Group Blog
All Blog
|
ร่องรอยนักเรียนนอกแบบฝรั่งรุ่นแรกของสยาม นักเรียนนอกรุ่นแรกของสยาม ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกนั้น โดยทั่วไปเราจะนึกถึงอันโตนิโอ ปินโต ลูกครึ่งโปรตุเกส และกลุ่มนักเรียนทุนของพระนารายณ์ที่ไปฝรั่งเศสเมื่อ 300 ปีก่อน ไม่รู้ว่ามีเก่ากว่านี้ไหม
. . แต่จากบันทึกของนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ธรรมทูตแห่งเอเชีย ท่านได้กล่าวถึงพระภิกษุ (Bonze) (คำๆนี้หมายถึงพระในศาสนาพุทธ เป็นคำโปรตุเกส มีที่มาจากภาษาจีน ก็มาจากคำว่าภิกษุนั่นเอง) ที่มาเรียนในวิทยาลัยเซนต์ปอลของท่าน ที่ก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2085 (รัชกาลพระไชยราชา) ที่เมืองกัว ประเทศอินเดีย ซึ่งทุกวันนี้เหลือแต่ซาก ที่สำคัญคือ ท่านกล่าวว่าพระภิกษุเหล่านี้มาจากเปกู (หงสาวดี) และสยาม
ที่นี่มีภาษาที่ใช้พูดกัน 12 หรือ 13 ภาษา นอกจากภาษาถิ่นอินเดียจากทุกภูมิภาค ยังมีชาวแอฟริกา ชาวมาเลย์ ชาวจีน ผู้คนจากหมู่เกาะโมลุกกะ พระภิกษุหลายรูป (Bonzes) จากหงสาวดีหรือสยาม มีนักศึกษาหนุ่ม ๆ จากเอธิโอเปียหลายคน เมื่อปีที่แล้ว มีพระสังฆราชชาวอบิสซีเนียองค์หนึ่ง เพิ่งถึงแก่มรณภาพที่นี่ เรายังมีผู้ลี้ภัยจากศรีลังกาที่มาเรียนคำสอนที่นี่หลายคน มีราชทูตลังกา จากกรุงศิริวัฒนปุระ (แคนดี้) มาพำนักอยู่ และยังมีชาวญี่ปุ่นอีก 3 คนด้วย . . ![]() ซากวิทยาลัยเซนต์ปอล ที่เมืองกัว อินเดีย (ที่มา : https://www.gettyimages.com/detail/photo/catholic-community-ruined-gateway-of-jesuit-high-res-stock-photography/521393674) เราไม่ทราบว่าพระภิกษุเหล่านั้นไปทำอะไรในวิทยาลัยคริสตัง อาจจะไปเรียนศาสนศึกษารุ่นแรก ๆ ก็ได้มั้ง เพราะขนบของสยามโบราณ นักศึกษาที่จะออกไปเรียนต่างประเทศได้ ก็มีแต่พระภิกษุเท่านั้น (เช่นไปเมืองมอญ ไปศรีลังกา)
และถ้าหากบันทึกของท่านเป็นจริง สยามก็มีนักเรียนนอก (แบบตะวันตก) รุ่นแรก ๆ เมื่อเกือบ 500 ปีก่อนทีเดียว (อ้างอิงจากบันทึกของนักบุญฟรังซิส https://archive.org/stream/lifeofstfrancisx00stewrich#page/264/mode/2up/search/30%2C000) น่าสนใจตรงที่ท่านไปเรียนเกี่ยวกับอะไร และได้นำมาใช้ประโยชน์อะไรในประเทศไทยสมัยนั้นบ้าง
![]() โดย: เพรางาย
![]() อาจจะไปเรียนศาสนาเปรียบเทียบก็ได้นะครับ
โดย: ปลาทองสยองเมือง
![]() |
ปลาทองสยองเมือง
![]() ![]() ![]() ![]() ![]()
Friends Blog
Link |