" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
002. วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย ความสูญเสียจากวิกฤตท่องเที่ยว

วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
ความสูญเสียจากวิกฤตท่องเที่ยว

1.
จาก เอกสารแนบที่ 2

อนันต์ วัฒนกุลจรัส
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาับันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ณ หอประชุมอาคารรวมวิจัย และ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9 กันยายน พ.ศ.2552


2.
การนำเสนอ
1. ความเป็นมา
2. วิธีการศึกษา
3. ผลการศึกษา
4. บทสรุป
5. ข้อเสนอแนะงานวิจัย






09971. ภาพประกอบคำบรรยายจากวันสัมมนาทางวิชาการ


3.
(1). ความเป็นมา วิกฤตท่องเที่ยว และ การคาดการณ์ผลกระทบ


4.
ความไม่แน่นอนของการท่องเที่ยวไทย
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรายไตรมาส ปี 1997 -2009


5.
สถานการณ์อย่างไร จึงเป็น....วิกฤตท่องเที่ยว

1. มุมมองและข้อมูลของแต่ละบุคคล

1.1 ตัวชี้วัด
1.2 ปริมาณ
1.3 คุณภาพ
1.4 ระยะเวลา
1.5 อื่นๆ


6.
สถานการณ์อย่างไร จึงเป็น...วิกฤตท่องเที่ยว
ขึ้นอยู่กับมุมมอง และ ข้อมูลของแต่ละบุคคล

ตัวชี้วัด / คุณภาพ / ปริมาณ / ระยะเวลา

1. จำนวนนักท่องเที่ยว
:คนไทย, คนต่างชาติ

2. การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว รายได้จากการท่องเที่ยว
:คนไทย, คนต่างชาติ ,สินค้า, บริการ, วันพักแรม

3 การดำเนินงานของผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยว
:การผลิต, การจอง, ผลกำไร, ผลขาดทุน, การเลิกกิจการ

4.กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
: มูลค่าเพิ่ม, การจ้างงาน, การใช้ทุน, การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ปริมาณ
:ชะลอ หรือ ลดลง 10 %, 15 %, 30 %

ระยะเวลา
: ติดต่อกัน 3 เดือน, 2 ไตรมาส, 1 ปี หรือ 2 ปี


7.
ผลกระทบจากการท่องเที่ยว

1. การท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อนด้านอุปสงค์ (Demend driven approach)
2. ผลกระทบโดยตรงต่อกิจการท่องเที่ยว และ มูลค่าเพิ่มของกิจการนั้นๆ
3. ผลกระทบโดยอ้อมต่อกิจการและมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่อุปทานท่องเที่ยว
4. ผลกระทบจากรายได้ของมูลค่าเพิ่มในกิจการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม
5. ผลกระทบที่มีการซื้อขายผ่านตลาด เช่น ผลผลิต วัตถุดิบ
6. ผลกระทบที่มีการซื้อขายผ่านตลาด เช่น ผลผลิต วัตถุดิบ

Value = Price * Quantity

dV/dV = dP/dP + dQ/dQ.

7. ผลกระทบที่ไม่มีการซื้อขายผ่านตลาด เช่น สิ่งแวดล้อม ภาพลักษณ์


8.
ตัวอย่างผลกระทบจากการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว
มีผลกระทบโดยตรงต่อ
1.การขนส่ง , 2.โรงแรม , 3. ร้านอาหาร

มีผลกระทบโดยตรงต่อ
1.กำไร,2.แรงงาน, 3.ทุน

มีผลกระทบต่อรายได้
1.ธุรกิจค้าปลีก, 2.เครื่องใช้ไฟฟ้า, 3.สิ่งทอ, 4.อาหารและเครื่องดื่ม


การท่องเที่ยว
มีผลกระทบโดยอ้อม ต่อ
1.การบริหารส่วนบุคคล, 2.ผลิตผลเกษตรแปรรูป, 3.อสังหาริมทรัพย์

ผลกระทบโดยอ้อม
1.กำไร,2.แรงงาน, 3.ทุน

มีผลกระทบต่อรายได้
1.ธุรกิจค้าปลีก, 2.เครื่องใช้ไฟฟ้า, 3.สิ่งทอ, 4.อาหารและเครื่องดื่ม


9.

