กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2567
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
1 มิถุนายน 2567
space
space
space

ก) การกราบไหว้ตามแก่อ่อนพรรษา


235 ตัวอย่างหลักปฏิบัติที่มุ่งเพื่อเชิดชูธรรมความดีงาม และประโยชน์สุขของสังฆะ และสังคม

 
) การกราบไหว้ตามแก่อ่อนพรรษา
 
     ในวงพุทธบริษัท  เป็นที่ทราบกันดีว่า  คฤหัสถ์กราบไหว้แสดงความเคารพแก่พระภิกษุ  ส่วนในหมู่พระภิกษุ  ก็แสดงความเคารพกันตามลำดับความแก่แก่อ่อนโดยพรรษา   หรือตามลำดับอายุสมาชิกภาพในหมู่สงฆ์  พระภิกษุที่อ่อนพรรษากว่า  จึงกราบไหว้พระภิกษุที่แก่พรรษาว่า (การเคารพตามอายุสมาชิกภาพ)
 
     การแสดงความเคารพกันตามความหมายของพระพุทธศาสนาอย่างนี้   มิใช่เป็นเรื่องแสดงความสูงต่ำ  ไม่ว่าจะในด้านเกียรติยศ  อำนาจภายนอก หรือคุณธรรมภายในก็ตาม
 
     ด้านภายนอก  มองเห็นง่ายอยู่แล้ว  ว่าเฉพาะด้านคุณธรรมภายใน  คฤหัสถ์  แม้เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงเพียงใด  ก็กราบไหว้พระภิกษุที่ยังเป็นปุถุชน  ส่วนในหมู่พระสงฆ์  พระภิกษุผู้เป็นอริยบุคคลสูงสุด  คือเป็นพระอรหันต์  แต่อ่อนพรรษากว่า  ก็แสดงความเคารพแก่ภิกษุปุถุชนผู้แก่พรรษากว่า  ที่เป็นเช่นนั้นเพราะระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการแสดงความเคารพหรือกราบไหว้กันอย่างนี้   มีไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ความดีงามและความอยู่ร่วมกันผาสุกของสงฆ์หรือสังคม
 
     ความเรียบร้อยดีงามของสงฆ์   หรือการอยู่ร่วมกันผาสุกของสังคมนั้น  รวมอยู่ในคำว่าธรรม  หรือเป็นธรรมอย่างหนึ่ง  ผู้ที่ปฏิบัติตามระเบียบหรือธรรมเนียมการแสดงความเคารพเช่นนั้น  ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยดีงามของสงฆ์  หรือพูดสั้นๆว่า ปฏิบัติเพื่อเชิดชูธรรม  ซึ่งเท่ากับว่าปฏิบัติด้วยความเคารพธรรมนั่นเอง  และการทำความเคารพโดยมีความเข้าใจเช่นนั้น   ย่อมเป็นการบำเพ็ญความดีของผู้ที่แสดงความเคารพนั้นเองด้วย  คือเป็นความดีของผู้เคารพเองที่ได้กระทำเช่นนั้น
 
     พระอริยบุคคลทั้งหลาย  โดยเฉพาะพระอรหันต์  ไม่มีความยึดติดถือมั่นในเรื่องตัวตน   ที่จะเป็นเหตุให้ถือเอาการกราบไหว้มาเป็นเครื่องวัดว่าสูงต่ำกว่าใคร   หรือเป็นเครื่องสำหรับยกย่องถือตัว  ท่านจึงปฏิบัติไปตามหลักที่วางไว้โดยชอบ  ตั้งจิตมุ่งเพื่อความเรียบร้อยดีงามของสงฆ์  หรือของสังคม   เพื่อเชิดชูธรรม  เพื่อเคารพธรรม  เคารพวินัย  ตลอดจนเพื่ออนุเคราะห์บุคคลที่ท่านกราบไหว้นั้นเอง  หากผู้นั้นด้อยภูมิธรรม  แต่ยังมีคุณความดีอยู่  ก็จะได้เครื่องเตือนสติตน  ให้สังวรระวัง   พยายามประพฤติปฏิบัติให้ดีงาม  และเร่งขวนขวายฝึกอบรมตนให้บรรลุภูมิธรรมที่สูงขึ้นไป
 
     หากพระอริยบุคคลจะงดเว้น  ไม่กราบไหว้  ไม่แสดงความเคารพใคร  ในกรณีใดกรณีหนึ่ง  ท่านก็จะกระทำด้วยเหตุผลที่มุ่งเพื่อประโยชน์แก่คนผู้นั้นในแง่ในแง่ใดแง่หนึ่ง  หรือเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมบางอย่าง  แต่มิใช่เพราะกิเลสเนื่องด้วยความยึดถือตัวตน
 

     ส่วนพระอริยบุคคลที่เป็นคฤหัสถ์  ย่อมกราบไหว้แสดงความเคารพแก่พระภิกษุแม้ที่เป็นปุถุชนด้วยเหตุผลเกี่ยวกับธรรม  หรือเพื่อเชิดชูธรรม   ซึ่งพอสรุปได้  ดังนี้ 
 
