ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 

หมาป่าเปลี่ยนแม่น้ำได้อย่างไร



How Wolves Change Rivers


ฝูงหมาป่ากำลังไล่ล่ากวาง



หมาป่าท่ามกลางหิมะ


การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดเรื่องหนึ่งในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา 
ได้แก่ ปรากฏการณ์ “น้ำตกห่วงโซ่อาหาร” ในพื้นที่ต่างๆ มากมายหลายแห่ง 
“น้ำตกห่วงโซ่อาหาร” หรือ trophic cascade คือกระบวนการทางนิเวศวิทยา
ที่เกิดขึ้นบนยอดพีระมิดอาหาร แล้วส่งผลพวงกลิ้งตกลงมาถึงเบื้องล่าง
ตัวอย่างคลาสสิกได้แก่กรณีอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน สหรัฐอเมริกา 
เมื่อมีการปล่อยหมาป่าคืนสู่ระบบนิเวศในปี พ.ศ. 2538



เมื่อตอนที่ผมยังเป็นหนุ่ม ผมใช้เวลาถึงหกปีในการผจญภัยในป่าเขตร้อน
ในฐานะสื่อมวลชนที่เฝ้าสังเกตพื้นที่มีเสน่ห์ส่วนมากของพื้นโลก
ผมค่อนข้างบ้าบิ่นและโง่เขลาตามประสาชายหนุ่มที่มักเป็นเช่นนั้น
นี่คือเหตุผลที่ทำไมถึงเกิดสงครามบ่อยครั้งในโลก
และเมื่อผมรู้สึกว่าการมีชีวิตอยู่รอดต่อไป
รู้สึกดีกว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ผมเคยทำมาในอดีต 
และเมื่อผมกลับบ้าน ผมค้นพบว่าความใฝ่ฝันของชีวิตค่อย ๆ ลดลง
จนกระทั่งผมใส่จานเข้าไปในเครื่องล้างจาน
กลายเป็นเรื่องที่ท้าทายความน่าสนใจมากกว่า
ผมค้นพบตนเองว่าบาดแผลในอดีต/ประสบการณ์ในอดีต
คือ การที่ผมพยายามหาหนทางเข้าไปยุ่งกับโลกกว้างมากเกินไป
ผมยังอยู่ ผมยังเชื่อ ในเรื่องรากเง่าระบบนิเวศวิทยา




นกเพลง songbird มีมากกว่าสี่พันสายพันธ์  ที่มาของภาพ wikipedia.org



ฝูงนกอพยพย้ายถิ่นในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน


ทุกวันนี้คนเราได้พัฒนาอย่างค่อนข้างท้าทายมากขึ้นในเรื่องเหล่านี้
ในโลกของ(บรรดาสัตว์มี) เขา เขี้ยว งา และกรงเล็บ 
คนเรายังคงมีความกลัว ความกล้าหาญและการรุกรานเท่าที่จำเป็น
ในการสำรวจบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ในช่วงเวลาเหล่านั้น
แต่ภายใต้ความสะดวกสบาย ปลอดภัย พื้นที่จำกัด
คนเราโอกาสน้อยมากในการบริหารจัดการบรรดาสัตว์ป่าโดยไม่ส่งผลกระทบกับคนอื่น ๆ
และเรื่องนี้คือ การจัดเรียงลำดับข้อจำกัดที่ผมค้นพบเพิ่มเติมด้วยตนเอง




บีเวอร์กำลังคาบไม้ไปสร้างฝายกั้นน้ำ



บีเวอร์อยู่ระหว่างการดำน้ำในแม่น้ำ


เพื่อที่จะเอาชนะความไม่แน่นอน  เพื่อจะรู้ว่าอะไรที่จะตามมา
นั่นคือ จุดมุ่งหมายที่โดดเด่นของสังคมอุตสาหกรรม(ระบบทุนนิยม)
และการไปถึงจุดนั่น หรือ เกือบจะไปถึงได้
คนเราต่างเริ่มเผชิญหน้ากับเรื่องความต้องการที่แท้จริง
คนเราได้รับสิทธิพิเศษด้านความมั่นคงปลอดภัยเหนือกว่าประสบการณ์ 
และคนเราต่างได้รับมากขึ้นในการทำเช่นนั้น 
แต่ผมคิดว่าคนเราได้สูญเสียบางสิ่งบางอย่างไปไปด้วยเช่นกัน




