Group Blog
 
All blogs
 

ฉัตรทำด้วยศิลานับว่าหนักอยู่แล้ว คำบอกกล่าวของเทวดาหนักกว่า

ปาสาณฉตฺต๊ ตโต เทวานจิกฺขณํ
ตโต วุฑฒานโมวาโท ตโต พุทฺธสฺส สาสนํ.

ฉัตรทำด้วยศิลานับว่าหนักอยู่แล้ว คำบอกกล่าวของเทวดาหนักกว่า
คำตักเตือนของผู้ใหญ่หนักกว่านั้น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหนักยิ่งกว่านั้น



บัณฑิตท่านจะแสดงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนักยิ่งกว่าสิ่งใดใดในโลก
จึงแสดงสิ่งที่มีน้ำหนักเป็นลำดับขั้นไปดังนี้
ฉัตรที่ทำด้วยศิลาแท่งเดียวนับว่ามีน้ำหนักมากอยู่แล้ว กำลังของบุคคลคนเดียว
มิอาจจะยกขึ้นตั้งได้ ต้องใช้บุรุษที่แข็งแรงหลายคน จึงสามารถยกขึ้นตั้งไว้ให้ดูเป็นสิ่ง
น่าอัศจรรย์
คำบอกกล่าวถึงลางดีลางร้ายของเทวดา มีน้ำหนักมากกว่าควรใส่ใจ
คำตักเตือนของผู้ใหญ่ในสกุล กุลบุตรกุลธิดาต้องตระหนักอย่างมากไม่ควร
ละเลย เพราะสามารถป้องกันภัยที่จะมาถึงได้ ยิ่งถือว่าหนักยิ่งกว่า
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ให้ละเว้นบาปอกุศล ให้เจริญบุญกุศลและ
ชำระจิตให้พ้นจากกิเลสตัณหา ถือว่ามีน้ำหนักมากกว่าทุกสิ่งในโลก




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2551    
Last Update : 16 ตุลาคม 2551 0:34:16 น.
Counter : 595 Pageviews.  

อะไรหนอเป็นมิตรของคนเดินทาง?

เทวดาทูลถามว่า*
๑. อะไรหนอเป็นมิตรของคนเดินทาง?
๒. อะไรหนอเป็นมิตรในเรือนของตน?
๓. อะไรหนอเป็นมิตรของคนผู้มีประโยชน์เกิดขึ้น?
๔. อะไรหนอเป็นมิตรติดตามตนไปถึงภพหน้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า*
๑. พวกหมู่เกวียนเป็นมิตรของคนเดินทาง
๒. มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
๓. สหายเป็นมิตรของคนผู้มีประโยชน์เกิดขึ้นเนืองๆ
๔. บุญที่ตนเองทำไว้แล้วเป็นมิตรติดตามตนไปถึงภพหน้า
อธิบาย
ข้อ ๑. ชื่อว่าเป็นมิตร เพราะสามารถใช้บริการให้ถึงความปลอดภัยได้
เช่น เมื่อมีโรคเกิดขึ้น (หรือประสบอุบัติเหตุมีผู้ช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลเป็นต้น)
ข้อ ๒. ชื่อว่าเป็นมิตร เพราะเมื่อโรคเกิดขึ้นในบ้านของตน คนทั้งหลาย
ย่อมรังเกียจ แต่มารดาหาได้รังเกียจของไม่สะอาดของบุตร(มีอุจจาระเป็นต้น)ไม่
ย่อมสำคัญราวกะว่าท่อนจันทน์
เพราะฉะนั้น มารดาจึงชื่อว่าเป็นทั้งมิตรเป็นทั้งสหายในเรือนของตน
ข้อ ๓. ชื่อว่าเป็นมิตร เพราะสามารถช่วยเหลือกิจธุระให้สำเร็จลุล่วงไป
ได้ด้วยดี แต่ว่าชนทั้งหลายผู้เป็นสหายในการดื่มน้ำเมามีสุราเป็นต้น ท่านไม่
เรียกว่า เป็นมิตร
ข้อ ๔. ชื่อว่าเป็นมิตร เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลในภพหน้า

* สํ.ส./สํ.ส.อ. ๑๖๒,๑๖๓/๒๗๔(มมร.)




