Group Blog
 
All blogs
 

พระปริตรคืออะไร ?

ถามว่า.. พระปริตรคืออะไร ? เหตุเกิดของพระปริตร
เป็นอย่างไร? เพราะเหตุไรจึงควรสวดพระปริตร?
สวดพระปริตรแล้วได้ประโยชน์อย่างไร?

(จากหนังสือพระปริตต์ธรรม โดยพระคันธสาราภิวงศ์)

ตอบว่า..พระปริตร แปลว่า เครื่องคุ้มครองคือป้องกันอันตราย
ภายนอกมีโจร (ผู้ก่อการร้าย) ยักษ์ สัตว์เดรัจฉาน (อุทกภัยเช่นสึนามิ วาตภัย
เช่นพายุเกย์ อัคคีภัยเช่นตึกเวิลด์เทรดถล่ม)เป็นต้น และป้องกันอันตรายภายใน
คือโรคภัยไข้เจ็บ ถูกยาพิษ ประสบอันตรายร้ายแรงแก่ร่างกายเป็นต้น (สรุป
พระปริตรเพื่อป้องกัน อุปัจเฉทกกรรมกรรมตัดรอน)
ผลที่ได้รับจากการสวดพระปริตรนี้ เกิดจากอานุภาพของพระรัตนตรัย และ เมตตา
(สรุปว่า อานุภาพของพระรัตนตรัยเป็นเหตุเกิดของพระปริตรทั้งหลาย) ฉะนั้น ผู้หมั่น
สาธยาย(สวด)พระปริตรจึงได้รับผลานิสงส์ เป็นต้นว่าประสบความสวัสดี (ปราศจากทุกข์ โรค
ภัย) ความเจริญรุ่งเรือง(มงคล) ได้รับชัยชนะ (เหนือสัตว์ร้าย อมนุษย์ร้าย ทั้งหลาย)
แคล้วคลาดจากอุปสรรค อันตราย มีสุขภาพดี มีอายุยืน
การสวดพระปริตรมีอานุภาพป้องกันอุปัจเฉทกกรรม(กรรมที่เข้ามาตัดรอน)
ของผู้สวดและผู้ฟังได้ ซึ่งผู้สวดและผู้ฟังจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑. ผู้สวดพระปริตร
๑.๑. มีเมตตาจิตมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง(ไม่เห็นแก่ลาภ)
๑.๒. สวดถูกอักขรวิธี ไม่มีบทพยัญชนะผิดพลาด
๑.๓. รู้ความหมายของบทสวด
๒. ผู้ฟังพระปริตร
๒.๑ ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ๕* คือฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์
ประทุษร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท(ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน)
๒.๒ ไม่มีความเห็นผิดว่ากรรมไม่มี และผลกรรมไม่มี
๒.๓ เชื่อมั่น(ศรัทธา) ในอานุภาพพระปริตร

*( น่าจะรวมถึงการไม่ประทุษร้ายภิกษุณีด้วย )




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2551    
Last Update : 15 ตุลาคม 2551 23:56:57 น.
Counter : 549 Pageviews.  

บุพพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ

หลังจากที่พระมหาโมคคัลลานะปรินิพพาน
มีการโจษขานกันว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธ์ิมากอย่างนั้น
ทำไม ? จึงถูกพวกโจรทุบตาย เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
เพื่อความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสอดีตกรรมของท่านใน
ท่ามกลางสงฆ์ว่า
สาเหตุที่พระมหาโมคคัลลานะ ถูกพวกโจรทุบตีจนถึงแก่ความตายว่า ในอดีตชาติ
พระมหาโมคคัลลานะนั้น เป็นบุตรชายชาวเมืองพาราณสี เป็นผู้ที่บำรุงเลี้ยงดูพ่อแม่ที่ตาบอด
ฝ่ายพ่อแม่มีความสงสารเห็นใจลูกชาย จึงสู่ขอหญิงสาวคนหนึ่งมาเป็นภรรยา
ฝ่ายภรรยาเลี้ยงดูพ่อแม่สามีอยู่ได้ไม่นานเท่าไหร่ ก็เกิดความรังเกียจคนแก่ที่พิการ
ได้พูดติเตียนพ่อแม่ของสามีอย่างเสีย ๆ หาย ๆ
ฝ่ายสามีไม่เชื่อคำของนาง เมื่อสามีไม่อยู่บ้าน นางจึงออกอุบายโดยทำสิ่งของให้
รกรุงรังทั่วบ้าน สามีกลับมาเห็นเข้าจึงถาม นางก็บอกว่าพ่อแม่ของท่านเป็นคนทำเขาจึงเข้าใจ
ผิดเชื่อคำของนาง จนทำให้เกิดความแตกร้าวกับพ่อแม่ของตัวเอง และรับปากกับภรรยาว่า
จะจัดการกับท่านทั้งสอง
วันหนึ่ง ได้โกหกพ่อแม่ว่าจะพาไปเยี่ยมญาติต่างถิ่น จึงได้พาขึ้นเกวียนเดินทางไป
เมื่อถึงกลางป่าจึงบอกพ่อว่าให้ช่วยถือเชือกบังคับโคแทนตนไว้ และโกหกท่านว่าที่นี่มีโจรดัก
ซุ่มอยู่ ทำทีว่าจะไปสังเกตการณ์ แล้วได้ปลอมตัวเป็นโจร มาทุบตีพ่อแม่จนถึงแก่ความตาย
และทิ้งศพไว้ในป่าแล้วจึงกลับไป
พระมหาโมคคัลลานะทำกรรมนี้แล้ว หลังจากตายแล้วได้ไปตกนรกหลายแสนปี
เพราะเศษวิบากที่เหลืออยู่ เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ จึงถูกทุบตีจนร่างกายเละถึงแก่ความ
ตายถึง ๑๐๐ ชาติ และชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายที่ท่านได้รับวิบากที่สมควรแก่เหตุที่ท่านได้ทำไว้แก่
พ่อแม่ผู้มีพระคุณในชาติก่อน
สรุปความได้ว่า...
เหตุที่พระมหาโมคคัลลานะทำกรรมในอดีตชาติคือ ฆ่าพ่อแม่ด้วยการทุบตีจนถึงแก่
ความตาย ผลของกรรมที่พระมหาโมคคัลลานะได้รับคือ ตกนรก และถูกทุบตีจนร่างกายเละ
ถึง ๑๐๐ ชาติ
จะเห็นได้ว่า กรรมที่พระมหาโมคคัลลานะกระทำนั้นเป็นกรรมหนักเรียกว่าครุกรรม
ดังนั้น การฆ่ามารดาบิดาผู้บังเกิดเกล้าเป็นกรรมหนักที่สุด จัดเป็นอนันตริยกรรมด้วย ตัด
ทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน ในชาติที่ทำกรรมนี้ ถ้าผู้ใดทำกรรมนี้แล้ว จะต้องไปเกิดในทุคติ
ภูมิอย่างแน่นอน ท่านทั้งหลายจึงควรกลัวทุกข์โทษ ที่จะเกิดขึ้นจากการทำอกุศลกรรมเช่นนี้ไว้
เพราะกฎแห่งกรรมเป็นธรรมชาติ ที่เที่ยงแท้แน่นอน ตามเหตุตามปัจจัยที่ทำ ซึ่งเป็นไป
ตามวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก หมุนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่รู้จักจบสิ้น.

บุคคลที่ทำร้ายผู้บริสุทธ์ิ ย่อมได้รับผลกรรม ๑๐ ประการ คือ
๑. ได้รับทุกข์กายและทุกข์ใจอย่างแสนสาหัส ๒. ทรัพย์สมบัติย่อมฉิบหาย
๓. จะต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วน ๔. ป่วยอย่างหนัก
๕. เป็นบ้า ๖. ถูกถอดยศ ปลดตำแหน่ง
๗. ถูกใส่ร้าย ๘. ไร้ญาติขาดมิตร
๙. ไฟไหม้บ้าน ๑๐. ตกนรก
(ขุ.ธ.๒๕/๔๑/๑๓๗-๑๔๐).

ผู้หว่านพืชเช่นใดได้เช่นนั้น เป็นแม่นมั่นเหมือนว่าอุทาหรณ์
ทำกรรมดีมีมาเป็นอากร สุขสะท้อนตามกรรมที่ทำดี
ถ้าทำชั่วได้ชั่วทั่วทั้งสิ้น แม้องค์อินทร์ทรงฤทธ์ิอย่าคิดหนี
หลีกไม่พ้นบาปชั่วที่ตัวมี ทำความดีจึงสุขสนุกใจ.




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2551    
Last Update : 15 ตุลาคม 2551 23:52:47 น.
Counter : 846 Pageviews.  