ฝูงหมาป่ากำลังกัดกินโคโยตี



กระต่าย



หนูป่า


ตอนนี้ผมเริ่มขาดความเย้ายวนใจจากเรื่องช่วงเวลาวิวัฒนาการแล้ว
ผมพบว่าภายในช่วงอายุของสัตว์ประเภทนักล่า 
และผลลัพธ์คือการต่อสู้กันถึงชีวิตทั้งของสัตว์นักล่ากับผู้คน
ระหว่างนี้ความคิดเห็นของผมได้สะดุดหยุดลงเกี่ยวกับ 
หินที่ทำเป็นปลายหอกและกระทิงป่าตัวยักษ์ที่เกรี้ยวกราด
เป็นเรื่องราวที่ยากจะทำนายผลได้
หรือไม่ใช่เป็นเรื่องที่ถูกต้องทีผมกำลังค้นหา/คิดอยู่
แต่ผมกลับพบว่าไม่มีประโยชน์อย่างใดเลย
หรือเป็นแนวความคิดที่สามารถเข้าใจเป็นอย่างดี
ผมอาจจะต้องการเป็นคนร่ำรวยหรือเป็นคนอ่อนหัดกับชีวิต
มากกว่าการใช้ชีวิตในอังกฤษ หรือ 
แน่นอนว่าคนเราสามารถใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในโลกของทุนนิยมได้

และสิ่งที่ผมพบโดยบังเอิญคือคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย
แต่ผมเริ่มจะเข้าใจในสิ่งที่พผมกำลังค้นหา
และเมื่อทันทีทันใดที่ผมค้นพบคำศัพท์นั้น
ผมเชื่อว่าผมต้องการจะอุทิศชีวิตส่วนที่เหลือของผมให้กับมัน

คำว่า " rewilding " ทำให้เป็นผืนป่าอีกครั้ง
และแม้คำว่า rewilding เป็นคำศัพท์ใหม่
แต่มันมีความหมายหลักเพียงสองประการ



ไคโยตี

ไคโยตี หรือ ไคโยต (สำเนียงอเมริกัน: /kaɪˈoʊt̬i/, kaɪˈoʊt 
หรือ โคโยตี สำเนียงบริเตน: /kɔɪˈəʊti/ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง 
ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสุนัขป่าชนิดหนึ่ง ในตระกูลสุนัขใกล้เคียงกับสุนัขบ้าน 
ไคโยตมักจะออกล่าเหยื่อเดี่ยว และในบางครั้งอาจจะพบเจออยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ 
ช่วงชีวิตของไคโยตประมาณ 6 ปี อยู่อาศัยบริเวณทุ่งราบ 
และพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ ไคโยตถูกพบเจอครั้งแรกบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
และแถบคอสตาริกา ซึ่งภายหลังไคโยตได้ขยายดินแดนขึ้นมาทางอเมริกาเหนือ
ชื่อ ไคโยตี เป็นภาษาสเปนคำว่า โคโยเต coyote ที่มาจากประเทศเม็กซิโก 
ที่ยืมต่อมาจาก ภาษา Náhuatl ของชาวแอซเทค คำว่า cóyotl [ˈkojoːtɬ] ที่หมายถึง สุนัขร้องเพลง

ที่มาของภาพและข้อมูล  //th.wikipedia.org/wiki/ไคโยตี



เราทุกคนรู้ว่าหมาป่าฆ่าสัตว์หลายชนิด แต่บางทีเราอาจจะไม่ค่อยตระหนักว่าพวกมันยังให้ชีวิตแก่ผู้อื่นเช่นกัน

