*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
Pinkerton Rule v. Model Penal Code (MPC)

ผมติดค้างมานาน เกี่ยวกับ หลักกฎหมาย “การสมคบ” หรือ “Conspiracy” ตามแนวคิดแบบ Common law ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่นักกฎหมายอาญาว่า “Pinkerton Rule” ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในมลรัฐที่ใช้ Common Law เป็นหลัก ( ต่อไปจะเรียกว่า Common law jurisdiction) ในขณะที่รัฐส่วนใหญ่ จะใช้หลักการตามหลัก Model Penal Code มาตรา ๕.๐๓ ( ต่อไปจะเรียกว่า MPC jurisdiction)




ตามที่กล่าวไปในบล๊อกก่อนว่า ประชาชนทั่วไปจะเข้าใจว่า สหรัฐอเมริกา ใช้ระบบ Common law ที่เป็นมรดกตกทอด มาจากประเทศอังกฤษ เป็นหลัก ซึ่งก็จริง แต่ไม่ได้จริงทั้งหมด เพราะโดยหลักการตามกฎหมาย Common law นั้น ศาลจะวางหลักกฎหมาย เสมือนตรากฎหมายขึ้นเองได้โดยไม่จำกัด ในขณะที่รัฐสภา ก็ออกกฎหมายได้ แต่จะถูกศาลตีความให้จำกัดที่สุด เท่าที่จะจำกัดได้

หลักการที่สหรํฐอเมริกายอมรับนับถือมานาน คือ หลักการ Separation of Powers แบบ Montesquieu ได้วางหลักการไว้ เรียกกันว่า Principle of Legality ซึ่งหมายถึง หลักการที่ การออกกฎหมายใด ๆ จะต้องมีการประกาศโดยรัฐสภา ล่วงหน้า ก่อนบังคับใช้ เพื่อให้ประชาชนที่จะถูกบังคับใช้นั้น ได้ทราบและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตำรวจและอัยการ ก็ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ตามอำเภอใจ มลรัฐส่วนใหญ่ จะยึดถือ หลักกการ Legality Principle ข้างต้น โดยรัฐต่าง ๆ จะประกาศยอมรับเอา MPC ไปเป็นตัวแบบในการออกกฎหมายอาญาของรัฐตน ศาลเองจึงถูกจำกัดบทบาทในการสร้างหลักกฎหมายอาญาเป็นอย่างมาก

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกล่าวถึงกฎหมายของไทยสักเล็กน้อยก่อนครับ หลักกฎหมาย เรื่องการสมคบ(Conspiracy) ในไทย จะมีใช้อยู่ไม่กี่เรื่อง เช่น การสมคบกันตั้งแต่ ๕ คน ขึ้นไปเพื่อกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ตามประมวลกฎหมาย ซึ่งเราจะได้ยินเรียกชื่อย่อกันว่า กระทำผิดฐานเป็น “ซ่องโจร” ซึ่งปัจจุบัน แทบจะไม่มีการใช้ และไร้ผลในการลงโทษ เพราะท้ายที่สุด พนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องทั้งหมด เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐากเพียงพอในการฟ้องให้ศาลลงโทษ นอกจากนี้ อาจจะมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ กฎหมายเกี่ยวกับมาตรการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งกำหนดว่า ใครก็ตามที่บังอาจสมคบกับผู้อื่นในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้ว ก็จะต้องระวางโทษเท่ากับผู้กระทำผิดนั้นเลยทีเดียว

แล้ว คำว่า “สมคบ หรือ conspiracy” คือ อะไร ในสหรัฐอเมริกา ได้วางหลักการเรื่องนี้ไว้ ในคดี Pinkerton v. U.S., 382 U.S. 640 ตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๔๖ กล่าวโดยย่อว่า “จำเลยทั้งสองคน คือ พี่น้องตระกูล Pinkerton ได้ถูกพิพากษาโดยศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ เขต ๕ (The Circuit Court of Appeals for the Fifth Circuit) ว่ากระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร (Internal Revenue Code) ทั้งในความผิดฐานสมคบ (Conspiracy) ที่จะกระทำผิดตามกฎหมายภาษีอากรฯ และความผิดตามกฎหมายแม่บทดังกล่าว (Substantive offences) จำเลยจึงอุทธรณ์คดีนี้ไปยังศาลสูงสุด (The U.S. Supreme Court) โดยจำเลยคนหนึ่ง ได้อ้างเหตุผลว่า ในขณะที่มีการกระทำผิดจริง ๆ ( Substantive offences) นั้น ตนถูกจำคุกอยู่ในความผิดฐานอื่น ๆ ตนจึงไม่ต้องรับผิดฐานสมคบที่จะกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรอีก ศาลสูงสุด พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองคนกระทำผิดตามฟ้องฯ แม้จำเลยที่สองจะอยู่ในคุก ไม่ได้มีส่วนลงมือกระทำผิดด้วยเลย ก็ต้องรับผิดฐานสมคบฯ ด้วย

