Group Blog
 
All blogs
 
ในยามจิตฟุ้งซ่าน เราจะรักษาใจให้สงบอยู่ได้อย่างไร?

อัคคิสูตร

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดจิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะสมสำหรับเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

...สมาธิสัมโพชฌงค์...อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะ...จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นอาจให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านี้

เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ จึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด...ลงในกองไฟใหญ่นั้น..."



วันนี้ขอนำ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...สมาธิสัมโพชฌงค์...อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มาปันกันอ่านครับ

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

ปัสสัทธิแปลว่า ความสงบ ปัสสัทธิไม่ใช่กายสงบอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงใจสงบคือไม่เครียด ไม่ตื่นเต้นไม่ลนลานในเวลาวิกฤต เรียกว่าใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว

ยามที่เกิดวิกฤตขึ้นมาเช่นไฟไหม้บ้าน เราต้องสงบสติอารมณ์สักชั่วนิดหนึ่งก่อนที่จะดับไฟ หรือขนย้ายสมบัติ บางคนตกใจมากอุตส่าห์แบกของหนักนึกว่าเป็นตู้เซฟวิ่งไปถึงปากตรอกจึงรู้ว่าแบกโอ่งน้ำ

ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาให้ใช้ปัสสัทธิสงบดูสถานการณ์ให้รอบคอบพยายามจำกัดขอบเขตของความเสียหายไว้อย่าให้ลุกลาม

อาหารของข้อนี้ก็คือ กายปัสสัทธิ ความสงบกาย จิตปัสสัทธิ ความสงบใจ กับโยนิโสมนสิการ ความพิจารณาโดยแยบคายจับเหตุจับผล

................................................................
สมาธิสัมโพชงค์

สมาธิคือความตั้งใจมั่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เรากำหนดใจว่าจะทำให้สำเร็จ ใจเราปักหลักอยู่เรื่องนั้นเท่านั้น สมาธิมีคำใช้แทนว่า เอกัคคตา แปลว่าคิดเรื่องเดียว เช่นเลือกปัญหาที่เร่งด่วน มาคิดเพียงเรื่องเดียว ถ้ามีหลายเรื่องก็เลือกทำทีละเรื่อง กำหนดเวลาไว้สำหรับเรื่องแต่ละเรื่องเป็นช่วงๆ เห็นว่าเรื่องไหนสำคัญมาก ก็ทุ่มเททำเรื่องนั้น จนหมดเวลา หรือเสร็จแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปทำเรื่องอื่น คนมีสามาธิจะคิดทำทีละเรื่อง ไม่ใช่ปล่อยให้เรื่องต่างๆ เข้ามารกสมองจนเกิดความเครียด

คนเครียดคือคนแบกเรื่องหนักไว้เต็มหัว พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้จะถึงวันจัดงาน กังวลว่านี้ก็ยังไม่ได้ทำ นั่นก็ยังไม่ได้ทำ คิดจะทำเรื่องหนึ่งก็มีเรื่องนั้นมาเรื่องนี้มากวนใจจนไม่มีสมาธิ คนที่ไม่เครียดคือทำทีละอย่าง อันไหนจำเป็นรีบด่วนก็ทำก่อน คนที่มีระเบียบในชีวิตบางคนทำงานได้หลายเรื่องในวันเดียวกัน

ข้อสำคัญต้องมีระเบียบว่า งานนี้เราทำให้เต็มที่ เมื่อเสร็จแล้วจึงจะจับงานอื่นขึ้นมาทำ เราฝึกทำทีละเรื่องๆ เหมือนกับยกเก้าอี้ทีละตัว ถ้าท่านพยายามยกทีละ ๑๐ ตัว ก็ยกไม่ไหว

ดังนั้น ข้อปฏิบัติสำคัญในยามวิกฤตก็คือว่า อย่าเปิดศึกหลายด้าน

อุเบกขาสัมโพชงค์

ท่านอธิบายโดยทั่วไปว่าคือความที่วางจิตเป็นกลาง ไม่เสียใจในเมื่อผู้อื่นประสบวิบัติ หรือไม่ดีใจในเมื่อผู้อื่นซึ่งไม่เป็นที่รักประสบวิบัติ

แต่มีใจเป็นกลางไม่ยินดีไม่ยินร้าย โดยที่พิจารณาปลงใจลงในกรรม และผลของกรรม ว่าผู้นั้นผู้นี้ หรือแสดงรวมว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทรับผลของกรรมมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่นพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย จักกระทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่วก็จักต้องเป็นทายาทรับผลของกรรมนั้น

เพราะว่าอารมณ์ที่มาประสบนั้นมีอยู่มากมายทุกเวลานาที ไม่ใช่ว่าจะไปเกิดยินดีบ้างยินร้ายบ้าง โสมนัสบ้าง โทมนัสบ้าง ไปทุกๆอย่าง ที่เฉยๆอยู่ก็มีเป็นอันมาก แต่ก็เป็นเฉยด้วยความไม่รู้ ไม่ใช่เป็นอุเบกขาในพรหมวิหาร

อุเบกขาในพรหมวิหารนั้นต้องเป็นวางเฉยด้วยความรู้ คือรู้ด้วยการพิจารณา ปลงใจลงไปในกรรมและผลของกรรม จนใจเป็นกลางได้แม้ว่าในบุคคลซึ่งเป็นที่รัก และทั้งในบุคคลที่ไม่เป็นที่รัก วางใจลงเป็นกลางได้เหมือนกัน

................................................................

ขอบพระคุณที่มีจิตกุศลติดตามอ่านครับ

สุเขน ผฏฺฐา อถวา ทุกฺเขน
น อุจฺจาวจํ ปณฺทิตา ทสฺสยนฺติ

ไม่ว่าจะได้รับสุขหรือทุกข์
บัณฑิตไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ

ข้อมูลบางส่วนจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร
และ ปลุกปลอบใจในยามวิกฤต พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
ภาพประกอบจากสมาชิกพันทิป ขอกราบอนุโมทนามา ณ โอกาสนี้ครับ









Create Date : 22 สิงหาคม 2551
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 12:55:31 น. 0 comments
Counter : 695 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ebusiness
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







พระพุทธเจ้าทรงมอบสิ่งที่ดีที่สุดไว้ให้แก่มวลมนุษยชาติ สิ่งนั้นคือพระธรรมที่ใช้เป็นกรอบในการดำเนินชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีงาม สู่ความเจริญสูงสุดของชีวิต ในฐานะชาวพุทธ ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาสิ่งที่ดีเหล่านี้เอาไว้ให้ได้นานที่สุด อย่างน้อยก็ในช่วงชีวิตเราแต่ละคน
Friends' blogs
[Add ebusiness's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.