ก่อนที่นักอนุรักษ์จะคืนหมาป่ากลับสู่เยลโลว์สโตน พวกมันได้ถูกมนุษย์ล่าหายไปจากพื้นที่นี้เป็นเวลายาวนานถึง 70 ปี 
จนประชากรกวางในอุทยานฯ เพิ่มสูงขึ้นๆ เรื่อยๆ ไม่ว่ามนุษย์จะพยายามหาทางควบคุมจำนวนกวางอย่างไร 
ฝูงกวางก็ยังสามารถลดปริมาณพืชพรรณจนแทบไม่เหลืออะไรเลย มันเล็มกินไปจนหมด 
แต่ทันทีที่หมาป่ากลับคืนมา แม้ในจำนวนน้อยนิด มันก็เริ่มส่งผลกระทบอย่างน่าทึ่ง

แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เกิดขึ้นคือหมาป่าฆ่ากวางกิน แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นใหญ่
สำคัญกว่านั้นคือมันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกวาง ฝูงกวางเริ่มหลีกเลี่ยงพื้นที่บางแห่งในอุทยานฯ 
ที่ที่มันจะไม่โดนต้อนจนมุมได้ง่าย โดยเฉพาะตามหุบเขาและโตรกเขา 
พื้นที่เหล่านี้ก็เริ่มฟื้นฟูขึ้นทันที บางแห่งต้นไม้สูงขึ้นถึง 5 เท่าภายในเวลาแค่ 6 ปี 
ไหล่หุบเขาที่โล่งเตียนแปรสภาพฟื้นคืนเป็นป่าต้นแอสเปิน หลิว และคอตตอนวูดอย่างรวดเร็ว



นกอินทรี



นกอินทรีหัวขาว  กำลังกินอาหารร่วมกับ กา


เมื่อป่าฟื้นขึ้น นกก็เริ่มเข้ามา จำนวนนกเพลง นกอพยพ เพิ่มขึ้นมากมาย 
จำนวนตัวบีเวอร์ก็เพิ่มขึ้นด้วย เพราะบีเวอร์กัดกินต้นไม้ และเช่นเดียวกับหมาป่า 
บีเวอร์เป็นวิศวกรผู้สร้างระบบนิเวศ มันสร้างสรรค์ที่ทางให้แก่ชีวิตอื่น 
ฝายที่มันสร้างบนแม่น้ำให้แหล่งอาศัยหากินแก่นาก มัสแครต เป็ด ปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

หมาป่ายังฆ่าไคโยตี ส่งผลให้จำนวนกระต่ายและหนูเพิ่มขึ้น
(ไคโยตี เป็นสัตว์นักล่าตัวฉกาจกับกระต่ายและหนู)
ซึ่งหมายถึงการเพิ่มจำนวนของสัตว์ผู้ล่าขนาดกลางอย่างเหยี่ยว 
วีเซิล หมาจิ้งจอก และแบดเจอร์ กาและอินทรีหัวขาวก็ลงมากินซากสัตว์ที่หมาป่าเหลือทิ้งไว้ 
หมีก็ได้กินซากเช่นกัน และจำนวนประชากรของมันก็เพิ่มขึ้นด้วย 
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีผลไม้จำพวกเบอร์รีมากขึ้นจากไม้พุ่มที่ฟื้นตัวขึ้นมา 
และหมีก็เสริมบทบาทเดียวกับหมาป่าด้วยการฆ่าลูกกวางจำนวนหนึ่ง