มาส (เดือน) ความหมายของคำว่า “เดือน”

เต ทุเว สุกฺกกาฬปกฺข สมุทิตา มาโส นาม.
รวมสุกกปักษ์(ข้างขึ้น) กาฬปักษ์(ข้างแรม)ทั้ง ๒ นั้นเข้าด้วยกันเป็น ๑ เดือน
สตฺตานํ อายุ มณนฺโต วิย สียติ อนฺตํ กโรติ มาโส
เวลาที่ทำให้สิ้นสุดเหมือนนับอายุของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า เดือน
เดือน ๑๒ เดือน
๑. มาคสิระ เดือนอ้าย, เดือน๑ (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอย
เด่นคู่กับดาวมคสิระ หรือเรียกว่าดาวหัวเนื้อ กลุ่มดาว
ที่มีรูปทรงเหมือนหัวเนื้อกวาง)
๒. ปุสสะ เดือนยี่, เดือน๒ (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่น
คู่กับดาวปุสสะ หรือเรียกว่าดาวปุยฝ้าย,ดาวดอกบัว
กลุ่มดาวที่เอื้อเฟื้อการกระทำ หรือเป็นฤกษ์ให้กระทำ)
๓. มาฆะ เดือน๓, เดือนมาฆะ (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอย
เด่นคู่กับดาวมฆา หรือเรียกว่าดาววานร,ดาวงอนไถ
กลุ่มดาวที่ผู้ปรารถนาผลสำเร็จพากันบูชา)
๔. ผัคคุนะ เดือน๔, เดือนผัคคุนะ (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอย
เด่นคู่กับดาวผัคคุนี หรือเรียกว่าดาวเพดาน
๕. จิตตะ เดือน๕, เดือนจิตตะ (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอย
เด่นคู่กับดาวจิตตาหรือเรียกว่าดาวตาจระเข้, ดาวที่ให้ผล
วิจิตร เหมือนผลงานช่างแกะสลัก)
๖. วิสาขะ เดือน๖, เดือนวิสาขะ (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอย
เด่นคู่กับดาววิสาขา, หรือเรียกว่าดาวคันฉัตร กลุ่มดาว-
ที่มีบริวารมาก)
๗. เชฏฐะ เดือน๗, เดือนเชฏฐะ (เดือนที่ประกอบด้วยดาวเชฏฐา
หรือเรียกว่าดาวช้างใหญ่,ดาวคอนาค กลุ่มดาวที่เจริญ
ด้วยคุณกว่าดาวทั้งปวง)
๘. อาสาฬหะ เดือน๘, เดือนอาสาฬหะ (เดือนที่ดวงจันทร์เต็มดวง
ลอยคู่กับดาวอาสาฬหะ หรือเรียกว่าดาวฉัตรทับช้าง)
๙. สาวณะ เดือน๙, เดือนสาวณะ, (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง
ลอยเด่นคู่กับดาวสวณะ หรือเรียกว่าดาวหลักชัย)
๑๐. ภัททะ เดือน๑๐, เดือนภัททา (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวงลอย
เด่นคู่กับดาวภัททปทะ กลุ่มดาวที่เหมือนเท้าโค)
๑๑. อัสสยุชะ เดือน๑๑, เดือนอัสสยุชะ, (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง
ลอยเด่นคู่กับดาวอัสสยุชะ หรือเรียกว่าดาวม้า กลุ่มดาว
ที่รวมกันเป็นรูปเหมือนม้า)
๑๒. กัตติกะ เดือน๑๒, เดือนกัตติกา, (เดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง
ลอยเด่นคู่กับดาวกัตติกา หรือเรียกว่าดาวลูกไก่ เป็น
กลุ่มดาวที่มีแสงระยิบระยับเหมือนไฟกระพริบ)
บุคคลที่มีอยู่ในโลก(เหมือนข้างขึ้นข้างแรม) ๔ จำพวก๒
๑. บุคคลมืดมามืดไป (ตโมตมปรายนะ) คือเกิดมาในสถานะไม่ดี แล้วยัง
ประพฤติตัวไม่ดีซ้ำอีก เมื่อตายก็ไปสู่ที่ไม่ดีต่อไป
๒. บุคคลมืดมาสว่างไป (ตโมโชติปรายนะ) คือเกิดมาในสถานะไม่ดี แต่ว่า
ประพฤติตัวดี เมื่อตายก็ไปสู่ที่ดีต่อไป
๓. บุคคลสว่างมาแต่มืดไป (โชติตมปรายนะ) คือเกิดมาในสถานะที่ดีพร้อม แต่ว่า
ประพฤติตัวไม่ดี เมื่อตายไปก็ไปสู่ที่ไม่ดีต่อไป
๔. บุคคลสว่างมาสว่างไป (โชติโชติปรายนะ) คือเกิดมาในสถานะที่ดี แต่ว่ายัง
ประพฤติดีต่อ เมื่อตายก็ไปสู่ที่ดีต่อไป ๑. อภิธานวรรณนา ๗๕/๑๙๙
๒. อภิ.๑๒๙/๓๖๖ มมร.