ท่านผู้อ่าน คงจะสงสัยว่าเพราะอะไร จึงต้องรับผิด เพราะเขาไม่ได้ลงมือกระทำผิดด้วยเลย แค่ไปตกลงว่าจะร่วมกันโกงภาษีฯ แล้วก็หนีเข้าไปอยู่ในคุกก่อนที่จะมีการกระทำผิดจริง ๆ เกิดขึ้น เขาก็ควรจะพ้นจากการการกระทำผิดฐานโกงภาษีฯ แล้ว อย่างไรก็ตาม ศาลท่านไม่ได้เห็นเช่นนั้น เพราะหลักการในเรื่อง การสมคบกันเพื่อกระทำผิดตามกฎหมาย Common law วางหลักไว้ดังนี้

(๑) องค์ประกอบการกระทำผิด : ส่วนของการกระทำ (Actus Reus) คือ การตกลงกันเพื่อกระทำผิดของคนสองคนขึ้นไป (Bilateral Agreement) เช่น นาย Pinkerton ผู้พี่ ตกลงกับ นาย Pinkerton ผู้น้อง ว่า จะโกงภาษีรัฐบาลสหรัฐ โดยวางแผนว่าจะสร้างบริษัทกระดาษ (Paper company) ขึ้นมา เพื่อฉ้อโกงภาษีรัฐบาล
(๒) องค์ประกอบการกระทำผิด : ส่วนของจิตใจ (Mens Rea) คือ มีเจตนาที่จะกระทำผิด เช่น ได้ตกลงใจที่จะกระทำผิด (Stake in the Venture) หรือ แม้กระทั่งเพียงรู้ว่า จะมีการกระทำผิดเกิดขึ้น และตนมีส่วนสนับสนุนให้ความผิดนั้นสำเร็จลุล่วง แม้จะไม่ได้พูดตรง ๆ ว่าจะตกลงกระทำผิดด้วย (Knowledge that the crimes will occur) โดยมีข้อเท็จจริงอื่นประกอบ เช่น ได้ผลประโยชน์จากการกระทำการสนับสนุนให้การกระทำผิดสำเร็จ ฯลฯ เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ หากมีการกระทำผิดตามที่ตกลงกันไว้ แม้ผู้ที่ตกลงจะร่วมกระทำผิด ไม่ได้ลงมือ อะไรเลย หรือในวันที่ตกลงกันไม่ได้กระทำผิดนั้น ผู้ที่ตกลงด้วย เจ็บป่วย ไม่ได้อยู่ร่วมกระทำผิดด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ ในคดีนี้ นาย Pinkerton ผู้น้อง ได้หลบหนีไปอยู่ในคุก (เพราะกระทำผิดฐานอื่นฯ ) ก่อนที่ นาย Pinkerton ผู้พี่ จะโกงภาษี นาย Pinkerton ผู้น้อง ต้องรับผิดในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ผู้ร่วมสมคบกันได้ลงมือกระทำผิด แม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมลงมือกระทำผิดเลยก็ตาม

ศาลสูงสุด ยังได้วางหลังเพิ่มเติมไปอีกว่า ผู้ร่วมสมคบกันนั้น จะต้องรับผิดในผลทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ถ้าอาจคาดเห็นได้ (Foreseeable and natural consequence) แม้จะไม่ได้มีการตกลงว่าจะกระทำผิดอื่น หรือ ตกลงในเรื่องรายละเอียดนั้นเลยก็ตาม เช่น ว่า นาย ก. ตกลงกับนาย ข. จะไปปล้นธนาคาร วันเกิดเหตุ ทั้งสองคน ก็ไปปล้นธนาคารตามแผน นาย ข. อารมณ์ ไม่ดี จึงยิงพนักงานธนาคาร และประชาชนในธนาคารนั้นเล่น ดังนี้ นาย ก. ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นทั้งหมดด้วย แม้นว่า นาย ก. จะไม่เคยตกลงกับนาย ข. ให้ไปยิงใคร ฯลฯ เลยก็ตาม