มัสเครต ที่มาของภาพ wikipedia.org



วีเซิล



หมาจิ้งจอก



แบตเจอร์



ฝูงหมีกำลังกัดกินซากสัตว์


แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ หมาป่าได้เปลี่ยนพฤติกรรมของแม่น้ำ(ทิศทาง/กระแสน้ำที่ไหล)
จากที่เคยไหลบ่ากระจัดกระจาย มันเริ่มตวัดคดเคี้ยวน้อยลง 
กัดเซาะน้อยลง ลำน้ำแคบลง เกิดวังน้ำมากขึ้น เกิดช่วงแก่งน้ำมากขึ้น 
ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นถิ่นอาศัยหากินสำหรับชีวิตป่าหลากหลายชนิด 
แม่น้ำปรับเปลี่ยนตอบสนองหมาป่า เพราะป่าฟื้นฟูขึ้นมายึดริมฝั่งน้ำ
มันจึงไม่ทลายลงบ่อยๆ เหมือนเดิม ลำน้ำเริ่มไหลตามร่องคงตัวมากขึ้น 
ผนวกกับการที่ฝูงกวางถูกไล่ล่าออกไปจากบางพื้นที่ 
พงพืชบนไหล่ทางฟื้นตัวขึ้นมาได้ หน้าดินก็ถูกกัดเซาะน้อยลง เพราะมีพืชยึดเอาไว้



แม่น้ำที่มีพุ่มไม้ข้างลำน้ำเกาะยึดที่ดินไว้


ด้วยประการฉะนี้ หมาป่าจำนวนน้อยนิดจึงไม่เพียงแต่แปรเปลี่ยนระบบนิเวศ
ในพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลของอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน 
หากยังรวมไปถึงกายภาพของภูมิประเทศนี้ด้วย



ปลาวาฬประเภทกินแพลงตอนเป็นหลัก  ที่มาเยือนเมืองไทย
ที่มาของภาพ  Thon Thamrongnawasawat


ปลาวาฬในมหาสมุทรตอนใต้ก็มีผลกระทบที่หลากหลายเช่นกัน
หนึ่งในข้อแก้ตัวที่อ้างเหตุผลมากมายของรัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับการล่าปลาวาฬ 
คือสิ่งที่รัฐบาลของพวกเขามักจะกล่าวว่า
" แน่นอนว่าจำนวนปลาและกุ้งเคยจะเพิ่มขึ้น  และจะมีมากขึ้นเพียงพอสำหรับคนที่จะกิน " 
แน่นอนนี่คือ ข้อแก้ตัวที่โง่เขลามาก

เพราะการเรียงลำดับที่ผิดพลาดของห่วงโซ่อาหาร
สิ่งที่คิดว่าปลาวาฬจำนวนมากที่กินปลาและกุ้งเคย
ดังนั้นจึงต้องกำจัดปลาวาฬไปเสีย

แต่ผลตรงกันข้ามกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ
การตายของปลาวาฬจะทำให้เกิดการล่มสลายของกุ้งเคย

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เพราะปลาวาฬมีความสำคัญต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศทั้งหมด
และหนึ่งในเหตุผลนี้คือ ยิ่งปลาวาฬกินพวกกุ้งเคยจำนวนบ่อยครั้ง

หลังจากนั้นปลาวาฬจะว่ายมาถึงพื้นผิวท้องทะเลที่ระดับความลึก
แล้วถ่ายของเสียที่นักชีววิทยาเรียกว่า อุจจาระในรูปขนนกขนาดใหญ่(ปลิวกระจุยกระจาย)
อุจาระของปลาวาฬ
ที่จะกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอน
จะแพร่กระจายอย่างมากบนพื้นผิวท้องทะเลและเพิ่มมากขึ้น
ตามจำนวนอาหารที่กิน

ในเขตที่มีแสงแดดเพียงพอที่จะเกิดการสังเคราะห์แสงในพื้นที่
จากแพลงก์ตอนเป็นห่วงโซ่อาหารระดับล่างสุดของระบบนิเวชวิทยา
การกระตุ้นการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนจำนวนมหาศาล
จะ
เป็นการให้อาหารปลาและกุ้งเคยจำนวนมากเช่นกัน
ส่วนแพลงตอนส่วนที่เหลือทั้งหมดที่หลุดรอดจากการถูกกิน
จะลอยขึ้นบนผิวน้ำมหาสมุทรเพื่อขยายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ

และเรื่องที่น่าสนใจคือ คนเรารู้ว่าแพลงก์ตอนเป็นพืชในมหาสมุทร
ที่ดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศ
ยิ่งจำนวนพืชแพลงก์ตอนมากขึ้นการดูดซับคาร์บอนยิ่งมากขึ้น
และในที่สุดพวกมันจะจมดิ่งลงในพื้นผิวมหาสมุทร
แต่ก็ได้ดุดซับคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศ
แน่นอน เมื่อปลาวาฬเป็นสัตว์โลกในประวัติศาสตร์
พวกมันอาจจะมีส่วนเป็นผู้รับผิดชอบจำนวนหลายสิบล้านตันของคาร์บอน
ในชั้นบรรยากาศในทุก ๆ ปี




แพลงตอนประเภทต่าง ๆ  ที่มา  wikipedia.org


และเมื่อคุณลองคิดดูในเรื่องมันเหมือนกับว่า
เมื่อสักครู่นี้ที่หมาป่าเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์ 
ทางกายภาพของอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน
ที่นี่ปลาวาฬก็เช่นกันเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศ 
คุณจะเริ่มเห็นว่าเป็นหลักฐานที่สนับสนุน เจมส์ เลิฟล็อก
ในสมมติฐานของ Gaia
  คุณจะเข้าใจว่าโลกเกี่ยวพันกัน
มีการควบคุมสิ่งมีชีวิตซึ่งกันและกันเป็นจุดเริ่มต้น
ของระบบนิเวศในระดับเหมาะสมและค่อย ๆ สะสมในระยะยาว

น้ำตกของห่วงโซ่อาหารในป่าเขตร้อนได้บอกให้เราทราบว่า
โลกธรรมชาติเป็นเรื่องที่น่าสนใจและสลับซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด
เพราะว่ามันได้บอกเราว่าเมื่อคนเราได้กำจัดสัตว์ป่าจำนวนมาก

คนเรากำลังจะเหลือระบบนิเวศที่แตกต่างกันอย่างรุนแรง
ในการคงไว้สัตว์ป่าเพียงบางประเภท

ในมุมมองของผมเป็นการขาดหายไปของสิ่งมีชีวิตบางประเภทเช่นกัน
การนำผืนป่ากลับคืนมาอีกครั้ง 
ผมหมายความว่าให้นำพืชและสัตว์ที่หายไปกลับมาในพื้นที่อีกครั้ง

ในบางแห่งของพื้นที่ท้องทะเล
เพื่อปกป้องธุรกิจประมงเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่
มีการสร้างโพงพาง/ยอ/อวนล้อม/กระชัง
นั่นหมายความว่าเป็นการสกัดกั้นร่องระบายน้ำทะเล
(มีผลต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำและการหากินของสัตว์น้ำ)

แต่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องคิดแบบกลับหัว
ด้วยมุมมองของของระบบนิเวศที่ถูกต้อง
สายพันธุ์ต่าง ๆ 
จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนใคร
ไม่ได้หมายความว่า
การที่คนเราพยายามที่จะสร้าง ป่า ทุ่งหญ้า ป่าฝน สวนป่า
ปะการัง สาหร่ายทะเล แนวปะการัง 
ผมคิดว่าปล่อยให้ธรรมชาติตัดสินใจค้ดสรรเองจะดีกว่า
ธรรมชาติโดยส่วนมากแล้วจะมักมีเรื่องที่ที่ดีงามในการคัดสรร


