" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
11 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
001. วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย

การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ
วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ.2552
ณ หอประชุมอาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่






09972. ภาพบรรยากาศในวันสัมมนาเชิงวิชาการ


1.
วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย

โดย ศ.ดร. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
และ นายอัครพงศ์ อั้นทอง
สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ??


2.
ประเด็นปัญหาการวิจัย

วิกฤตการของไทย มีผลต่อภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ และ ความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวของไทยอย่างไร


3.
แนวคิดทางทางทฤษฏี

3.1. กรอบแนวคิดการประเมินภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ คุณค่าที่ได้รับ และ ความนิยมต่อแหล่งท่องเที่ยว

3.2. กรอบแนวคิดเรื่อง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ คุณค่าที่ได้รับ และ ความนิยมต่อแหล่งท่องเที่ยว


4.
กรอบแนวคิด Destination Image Model (DIM)

4.1. ก่อนการท่องเที่ยว
4.2. ระหว่างการท่องเที่ยว
4.3. หลังจากการท่องเที่ยว
4.4. พฤติกรรมในอนาคต


5.
ระเบียบวิธีวิจัย

5.1. สัมภาษณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 5,359 ชุด

5.1.1 สถานการณ์ ก่อนเหตุการณ์ปิดสนามบิน
5.1.2 สถานการณ์ ปิดสนามบิน
5.1.3 สถานการณ์ หลังปิดสนามบิน แต่ ก่อนสงกรานต์เลือด
5.1.4 สถานการณ์ เหตุการณ์สงกรานต์เลือด
5.1.5 สถานการณ์ หลังสงกรานต์เลือด

5.2 Confirmatory Factors Analysis (CFA)

5.3 Structural Equation Model (SEM)



6.
ผลกระทบของระยะเวลาปิดสนามบินต่อนักท่องเที่ยว

6.1. เช็คอินเสร็จแล้ว แต่เครื่องบินไม่สามารถออกจากสนามบินได้ = 5.7 %
6.2. เสร็จจากการท่องเที่ยว และ เดินทางไปที่สนามบิน = 7.5 %
6.3. คาดว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยภายใน 1-2 วัน = 15.4 %
6.4. อยู่ในประเทศไทยอีก 3 - 5 วัน ก่อนถึงเวลาเดินทางกลับ = 22.4 %
6.5. อยู่ในประเทศไทยอีก 6 - 10 วัน ก่อนถึงเวลาเดินทางกลับ = 26.7 %
6.6. วางแผนว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยภายในเดือนธันวาคม จากหนึ่งในสนามบินที่ถูกปิด = 21. 8 %

ผู้ตอบแบบสอบถาม รวม 495 คน



8.
ผลกระทบจากการปิดสนามบิน


9.
ผลกระทบจากการปิดสนามบิน

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น


9.1. มีค่าใช้จ่ายเกิดจากความล่าช้าในการเดินทางกลับ = 28.3 %
9.2. รู้สึกกระวนกระวายใจ = 27.9 %
9.3. มีความยุ่งยากในการเปลี่ยนแปลงแผนการเดินทาง = 22.6 %
9.4. ต้องติดค้างในประเทศไทย = 20.2 %
9.5. ต้องผิดนัดสำคัญ = 13.9 %
9.6. ไม่สามารถเดินทางไปประเทศปลายทางอื่นๆได้ = 12.5 %
9.7. ต้องค้างคืนที่สนามบิน = 2.8 %

N = 495 คน


11.
ความพึงพอใจต่อความช่วยเหลือ

หน่วยงาน ร้อยละ ไม่พอใจ/พอใจมาก และ ค่าเฉลี่ย

11.1. ส่วนงานราชการ และ เจ้าหน้าที่สนามบินของประเทศไทย
ไม่พอใจ = 11.7 %, พอใจมาก = 14.8 % , ค่าเฉลี่ย = 2.98