ผลกระทบภายนอกด้านเศรษฐกิจ
1. การแข็งค่าของค่าเงินบาท
2. วิกฤตการณ์ราคาน้ำมันแพง
3. การถดถอยของเศรษฐกิจโลก

ผลกระทบภายนอกด้านความปลอดภัย
1.การก่อการร้าย
2.ภัยสงคราม
3. ความไม่สงบภายในประเทศ
4. โรคระบาด
5. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การคาดการณ์

1.จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ลดลง
2. การลด /การชะลอการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
3. การลดวันพักแรมของนักท่องเที่ยว การลดปริมาณการจับจ่ายใช้สอย

ผลกระทบ

ภาพรวมกิจกรรมการท่องเที่ยวไทย
:ผลการดำเนินงานของกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม การเดินทางขนส่ง ร้านอาหาร การบันเทิง การบริการส่วนบุคคล ฯลฯ

ผลกระทบ

ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ
:การจ้างงาน ค่าจ้างแรงงาน การปรับราคาสินค้าและบริการ การเลิกกิจการ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ฯลฯ


10.
ตัวอย่างการคาดการณ์
มุมมองที่หลากหลายต่อวิกฤตท่องเที่ยวไทย จากตัวแทนหลายสำนัก เช่น

:1. สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว
:2. สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย
:3. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
:4. สมาคมโรงแรมไทย
:5. สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
:6. การบินไทย
:7. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
:8. ธนาคารแห่งประเทศไทย
:9. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
:10. สนง.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
:11. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เป็นการคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากอุปสงค์ท่องเที่ยวที่ลดลง เช่น จำนวนนักท่องเที่ยว หรือ รายได้จากการท่องเที่ยวทีลดลง


11.
ตัวอย่างการคาดการณ์

ผลกระทบภายนอก
:ปัญหาทางการเมือง ราคาน้ำมันที่ผันผวน วิกฤตการเงินโลก การหดตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก โรคระบาด ฯลฯ

คาดการณ์
: จำนวนนักท่องเทีี่ยวต่างชาติ :- คาดว่าลดลง 2.5 -3.5 และ อาจมากถึง 5-6ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมคาดว่าลดลง 15-40 %

ภาพรวมการท่องเที่ยวไทย
:มูลค่าการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว 42,000 - 76,000 และ อาจมากถึง 100,000 - 146,000 ล้าน บาท

ผลกระทบ
:ภาพรวมเศรษฐกิจประทศ :- แรงงานในภาคการท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้าง 1 -1.2 ล้านคน อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจหดหายไปร้อยละ 1 ถึง 2



12.
ตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านมา

* การสำรวจและสัมภาษณ์ธุรกิจโรงแรมในตรุกรีเกี่ยวกับการรับรู้ การเตรียมการรับมือ และ ปฏิกิริยาต่อวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี 2001
(Okumus and Karamustafa,2005)

* การใช้เทคนิคทางเศรษฐมิติ Auto-Regression Distributed Lag (ARDL) เพื่อดูผลกระทบของวิกฤตการณ์ระหว่างปี 1997 -2003 (Asian financial crisis, earthquake, 9-11, SARS) ต่อจำนวนนักท่องเที่ยวไต้หวัน (Wang,2008)

*การใช้แบบจำลองดุลยภาพทางเศรษฐกิจทั่วไป (CGE Model)

# ผลกระทบของวิกฤตท่องเที่ยวไต้หวันจากโรค SARS (Yang and Chen,2009)

# ผลกระทบของนโยบายการแก้ไขวิกฤตท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเหตุการณ์ 9-11 (Blake and Sinclair,2003)


