*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
สัญญามีไว้ให้รักษา! เลยต้องมาทำตามสัญญา!

บล๊อกที่แล้ว ได้นำคำปฎิญาณของนักเรียนกฎหมายสหรัฐฯ มาโพสต์ไว้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผมก็สัญญาว่า จะกลับมาแปลเป็นภาษาไทยในโอกาสหน้า

เพื่อนท่านหนึ่ง มาโพสต์ในความเห็นไว้ว่า สัญญามีไว้เพื่อรักษา ... ไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ผมตั้งใจหรือสัญญาไว้ (คือ จะกลับมาแปลเป็นไทยนี่แหละ) หรือไม่ แต่มันช่างเป็นคำที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ เลยต้องรีบกลับมาทำครับ

ถ้าผมแปลไม่ไพเราะก็ต้องขออภัยนะครับ เพราะปกติ จะอ่านภาษาอังกฤษแบบมั่ว ๆ ไป คือ ไม่ค่อยจะได้แปลตามตัวอักษรเท่าไหร่ ปีก่อน ๆ เคยติววิชากฎหมายให้เพื่อน ๆ คนไทย แล้วก็ต้องแปลเป็นภาษาไทย เพื่อน ๆ ก็หัวเราะกับคำที่ผมใช้ .... เวรกรรมครับ .... ไม่เข้าใจเหมือนกัน ... ฉะนั้น หากอ่านแล้ว ไม่ได้เรื่องเลย ก็ขอได้โปรดอภัยครับ




"As I begin the study of law, I acknowlege and accept the privileges and reponsibilities inherent in becoming a lawyer, and the high standards and ideals that accompany such an undertaking.

ในฐานะที่ข้าพเจ้าจะเริ่มต้นชีวิตนักเรียนกฎหมาย ข้าพเจ้าได้ตระหนักและยอมรับถึงสิทธิประโยชน์และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่สถิตย์อยู่ในตัวตนแห่งข้าพเจ้าที่จะมาเป็นนักกฎหมาย อีกทั้ง ข้าพเจ้ายังได้ตระหนักและยอมรับถึงมาตรฐานและอุดมคติแห่งวิชาชีพ ซึ่งข้าพเจ้าจะต้องยึดถือในการจะดำรงตนในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพนักกฎหมายด้วย

Accordingly, I pledge that I will at all times conduct myself with the dignity befiting an advocate and counselor in a learned profession.

ฉะนั้น ข้าพเจ้าขอให้สัตย์ปฎิญาณว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะดำรงอย่างมีศักดิ์ศรี ในขณะที่ยังเป็นนักเรียนในวิชาชีพกฎหาย เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่อาชีพในฐานะทนายความ และผู้ให้คำปรึกษาทางกฎหมายในอนาคตต่อไป

I commit myself to service without prejudice, integrity without compromise, and the diligent performance of my duties with the utmost good faith.

ข้าพเจ้าขอให้พันธสัญญาว่า ข้าพเจ้าจะให้บริการทางกฎหมายโดยปราศจากอคติ และบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยปราศจากการสมยอม อีกทั้ง ยังจะให้บริการทางกฎหมายด้วยความขยันขันแข็งในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าพเจ้า ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ผุดผ่องตามหลักสุจริต

I acknowledge that I will be a zealous advocate, but will act with courtesy and cooperation toward others, and I will at all times behave in a professional manner.

ข้าพเจ้ายอมรับถึงภารกิจอันสำคัญว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ทนายความด้วยความขยันขันแข็งและเอาจริงเอาจัง แต่จะให้เกียรติและร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความของคู่ความอื่นเช่นกัน อีกทั้ง จะปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ข้างต้น บนมาตราฐานวิชาชีพตลอดเวลาที่ดำรงตนเป็นทนายความ

I will remember that my responsibilities to the legal profession permeate my actions both as a student of the law and, thereafter, as a member of the bar.

ข้าพเจ้าจะตระหนักอยู่ตลอดเวลาถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อหลักวิชาชีพนักกฎหมาย ที่ฝังแน่นและแผ่ซ่านอยู่ในความประพฤติและการปฏิบัติของข้าพเจ้า ตั้งแต่ยังดำรงฐานะนักเรียนกฎหมาย และภายหลังจากนั้น ในฐานะผู้เป็นสมาชิกเนติบัณทิตยสภา (ผู้ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพกฎหมาย)

I accept my new status as a legal professional, and will approach my colleagues and adversaries alike with the same integrity, professionalism and civility, which I expect from them.