ตอนนี้ผมกล่าวถึงถึงนิยามที่สองของคำว่า rewilding  รื้อฟื้นป่าใหม่อีกครั้ง
ที่เป็นเรื่องที่ผมสนใจ  นิยามที่สองคือ
 
rewilding คือ การ rewilding ชีวิตมนุษย์ 
และผมมองไม่เห็นทางเลือกของอารยธรรม 
ผมเชื่อว่าคนเราได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง 
ในขณะที่คนเรากำลังทำ/ใช้อยู่ในทุกวันนี้ 
แต่ในขณะเดียวกันถ้าคนเราเลือกที่จะเข้าถึง
ความมั่งคั่งและการมีชีวิตอยู่กับการผจญภัยในป่า
เมื่อคนเราต้องการจะทำเช่นนั้น 
เพราะเหตุผลของความมหัศจรรย์
และการดำรงอยู่ของความเป็นผืนป่าขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

และสำหรับทุกวันนี้เป็นโอกาสของการพัฒนาผืนป่าอย่างรวดเร็ว
มีการพัฒนาไปได้มากขึ้นกว่าที่คุณจะคาดคิด 
มีเรื่องหนึ่งที่มีการประมาณการที่ชี้ให้เห็นว่า
ในประเทศสหรัฐอเมริกา สองในสามของที่ดิน
ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นผืนป่าและมีการแผ้วถางทำเป็นพื้นที่ว่าง/เกษตร
ตอนนี้เริ่มกลายผืนป่าใหม่อีกครั้ง  ด้วยความร่วมมือของบรรดาคนตัดไม้และเกษตรกร
ได้ยุติกิจกรรมดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศตะวันออกของประเทศสหรัฐ

แต่มีอีกกรณีหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่า 30 ล้านเฮกตาร์ที่ดินในยุโรป
พื้นที่ขนาดของประเทศโปแลนด์  ประมาณการกันว่า
จะมีการแผ้วถางทำเกษตรโดยเกษตรกร ระหว่างปี 2000 ถึงปี 2030




กุ้งเคยประเทศไทย  ที่นำมาทำกะปิเคย
ที่มาของภาพ  //goo.gl/ky8eiz  กับ  //goo.gl/6p3MZv


ตอนนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับโอกาสเช่นนั้น
ดูเหมือนเป็นความทะเยอทะยานอย่างหนึ่ง
ที่จะคิดนำ
หมาป่า, ลินซ์, หมี, บีเวอร์ , กระทิง , หมูป่า , กวาง 
และทุกสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว 
กลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนที่จะขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วไปทั่วทั้งยุโรป 
บางทีคนเราควรเริ่มต้นคิดเกี่ยวกับการกลับคืนมาของ
สัตว์ประจำท้องถิ่น/พื้นเมือง
จำนวนมากมายที่หายไปจากประเทศของเรา

อะไรคือ สัตว์ประจำท้องถิ่นจำนวนมาก

แน่นอนทุก ๆ ทวีป จะมีสัตว์ประเภทนี้ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
นอกเหนือจากทวีปแอนตาร์กติกา 
เมื่อจัตรัสทราฟาลการ์  Trafalgar Square ในลอนดอน 
ถูกขุดค้นอย่างระมัดระวังเพื่อหาโบราณวัตถุ
ภายใต้กรวดของแม่น้ำมีการค้นพบว่าเต็มไปด้วยกระดูกของ
ฮิปโป , แรด , ช้าง, หมาไฮยีน่า, สิงโต 
ใช่เลย ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี 
มี สิงโต อยู่ใน Trafalgar Square มานานแล้ว
ก่อนที่จะเสาหินอนุสาวรีย์แม่ทัพเรือเนลสัน 
Nelson's Column จะถูกสร้างขึ้น 



Trafalgar Square



Nelson's Column

ที่มาของทั้งสองภาพ  wikipedia.org


มีสัตว์ทุกสายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ที่นี่ ในช่วงเวลาสุดท้าย
ช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็ง interglacial 
อุณหภูมิค่อนข้างดีคล้าย ๆ กับของพวกเราในตอนนี้
แต่ไม่ใช่เพราะสภาพภูมิอากาศที่กำจัดสัตว์พื้นเมืองจำนวนมาก
แต่มาจากแรงขับเคลื่อนของประชากรมนุษย์
ที่ทำการล่าสัตว์และทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมันจนสูญพันธ์ุ

