bloggang.com mainmenu search
ที่มา : //www.elib-online.com/doctors46/food_vitamin005.html

ถึงแม้จะไม่มียาวิเศษใดรักษามะเร็งได้ในวันนี้ แต่การควบคุมอาหาร และบริโภคอาหารที่มีสัดส่วนทางโภชนาการที่เหมาะสมอาจช่วยได้
หลายฝ่ายในวงการแพทย์เชื่อว่า การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะต้นๆ ซึ่งหากได้รับโภชนาการที่ดีในระยะนี้ จะสามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ก็ต้องเข้าใจว่า การใช้โภชนาการเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรักษาโรคได้เช่นกัน
แม้วันนี้จะยังไม่มีผลการวิจัยใดที่สามารถระบุได้ว่า การควบคุมอาหารตามหลักโภชนาการ สามารถลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้อย่างไร แต่ก็มีวิตามินและแร่ธาตุบางตัวที่มีแนวโน้มว่าเป็นตัวต้านมะเร็งได้

วิตามินและแร่ธาตุที่เชื่อกันว่าช่วยต้านมะเร็งได้
แคลเซียม (วันละ 500 มก. ในรายที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี และ 1,000 มก. ในรายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี)
: ผลการวิจัยจากกลุ่มทดลอง พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคลเซียม 1,200 มก. เป็นประจำทุกวัน ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลงร้อยละ 20 ซึ่งขณะนี้กำลังมีการวิจัยเพิ่มเติมว่า ผลที่ได้นี้เกิดจากการรับประทานแคลเซียมร่วมกับสารต้านมะเร็งอื่นๆ หรือไม่

วิตามิน D (400 IU)
: จากผลการของ NIH สหรัฐ ซึ่งทำการศึกษามะเร็งเต้านม โดยแบ่งให้กลุ่มหนึ่งได้รับวิตามิน D เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ พบว่าเซลล์กลายพันธุ์กลุ่มหนึ่งกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมได้ และไม่แสดงผลเหมือนเซลล์มะเร็งอีก ในการทดลองกับเซลล์มะเร็งบริเวณอื่นก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ปัจจุบันการทดลองนี้กำลังจะขยายผลต่อไป หลังจากการทดลองในสัตว์ประสบผลแล้ว

กรดโฟลิค (400 ไมโครกรัม)
: โฟเลทเป็นสารอาหาร ที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเซลล์มะเร็ง หากร่างกายมีปริมาณโฟเลทไม่เพียงพอก็จะทำให้เซลล์อ่อนแอ ไม่สามารถซ่อมแซมและปกป้องร่างกายได้ แพทย์บางท่านเชื่อว่า โฟเลทในปริมาณ 400-800 ไมโครกรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ขณะที่บางท่านแนะนำให้รับประทานร่วมกับวิตามิน B12 1,000 มก.ทุกวัน หากผู้นั้นมีประวัติญาติพี่น้องเป็นมะเร็ง โดยจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ทำกับกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงจำนวน 88,000 ราย พบว่าในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งและได้รับโฟเลทจากอาหารที่ทานเข้าไป จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ เปรียบเทียบกับหญิงที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นมะเร็งแต่ขาดแคลนโฟเลท กลับมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 19

เซเลเนียม (200 ไมโครกรัม)
: มีรายงานการวิจัยหลายชิ้นระบุว่า เมื่อร่างกายมีปริมาณเซเลเนียมลดลง อัตราความเจ็บป่วยจากมะเร็งก็จะเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นหากร่างกายได้รับเซเลเนียมในปริมาณที่มากพอ ก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้
ขณะนี้มีรายงานจำนวน 6 ชิ้นที่ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของเซเลเนียมกับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ในประเด็นของการป้องกันและการยับยั้งการกระจายตัวของโรค การศึกษาชิ้นหนึ่ง พบว่าชายที่รับประทานเซเลเนียมวันละ 200 ไมโครกรัมทุกวันเป็นเวลา 10 ปี จะลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึงร้อยละ 63

วิตามิน C 500 มก. (แพทย์อาจแนะนำให้เพิ่มวิตามิน C ตั้งแต่ 50-5,000 มก.ต่อวัน หรือมากกว่านั้น แต่ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ปริมาณ 250-1,000 มก.)
: วิตามิน C ช่วยในการทำลายอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดความผิดปกติของเซลล์ร่างกาย ที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
วิตามิน C ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และเสริมการทำงานของวิตามิน E ซึ่งเป็นวิตามินอีกชนิดหนึ่งที่มีผลในการต้านทานมะเร็ง จึงควรรับประทานวิตามินทั้งสองชนิดเพื่อช่วยเสริมกัน

วิตามิน E (100-400 มก.)
: วิตามิน E มีคุณสมบัติในการเสริมสร้างผนังเซลล์ให้แข็งแรง ป้องกันเซลล์จากปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย ที่จะทำลายเซลล์และส่งผลให้เกิดมะเร็งตามมา และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้เข้าต่อกรกับเซลล์ร้ายอย่างมะเร็งได้ดี
จากผลการวิจัยพบว่า วิตามิน E ป้องกันและต้านทานมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านมได้ หลายๆ นักวิจัยหลายๆ คน เชื่อมั่นว่า จากผลการวิจัยของวิตามิน E ที่ได้มา จะเป็นกุญแจสำคัญของการค้นพบกุญแจในการต้านมะเร็ง

ข้อควรระวัง :
- ก่อนการรับประทานโฟลิค ในปริมาณที่มากกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะโฟลิคในปริมาณที่สูงเกินไป จะก่อให้เกิดภาวะร่างกายขาดวิตามิน B12 และทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอย่างร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
- กรณีที่คุณกำลังได้รับเคมีบำบัดด้วยยาชื่อ methotrexate ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานโฟเลท
- การเสริมเซเลเนียม ที่มีปริมาณมากกว่า 100 ไมโครกรัม ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
- การเริ่มรับประทานวิตามิน C ควรเริ่มในปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการเริ่มด้วยปริมาณที่มาก อาจทำให้บางคนท้องเสียได้
- หากยังอยู่ในโปรแกรมการเคมีบำบัด ห้ามรับประทานวิตามิน C เพราะอาจมีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการรักษาแบบนี้ กับวิตามิน C
- หากคุณกำลังรับประทานยาลดความดันโลหิต หรือแอสไพริน ปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานวิตามิน C เสริม
Create Date :25 ธันวาคม 2550 Last Update :25 ธันวาคม 2550 16:20:58 น. Counter : Pageviews. Comments :0