       ก. พระภิกษุสละวิถีชีวิตอย่างชาวบ้าน  ซึ่งแสวงหาความสุขสำราญปรนเปรอด้วยกามสุขต่างๆ ยอมสมัครใจออกมามีความเป็นอยู่ที่ขาดความพรั่งพร้อมสะดวกสบาย  ถือข้อปฏิบัติ  ฝึกหัดขัดเกลาตนเองต่างๆ และรักษาวินัยซึ่งเป็นของยากที่ปุถุชนจะประพฤติตามได้   แม้แต่ตนซึ่งเป็นอริยบุคคลก็ยังไม่ต้องปฏิบัติงดเว้นเข้มงวดถึงอย่างนั้น  นับว่าเป็นผู้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก
 
      ข. พระภิกษุเป็นผู้ดำรงฐานะและภาวะของท่าน    ที่ชาวพุทธตกลงหรือยอมรับกันไว้ว่า  เป็นผู้มุ่งหน้าไปแล้วในมรรคาแห่งการปฏิบัติฝึกอบรมตน  และประพฤติเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก  นับเป็นภาวะและฐานะที่ควรเคารพยกย่อง
 
      ค. พระภิกษุเป็นผู้ร่วมอยู่ในสงฆ์  คือ  เป็นสมาชิกแห่งชุมชนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับธรรมโดยตรง  เป็นผู้ชุมนุมผู้มีคุณธรรมหรือประพฤติปฏิบัติความดีไว้ได้มากที่สุด   เป็นสมาคมของคนที่โดยมากมีคุณธรรม   เป็นสัญลักษณ์ของธรรมหรือการดำรงอยู่แห่งธรรม  ภิกษุแต่ละรูปย่อมเป็นตัวแทนแห่งสงฆ์นั้น  เมื่อกราบไหว้ภิกษุนั้นๆ  ในฐานะที่เป็นภิกษุรูปหนึ่ง  (ไม่ใช่ในฐานะพระชื่อ ก.พระชื่อ ข.)   ก็คือเคารพกราบไหว้ให้เกียรติแก่สงฆ์  และเป็นการเคารพเชิดชูธรรมด้วย
 
      ง. พระภิกษุเป็นตัวแทนของสงฆ์ดังกล่าวแล้ว  และภิกษุสงฆ์นั้นย่อมเป็นพุทธบริษัทส่วนที่ทำกิจแห่งการศึกษา  ปฏิบัติ   และสั่งสอนเผยแผ่ธรรมได้ดีที่สุด   เหมาะที่สุด  จึงเป็นชุมชนที่ดำรงรักษาธรรมวินัย  คือหลักธรรมคำสอนและระเบียบแบบแผนของพุทธศาสนาไว้ได้  อย่างที่เรียกว่า  สืบต่อศาสนาและอย่างที่บางทีเรียกภิกษุว่าเป็นศาสนทายาท  การเคารพกราบไหว้ให้เกียรติแก่พระภิกษุในฐานะตัวแทนของสงฆ์  มีความหมายเท่ากับเป็นการเชิดชูสงฆ์ไว้ให้ดำรงอยู่เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก
 
      จ. อย่างน้อยที่สุด   คฤหัสถ์ย่อมเคารพกราบไหว้พระภิกษุ  ด้วยเมตตาจิตต่อพระภิกษุนั้น คือ ปรารถนาดี หวังประโยชน์สุข  ความเจริญงอกงามในธรรมบทแก่ท่าน  โดยฐานเป็นเครื่องช่วยให้ท่านหมั่นระลึกและคอยสำนึกอยู่เสมอ  ถึงฐานะ   ภาวะ  และหน้าที่ของตน  ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามให้สมควร*
 
     ดังนั้น   พระภิกษุสามเณร  ถึงจะเป็นปุถุชน  แต่เมื่อเป็นผู้เพียรพยายามฝึกตน  ก็สมควรแก่อัญชลีของคฤหัสถ์แม้ที่เป็นอริยบุคคล  พูดอีกนัยหนึ่งว่า  ภิกษุสามเณรรูปใด   เมื่อชาวบ้านกราบไหว้   ยังคอยเกิดสำนึกที่จะสำรวจตนว่าเป็นผู้มีคุณความดีสมควรแก่อัญชลีกรรมของเขาหรือไม่  ภิกษุสามเณรนั้นก็ยังน่าไหว้
 
     อนึ่ง   การแสดงความเคารพกันตามความแก่อ่อนโดยพรรษาของพระภิกษุทั้งหลายนั้น   เป็นเรื่องต่างหากจากการดำเนินกิจการของสงฆ์ ที่เรียกว่า สังฆกรรมเพราะสังฆกรรมสำเร็จด้วยมติของสงฆ์   ซึ่งพระภิกษุผู้เฉียบแหลม  สามารถ  เป็นผู้ดำเนินการประชุม  ส่วนภิกษุที่จะเป็นประมุขหรือเป็นหัวหน้า   ก็เป็นเรื่องของภิกษุทั้งหลายพร้อมกันเคารพนับถือ   โดยกำหนดเอาภิกษุผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม  ที่เรียกว่า  ปสาทนียธรรม  (ธรรมเป็นทั้งตั้งแห่งความเลื่อมใส)*  ซึ่งตามปกติ   ภิกษุผู้บวชนานมีประสบการณ์มาก   ย่อมควรที่จะมีโอกาสได้รับฐานะนี้มากกว่าภิกษุผู้บวชภายหลัง  เพราะได้มีเวลาที่จะศึกษาปฏิบัติฝึกปรือตนมานานกว่า  แต่ข้อนี้ไม่เป็นตัวตัดสิน


133......................