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2551    
Last Update : 15 ตุลาคม 2551 23:51:19 น.
Counter : 585 Pageviews.  

บัณฑิตเมื่อเห็นภัยตั้งแต่ยังมาไม่ถึง ย่อมหาทางหลบหลีกเสียแต่เนิ่น ๆ เมื่อเห็นภัยมาถึงแล้ว ก็ไม่ครั่น

อ.สมปอง มุทิโต/เรียบเรียง

บัณฑิตเมื่อเห็นภัยตั้งแต่ยังมาไม่ถึง ย่อมหาทางหลบหลีกเสียแต่
เนิ่น ๆ เมื่อเห็นภัยมาถึงแล้ว ก็ไม่ครั่นคร้าม

เห็นภัยใหญ่แต่ช้า จักถึง ตนแฮ
ปราชญ์ย่อมผ่อนผันพึง หลบลี้
ภัยใดด่วนโดนตรึง ตราติด ตัวนา
ใจปราชญ์ปราศแสยงชี้ เช่นหล้าแลไศล


“ กันดีกว่าแก้ ” สำนวนนี้ยังเป็นอมตะการรู้จักป้องกันปัญหาข้อผิด
พลาดตั้งแต่เนิ่น ๆ ย่อมเป็นผลดี เพราะพลั้งพลาดไปแล้วจะแก้ไขลำบาก
บัณฑิตทั้งหลาย มีความรอบรู้ หมั่นสังเกตสภาวะทางธรรมชาติบ้าง
สังเกตผู้คนบ้าง สังเกตสัตว์เลี้ยง หรือความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบ้าง
เมื่อเห็นว่าจะมีภัย หรือเห็นภัยจะมาถึง ก็หาทางป้องกันไว้แต่เนิ่น ๆ เมื่อเห็น
ว่าไม่มีทางจะป้องกันได้ ก็หาทางหลีกเลี่ยงตั้งแต่ภัยนั้นยังมาไม่ถึง
แต่เมื่อภัยมาถึงเข้า หาวิธีป้องกันแก้ไขไม่ได้ หรือหลบหนีไม่ทันก็ไม่
ตระหนกตกใจ ไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม มีความหนักแน่น ตั้งสติให้มั่น
ค่อยคิดหาวิธีแก้ไข หาวิธีผ่อนหนักให้เป็นเบา ค่อย ๆ สะสางไปทีละน้อย
ไม่ปล่อยปละละเลยให้ลุกลาม เมื่อทำได้อย่างนี้ เรื่องร้ายก็จะกลายเป็นดี
ปัญหาที่ได้รับการแก้ไข ก็จะเข้าสู่ภาวะปรกติโดยไม่ยากนัก




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2551    
Last Update : 15 ตุลาคม 2551 23:49:32 น.
Counter : 351 Pageviews.  

โอวาทปาติโมกขคาถา

“ ขันติ คือ ความอดกลั้นเป็นธรรมแผดเผาบาปอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสพระนิพพานว่า เป็นธรรมยอดเยี่ยม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าสมณะ
การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การทำความดีให้บริบูรณ์
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี่เป็นคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น การไม่ทำร้ายผู้อื่น
ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะอันสงัด การประกอบการขวนขวายในอธิจิต
นี้เป็นคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.”

วิ.อ. ๑/๒๑๔ สารตฺถ.ฎีกา ๒/๓๖๐




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2551    
Last Update : 15 ตุลาคม 2551 23:46:56 น.
Counter : 315 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

ebusiness
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







พระพุทธเจ้าทรงมอบสิ่งที่ดีที่สุดไว้ให้แก่มวลมนุษยชาติ สิ่งนั้นคือพระธรรมที่ใช้เป็นกรอบในการดำเนินชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีงาม สู่ความเจริญสูงสุดของชีวิต ในฐานะชาวพุทธ ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาสิ่งที่ดีเหล่านี้เอาไว้ให้ได้นานที่สุด อย่างน้อยก็ในช่วงชีวิตเราแต่ละคน
Friends' blogs
[Add ebusiness's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.