***การอ่านหนังสือ คือ การเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเอง*** Open Your Mind by Reading***
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
นิทานเซน - กลืนพุทราทั้งลูก

หูหลุนทุนเจ่า 囫囵吞枣 : กลืนพุทราทั้งลูก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
20 กันยายน 2552 15:58 น.


囫囵 (hú lún) อ่านว่า หูหลุน แปลว่า ทั้งหมด ทั้งลูก
吞 (tūn) อ่านว่า ทุน แปลว่า กลืน
枣 (zǎo) อ่านว่า เจ่า แปลว่า พุทรา

มีตำนานเล่ากันมาว่า ในสมัยโบราณ มีนายแพทย์ผู้หนึ่งได้อธิบายสรรพคุณที่แตกต่างกันของพุทราและลูกแพร์ให้ชาวบ้านฟังดังนี้

“ลูกแพร์รับประทานแล้วมีประโยชน์ต่อฟัน ช่วยให้กระดูกฟันแข็งแรง แต่หากรับประทานมากเกินไปจะทำร้ายกระเพาะอาหารและม้าม ส่วนพุทรานั้นตรงข้ามกันพอดี นั่นคือรับประทานแล้วเป็นประโยชน์ต่อกระเพาะอาหารและม้าม แต่หากรับประทานมากเกินไปจะส่งผลร้าย เป็นอันตรายต่อกระดูกฟัน”

ขณะที่นายแพทย์บรรยายอยู่นั้น ผู้ฟังซึ่งมีสติปัญญาทึ่มทื่อรายหนึ่ง เมื่อฟังคำแจกแจงจากแพทย์ดังกล่าว ก็ทำท่าคิดไตร่ตรองครู่หนึ่ง แล้วจึงกล่าวออกมาด้วยความลิงโลดใจว่า “ข้าคิดออกแล้วว่าจะมีวิธีหลีกเลี่ยงผลร้ายที่เกิดจากพุทราและลูกแพร์ได้อย่างไร”

เมื่อแพทย์ได้ยินดังนั้นก็สนใจเป็นอันมาก เพราะหากคำพูดของชายผู้ฟังคนนั้นเป็นไปได้จริง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการแพทย์อย่างยิ่ง จึงรีบไต่ถามว่า “เป็นวิธีอันใด ท่านโปรดจงรีบบอกมา”

ชายหนุ่มจอมทึ่มจึงกล่าวว่า “วิธีการนั้นแสนง่าย เวลาที่ท่านรับประทานลูกแพร์ ก็จงใช้ฟันเคี้ยวกัดเอาไว้เพียงอย่างเดียว อย่ากลืนลงท้องไปเป็นอันขาด เช่นนี้ผลแพร์ก็ไม่มีทางทำอันตรายต่อม้ามและกระเพาะท่านได้ ส่วนเวลารับประทานพุทราก็เช่นเดียวกัน คืออย่าใช้ฟันเคี้ยวกัดลูกพุทรา แต่จงกลืนมันลงท้องไปทั้งลูกในคำเดียว เช่นนั้นพุทราก็ไม่สามารถทำร้ายฟันของท่านได้แม้แต่น้อย”

เมื่อชายผู้นี้กล่าวจบ ผู้ฟังคนอื่น ๆ อดไม่ได้จึงหัวเราะออกมา โดยผู้ฟังอีกรายหนึ่งกล่าวแก้ให้ว่า “หากท่านรับประทานลูกแพร์แต่ไม่ยอมกลืนมันลงท้องไป ไหนเลยร่างกายจะสามารถดูดซึมสารอาหาร ไปสร้างประโยชน์ให้ฟันของท่านได้ และในทางกลับกัน หากท่านกลืนพุทราลงท้องไปทั้งลูกโดยไม่เคี้ยว ย่อมเกิดปัญหาที่ระบบย่อยอาหาร ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เช่นนั้นแล้วจะมีประโยชน์ต่อกระเพาะและม้ามได้อย่างไร รังแต่จะเกิดโทษมากกว่า”

“หูหลุนทุนเจ่า” หรือ กลืนพุทราลงท้องไปทั้งลูก ภายหลังใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบกับการศึกษา หรือการอ่านตำราที่ผิดวิธี ได้แต่ท่องจำโดยไร้เป้าหมาย ขาดการคิดวิเคราะห์ ย่อยกรอง จับประเด็นสำคัญ ผลลัพท์ที่ได้มาจึงไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร

สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) กรรม(宾语) ส่วนขยายภาคแสดง(状语)

ตัวอย่างประโยค
与其囫囵吞枣地读一本教科书,不如仔细的看与分析一篇文章。
การอ่านตำราทั้งเล่มแบบ ~ นั้น ย่อมเทียบไม่ได้กับการอ่านและวิเคราะห์บทความโดยละเอียดเพียงบทเดียว

นำมาจากเว็บไซต์ผู้จัดการค่ะ




Create Date : 18 สิงหาคม 2555
Last Update : 18 สิงหาคม 2555 12:35:36 น. 1 comments
Counter : 1418 Pageviews.

 
ความหมายคือ
ท่องจำโดยไร้เป้าหมาย ขาดการคิดวิเคราะห์ ย่อยกรอง

จะจำไว้ค่ะ
เป็นสำนวนที่มีประโยชน์มาก ๆ


โดย: โสดในซอย วันที่: 18 สิงหาคม 2555 เวลา:19:35:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wanalee
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




คนธรรมดาที่กำลังพยายามละกิเลส เพื่อลดความอยากและไม่อยากให้มากที่สุด (ยากนะ แต่จะพยายาม)
New Comments
Friends' blogs
[Add wanalee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.