ข้าพเจ้า ยอมรับสถานะใหม่ของข้าพเจ้าในฐานะผู้มีวิชาชีพนักกฎหาย และจะยอมรับสถานะของเพื่อนร่วมวิชาชีพนักกฎหมาย รวมถึงจะยอมรับสถานะทนายฝ่ายคู่กรณี ในฐานะที่เท่าเทียมกันในศักดิ์ศรี วิชาชีพ และฐานะพลเมือง เฉกเช่นเดียวกับสิ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับจากผู้อื่นเช่นกัน

This pledge I take freely and upon my honor."


ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ถ้อยคำสัตย์ปฎิญาณข้างต้น ข้าพเจ้าได้เปล่งวาจาออกไปด้วยเจตนารมณ์อันเป็นอิสระ และด้วยเกียรติศักดิ์ของข้าพเจ้าทุกประการ




ที่กล่าวข้างต้น คือ คำแปลของคำปฏิญาณที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสปฎิญาณตนก่อนที่เริ่มศึกษาวิชาชีพกฎหมายในโรงเรียนกฎหมายสหรัฐฯ .... ผมชอบวิธีการนี้ครับ แม้มันจะไม่มีผลบังคับในทางกฎหมาย แต่มันก็อาจจะใช้เตือนใจเราในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพที่สำคัญ ที่ประชาชนสามารถควบคุมได้น้อยมาก แต่การกระทำของเรา มีผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาได้มากที่สุด อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ผมยังจำคำ ๆ นี้ จากผู้ที่รักเคารพได้เสมอครับ ... "คนเราเกิดมาเพื่อช่วยเหลือกัน" วิชาชีพ ทนายความ ตำรวจ อัยการ หมอ ฯ เหล่านี้ น่าจะมีโอกาสที่จะกระทำความดี และช่วยเหลือชาวประชาได้อย่างมากมายกว่าอาชีพอื่น ... อาชีพและชีวิตที่เลือกได้ เช่นนี้ คงมีไม่มาก หากยึดมั่นในคุณธรรมและคำปฏิญาณแล้ว ความวุ่นวายในสังคม ก็จะลดน้อยลงครับ

ปล. ผมกลับมารักษาสัญญาแล้วนะครับ แปลเรียบร้อยแล้วครับ


Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:37:45 น. 19 comments
Counter : 1373 Pageviews.

 
แวะมาดูคำมั่นสัญญาครับ


โดย: ตี๋น้อย (Zantha ) วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:9:38:25 น.  

 
แวะมาชมจขบ.รักษาสัญญา


โดย: keyzer วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:9:43:14 น.  

 
อืม ผมสงสัยว่า
ในทางปฏิบัติจริงๆแล้ว นักกฏหมายที่จบออกมาทำมาหากินนั้น
ได้ทำตาม คำสัญญา (หรือคำสาบาน) นั้นจริงๆ
บนพื้นฐานของความซื่อตรง และคุณธรรมหรือไม่

เอาง่ายๆ มีมาตรการใดในการตรวจสอบว่า
นักกฏหมาย เช่น ทนายความ ที่รับทำคดีหรือต่อสู้ดคี
ให้กับฝ่ายที่ทุจริตหรือผู้กระทำผิด(จริงๆ) นั้น
เค้าจะทำคดีหรือต่อสู้คดี ในฐานะนักกฏหมายผู้มีคุณธรรม
หรือว่าในฐานะ ผู้รับจ้าง ที่ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ ผู้ว่าจ้างชนะคดี

คือผมหมายถึงว่า ในกรณีที่รู้ทั้งรู้อยู่แล้วว่าผู้ว่าจ้างผิดเต็มประตู
หรือมันส่อทุจริตเห็นๆ

แต่ก็นั่นแหละครับ ผมไม่น่าถามเลยเนาะ
เพราะถ้านักกฏหมาย คนนั้นมีคุณธรรมจริง
และยังจำหรือสำเหนียกถึง สัญญา(คำสาบาน) ที่เคยกล่าวไว้
เค้าก็คงไม่รับว่าความ ให้กับผู้ว่าจ้าง ท้งๆที่รู้ตั้งแต่แรกแล้วว่า
ผู้ว่าจ้างรายนั้นเป็นผู้ผิดจริงๆ

ไม่รู้ว่าผมแสดงความเห็นซีเรียสเกินไปกว่าเรื่องที่ จขบ ต้องการจะพูดถึงหืรอเปล่านะครับ

แต่ ผมอ่านแล้วมันนึกไปไกลเลยอดที่จะพูดไม่ได้ก็เท่านั้นเองครับ

ป.ล.ยังไงก็ยังชอบอ่านนะครับท่าน
ขอบคุณครับ


โดย: กุมภีน วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:9:50:22 น.  