ศาลให้เหตุผลว่า ความผิดฐานสมคบ (Conspiracy) เป็นความผิดที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง (Stand alone crimes) และเป็นความผิดสำเร็จ นับแต่ที่ได้ตกลงกันเสร็จสิ้น ความผิดฐานสมคบ จึงแยกจาก ความผิดที่ตั้งใจจะกระทำ (Substantive crimes) โดยเด็ดขาด หากตราบใด ผู้ร่วมสมคบ ไม่ได้ถอนตัวออกจากการเป็นผู้สมคบ โดยมีการกระทำสิ่งใด ๆ ที่เป็นการขัดขวาง ไม่ให้ความผิดตามกฎหมายแม่บทที่ตั้งใจกระทำผิดนั้น ล้มเหลวไป ผู้ร่วมสมคบ ยังต้องรับผิดในฐานสมคบตลอดไป ตราบชั่วฟ้า ดินสลายฯ

หลักการตาม MPC ได้เปลี่ยนแปลง จากหลักการ Pinkerton Rule คือ ผู้ร่างกฎหมาย ไม่ต้องการให้มีการรับผิดกว้างขวางเกินขอบเขต ผู้ร่วมสมคบ จะรับผิด เท่าที่ตกลงกันเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่านั้น แม้จะเป็นผลที่อาจคาดเห็นได้ก็ตาม เช่น นาย ก. ตกลง กับนาย ข. และ นาย ค.จะไปปล้นบ้าน นางสาว จิ๋มฯ แสนสวย ในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตามหลักกฎหมาย MPC นั้น ความผิดฐานสมคบ ยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าจะมีบุคคลใด บุคคลหนึ่งที่สมคบกัน ได้กระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามที่ได้ตกลงกัน (Overt act) เช่น เตรียมซื้อสารพิษเบื่อสุนัขบ้าน นางสาวจิ๋มฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ต้องเป็นกระทำผิดตามกฎหมายใด ๆ ความผิดฐานสมคบ จึงจะเร็จลงทันที ฯ แตกต่างจาก แนวคิดของ Common law ความผิดฐานสมคบ สำเร็จทันที ที่ตกลงกันเรียบร้อยฯ แต่สำหรับ MPC จะต้องมีทั้ง Unilateral Agreement & Overt act ประกอบกัน

เมื่อทั้งสามคน ไปปล้นบ้าน ปรากฎว่า นาย ค. เห็นนางสาวจิ๋มฯ แล้วเกิดอารมณ์ทางเพศ จึงได้ข่มขืนและทำร้ายจิ๋มฯ ไปหลายรอบฯ ดังนี้ ตามมาตรา ๒.๐๖ ที่จำกัดความรับผิดฐานสมคบ (มาตรา ๕.๐๓) ได้กำหนดว่า รับผิดเท่าที่ตกลงกัน คือ ในที่นี่ นาย ก. และนาย ข. ก็ไม่จำต้องผิดฐานข่มขืนฯ ร่วมกับนาย ค. ไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากคดีนี้เกิดใน Common law jurisdiction นาย ก. และ นาย ข. ก็ต้องรับผิดในส่วนที่นาย ค. กระทำผิดไปด้วย แม้จะไม่ได้ตกลงกันเลยก็ตาม (หากเป็นผลที่คาดหมายได้)




ในสหรัฐฯ มีการใช้หลักการสมคบ (conspiracy) กับกฎหมายทุกประเภท และความผิดทุก ๆ ความผิด แต่สำหรับประเทศไทย เราเจริญก้าวหน้ากว่า เราไม่เอา เราไม่มีความผิดฐานสมคบ แต่เรามีความผิดฐานตัวการ ผู้สนับสนุน และผู้ใช้ เท่านั้น ซึ่งบางกรณี ก็ไม่เพียงพอในการป้องกันปราบปรามกระทำผิดที่เกิดขึ้น ความจริง กฎหมายเรื่องสมคบ มีประโยชน์มาก เพราะ รัฐสามารถเข้าระงับการกระทำผิด และนำตัวผู้สมคบมาลงโทษได้ แม้จะยังไม่มีความผิดเกิดขึ้นจริง ๆ ก็ตาม [Last Update : 22 กรกฎาคม 2548 15:18:00 น.]


Create Date : 22 กรกฎาคม 2548
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:33:37 น. 18 comments
Counter : 1216 Pageviews.

 
ไม่ได้เข้ามาหลายวัน

โอ้ โฮ บล๊อกสวยเชียว

เดี๋ยวนี้ พัฒนา นะคะ คุณสารวัต


โดย: พฤษภาคม 2510 วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:4:58:43 น.  