และนอกจากนั้น คุณยังสามารถเห็นเงาในอดีตของ
เหล่าสัตว์พื้นเมืองเหล่านี้ที่หลงเหลือมา
จนถึงระบบนิเวศของเราในปัจจุบัน
ทำไมต้นไม้ที่ผลัดใบจำนวนมากสามารถที่จะแตกหน่อ 
จากจุดที่ลำต้น/กิ่งไม้ของมันหักเสียหาย
ทำไมต้นไม้ยังสามารถทนต่อการสูญเสียของเปลือกไม้จำนวนมาก
ทำไมต้นไม้ระดับล่าง(ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่เป็นร่มเงา)
จึงต้านแรงลมน้อยกว่าและมีน้ำหนักใบเบากว่าต้นไม้ใหญ่
ทำไมต้นไม้พวกนี้จึงเหนียวและยากที่จะทำลายมากกว่าต้นไม้ใหญ่ที่เป็นร่มเงา
คำตอบคือ ช้าง 
มีการปรับปรุงสายพันธ์วิวัฒนาการช้างในยุโรป 
ดังนั้นต้นไม้จึงมีพัฒนาการปรับตัวเพื่อรับมือกับช้างยุโรป
(สัตว์มีงาคู่ตรง/โค้ง Elephas antiquus)
แม้ว่าช้างยุโรปจะเกี่ยวข้องกับช้างเอเชีย
แต่มันก็เป็นสัตว์ป่าในเขตอบอุ่นที่จำต้องมีขนาดใหญ่กว่าช้างเอเชีย

ทั้งนี้ยังมีบางส่วนของพุ่มไม้ที่มีหนามแหลมคม 
ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นการออกแบบมาเพื่อต่อต้านการกัดกินของ  กวาง 
หรือบางทีพุ่มไม้เหล่านั้นพัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อต้าน  แรด 

มันไม่ได้เป็นความคิดที่น่าตื่นตาตื่นใจที่ทุกครั้ง
ที่คุณเดินเข้าไปในสวนสาธารณะหรือเดินลงบนถนน
หรือเส้นทางร่มเงาของต้นไม้ข้างทาง
คุณจะสามารถมองเห็นร่มเงาในอดีตของสัตว์พื้นเมืองเหล่านี้

บรรพชีวินวิทยา คือการศึกษาระบบนิเวศที่ผ่านมาในอดีต
มีความสำคัญต่อความเข้าใจของคนเราเอง
ที่รู้สึกเหมือนการผ่านเข้าไปในอาณาจักรที่น่าหลงใหล
และถ้าเรากำลังมองหาพื้นที่ดินสำหรับสัตว์พื้นเมืองเหล่านี้
ที่ผมกำลังพูดว่ามันเป็นไปได้ 
ทำไมเราไม่รื้อฟื้นคืนสัตว์พื้นเมืองบางประเภทที่หายไปของเรา
หรืออย่างน้อยสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสัตว์ที่หาได้แทบทุกที่

ทำไมพวกเราทั้งหมดจะควรจะมี Serengeti ที่หน้าประตูบ้านของ

(Serengeti  พื้นที่ราบกว้างใหญ่ของประเทศแทนซาเนีย ฝั่งตะวันตกของหุบเขา
Great Rift Valley มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีในเรื่องชีวิตสัตว์ป่า)



ปลาวาฬ และภาพขณะกำลังขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ
ที่มาของภาพ  wikipedia.org กับ tonywublog.com