13.
อุปสรรคในการระบุวิกฤตท่องเที่ยว และ คาดการณ์ผลกระทบ

# ยากที่จะระบุได้ว่า สถานการณ์์ใดถึงขึ้นเป็นวิกฤตท่องเที่ยวแล้ว

# ยากที่จะระบุได้ว่า วิกฤตท่องเที่ยวมีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร

- โดยเฉพาะในช่วงปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบันที่ประเทศไทยประสบปัญหาทั้งน้ำมันแพง เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ความไม่สงบทางการเมือง โรคระบาด ค่าเงินบาทแข็ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน ฯลฯ

# ยากที่จะคาดการณ์ผลกระทบที่แท้จริง อันเนื่องจากวิกฤตท่องเที่ยวนั้นๆ

- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการท่องเที่ยวมีขนาดใหญ่และมีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆมากมาย ผลกระทบจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยตรงเท่านั้น



14.
คำถามวิจัย และ วัตถุประสงค์การวิจัย

* สถานการณ์ใดถึงขึ้นเป็นวิกฤตท่องเที่ยว => การหดตัวของการท่องเที่ยวที่ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ร้อยละ 1

* วิกฤตท่องเที่ยวมีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร => ไม่จำเป็นต้องระบุ

หมายเหตุ
:Moonfleet มีความเห็นว่า สาเหตุที่แท้จริงของวิกฤตท่องเที่ยวนี้มีความจำเป็นที่ควรจะต้องระบุ เพราะว่าถ้าไม่ทราบสาเหตุแห่งการเป็น"วิกฤตการณ์"แล้ว การวินิจฉัยเพื่อรักษา หรือ การแก้ปัญหานั้นอาจจะไม่ถูกต้องได้

(ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ....)


* ผลกระทบอันเนื่องจากวิกฤตท่ิองเที่ยว => ใช้แบบจำลองที่สะท้อนภาพรวมของทั้งระบบเศรษฐกิจ

* คำถามวิจัยแบบย้อนกลับ (Counterfactual research question) ->

<> การท่องเที่ยวไทยต้องถดถอยเท่าไร จึงจะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศลดลงไปร้อยละ 1 และ จะก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไรบ้าง


15.
วิธีการศึกษา ข้อมูลและแบบจำลองสถานการณ์

:แบบจำลองดุลยภาพทางเศรษฐกิจทั่วไป ที่มีบัญชีทางสังคมเป็นฐานข้อมูลหลัก (Social accounting matrix Computable general equilibrium model)



16.
ข้อมูล

# ฐานข้อมูลหลักประยุกต์มาจากตารางบัญชีทางสังคม (Social accounting matrix,SAM) ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI,20004)

# ค่าพารามิเตอร์ (Parameters) ต่างๆ รวบรวมมาจากแหล่งงานวิจัยอื่นๆ ได้แก่ Sarntisart (1993), Warr et al.(1993), Sussangkarn and Kumar (1997), TDRI (2004) ฉ,ธ Horridge (2005)

# โปรแกรม GEMPACK (General Equilibrium Modeling Package) ซึี่งออกแบบโดย Harrison and Pearson (1996) และ Horridge (2005)


17.
แบบจำลอง

* โครงสร้างมาตรฐานของแบบจำลองเศรษฐกิจแบบดุลยภาพทั่วไปที่มีตารางบัญชีทางสังคมเป็นฐานข้อมูลหลักประยุกต์มาจากงานวิจัยของ Lofgren, Harris and Robinson (2001)

* แนวทางการพัฒนาปรับปรุงแบบจำลองเพื่อให้มีองค์ประกอบของภาคการท่องเที่ยวในงานวิจัยนี้