 
ดาวประกายฟ้า อิอิอิ


โดย: Angel Tanya วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:5:23:55 น.  

 
น่ากลัวจังค่ะ


โดย: รักดี วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:7:32:44 น.  

 
เข้ามาทักทายครับ

บล็อกลายตาดีจัง


โดย: Bonaparte วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:7:47:28 น.  

 
บลอกโฉมใหม่


โดย: rebel วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:8:58:41 น.  

 
อ่านบล๊อก แล้วนึกถึงละคร ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงินอ่ะ พี่ตำหนวด บล๊อกสวยดี โหลดไม่ช้า รวดเร็วทันใจดี


โดย: แจ้น IP: 202.133.163.237 วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:9:16:14 น.  

 
ผมคิดถึงรายการดาวล้านดวงมากกว่า แบบนี้เรียก อลังการดาวล้านดวงอะไรเนี่ยล่ะครับ 5 5 5

(ลป อ่านแล้วนะเนื้อหาน่ะ แต่ว่าฟามรู้ไม่มีครับคุณตำรวจ ไม่รู้จะว่าอะไร มันเป็น law เลยไม่ใช่ moral จะได้วิจารณ์ได้นะคร๊าบบ อีกอย่าง เรื่องคุ้น ๆ เหมือนซี ที อ๊อก นี่ เดี๋ยวถูกจับครับ ไม่พูด ๆ)


โดย: dont wanna no วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:11:58:08 น.  

 
โวะ โฮ้วววว....

ช่างเป็น blog ที่ระยิบระยับ จับตาจริง ๆ

ดีค่ะ เรื่องกฎหมาย พ่อเราก็เป็นทนายอ่ะคะ

พ่อชอบพูดเรื่องกฎหมายเงี้ย จนแม่เบื่อเลย

เหนื่อยเรื่องกฎหมายแล้วก็ไปหาไรกินให้ชื่นใจกันดีก่า



โดย: (^-^) (ไขมันจงเจริญ ) วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:13:46:53 น.  

 
ว้าววว อลังการงานสร้างจริงๆค่ะ
ยังไม่ได้อ่านนะคะ ต้องรีบไปก่อน

พอดีกดเข้ามา เห็นโฉมใหม่ เลยขอทักซะหน่อย อิอิ

ปล. โฉมใหม่ แต่เนื้อหาตรงตามจุดประสงค์เดิมเป๊ะเลย ฮา แซวคร่า


โดย: นุชชี่ (Sugary GA ) วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:13:53:13 น.  

 
มึความสุขในวันหยุดนะคะ


โดย: BeNuTe23 วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:16:03:57 น.  

 
โอ๊ะ

นึกว่าเข้าบ๊อกผิด

คุณตำรวจคะ

แจ่มมาก


โดย: PADAPA--DOO วันที่: 22 กรกฎาคม 2548 เวลา:22:24:45 น.  

 
เพิ่งรู้นะครับว่า อเมริกาก็ common law เหมือนกัน ตอน ม. 1 อาจารย์ยกตัวอย่างแค่อังกฤษ

ปล.เข้ามาแล้วนึกว่า เข้าผิด เข้า web ท้องฟ้าจำลองซะอีก


โดย: เพราะผมไม่มี Time Machine วันที่: 23 กรกฎาคม 2548 เวลา:0:59:00 น.  

 


โดย: ใสที่สุด วันที่: 23 กรกฎาคม 2548 เวลา:3:38:52 น.  

 
กลัวโดนข้อหาสมคบค่ะ ^^


บล็อคสวยจังค่ะ...





โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 23 กรกฎาคม 2548 เวลา:21:50:12 น.  

 
ขอบคุณครับทุกท่าน ที่แวะเข้ามา

ผมเข้าใจครับ ว่าเพื่อน ๆ สมาชิกหลายท่าน จะไม่ได้สนใจจะศึกษากฎหมาย หรือ บางครั้ง ภาษากฎหมาย และหลักการทางกฎหมายมันก็น่าเบื่อจริง ๆ ๆ แต่กฎหมาย คือ เครื่องที่ใช้ในการปกครองประเทศ และบริหารประเทศครับ กฎหมาย ไม่ได้เลอเลิศประเสริฐศรี มาจากสรวงสรรค์ครับ