 
ก็เพราะมันตรวจสอบได้ยากไงครับ มันถึงต้องมีคำสาบาน


โดย: praphrut608 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:10:34:47 น.  

 

ที่พี่ว่า
เพื่อนท่านหนึ่ง มาโพสต์ในความเห็นไว้ว่า สัญญามีไว้เพื่อรักษา ... ไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ผมตั้งใจหรือสัญญาไว้ (คือ จะกลับมาแปลเป็นไทยนี่แหละ) หรือไม่ แต่มันช่างเป็นคำที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ เลยต้องรีบกลับมาทำครับ

นี่ เกี่ยวกับความเห็นอันนี้...

อืม ทำให้ได้ตามที่ให้คำมั่นไว้ จะดีที่สุดครับ สัญญาเค้ามีไว้รักษา



โดย: dont wanna no วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:22:48:01 น.


หรือเปล่าครับพี่ แหะ แหะ ตั้งใจจะบอกว่า ถ้าปฎิญานไปก็ควรจะรักษาให้ได้น่ะครับ ไม่ได้ตั้งใจว่าให้พี่มาแปลซะดี ๆ นาครับ...



สบายดีนะครับพี่ ไม่ได้มาเยี่ยมนานเลย...


โดย: dont wanna no วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:10:35:29 น.  

 
แวะมาดูคนรักษาสัญญา ....


โดย: หนูชล วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:11:44:37 น.  

 
เหมือนจรรยาบรรณวิศวกรเลย

วิชาชีพไม่ว่าที่ไหนๆก็เป็นเช่นนี้

ขอบคุณครับ

สำหรับความรู้ที่เพิ่มขึ้น

ป.ล. เดี๋ยววันหลังจะไปให้พี่ฝึกภาษาให้ที่blogspotนะครับ


โดย: อนารยชนโรแมนติก IP: 61.91.96.150 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:12:03:50 น.  

 
สัญญา มีไว้ให้รักษา

การบอกมาว่า I will ก็คือสัญญาแล้วใช่ไหมครับ

Image hosting by Photobucket


โดย: Marvellous Boy วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:13:20:55 น.  

 




แวะมาทักทายจ้า


โดย: อย่ามาทำหน้าเขียวใส่นะยะ วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:14:49:12 น.  

 
ยุบสภาแล้วค่ะ


โดย: rebel วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:18:32:31 น.  

 
โอ้ น้องแข มาข่าวใหญ่ ยุบสภา .... ดีเหมือนกัน คืนอำนาจให้ประชาชน ตัดสินใจว่าจะเลือกฝ่ายใด ถ้าประชาชนเคลือบแคลงสงสัยในรัฐบาล ประชาชนก็คงไม่เลือกอีก ....

ปล. เรื่องอื่น ๆ เดี๋ยวเข้ามาใหม่ครับ ....สัญญา มีไว้ให้รักษา อิ อิ......


โดย: POL_US วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:22:58:06 น.  

 
แวะมาทักทายครับผม


โดย: Bluejade วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:7:12:35 น.  

 
อยากบอกว่า แปลได้สละสลวยแล้วครับ อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นคำปฏิญาณที่ขลังมากๆ

