กุมภาพันธ์ 2567

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
 
 
All Blog
เรื่องราวของผู้ชายล้วนๆ

ผู้ชายทุกคนมีนาฬิกาชีวภาพสำหรับความเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันเดือนปี เข็มนาทีที่เคลื่อนไปอย่างช้าๆในแต่ละชั่วโมง จะมีการเปลี่ยนไปของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย คนที่ดูแลสุขภาพตัวเองดีอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างช้าๆและค่อยเป็นค่อยไป 

ความเสื่อมแห่งวัยจะเริ่มต้นเมื่ออายุ 25-30 ปีขึ้นไป
อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดโดยเฉลี่ยของมนุษย์จะลดลงประมาณหนึ่งจังหวะต่อนาทีต่อปี และความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดเลือดสูงสุดจะลดลง 5-10 เปอร์เซ็นต์ต่อ10 ปี นั่นเป็นสาเหตุที่หัวใจทำงานได้ดีในวัย 25 ปี โดยมีอัตราสูบฉีดเลือดได้~2.4 ลิตรต่อนาที แต่หัวใจผู้ที่อายุ 65 ปีไม่สามารถสูบฉีดเกิน 1.25 ลิตรต่อนาที และหัวใจผู้ที่อายุ 80 ปี มีอัตราการสูบฉีดเลือดเพียงประมาณ 1 ลิตรเท่านั้น

ด้วยเหตุผลนี้ ในชีวิตประจำวันของผู้ชายที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว จะมีความสามารถในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกลดลง  บางครั้งการทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน อาจเกิดความเหนื่อยล้าและหายใจไม่ทัน แล้วคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ฯลฯ จะมีสภาพเป็นเช่นไร ไม่อยากจะคิดเลยนะคะ

พอเข้าสู่วัยกลางคน หลอดเลือดของผู้ชายจะเริ่มแข็งตัวและความดันโลหิตจะเริ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันการไหลเวียนเลือดจะเปลี่ยนไป โดยมีความหนืดมากขึ้นและสูบฉีดทั่วร่างกายได้ยากขึ้น แถมจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีออกซิเจนจะลดลงไปด้วย

ส่วนใหญ่เริ่มน้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วงวัยกลางคน โดยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.4-1.8 โลต่อปี ผู้ชายจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเมื่ออายุ 40 ปี ดังนั้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงกลายเป็นไขมันทั้งหมด ไขมันส่วนเกินนี้ส่งผลให้คอเลสเตอรอลชนิด LDL (ไม่ดี) เพิ่มขึ้น และคอเลสเตอรอล HDL (ดี) ลดลง 

เมื่ออัตราการเผาผลาญลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6 จุดต่อ 10 ปี ทำให้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดขึ้นอย่างน่าวิตกในผู้สูงอายุ การสูญเสียกล้ามเนื้อยังคงดำเนินต่อไป ในที่สุดกล้ามเนื้อของมนุษย์จะลดลงถึง 50% ซึ่งก่อให้เกิดความอ่อนแอและความพิการในที่สุด 

โรคเบาหวานมีอยู่ 4 ชนิด ประมาณ 95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลินร่วมกับการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนลดลง ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

ในขณะเดียวกัน กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะเริ่มแข็งและตึง แม้ว่าผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกบางน้อยกว่าผู้หญิง แต่จะสูญเสียแคลเซียมในกระดูกเมื่ออายุมากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มวลกล้ามเนื้อและความหนาแน่นของกระดูกลดลงคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน(testosterone )ในเพศชายลดลง ซึ่งลดลงประมาณ 1% ต่อปี

หลังจากอายุ 40 ปี ผู้ชายส่วนใหญ่ยังคงมีระดับฮอร์โมน
เทสโทสเตอโรนตามปกติและมีความสามารถในการสืบพันธุ์ตลอดชีวิต แต่สมรรถภาพทางเพศเริ่มลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงระบบประสาทจะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เช่น ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง การประสานงานแย่ลง ความจำเสื่อมมักจะเกิดขึ้นและนอนหลับได้น้อยกว่าวัยหนุ่ม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้ชายที่มีสุขภาพดี แต่ในผู้ชายที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว จะเริ่มแก่ชราอย่างรวดเร็วจนเห็นได้ชัดเจน