* แม้ในกรณีที่จะไม่ไหว้ ไม่แสดงความเคารพ ก็เพราะมีเมตตาจิต ได้พิจารณาเห็นแล้วว่า การทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ภิกษุนั้น  (แต่พึงสังเกตว่า ถ้าจะถือตามคติของภิกษุสงฆ์ เช่นในกรณีลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ - วินย. ๗/๖๒๔/๓๘๙ หรือของภิกษุณีสงฆ์ ในกรณีประกาศไม่ไหว้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง วินย. ๗/๕๓๔/๓๓๖ การกระทำเช่นนี้ควรให้เป็นไปโดยมติร่วมกันของชุมชน)แม้ในกรณีที่จะไม่ไหว้ ไม่แสดงความเคารพ ก็เพราะมีเมตตาจิต ได้พิจารณาเห็นแล้วว่า การทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ภิกษุนั้น (แต่พึงสังเกตว่า ถ้าจะถือตามคติของภิกษุสงฆ์ เช่นในกรณีลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ - วินย. ๗/๖๒๔/๓๘๙ หรือของภิกษุณีสงฆ์ ในกรณีประกาศไม่ไหว้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง วินย. ๗/๕๓๔/๓๓๖ การกระทำเช่นนี้ควรให้เป็นไปโดยมติร่วมกันของชุมชน)


* ภิกษุผู้เฉียบแหลมสามารถ  (พฺยตฺต ปฏิพล)  เป็นผู้ประกาศเรื่องให้สงฆ์ทราบ ตั้งญัตติ ขอมติ และประกาศมติสงฆ์  ได้แก่  ตำแหน่งที่เรียกว่า  ผู้สวดกรรมวาจา (เช่นที่เรียกในการอุปสมบทว่า กรรมวาจาจารย์ หรือคู่สวด)   แต่ในสมัยปัจจุบัน   คนทั่วไปอาจไม่ค่อยทราบความหมายและความสำคัญของตำแหน่งนี้  เพราะสังฆกรรมสืบทอดมาโดยเน้นในรูปของพิธีกรรมตามประเพณี  (สังฆกรรมต่างๆ  เช่น  อุปสมบท = วินย. ๔/๘๖/๑๐๔; อุโบสถ = ๔/๑๔๙/๒๐๓; กำหนดสีมา = ๔/๑๕๔/๒๐๙;  ปวารณา = ๔/๒๒๖/๓๑๓;  กฐิน = ๕/๙๖/๑๓๖;  แต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่ต่างๆ  เช่น  ๕/๑๔๑-๑๔๖/๑๙๕-๑๙๙;  การลงโทษ  เช่น  ๖/๓/๔; ๖/๔๔/๑๙;  การระงับอธิกรณ์ เช่น ๖/๖๑๑/๓๒๔;  สังคายนา = ๗/๖๑๕/๓๘๑; ฯลฯ)


* ม.อุ. ๑๔/๑๑๓/๙๔; และพึงดู อุรุเวลสูตร ใน องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๒/๒๘ ด้วย (อย่างไรก็ดี ระบบการบริหารของสงฆ์เช่นนี้  ย่อมต้องอาศัยระบบการฝึกฝนอบรมเบื้องต้นที่เป็นเหตุก่อน   (การฝึกหัดขัดเกลาที่เริ่มแต่บวช)   ในสมัยใด   ระบบการศึกษาอบรมที่เป็นเหตุนั้นบกพร่องหรือขาดหาย  ระบบปกครองสงฆ์พุทธแบบเดิมนี้  ก็ไม่อาจดำเนินไป  กลายเป็นต้องอาศัยระบบอื่นเข้ามาแทน ทั้งนี้เพราะระบบสงฆ์แท้  อาศัยรากฐาน คือมีมวลภิกษุสมาชิกซึ่งมีการศึกษา (ที่แท้) เป็นผู้ขัดเกลาดีแล้ว  นอกจากนั้น มีข้อน่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ในบางสมัยที่ระบบนี้เลือนรางไปแล้ว  เมื่อรู้ตัวคิดจะรื้อฟื้นขึ้นใหม่  บางทีก็มุ่งแต่เรียกร้องเอาผล  โดยมิได้คำนึงที่จะทำเหตุ)

 


Create Date : 01 มิถุนายน 2567
Last Update : 1 มิถุนายน 2567 10:23:02 น. 0 comments
Counter : 268 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณดอยสะเก็ด, คุณnewyorknurse


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space