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2551    
Last Update : 16 ตุลาคม 2551 0:32:48 น.
Counter : 590 Pageviews.  

ยามศึกสงครามย่อมต้องการคนกล้าหาญ ยามเดือดร้อนใจย่อมปรึกษา

อุกฺกฏฺเฅ สูรมิจฺฉนฺ มนฺตีสุ อกุตูหลํ
ปิยฃฺจ อนฺนปานมฺหิ อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ. ๑
ยามศึกสงครามย่อมต้องการคนกล้าหาญ ยามเดือดร้อนใจย่อมปรึกษา
ผู้ให้ความสุข ยามบริโภคอาหารย่อมต้องการผู้เป็นที่รัก ยามมีกิจธุระมีปัญหา
ยุ่งยากย่อมต้องการผู้รู้ให้คำแนะนำ

ยามศึกนึกกลั่นแกล้ว โยธา
ยามทุกข์คู่คิดหาช่วยแก้
ยามเสพรสโอชา นึกที่รักแฮ
ยามกอบกิจอรรณแท้ ระลึกปราชญ์ผู้แสวง

ในร้อยคนมีคนร่างกายกำยำแข็งแกร่งหนึ่งคน ในพันคนมีคนกล้าหาญ หนึ่งคน
ในหมื่นคนมีคนรักเราอยู่หนึ่งคน ในแสนคนมีผู้รู้หนึ่งคน
บัณฑิตท่านจึงกล่าวว่ายามเกิดศึกสงคราม ย่อมต้องการผู้กล้าหาญเพื่อออกรบ
แม้ร่างกายจะแข็งแรงกำยำแต่ไม่กล้าหาญก็ไม่อาจชนะข้าศึกได้
ยามมีทุกข์เดือดร้อนใจหรือท้อแท้สิ้นหวัง ย่อมต้องการผู้ปลอบประโลมใจ
ให้ความหวังและกำลังใจอยู่เคียงข้าง ร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ทอดทิ้ง
ยามมีความสุขหรือได้รับประทานอาหารที่อร่อย ย่อมระลึกถึงคนรัก หรือ
มารดาบิดาและผู้มีพระคุณ ต้องการให้ท่านเหล่านั้นได้รับความสุขร่วมกับตน
ยามเกิดปัญหาในชีวิตคิดไม่ออกแก้ไม่ตก ย่อมต้องการผู้รู้ที่สามารถให้คำแนะนำ
วิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อกลับร้ายให้กลายเป็นดี

ขุ. ชา. ๒๘/๙๒/๑๙๙ ๒ สำนวนเก่า




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2551    
Last Update : 16 ตุลาคม 2551 0:28:32 น.
Counter : 911 Pageviews.  

ทุกข์ ๑๒ ประการ


๑. ชาติทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความเกิด
๒. ชราทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความแก่
๓. พฺยาธิทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความเจ็บไข้
๔. มรณทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความตาย
๕. โสกทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความเศร้าโศก
๖. ปริเทวทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความร่ำไรรำพัน
๗. ทุกฺขทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความทนได้ยาก ( มีลักษณะกระทำให้จิต
หดหู่สลดระทดถอนใจใหญ่ ) บางท่านหมายเอา
ความเจ็บกาย
๘. โทมนสฺสทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความน้อยใจ ความเสียใจ
๙. อุปายาสทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความคับแค้นใจ
๑๐. อปฺปิเยหิ สมฺปโยคทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
๑๑. ปิเยหิ วิปฺปโยคทุกฺขํ ทุกข์ คือ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก
๑๒. ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ ทุกข์ คือ การปรารถนาสิ่งใดแล้ว
ไม่ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนา
( จากวิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ปัญญานิเทศ หน้า ๑๑๕ )




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2551    
Last Update : 16 ตุลาคม 2551 0:24:42 น.
Counter : 2840 Pageviews.  

