bloggang.com mainmenu search


ไกรภพ สาระกูล (2552 : 12) กล่าวว่า ย่านาง จัดเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Menispermaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tiliacora triandra (Colebr) Diels โดยมีชื่อพื้นเมืองที่ใช้เรียกกันตามภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเช่น ภาคกลาง จะเรียกกันว่า เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ทางภาคเหนือ จะเรียกกันว่า จ้อยนาง หรือผักจอยนาง มีบางท้องที่แถบภาคเหนือตอนล่างที่เรียก ใบย่านาง สำหรับภาคใต้นั้นเรียกว่า ย่านนาง ยานนาง ขันยอ ยาดนาง วันยอ ส่วนภาคอีสานก็จะเรียกย่านาง มีอีกหลายท้องถิ่นที่เรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น เครือย่านาง ปู่เจ้าเขาเขียว เถาเขียว เครือเขางาม เป็นต้น

ย่านางสามารถเติบโตได้กับทุกสภาพดิน และสภาพอากาศ และด้วยลำต้นที่เป็นลักษณะเถา ย่านางจึงมักจะขึ้นตามบริเวณที่มีเกาะเกี่ยวตามต้นไม้ พบได้ทุกภูมิภาคของไทยทั้งในธรรมชาติ ในแถบป่าดิบชื้น ป่าดงดิบ และบริเวณชุมชนโดยเฉพาะตามแถบชนบทในต่างจังหวัด ที่จะรู้จักพืชชนิดนี้เป็นอย่างดี เพราะนิยมนำมาคั้นเอาน้ำจากใบมาเป็นส่วนประกอบของอาหารนั่นเอง โดยเฉพาะแกงหน่อไม้ จะขาดใบย่านางไม่ได้ทีเดียว

เอกสารอ้างอิง : ไกรภพ สาระกูล. มหัศจรรย์สมุนไพร ใบย่านาง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร. ธิงค์ กู๊ด, 2552.



Create Date :26 มกราคม 2554 Last Update :26 มกราคม 2554 0:40:30 น. Counter : Pageviews. Comments :2