# อุปทานการท่องเที่ยว
# อุปสงค์การท่องเที่ยว


18.
แบบจำลอง

อุปทานการท่องเที่ยว

:อุปทานการท่องเที่ยวประกอบไปด้วยกิจการรายสาขาต่างๆ ที่ประกอบกันด้วยสัดส่วนที่คงที่ตามตัวแบบ Fixed proportion หรือ Leontief function เพื่อสะท้อนว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวเป็นแบบเพ็จเกจ (Package) นั่นคือ นักท่องเที่ยว ไม่สามารถใช้โรงแรมทดแทนอาหาร ใช้อาหารทดแทนยานพาหนะ ใช้ยานพาหนะทดแทนนันทนาการได้ ฯลฯ


19.
แบบจำลอง

อุปสงค์การท่องเที่ยว

:อุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย (Domestic tourism) ประมาณการได้จาก สัดส่วนการบริโภคการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโดยใช้ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่เกี่ยวกับโรงแรมเป็นตัวตั้ง ทั้งนี้เพราะค่าใช้่จ่ายด้านโรงแรมมีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ


:อุปสงค์การท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย (Outbound tourism) กำหนดให้เป็นฟังก์ชั่นของรายได้ของครัวเรือนที่เหลือหลังจากหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา



20.
แบบจำลอง

*อุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศไทยของคนต่างชาติ (Inbound tourism)

เป็นส่วนหนึ่งของอุปสงค์ขั้นสุดท้ายของระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการส่งออก แต่ต่างกันที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะต้องทำการแลกเปลี่ยนเงินตราและจะต้องเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อบริโภคสินค้าและบริการท่องเที่ยวโดยตรง

อุปสงค์การท่องเที่ยวนี้จึงขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการท่องเที่ยว และ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ


21.
แบบจำลองสถานการณ์

# ทำการปรับลดอุปสงค์การท่องเที่ยวโดยรวมลงจนกระทั่งอัตราการเติบโคของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) ลดลงไปร้อยละ 1 ตามที่ต้องการ

# เพื่อสะท้อนผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะสั้นถึงปานกลาง แบบจำลองสถานการณ์จะำกำหนดให้

* ผู้ประกอบการสามารถปรับปริมาณการจ้างงานนอกภาคเกษตรได้อย่างอิสระ เช่น การปรับปริมาณการจ้างานในกิจการท่องเที่ยวโดยตรง อาทิ การจ้างงานในกิจการ โรงแรม กิจการขนส่ง กิจการร้านอาหาร กิจการบันเทิง และ กิจการบริการส่วนบุคคล ฯลฯ


22.
แบบจำลองสถานการณ์

# การปรับปริมาณการจ้างงานในภาคเกษตร ปริมาณการใช้ทุนทั้งในและนอกภาคเกษตร และ ปริมาณการใช้ที่ดินเป็นไปอย่างจำกัด

# ผลตอบแทนแรงงานในภาคเกษตร ผลตอบแทนทุนทั้งในและนอกภาคเกษตร และ ผลตอบแทนที่ดินเป็นไปอย่างอิสระ

# การใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุนโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงในระยะสั้นถึงปานกลาง

# เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในรายได้ที่แท้จริงของภาคครัวเรือน การออมของภาคครัวเรือนจะกำหนดให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน


23.
แบบจำลองสถานการณ์

# เพื่อสะท้อนความเป็นจริงที่ว่าในระยะสั้นถึงปานกลาง ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และ ฉับพลันสามารถปรับลดอัตราการจ้างงานในกิจการได้

# ในขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตร การท่องเที่ยวไม่ได้ปรับลดอัตราการจ้างงานในทันที รวมั้งความเป็นจริงที่ว่าการปรับปริมาณการใช้ทุนและที่ดินเป็นไปได้อย่างจำกัด เมื่อเที่ยบกับการปรับการจ้างงาน


24.
(3) ผลการศึกษา
จุดวิกฤตและผลกระทบที่ตามมา


25.
จุดวิกฤต

การท่องเที่ยวไทยหดตัวลง 33.17 %
หรือ เทียบเท่ากับการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว 222,661 ล้านบาท