ผมเองเคยได้ฟังคุณหมออาวุโสท่านนึงที่เรียนกฏหมายควบคู่ไปด้วยหลังจากเรียนจบทันตแพทย์แล้ว
ท่านกล่าวไว้ว่าท่านเรียนกฏหมายเพื่อให้รู้กฏหมาย และนำมาใช้ประโยชน์กับชีวิต แต่ท่านไม่คิดจะประกอบอาชีพทนายความ อัยการ
ถ้าทำอาชีพทนายความ สักวันหนึ่งก็ต้องทำเจอคดีที่รู้อยู่เต็มอกว่าผิด แต่ก็ต้องทำให้มันเป็นถูกแบบที่คุณกุมภีนว่าไว้
และการที่รู้ว่าผิด แต่เขาทำให้มันเป็นถูกเนี่ย จะผิดคำปฏิญานหรือเปล่า (หรือการรู้ว่าผิด แล้วยอมให้ลูกความตนเองแพ้คดีจริงๆ มันจะเป็นการสมยอม ผิดจรรยาบรรณหรือเปล่า --อันนี้ผมสงสัยเอง--)

ตามความคิดผม วิชาชีพเกี่ยวกับกฏหมายจึงเป็นงานที่ต้องมีสติและคุณธรรมมาก เป็นอาชีพที่ช่วยคนได้มาก แต่ก็ทำร้ายคนได้มากเช่นกันครับ



โดย: Carlziess (Carlziess Lens ) วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:18:30:40 น.  

 
สำหรับคนที่นั่น สาบานเท่ากับสาบานกับพระเจ้ารึเปล่าครับ?...

คำสาบานใช้ได้กับระบบบ้านเรารึเปล่านะ ผมสงสัยมาตลอดว่ากลไกนี้ไม่น่าจะทำงานได้ตลอดระยะเวลาที่มีประวัติศาสตร์...ที่นี่ด้วยซ้ำ

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆนะครับ


โดย: นายเบียร์ วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:18:52:29 น.  

 
ครอบครัวคุณ POL คงภูมิใจในความสำเร็จของคุณนะครับ
หมอก็มีคำปฎิญญากะเค้าเหมือนกันครับ....

ส่วนคำแปล ในส่วนตัวผม ผมคิดว่าภาษาที่มนุษย์ใช้ ถ้าจะให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งคนสื่อออกไป และคนรับสารเข้ามามา มีความเข้าใจถูกต้องตามเจตนาก็ถือว่ามันใช้ได้แล้วครับ

ส่วนเรื่องแปลหรู แปลเก๋ ตัวผมเองไม่เคยใส่ใจเลยนะ พูดได้เพราะตัวผมเองก็สนใจทางด้านภาษาอยู่เยอะครับ

การแปลคำต่อคำ ผมมักจะบอกกะน้องๆที่ทำงานว่า "บ้าไปแล้ว"


โดย: maczy วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:20:16:46 น.  

 
PACTA SUND SERVANDA


โดย: praphrut608 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:2:14:36 น.  

 
เรื่องการสาบานนี้ ผมว่า มันเหมือนสิ่งที่ทำให้เราระลึกว่าครั้งหนึ่ง เราเคยให้สัตย์ปฎิญาณไว้อย่างไร เท่าที่ผมเข้าใจ ตามที่ได้พูดคุยกับคณาจารย์ ผมคิดว่า เขาไม่ได้ปฏิญาณต่อพระผู้เป็นเจ้าอะไรหรอกครับ ... เพราะมันขัดต่อหลักเสรีภาพในการนับถือศาสนา ละเอียดอ่อนมากครับ บางคนไม่มีพระเจ้า ไม่นับถือ เยซูคริสต์ หรือ นับถือศาสนาอื่น ๆ การบังคับให้ต้องสาบาน ต่อพระเจ้า ฯลฯ จึงกระทำไม่ได้โดยเด็ดขาดครับ

จากประโยคสุดท้ายของคำปฏิญาณ จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เหล่านักกฎหมายจะปฏิญาณ ด้วยศักดิ์ศรี และเกียรติศักดิ์ของความเป็นมนุษย์ของเขาเอง .... คือ หากเขาไม่รักษาคำปฏิญาณ เขาก็ย่อมเท่ากับทำลายเกียรติศักดิ์หรือเกียรติยศแห่งตัวตนเขาเอง อเมริกา สอนให้คน ๆ ของเขา มี Sefl-esteem คือ ความภูมิใจในตัวเอง ไม่ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นโดยไม่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ลอกข้อสอบโดยเด็ดขาด อย่างโรงเรียนกฎหมายจะมี Code of Honor หากกระทำผิดใด ๆ แล้ว จะต้องมีการรายงานตนต่อโรงเรียนกฎหมายด้วยตนเอง (Self-report) หากไม่รายงานจับได้ ไล่ออกคือโทษที่จะตามมา แต่รายงานแล้วก็ใช่ว่าจะจบแค่นั้น ทางโรงเรียนจะรายงานไปยัง Bar หรือ เนติบัณฑิต ประจำรัฐ

