เมษายน 2558

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
ฟรุกโตส ไซรัป มีคุณประโยชน์หรือโทษต่อร่างกายอย่างไร
คนเราทุกวันนี้ นอกจากจะรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เรียกง่ายๆว่า กินเพื่ออยู่แล้ว หลายคนก็อยู่เพื่อกินอีกด้วย ปฏิเสธไม่ได้ว่า อาหารรสหวาน ละมุนลิ้น อร่อยปากเป็นที่สุด เช่น เค้ก ขนมหวาน น้ำอัดลม ไอศครีม ฯลฯ มักมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักทั้งสิ้น เรามาดูกันว่า น้ำตาลมีประโยชน์กับร่างกายมากน้อยแค่ไหน

นักวิทยาศาสตร์แบ่งน้ำตาลตามโครงสร้างทางเคมีดังนี้
1.ฟรุกโตส ( fructose ) เป็นน้ำตาลจากธรรมชาติพบในผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น องุ่น แอปเปิ้ล เชอร์รี่และน้ำผึ้ง ฯลฯ

แต่เราจะศึกษาที่มาของน้ำเชื่อมฟรุกโตส ( fructose syrup ) ในปัจจุบันกันนะคะ

น้ำเชื่อมข้าวโพด ( corn syrup ) มีราคาถูกมากอย่างไม่น่าเชื่อ จากเม็ดเงินอุดหนุนข้าวโพดในอเมริกา นำไปผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของกลูโคสให้กลายเป็นฟรุกโตส ใช้ผลิตน้ำเชื่อมข้าวโพดชนิดฟรุกโตสสูง ( high fructose corn syrup ) นิยมผสมในเครื่องดื่มต่างๆ เช่น ชาเขียว และน้ำอัดลม

กระบวนการเผาผลาญกลูโคสและฟรุกโตสนั้นมีความแตกต่างกันมาก กุญแจสำคัญที่ทำให้ตระหนักถึงการบริโภคฟรุกโตสคือ ทุกเซลล์ของร่างกายสามารถนำกลูโคสไปใช้ได้จริง แต่ "ตับ" กลับเป็นอวัยวะเดียวของร่างกายที่จะสามารถนำฟรุกโตสไปใช้แถมยังใช้ในปริมาณที่จำกัดอีกด้วย

แต่ใช่ว่าฟรุกโตสจะไม่ดีเสมอไป ฟรุกโตสที่อยู่ในผลไม้สุกกลับส่งผลในทางตรงกันข้ามนะคะ

ฟรุกโตส ไม่สามารถถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานให้สมองหรือกล้ามเนื้อได้ทันทีเหมือนกลูโคส ต้องผ่านกระบวนการทางเคมีที่ตับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างไขมันในร่างกายด้วย

นักวิจัยพบว่าน้ำตาลฟรุกโตส ( high fructose syrup ) อาจมีผลเสียในการเพิ่มระดับไขมันในเลือด เช่น ส่งผลให้ระดับของไขมันตัวร้ายที่ชื่อว่า แอลดีแอลคอเลสเตอรอล ( LDL-cholesterol ) ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ( triglyceride ) และคอเรสเตอรอล ( cholesterol ) ในเลือดสูงขึ้น นับว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอุดตันหลอดเลือดได้

การที่น้ำตาลฟรุกโตส ( high fructose syrup ) ต้องผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึมที่ตับ ก่อนเข้าสู่กระแสเลือดนั้น หากเราบริโภคน้ำตาลฟรุกโตสมากเกินไป ตับก็จะเปลี่ยนน้ำตาลฟรุกโตส ไปเป็นกรดไขมันอิสระจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจไปเกาะอวัยวะภายใน เช่น ตับ ทำให้ไขมันเกาะตับ ( fatty liver ) โดยเราแทบไม่มีโอกาสรู้ตัว ห๊า!! น่ากลัวจริง

แบะแซ หรือ กลูโคสไซรัป ( glucose syrup ) ผลิตจากพืชที่มีปริมาณแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง ข้าวโพด เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีของแป้งประกอบด้วยน้ำตาลสายยาวมาต่อกัน ( หากเราเอาน้ำแป้งไปย่อยจะกลายเป็นน้ำเชื่อม ) ถึงว่าตอนเด็กเล็กที่เราเคี้ยวข้าวแล้วอมไว้ในปาก ข้าวจึงมีรสหวานด้วยประการนี้ จากเหตุผลน้ำย่อยในน้ำลายย่อยแป้งบางส่วนให้เป็นน้ำตาลนี่เอง

หากย่อยน้ำเชื่อมจนหมดและตกผลึกจะได้เป็นผงกลูโคส

2.แลคโตส ( lactose ) เป็นน้ำตาลที่พบเฉพาะในน้ำนม (milk) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงเรียกว่า น้ำตาลนม (milk sugar)

3.กลูโคส ( glucose ) เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มีโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตเล็กที่สุด ได้จากการย่อยแป้ง เช่น ข้าว มันฝรั่ง มันสำปะหลัง ข้าวโพด เมื่อรับประทานเข้าไป จะถูกย่อยในกระเพาะอาหารและดูดซึมที่ลำไส้เล็กทันที

ในภาวะปกติ ร่างกายจะมีระดับกลูโคส 80-100 mg/dl เวลาที่เราตรวจสุขภาพประจำปี จะต้องมีการตรวจน้ำตาล ( กลูโคส ) ทุกครั้ง แปลค่าการตรวจน้ำตาลเบื้องต้นดังนี้

ระดับน้ำตาล มากกว่า 100 mg/dl ถือว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน

ระดับน้ำตาล มากกว่า 125 mg/dl มีภาวะเบาหวาน

ทุกเซลล์ของร่างกายมนุษย์สามารถสร้างกลูโคสและพบในทุกเซลล์อีกด้วย อาจสรุปได้ว่า กลูโคสเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แปลได้ว่า หากเราต้องการกลูโคสเพื่อดำรงชีวิต ต้องรับประทานข้าวทุกมื้อ อืม!! ง่ายดีเนอะ ไม่ต้องไปเติมน้ำตาลจากเครื่องดื่มหรืออาหารรสหวานแต่อย่างใด

4.ซูโครส ( sucrose ) คือ น้ำตาลทรายโมเลกุลคู่ที่มีทั้งฟรุกโตสและกลูโคสเป็นองค์ประกอบ เป็นที่นิยมมากในเมืองไทย น้ำตาลประเภทนี้ ไม่สามารถถูกดูดซึมในลำไส้เล็กทันที จะต้องผ่านกระบวนการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเสียก่อนร่างกายจึงนำไปใช้เป็นพลังงานสำคัญของกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมอง

เรามาดูกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายกันนิดนึง รู้ไว้ใช่ว่าค่ะ

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายเริ่มจากนำอ้อยไปหีบเป็นน้ำอ้อย น้ำอ้อยที่ได้จะมีสิ่งสกปรกปะปนอยู่ จึงต้องนำไปผ่านกระบวนการปรับสภาพโดยการกรองและทำให้ตกตะกอนเพื่อแยกเอาสิ่งสกปรกออก ทำให้น้ำอ้อยใสขึ้น จากนั้นนำไปต้มเคี่ยวเพื่อระเหยน้ำออกไป น้ำอ้อยจึงเข้มข้นและมีรสหวานขึ้นด้วย เรียกว่า น้ำเชื่อมดิบ ( raw syrup ) เมื่อเคี่ยวไปเรื่อยๆจนเหลือน้ำน้อยมาก น้ำเชื่อมจะมีสีน้ำตาลเข้ม นำไปอบให้แห้ง จะกลายเป็น น้ำตาลทรายแดง ( brown sugar ) ซึ่งมีรสหวานละมุนและมีกลิ่นหอม

ถ้านำน้ำเชื่อมเข้มข้นไปผ่านกระบวนการทำให้น้ำตาลตกผลึก เมื่อปั่นแยกผลึกออกมาเรียกว่า น้ำตาลดิบ ( raw sugar ) มีความเข้มข้นของน้ำตาลมากกว่าน้ำตาลทรายแดง ส่วนที่เหลือหลังจากน้ำตาลตกผลึกเรียกว่า กากน้ำตาล หรือ โมลาส ( molasses )

ประโยชน์ของกากน้ำตาลสามารถใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรมเช่น ใช้ทำปุ๋ยชีวภาพ ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อการผลิตสุรา รวมถึงการผลิตเอทานอล เพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตแก๊สโซฮอล์ อุตสาหกรรมยีสต์ ผงชูรส และ กรดน้ำส้ม ( น้ำส้มสายชูที่เราใส่เป็นเครื่องปรุงความแซ่บของอาหารเช่น ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้าฯลฯ ) แต่ส่วนใหญ่จะใช้ผลิตแอลกอฮอล์ เป็นอาหารสัตว์ เพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เพื่อใช้ในฟาร์มกุ้ง ตลอดจนใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

ระหว่างกระบวนการระเหย มีการกรองน้ำเชื่อมและตกผลึกซ้ำๆ จะได้น้ำตาลทรายขาว ( white sugar ) ที่เราเห็นเป็นประจำตั้งแต่เล็กจนโต

ทุกอย่างมีทางสายกลาง การบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ก็ไม่ดีทั้งสิ้น ร่างกายไม่อาจแบกรับน้ำตาลได้มากในระดับที่เรียกว่า " เบาหวาน " ซึ่งข้อนี้แป้งไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ กลัวแต่หน้าจะเหี่ยวก่อนวัย จากโมเลกุลน้ำตาลไปเกาะคอลลาเจนให้บิดตัว ( glycation ) ส่งผลให้คอลลาเจนและอิลาสตินถูกทำลายลง ที่มาของริ้วรอยในที่สุดมากกว่าค่ะ



ที่มา
Gourmet & cuisine / food fact / ดร.ณัฐพล ตั้งสุภูมิ
นิตยสาร ชีวจิต
Health today thailand.com






Create Date : 09 เมษายน 2558
Last Update : 11 เมษายน 2558 13:27:13 น.
Counter : 26707 Pageviews.

0 comments

แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]



เริ่มเขียนblog 20ก.ค55
ปัจจุบัน ( 3 มี.ค 57 ) แป้งได้มีเพจแป้งปังปอนด์ สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์แชร์ข้อมูลจาก blog ให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านอย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโหลดเนื้อหาจาก blog ดังนั้นขออนุญาตงดตอบคำถามใดๆทางเพจและ facebook ค่ะ






หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการกินวิตามินเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและบำรุงผิวพรรณ รบกวนส่งคำถามไปยัง blog แป้งปังปอนด์ นานาสารพันปัญหา volume 5 อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


ขออนุญาตฝากกด like เพจแป้งปังปอนด์ เพื่อเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างผลงานด้วยมันสมองและสองมือพยาบาลสาวภูไท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จบการศึกษา ปี พ.ศ 2539 จากที่ราบสูงคนนี้ด้วยนะคะ


สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการนำชื่อ " แป้งปังปอนด์ " ไปใช้เพื่ออ้างอิงหรือติดป้ายสินค้าในเวปไซด์หรือที่ใดๆหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน " Blog แป้งปังปอนด์ " แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยการเผยแพร่เพื่อการอ้างอิงหรือนำรูปภาพไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด




New Comments
MY VIP Friend