พระศาสดามีพระดำรัสเกี่ยวกับลูกศรกับพระอานนท์เถระว่า.. (อดทน)

“เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อ
ลูกศรที่หลุดจากแล่งในสงครามฉะนั้น, เพราะชนเป็น
อันมากเป็นผู้ทุศีล.
ชนทั้งหลาย ย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่
ที่ประชุม, พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้ว,บุคคล
ผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ ฝึก(ตน)แล้ว เป็นผู้ประเสริฐใน
หมู่มนุษย์ทั้งหลาย,
ม้าอัสดร๑ ม้าสินธพผู้อาชาไนย๑ ช้างใหญ่
ชนิดกุญชร๑ ที่ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ, แต่บุคคล
ที่มีตนฝึกแล้ว ย่อมประเสริฐกว่า(สัตว์พิเศษเหล่านั้นอีก).”

อธิบายศัพท์
ลูกศรหลุดจากแล่ง ได้แก่ ลูกศรที่หลุดออกไปจากธนู
ม้าอัสดร ได้แก่ ม้าที่เกิดจากแม่ม้ากับพ่อลา
ม้าสินธพ ได้แก่ ม้าที่เกิดในแคว้นสินธพซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องม้าดี

ความหมายของคำว่า “ลูกศร” สรนฺติ อเนนาติ สโร แปลว่า
ลูกศรที่ใช้เบียดเบียนกัน ชื่อว่าสร(สะระ)

ไวพจน์ของคำว่า สร (ลูกศร) มีดังนี้
๑. ปตฺตี แปลว่า ลูกศร คือลูกศรที่เหน็บด้วยขนนก
๒. สายก แปลว่า ลูกศร คือลูกศรที่ทำให้เล็ก
๓. วาณ,พาณ แปลว่า ลูกศร คือลูกศรที่ทำธนูให้มีเสียง
๔. กณฺฑ แปลว่า ลูกศร คือลูกศรที่ทำธนูให้มีเสียง
๕. อุสุ แปลว่า ลูกศร คือลูกศรที่พุ่งไปทางอากาศ
๖. ขุรุปฺป แปลว่า ลูกศร คือลูกศรที่ตัด(อวัยวะ)
๗. เตชน แปลว่า ลูกศร คือลูกศรที่เขาเหลาให้แหลม
๘. อสน แปลว่า ลูกศร คือลูกศรที่ถูกยิงออกไป

ชื่อของลูกศรมีอีกมาก เช่น วิสิข,อชิมฺหค, ขค, อาสุค, กลมฺพ, มคฺคณ,
โรป.เป็นต้น (อภิธานวรรณนา)

พระองคุลิมาลเถระอุทานเกี่ยวกับลูกศรอยู่ตอนหนึ่งว่า..
อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารุ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.
(ม.ม.๑๓/๕๓๔/๔๘๗)
แปล.. ชาวนาย่อมทดน้ำ ช่างศรย่อมดัดลูกศร
ช่างถากไม้ย่อมถากไม้ บัณฑิตย่อมฝึกตน.




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2551    
Last Update : 16 ตุลาคม 2551 0:19:36 น.
Counter : 672 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

ebusiness
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







พระพุทธเจ้าทรงมอบสิ่งที่ดีที่สุดไว้ให้แก่มวลมนุษยชาติ สิ่งนั้นคือพระธรรมที่ใช้เป็นกรอบในการดำเนินชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีงาม สู่ความเจริญสูงสุดของชีวิต ในฐานะชาวพุทธ ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาสิ่งที่ดีเหล่านี้เอาไว้ให้ได้นานที่สุด อย่างน้อยก็ในช่วงชีวิตเราแต่ละคน
Friends' blogs
[Add ebusiness's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.