=> 60.74 % การหดตัวของ Inbound tourism 45.22 % (เทียบเท่า 135,235 ล้านบาท หรือ นักท่องเที่ยวมาเมืองไทยลดลง 3,570,844 คน)

=> 34.36 % การลดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยของคนไทย (domestic tourism) ลดลง 34.20 % (เทียบเท่า 76,508 ล้านบาท หรือ นักท่องเที่ยวชาวไทยลดการท่องเที่ยวลง 16,460,413 ครั้ง)

=> 4.9 % การลดการท่องเที่ยวในต่างประเทศของคนไทย (outbound tourism) 7.36 % (เทียบเท่า 10,918 ล้านบาท)



26.
ผลกระทบเมื่อถึงจุดวิกฤต

การท่องเที่ยวไทยหดตัวลง 33.17 %
หรือ เทียบเท่ากับการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว 222,661 ล้านบาท

=> รายได้ครัวเรือนสูญไป 8.07 % (ลดลง 223,131 ล้านบาท)

- ครัวเรือนนอกภาคเกษตสูญรายได้ 171,878 ล้าน บาท
- ครัวเรือนในภาคเกษตรสูญรายได้ 51,253 ล้าน บาท

=> ค่าเงินบาที่แท้จริงอ่อนตัวลง 4.21 %

=> การผลิตในประเทศลดลง 4.87 % (ลดลง 501,211 ล้าน บาท) (2.3 เท่าของมูลค่าการสูญเสียรายได้ท่องเที่ยว)


=> การจ้างงานลดลง 4.91 % (ลดลง 109,813 ล้านบาท) (49.32 % ของมูลค่าการสูญเสียรายได้ท่องเที่ยว)


=> การใช้ทุนลดลง 5.04 % (ลดลง 119,345 ล้าน บาท) (53.60 % ของมูลค่าการสูญเสียรายได้ท่องเที่ยว)



27.
การเปลี่ยนแปลงในกิจการบางสาขา
-ไม่นำเสนอในที่นี้ (เนื่องจาก เมื่อยนิ้วมือ)


28.
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าและบริการบางสาขา (พันล้านบาท)
- ไม่นำเสนอในที่นี้ (เนื่องจาก เมื่อยนิ้วมือ)


29.
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินค้าและบริการบางสาขา (Value %)


30.
การเปลี่ยนแปลงปริมาณสินค้า และ บริการบางสาขา (ร้อยละ) (Quantity %)


31.
การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการสาขา (ร้อยละ) (Price %)


32.
การเปลี่ยนแปลงปริมาณ และ ราคาของสินค้าและบริการบางสาขา

* กิจการส่วนใหญ่จะมีการปรับเปลี่ยนปริมาณการผลิตมากกวาการเปลี่ยนแปลงในราคา กิจการเหล่านี้จึงมีความยืดหยุ่นในการปรับการผลิตต่อราคาสูงกว่า 1 เช่น

: กิจการขนส่ง กิจการโรงแรม กจการร้านอาหาร กิจการเครื่องดื่ม กิจการบริการส่วนบุคคล อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ กิจการเครื่องแต่งกาย ยกเว้น รองเท้า กิจการอุปกรณ์ขนส่ง รถยนต์ เรือ รถบรรทุก กิจการหนัง เครื่องหนัง และ รองเท้า กิจการอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ กิจการผลิตโลหะแปรรูป กิจการสิ่งทอ กิจการอสังหาริมทรัพย์ และ กิจการผลไม้


33. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการจ้างงานบางสาขา (พันล้านบาท) (Value 1000 million baht)


34.การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการจ้างงานบางสาขา (ร้อยละ) (Quantity %)


35. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการใช้ทุนบางสาขา (พันล้านบาท) (Value 1000 million baht)


36.
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการจ้างงานบางสาขา (ร้อยละ) (Price %)