มีงานวิจัยศึกษาปีพ.ศ. 2509 ในโรงเรียนแพทย์ตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยเท็กซัส ผู้ชายอายุ 20 ปี มีสุขภาพดีจำนวน 5 คน ใช้เวลา 3 สัปดาห์ในวันหยุดฤดูร้อนนอนอยู่บนเตียง แต่เมื่อหนุ่มๆเหล่านั้นลุกจากเตียงหลังสิ้นสุดการทดลอง นักวิจัยพบการเปลี่ยนแปลงร้ายแรงซึ่งรวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักเร็วขึ้น ความดันโลหิตซิสโตลิกที่สูงขึ้น อัตราการสูบฉีดเลือดสูงสุดของหัวใจลดลง ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง

ในเวลาเพียงสามสัปดาห์ เด็กอายุ 20 ปีเหล่านี้ได้พัฒนาลักษณะทางสรีรวิทยาหลายอย่างเทียบเท่าผู้ชายที่อายุประมาณ 40 ปี
โชคดีที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น แต่ให้ผู้ชายกลุ่มเดิมเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการออกกำลังกายช่วยฟื้นฟูความเสื่อมที่เกิดจากการนอนบนเตียงนานๆได้ 

ผู้ชายอายุน้อยๆสุขภาพปกติยังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากขนาดนี้ แล้วผู้ป่วยติดเตียงจะเป็นเช่นไร มิน่าล่ะ!!
เวลาแป้งไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่ผ่าตัดอายุ 80 กว่าปีที่รพ.เอกชนทีไร จะเห็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์มาสอนการกายภาพบำบัดคนไข้อยู่เสมอ

ไม่มีใครสามารถหยุดนาฬิกาชีวภาพได้ แต่มนุษย์ทุกคนสามารถเดินให้ช้าลงได้ การออกกำลังกายไม่ใช่วิถีของความเยาว์วัย แต่เป็นขุมพลังแห่งความมีชีวิตชีวา

การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถป้องกันปัญหาร้ายแรงได้ อย่าฝืนออกกำลังกายหากนอนดึกพักผ่อนน้อย มีไข้หรือเจ็บป่วย ค่อยๆ ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยยืดอายุขัย และลดอัตราการเกิดโรคและความทุพพลภาพในวัยชรา

อย่าละเลยการฟังเสียงของร่างกาย ไม่มีใครดูแลเราได้ดีเท่าตัวเอง
อย่าคาดหวังฝากชีวิตไว้กับโรงพยาบาล(ข้อมูลจำนวนแพทย์ล่าสุด ณ เม.ย.66 รวม 68,725 คน อยู่ในกทม. 3.2 หมื่นคน ตจว.3.4 หมื่นคนต่อประชากร 66 กว่าล้านคน)ควรเรียนรู้สัญญาณเตือนของโรคหัวใจรวมถึงอาการเจ็บหน้าอกหรือความดันโลหิตสูง อาการหายใจไม่สะดวก  เหนื่อยล้าหรือเหงื่อออก ชีพจรเต้นผิดปกติ อาการวิงเวียนศีรษะ หรือแม้แต่อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อนที่อาการคล้ายคลึงกับโรคหัวใจ รวมถึงความเจ็บปวดที่บ่งบอกถึงการอักเสบเรื้อรังซึ่งอนุมูลอิสระเป็นตัวกระตุ้นลำดับต้นๆ




ที่มา

Exercise and aging: Can you walk away from Father TimeHarvard Universityhttps://www.health.harvard.edu › exercis...

อาการเตือน โรคเบาหวานชนิดที่ 2โรงพยาบาลศิครินทร์https://www.sikarin.com › health › อาการเตือน-โรคเบาห...



Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2567 12:14:44 น.
Counter : 162 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 

แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]



เริ่มเขียนblog 20ก.ค55
ปัจจุบัน ( 3 มี.ค 57 ) แป้งได้มีเพจแป้งปังปอนด์ สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์แชร์ข้อมูลจาก blog ให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านอย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโหลดเนื้อหาจาก blog ดังนั้นขออนุญาตงดตอบคำถามใดๆทางเพจและ facebook ค่ะ






หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการกินวิตามินเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและบำรุงผิวพรรณ รบกวนส่งคำถามไปยัง blog แป้งปังปอนด์ นานาสารพันปัญหา volume 5 อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


ขออนุญาตฝากกด like เพจแป้งปังปอนด์ เพื่อเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างผลงานด้วยมันสมองและสองมือพยาบาลสาวภูไท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จบการศึกษา ปี พ.ศ 2539 จากที่ราบสูงคนนี้ด้วยนะคะ


สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการนำชื่อ " แป้งปังปอนด์ " ไปใช้เพื่ออ้างอิงหรือติดป้ายสินค้าในเวปไซด์หรือที่ใดๆหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน " Blog แป้งปังปอนด์ " แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยการเผยแพร่เพื่อการอ้างอิงหรือนำรูปภาพไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด




New Comments
MY VIP Friend