bloggang.com mainmenu search
ได้รับคำแนะนำเรื่องสมุนไพรฮว่านง็อกจากผู้ที่ใช้นามแฝงว่า สาวน้อยคอยเธอ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=patninaa ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ครับ

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โทร..0-4356-1067 (//roiet.doae.go.th/chaturaphakphiman/SRIKORT.HTM)


สมุนไพรฮว่านง๊อก ถือกำเนิดในประเทศเวียนาม ผู้นำเข้ามาใช้ เป็นกลุ่มทหารผ่านศึกสมัยสงครามเวียดนาม กระถางแรกมีราคาสูงถึง 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาท) นำมากินใบสดๆ แก้โรคต่างๆ มากมาย และเห็นผลเร็ว รู้จักกันในรุ่นทหารผ่านศึกรุ่นนั้นรุ่นเดียว


ลักษณะของต้น
เป็นต้นไม้ชนิดใบอ่อน ปลายแหลมส่วนล่างของใบจาหยาบสีเขียวเข้ม ด้านบนสีเขียวอ่อน เป็นต้นไม้ที่มีใบมากสักหน่อย แต่กิ่งแตกพุ่มได้ดี การขยายพันธุ์เพียงตัดยอดปักชำลงดินก็เกิด รากตั้งตัวได้เร็ว ย้ายลงปลูกในกระถาง ใส่ปุ๋ยพรวนดินรดน้ำก็จะเจริญงอกงาม

วิธีใช้
ส่วนสำคัญคือ ใบ ใช้เคี้ยวกินสดๆ หรือครั้นและกรองเอาน้ำข้นๆ รับประทานหรือต้มเป็นน้ำแกงรับประทานก็ได้ ส่วนเปลือกและรากไม้ สามารถต้มกลั่นเป็นสุราได้ด้วย ใบไม้ไม่มีกลิ่นและรส สามารถต้มเอาน้ำใสๆ ดื่มได้ ส่วนการรับประทานมากหรือน้อย อยู่ที่ธาตุ หนัก-เบา ของแต่ละคน โดยทั่วไปจะรับประทานกัน 1-4 ใบ คนที่มีอาการหน้ามืดตาลายหลังจากรับประทาน 15 นาที จะหาย ให้รับประทานติดต่อกัน 7 วัน วัน ละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร


จากหลักฐานของคนไข้รายหนึ่ง หลังจากรักษาโรคมะเร็งตับจากยานานาชนิดไม่หาย เมื่อได้รับประทานสดของต้นฮว่านง็อก คนไข้มีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไม่น่าเชื่อ จากการมีไข้สูงถึง 40 องศา ลดลงเหลือ 37 องศา การเจ็บปวดลดลงมาก ผิวหนังเคยเหลือก็ลดลง หน้าท้องก็แฟ่บลง ตัวเบาทำให้คนไข้ลุกขึ้นมาสนทนาได้
ทำไมคนไข้จึงฟื้นตัวเร็วขนาดนั้น หลังจากรับประทานได้ 20 นาที ยาได้ออกฤทธิ์รับประทาน 5 ใบ จะลดความเจ็บปวดได้ 3 ชั่วโมง รับประทาน 7 ใบ ลดได้ 5 ชั่วโมง เสมือนหนึ่งยาวิเศษ เพาะคนไข้โรคตับได้เจ็บป่วยมาถึงวาระสุดท้ายแล้วกลับฟื้นและมีความหวัง ต้นฮว่านง๊อกเป็นต้นไม้ใบยาที่มีคุณค่าสูงส่ง เป็นของขวัญจากสวรรค์ มอบให้แก่มวลมนุษย์