37.
เปรียบเทียบกับสถิตินักท่องเที่ยวในอดีต


38.
การท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผ่านมาปีต่อปี

:สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว


39.
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผ่านมาปีต่อปี
:สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

40.
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงมากที่สุดในปี 2546
:สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

41.
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงล่าสุดในปี 2552

เดือน/ไตรมาส พ.ศ.2551 พ.ศ.2552 การเปลี่ยนแปลง (คน) และร้อยละ(%)

มกราคม..........1,437,686..1,267,029....-170,657..............-11.87
กุมภาพันธ์........1,481,458..1,138,092...-343,366..............-23.18
มีนาคม............1,407,649..1,237,507...-170,142..............-12.09

ไตรมาส 1........4,326,793...3,642,628...-684,165.............15.81

เมษายน...........1,222,253...1,085,351...-136,902............-11.20
พฤษภาคม........1,172,310....923,918....-248,392.............-21.19
มิถุนายน...........1,155,004....954,809...-200,195.............-16.49

ไตรมาส 2.........3,549,567....2,964,078...-585,489...........-16.49

ครึ่งปีแรก.........7,786,360.....6,606,706,...-1,269,654......-16.12

ที่มา:สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว


42.
(4) บทสรุป

43.
บทสรุป

1. ผลกระทบจากวิกฤตท่องเที่ยวมีผลกระทบโดยตรง
แต่ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากผลกระทบโดยอ้อม ผลกระทบจากรายได้ ผลกระทบจาการจัดสรรปัจจัยการผลิต

2. จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจนถึงจุดวิกฤตในปี 2546 (หน่วยร้อยละ)

*3.จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ยังไม่ถึงจุดวิกฤต (หน่วยร้อยละ)

4.อย่างไรก็ตาม เมื่อการท่องเที่ยวลดลงจนถึงจุดวิกฤตแล้ว ผลกระทบที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบระดับกว้างจะสูงมาก


44.
(5) ข้อเสนอแนะงานวิจัย


45.
ข้อเสนอแนะงานวิจัย

1.สำหรับประเทศไทย เมื่อเกิดภาวะถดถอยในกิจการท่องเที่ยว ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวต่างมีความสามารถในการปรับตัวได้เร็วกว่ามาตรการช่วยเหลือจากหน่วยงานของภาครัฐ

การปรับตัวของเอกชนจะดีกว่ามาตรการของภาครัฐหรือไม่นั้น ควรเป็นหัวข้องานวิจัยในอนาคต


46.

2. การปรับลดราคาสินค้าและบริการของผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงการปรับการจ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดเงินเดือน และ ค่าตอบแทนแรงงาน การปรับจำนวนแรงงาน และ การปรับปริมาณการใช้ทุน จะช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการถดถอยของการท่องเที่ยวไทยโดยรวมได้มากน้อยเพียงไร โดยอาจจะเลืิอกศึกษาเฉพาะบางกิจการที่สำคัญเพื่อจะได้เปรียบเทียบผลกระทบ เช่น กิจการโรงแรมม กิจการขนส่ง กิจการร้านอาหาร กิจการบันเทิง และ กิจการบริการส่วนบุคคล เป็นต้น


47.
เอกสารอ้างอิง

Source:จาก เอกสารแนบที่ 2

วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
ความสูญเสียจากวิกฤตท่องเที่ยว

อนันต์ วัฒนกุลจรัส
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาับันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ณ หอประชุมอาคารรวมวิจัย และ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9 กันยายน พ.ศ.2552










:Moonfleet ต้องขอขอบคุณสำหรับ อาจารย์ อนันต์ วัฒนกุลจรัส
แห่ง คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาับันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในการนำเสนอผลงานการวิจัยในครั้งนี้

แต่ Mooonfleet ขอแสดงความเห็นด้วย และ ความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของบทสรุป ดังนี้