ปลาวาฬเพชรฆาต  กินสัตว์น้ำทุกชนิด
ที่มาของภาพ wikipedia.org


และนี่คือบางทีเรื่องสำคัญที่สุดที่การ rewilding  ที่กำลังเรียกร้องพวกเรา 
จากสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ขาดหายไปจากชีวิตของพวกเรา 
มันคือ ความหวัง
ในการกระตุ้นให้คนเรารักและปกป้องโลกธรรมชาติ
ความหวังที่มีมูลค่าเพียงหนึ่งออนซ์ย่อมมากว่าความสิ้นหวังหนึ่งตัน
เรื่องราว rewilding นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ 
ที่ไม่จำเป็นเสมอ ไปที่ต้องไปในทิศทางเดียวเท่านั้น
มันได้นำเสนอพวกเราว่า ฤดูใบไม้ผลิที่แสนเงียบเหงาของเรา
สามารถจะถูกแทนที่ด้วยฤดูร้อนที่มีเสียงอึกทึกวุ่นวายมีชีวิตชีวา




หลังสำเร็จการศึกษาสัตว์วิทยาจากอ็อกฟอร์ด
George Monbiot  ได้ทำงานที่ BBC ในสายงานประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
ทำเรื่องเกี่ยวกับโครงการสำรวจสิ่งแวดล้อม ที่ชนะรางวัล Sony Award
เขาต้องทำงานไกลจาก BBC เพื่อใช้เวลาถึงหกปีในพื้นที่ป่าเขตร้อน
สำรวจโครงการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของชาวอินโดนีเซีย
(ช่วงพัฒนาพื้นที่ป่าเป็นเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม)
เขาต้องเดินเท้าและนั่งเรือแคนนูข้ามฝั่งตะวันตกของปาปัว West Papua
เขาเคยหลงทางในป่า  จนต้องกินแมลงและหนูเพื่อความอยู่รอด
และเกือบตายเพราะโดนตัวต่อหลุมกัดในครั้งหนึ่ง
ในการลงพื้นที่ตรวจสอบ/สำรวจการขับไล่ชนพื้นเมืองที่บราซิล
(บริเวณผืนป่าอเมซอนเพื่อทำเกษตรกรรมขนาดใหญ่ของนายทุน)
เขาถูกทุบตีโดยคนถือปืนและเกือบถูกยิงโดยสารวัตรทหาร

โครงการกระจายเสียงทางวิทยุเกี่ยวกับการรับมือกับ
การทุบตีทำร้าย/ซ้อมอย่างทรมานของตำรวจที่  Maranhão
มีการเผยแพร่เป็นเวลาหลายปีในหลักสูตรฝึกอบรม
เรื่องสุขภาพและความปลอดภัยที่ BBC
ตัวอย่างเช่น อะไรที่ไม่ควรทำ
เมื่อกลับมาที่สหราชอาณาจักร
เขาได้ก่อตั้งการรณรงค์เรื่องสิทธิในที่ดิน  ที่ดินเป็นของพวกเรา
เขาเริ่มเขียนคอลัมในหนังสือพิมพ์ the Guardian
หนังสือเล่มอื่นของเขามี  Amazon Watershed, 
Captive State, The Age of Consent and Heat


หมายเหตุ
มีหนังสืออีกเล่มที่มีแนวคิดคล้ายกับ George Monbiot 
แต่ลึกซึ้งและกว้างขวางกว่า  เขียนเป็นนิยายค่อนข้างยาวแต่อ่านสนุก




Credit : สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์

เรียบเรียงจาก
//thaipublica.org/2014/03/how-wolves-change-rivers/
//www.ted.com/talks/george_monbiot_for_more_wonder_rewild_the_world#
//www.ted.com/talks/george_monbiot_for_more_wonder_rewild_the_world/transcript  (สำหรับผู้ต้องการฟังพร้อมกับภาษาอังกฤษ)
//translate.google.co.th/#en/th/
//dict.longdo.com




 

Create Date : 23 มีนาคม 2557
0 comments
Last Update : 20 พฤษภาคม 2557 7:19:37 น.
Counter : 3318 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.