สรรพคุณของต้นสมุนไพร (จากเอกสาร ฮานอย 2-9-1995 ถ่ายทอดจากต้นฉบับจริง)*
1. รักษาคนสูงอายุ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำงานหนัก เกิดประสาทหลอน
2. รักษาเป็นไข้หวัด ความดันโลหิตสูงท้องไส้ไม่ปกติ
3. รักษาอาการมีบาดแผล เคล็ดขัดยอก กระดูกหัก
4. รักษาอาการทางเดินอาหารไม่ปกติ
5. รักษาอาการโรคกระเพาะอาหาร โรคเลือดออกในลำไส้เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
6. รักษาอาการคอพอก ตับอักเสบ
7. รักษาอาการไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นข้น
8. รักษาอาการโรคมะเร็งปอด มีอาการปวดต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้รับประทานต่อไป 100-200 ใบอาการจะหายขาด
9. รักษาโรคตาทุกชนิด เช่น ตาแดง ตาต้อ ตาห้อเลือด
10. รักษาอาการมดลูกหย่อนของหญิงคลอดบุตรใหม่ ได้ผลดี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
11. รักษาโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ โรคประสาทอ่อนๆ (เพื่อเป็นการสนับสนุนเหตุผลโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้เขียนก็เป็น จึงกินเข้าไปครั้งละ 5 ใบ เช้า-เย็น 1 วัน อาการหน้ามืดหนักหัวหายไป รู้สึกสบาย เบาสมอง)
12. สามารถใช้กับสัตว์ได้ จากเอกสารระบุว่า ใช้กับไก่ชนหลังจากชนไก่แล้ว ต้องการให้ไก่ฟื้นจากอาการบาดเจ็บ ให้ไก่กินใบของต้นสมุนไพร ฮ่วานง็อก จะฟื้นตัวได้เร็ว


รายละเอียดในการใช้รักษาแต่ละโรค
1. โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล รับประทานครั้งละไม่เกิน 7 ใบ วันละ 2 ครั้ง รับประทานติดต่อกันจนครบ 50 ใบ
2. โรคเลือดออกในลำใส้ รับประทานใบสด 7-13 ใบ หรือคั้นเอาน้ำ วันละ 2 เวลา
3. โรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่เป็นบิด รับประทานครั้งละไม่เกิน 7 ใบ วันละ 2 ครั้ง รับประทานติดต่อกันไปประมาณ 100 ใบ
4. โรคตับอักเสบ คอพอก รับประทานครั้งละ 7 ใบ วันละ 3 ครั้ง รับประทานติดต่อกันไปจนครบ 150 ใบ
5. โรคไตอักเสบ ปวดเป็นประจำ รับประทานครั้งละ 3-4 ใบ วันละ 3 ครั้ง รับประทานไปจนครบ 30 ใบ
6. อาการท้องไส้ไม่ปกติ รับประทาน 7-14 ใบ 2 ครั้ง หาย
7. ปวดเมื่อยตามร่างกาย รับประทาน 7-14 ใบ 2 ครั้ง หาย
8. อาการปัสสาวะแสบ ปัสสาวะเป็นเลือด รับประทาน 14-21 ใบ โดยการคั้นเอาน้ำข้นๆรับประทาน
9. โรคตาแดง รับประทาน 7 ใบ และบด 3 ใบปิดที่ตา เวลานอน 1 คืน จะหาย
10. โรคความดันสูงจะลดทันทีเมื่อได้รับประทาน 5-9 ใบ (ผู้เขียนได้ทดลองแล้วด้วยตนเองดีสมราคาคุย)
11. แก้โรคเบาหวาน ผู้ชายรับประทานวันละ 7 ใบ ผู้หญิงรับประทานวันละ 7 ใบ ผู้หญิงรับประทานวันละ 9 ใบ ภายใน 90 วัน หาย
12. ใช้กับสัตว์ เช่น ไก่เหงา เป็นอหิวาห์ หรือนิวคาสเซิล ให้ไก่กิน 2-3 ใบ ไก่ชนหลังจากการชน แล้วให้กิน 2-3 ใบ (น่าจะประยุกต์ใช้กับสัตว์อื่นๆได้)
13. สตรีหลังคลอด รับประทานวันละ 1 ใบ รับประทานทุกวัน จะทำให้ฟื้นสุขภาพเร็ว
อนึ่ง การรับประทานหรือกินใบสมุนไพร ให้กินก่อนอาหารเสมอ

* ดร.ฝ้าม คเว ผู้รวบรวมวิจัย
Create Date :21 พฤศจิกายน 2550 Last Update :22 พฤศจิกายน 2550 1:11:31 น. Counter : Pageviews. Comments :0