1.Moonfleet เห็นด้วยที่ว่า ผลกระทบจากวิกฤตท่องเที่ยวมีผลกระทบโดยตรง
แต่ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากผลกระทบโดยอ้อม ผลกระทบจากรายได้ ผลกระทบจาการจัดสรรปัจจัยการผลิต

2. จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจนถึงจุดวิกฤตในปี 2546 (หน่วยร้อยละ)

Moonfleet มีความเห็นแตกต่างเป็นดังนี้ จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจนถึง"จุดต่ำที่สุด" ในปี 2546 (หน่วยร้อยละ) จนเป็น "จุดวิกฤตในปี 2546"


3.จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ยังไม่ถึงจุดวิกฤต (หน่วยร้อยละ)

Moonfleet มีความเห็นแตกต่างเป็นดังนี้
จากสถิติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ยังไม่ถึงจุดต่ำสุดเทียบกับในปี 2546 แต่ก็ถือว่าเป็น "จุดวิกฤต" (หน่วยร้อยละ)
ในปี พ.ศ.2552


4.อย่างไรก็ตาม เมื่อการท่องเที่ยวลดลงจนถึงจุดวิกฤตแล้ว ผลกระทบที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบระดับกว้างจะสูงมาก

Moonfleet มีความเห็นแตกต่างเป็นดังนี้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวจะไม่ลดลงจนถึงจุดต่ำสุดดังเช่นในปี 2546 แต่ถ้าการท่องเที่ยวยังคงเป็นอยู่ดังเช่นปัจจุบันนี้ (คือ ไม่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้น) ภาวะวิกฤตจะเกิดขึ้นในระยะเวลาที่ยาวนาน และ มีผลกระทบในระดับที่กว้างมากขึ้น

ขอแสดงความนับถือ


Moonfleet ข้อแสดงความคิดเห็นต่อ ตารางที่ 25 และ 26 ของเอกสารแนบ 2
ที่ว่า

ถ้าการท่องเที่ยวหดตัว 33.17 % หรือ เทียบเท่ากับรายได้ 222,661 ล้านบาท

=> จะทำให้ GDP ลดลง 4.87 % หรือ 501,211ล้านบาท หรือ (2.3 เท่าของมูลค่าการสูญเสียรายได้ท่องเที่ยว)

ดังนั้น

GDP เปลี่ยนแปลง 1% จะมีมูลค่า =102,918 ล้านบาท

การท่องเทีี่ยวไทยหดตัวลง 33.17 % มีูมูลค่าเท่ากับ 222,661 ล้านบาท

ดังนั้น 1 % = 6,712.7 ล้านบาท


จากตัวคูณ 2.3

ดังนั้น

ถ้าการท่องเที่ยวติดลบทุกๆ 1 % จะมีมูลค่า = 6,712.7 ล้านบาท
จำทำให้ GDP ติดลบ = 15,439.2 ล้านบาท


จะสามารถสรุปได้ว่า

ถ้าการท่องเที่ยวติดลบ เพียง 6.47 % เทียบเท่ากับการสูญเสียรายได้จาการท่องเที่ยว 43,431.16 ล้านบาท

และ จะทำให้ GDP (การผลิตภายในประเทศ) ลดลง =99,891.68 ล้านบาท หรือ GDP -1%

สรุป อีกครั้ง
ถ้านักท่องเที่ยวลดลงเพียง 6.47 % ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติ

จากนิยาม วิกฤต คือ GDP -1 หรือ ลดลง 100,000 ล้านบาท

Moonfleet
:เขียนในวันเสาร์ ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2552




นพบุรี ศรีนครพิงค์ เวียงเชียงใหม่ นครแห่งชีวิต ความมั่งคั่ง และ ความมั่นคง




Create Date : 12 กันยายน 2552
Last Update : 12 กันยายน 2552 13:06:02 น. 1 comments
Counter : 1107 Pageviews.

 
Chiang Mai : เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง


โดย: Chiang Mai : เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง (moonfleet ) วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:22:07:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.