ทางเนติบัณฑิต ก็จะดำเนินการตามมาตรฐานที่เห็นสมควร เช่นว่า ขับรถในขณะเมาสุรา แล้วถูกจับดำเนินคดี ทางเนติฯ อาจจะขึ้นบัญชีไว้ หากหลายครั้ง ก็จะไม่อนุญาตให้สอบเป็นสมาชิกเนติบัณฑิต .... นั่นหมายความว่า เขาจะไม่อาจจไม่ประกอบอาชีพทนายความได้เลย หลักการง่าย ๆ คือ เหมือนกับว่า เราไม่มีใบรับรองในวิชาชีพ ก็ห้ามว่าความ ห้ามให้คำปรึกษาใด ๆ เป็นต้น

ส่วนเรื่องที่ว่า เป็นทนายความแล้ว จะต้องไปช่วยเหลือคนผิด ผมยอมรับเลย เมื่อก่อนก็คิดเช่นนั้นว่า หากมันผู้ใดทำผิดกฎหมายแล้ว ก็สมควรได้รับการลงโทษ และทนายความ หากเป็นคนดีจริง ก็ต้องไม่ให้ความช่วยเหลือใด ๆ กับมันผู้นั้น แต่จริง ๆ ตามหลักการมันไม่ใช่อย่างนั้นหรอกครับ เขาผู้นั้น ก็คือ คนธรรมดา ที่สามารถมีรัก โลภ โกรธ หลงได้ ทำผิดได้ ทำพลาดได้ และเขาเองก็มีสิทธิในความยุติธรรมตามกฎหมาย คือ การต่อสู้คดีในระบบที่เรายึดถือ คือ ระบบกล่าวหา (Adversary System)

ระบบกล่าวหา มีหลักการง่าย ๆ ว่า ฝ่ายรัฐมีหน้าที่พิสูจน์ว่า ผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำผิดจริง โดยปราศจากสงสัยตามสมควร ฝ่ายรัฐจึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานที่รวบรวมโดยตำรวจ หรือ อัยการ เสนอต่อศาล เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลย ได้กระทำผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้จริง ๆ ไม่ได้กลั่นแกล้งกันเล่น ๆ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายจำเลย ก็มีสิทธิต่อสู้คดีภายใต้ระบบกล่าวหาเช่นกัน คือ สามารถนำพยานหลักฐานเสนอให้ศาลเห็นว่า "เขาไม่ได้ทำผิด" หรือ "เขาทำผิด แต่มีเหตุบรรเทาโทษ" หรือ "ไม่รับรองว่าทำผิดจริงหรือไม่ แต่พยานหลักฐานฝ่ายรัฐอ่อน พยานหลักฐานได้มาจากการกระทำผิดกฎหมาย ฯลฯ" ว่าง่าย ๆ คือ จำเลยสามารถเสนอหลักฐาน เพื่อทำลายหลักการ "Prove beyond reasonable doubt" ว่าฝ่ายรัฐไม่อาจพิสูจน์โดยปราศจากสงสัยได้

ศาลก็มีหลักการง่าย ๆ คือ ความเป็นกลาง ..เป็นผู้รักษากติกาของการต่อสู้คดี หากมีความสงสัยว่าจำเลยจะกระทำผิดหรือไม่ ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โดยการยกฟ้องและปล่อยตัวจำเลยไป เพราะคิดว่า "ปล่อยคนผิดสิบคน ดีกว่าลงโทษคนบริสุทธิ์เพียงคนเดียว"

หลักการตามระบบนี้ ก็จะถูกโจมตีเสมอว่า ความยุติธรรม ขึ้นอยู่กับความรวย และความสามารถของทนายความ หากคนรวย ก็มีปัญญาที่จะจ้างทนายความเก่ง มาสู้คดีให้ตนเองได้ เหมือนการเล่มเกมปาหี่สักอย่าง ไม่มีความยุติธรรมจริงใดเกิดขึ้นในโลก และเงินตราบันดาลได้ทุกสิ่ง