กฎหมายมาจาก สังคม และความต้องการของประชาชน นักกฎหมายในสหรัฐอเมริกาฯ นี่ต่างจาก นักกฎหมายในหลายประเทศมาก ๆ ๆ โดยเฉพาะนักกฎหมายของไทย เพราะ คนที่จะเรียนกฎหมายได้ ในสหรัฐ ต้องจบปริญญาสาขาอื่นมาก่อน การเหยียดหยันในเรื่องสาขาวิชาการต่าง ๆ สู้ความรู้ทางกฎหมายไม่ได้ (แบบไทย ๆ ) จึงไม่มีครับ

การเรียนกฎหมายในสหรัฐ ทำให้คนที่เรียนกฎหมายมีความรู้ความเข้าใจดีว่า กฎหมาย ไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่ประกาศิต จากสรวงสรรรค์ แต่มันคือสิ่งที่ต้องสอดคล้องกับสภาพสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป นักกฎหมาย ในสหรัฐฯ จึงไม่ได้ตีความตามตัวอักษร เคร่งครัดแบบนักกฎหมายไทย และการตีความของนักกฎหมายสหรัฐ โดยเฉพาะของ ศาลสูงสุดสหรัฐ จะต้องคำนึง ถึง สภาพสังคม ความเป็นจริงทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์เสมอ ๆ ๆ

หากท่านที่เรียนกฎหมายในสหรัฐบ้าง จะพอเข้าใจว่า ทุกคดีที่ตัดสินโดยศาลสูงสุดสหรัฐ (The U.S. Supreme Court) โดยเฉพาะในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitutional Law) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (Criminal Procedure) กฎหมายปกครอง (Administrative Law) ศาลสูงสุด จะต้องคำนึงถึง หลายปัจจัย ตัวอย่าง เช่น
(๑) หลักการทางกฎหมาย
(๒) การกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชน
(๓) ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายบริหาร และฝ่ายผู้บังคับใช้กฎหมาย

ศาลสูงสุดสหรัฐ จึงวางหลักอย่างยืดหยุ่น แต่หนักแน่นในเหตุผลครับ จะไม่มีการตีความเป็นไม้บรรทัดเป๊ะ ๆ ๆ ๆ ๆ ผมว่า ศาลสูงสุดสหรัฐฯ ท่านยึดพระราชดำรัส ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ของเรามังครับ ล้นเกล้าฯ ของเรา ท่านมีกระแสรับสั่งในพิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จหลักสูตรเนติบัณฑิตฯ มานมนานแล้วว่า กฎหมายไม่ใช่ตัวความยุติธรรม แต่เป็นเครื่องมือนำสู่ความยุติธรรมฯ การตีความกฎหมาย จึงไม่ใช่ ยึดตามลายลักษณ์อักษร เพียงอย่างเดียวฯ

ตอนนี้ มีประเด็นร้อนเรื่อง พระราชกำหนดฯ บริหารราชการฯ ฉุกเฉินฯ ความจริง บางเรื่อง เป็นสิ่งที่ ศาลไม่มีอำนาจตรวจสอบ เพราะเป็นสิ่งที่เรียกว่า “การกระทำของรัฐบาล” ซึ่งอยู่นอกขอบข่ายอำนาจของศาล หลักการนี้ เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ทั้งในเยอรมัน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาฯ หากเป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหารแล้ว ศาลจะไม่เข้ามาก้าวก่ายเลยครับ โดยเฉพาะนโยบายในการบริหารประเทศ การรักษาความมั่นคง เอกภาพ และบูรณาการของประเทศแล้ว เป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหารดุลพินิจเด็ดขาด แต่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ตามกระบวนการทางการเมืองครับ ..... ศาลถูกจำกัดบทบาทอย่างมาก ..... เขายอมรับกันมาช้านานครับ

หวังว่า ท่านผู้อ่านฯ จะค่อยซึมซาบความรู้ทางกฎหมายไปเรื่อย ๆ ครับ รับที่ละน้อย แต่รับไปนาน ๆ ๆ ครับ แบบสายัณห์ สัญญา ครับ (โห โคตรแก่เลยเรา)


โดย: POL_US วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:12:45:45 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล๊อกเรานะตัวเอง

BGสวยค่ะ


โดย: BeNuTe23 วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:17:49:33 น.  

 
ยาวสม่ำเสมอจังเลยค่ะ

... แล้วจะค่อย ๆ ทยอยอ่านนะกั๊บ ...

(up' ยังไงก็ไม่ยาวเท่าพี่ซะที) ....


โดย: แ ม ง ป อ วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:23:47:36 น.  

 
บล๊อก ระยิบระยับ เลยนะครับ คุณตำรวจ


โดย: เ ม ฆ ค รึ่ ง ฟ้ า วันที่: 30 กรกฎาคม 2548 เวลา:1:10:21 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.