดฐานฆ่าคนอื่นให้ตาย เพราะกระทำผิดอาญาร้ายแรงอื่น ๆ ได้แก่ Felony-murder, เช่น การฆ่าคนอื่นตาย โดยความตายเกิดขึ้นระหว่างการกระทิดอาญาร้ายแรง felony.




Create Date : 04 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:44:30 น. 1 comments
Counter : 2593 Pageviews.

 
เข้ามาอ่านหาความรู้ครับ


โดย: ทนายวิรัช (WWLF ) วันที่: 6 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:40:39 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.