ก็จริงอย่างนั้นเหมือนกันครับ แต่เขาคงคิดว่าไม่มีระบบใดจะดีกว่านี้ เมื่อก่อนในยุโรป ให้ศาลทำหน้าที่ไต่สวนคดีเอง กล่าวง่าย ๆ คือ ให้ศาลค้นหาความจริงเอง สืบสวนสอบสวนคดีเอง โดยมีตำรวจและอัยการเป็นคนช่วยเหลือ แม้แต่ทนายความจำเลย ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ต่อสู้คดีให้จำเลยได้ แต่ความจริง คือ ความจริง ครับ อำนาจทำให้คนลุ่มหลง ..... ศาลก็ไม่อาจดำรงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง เพราะเมื่อตนเข้าไปพัวพัน ก็จะมีอารมณ์ร่วมอย่างรุนแรง มีอคติในใจตั้งแต่ต้น ก็อาจจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ครับ

การปฏิญาณตน จึงเป็นเพียงเครื่องเหนี่ยวรั้งจิตใจ และเตือนสติว่า ครั้งหนึ่งเราเคยสาบานด้วยเกียรติศักดิ์และเกียรติยศของความเป็นคน ของเราเองไว้อย่างไร คำปฏิญาณไม่อาจจะทำให้ทุกอย่างดีได้ โดยปราศจากระบบอื่น ๆ เข้ามาควบคุมตรวจสอบ ระบบการควบคุมวิชาชีพนักกฎหมายในสหรัฐฯ จึงมีองค์กรศาลและคณะกรรมการวิชาชีพประจำเนติบัณฑิตของแต่ละรัฐเข้ามาควบคุมด้วย มีกฎระเบียบตามที่ American Bar Association - ABA หรือ เนติบัณฑิตอเมริกัน กำหนดไว้ เช่นว่า เมื่อทนายด้วยกัน พบทนายอื่นกระทำผิดกฎระเบียบดังกล่าว ไม่ว่าจะนอกหรือในศาล ก็ต้องรายงานต่อองค์กรควบคุมวิชาชีพนั้น เป็นต้น

การควบคุมวิชาชีพนักกฎหมายต่างจากไทยมาก เพราะให้สภาทนายความ ควบคุมกันเอง แน่นอนที่สุด อำนาจเป็นสิ่งหอมหวาน และเต็มไปด้วยผลประโยชน์ ตำแหน่งนายกสภาทนายความ หรือคณะกรรมการสภาทนายความ ย่อมนำมาซึ่งอำนาจบารมี การสร้างอำนาจบารมี ประการหนึ่ง ก็คือ การทำทาน โดยการช่วยเหลือกันเองนี่แหละ เรื่องร้องเรียนเข้าสู่สภาทนายความ กล่าวหาว่าทนายความทำผิดจรรยาบรรณในไทย จึงเป็นเรื่องที่ไร้สาระไป เพราะร้องอย่างไร ก็คงจะไม่มีผล เพื่อน ๆ ในองค์กรแห่งนี้ และทำงานให้กับองค์กรแห่งนี้ บอกว่า บางส่งเรื่องมา ๕ ปี สภาทนายความ ยังไม่เคยเหลียวหันกลับไปมองเลยด้วยซ้ำ แล้วเรื่องนั้น มันก็หายไปตามกาลเวลา .....

ในอดีต ประเทศไทยเราให้ เนติบัณฑิตสภา เป็นผู้ควบคุมวิชาชีพนักกฎหมาย ตอนนี้ มีอำนาจแต่เพียงตัวอักษร ในฐานะผู้ให้ใบรับรอง การเป็นสมาชิกวิสามัญ เนติบัณฑิตยสภา รับเงินจากการเป็นสมาชิกวิสามัญ แต่ไม่มีบทบาทอะไรเลยในการรับรู้เกี่ยวกับความประพฤติ การปฏิบัติบัติของทนายความที่ตนเองให้คำรับรองฐานะการเป็นสมาชิกนั้น มีเพียงองค์กรสภาทนายความ โดยคณะกรรมการมรรยาททนายความ ที่จะคอยดูแล ....คือ ดู กับ แล ...ครับ


โดย: POL_US วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:2:20:35 น.  

 
เฮ้อ..แค่ดูกับแล...


โดย: นายเบียร์ วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:3:00:11 น.  

 
ขออนุญาตไปแปะใน facebook นะครับ


โดย: praphrut608 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:9:48:01 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.