11.2. สายการบิน หรือ บริษัท ทัวร์ของประเทศของนักท่องเที่ยว
ไม่พอใจ = 22.0 %, พอใจมาก = 12.9 % , ค่าเฉลี่ย = 2.64

11.3. การบิน หรือ บริษัททัวร์ไทย
ไม่พอใจ = 18.8 %, พอใจมาก = 8.7 % , ค่าเฉลี่ย = 2.63

11.4. รัฐบาลของนักท่องเที่ยว
ไม่พอใจ = 25.7 %, พอใจมาก = 16.2 % , ค่าเฉลี่ย = 2.57


10.
ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว

รายการ ค่าเฉลี่ย ($) และ (บาท)

10.1. ค่าใช้จ่ายรวมในประเทศไทย = 2,260 $ , 74,580 บาท
10.2. ค่าใช้จ่ายจากการเดินล่าช้าเฉลี่ยต่อทริป = 430 $ , 14,190 บาท
10.3. ค่าใช้จ่ายจากการเิดินทางล่าช้าเฉลี่ยต่อวั = 112 $, 3,696 บาท


12.
การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ ช่วงก่อน และ หลังการปิดสนามบิน


13.
ภาพลักษณ์ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

13.1. ทะเล ชายหาด = 4.05, 4.12 และ ไม่แตกต่าง
13.2. แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอื่นๆ = 4.06, 4.12 และ ไม่แตกต่าง
13.3. วิถีไทย = 3.95, 3.92 และ ไม่แตกต่าง
13.4. วัฒนธรรม = 3.97 , 3.90 และ ไม่แตกต่าง


15.
ภาพลักษณ์ด้านบริการ / สาธารณูปโภค

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

15.1. การคมนาคมสื่อสาร = 3.47 , 3.10 และ 99 %
15.2. ความปลอดภัย = 3.48 , 3.18 และ 99 %
15.3. ผู้คน = 4.17 , 3.98 และ 99 %
15.4. คุณภาพบริการ = 3.76 , 3.61 และ 95 %
15.5. คุ้มราคา = 3.88 , 3.76 และ 95 %
15.6. ความสะอาด = 3.17 , 3.07 และ ไม่แตกต่าง



14.
ภาพลักษณ์ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

14.1. สปา/การนวด = 4.14 , 4.03 และ 95 %
14.2. ช็อปปิ้ง = 3.90 , 3.80 และ 90 %
14.3. ชีวิตยามราตรี = 3.85 , 3.78 และ ไม่แตกต่าง
14.4. อาหาร = 4.05 , 4.01 และ ไม่แตกต่าง


16.
การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการท่องเที่ยวกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังปิดสนามบิน



17.
ความพึงพอใจในสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

17.1. แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอื่นๆ = 3.72 , 3.88 และ 99 %
17.2. แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก = 3.62 , 3.74 และ 95 %
17.3. ทะเล ชายหาด = 3.79 , 3.90 และ 90 %
17.4. สภาพอากาศ = 3.73 ม 3.77 และ ไม่แตกต่าง
17.5. แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ อื่นๆ = 3.71ม 3.71 และ ไม่แตกต่าง


18.
ความพึงพอใจในกิจกรรมเสริมการท่องเที่ยว

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

18.1 ชีวิตยามราตรี = 3.54, 3.66 และ 90 %
18.2 สปา / การนวด = 3.97 , 4.01 และ ไม่แตกต่าง
18.3 อาหาร = 3.94 , 3.91 และ ไม่แตกต่าง
18.4 ช็อปปิ้ง = 3.77, 3.74 และ ไม่แตกต่าง


19.
ความพึงพอใจในด้านบริการ / สาธารณูปโภค

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

19.1 การคมนาคมสื่อสาร = 3.75 , 3.27 และ 99 %
19.2 ความปลอดภัย = 3.82 , 3.48 และ 99 %
19.3 ความสะอาด = 3.59 , 3.28 และ 99%
19.4 คุ้มราคา = 3.93 , 3.75 และ 99 %
19.5 ที่พัก = 3.90 , 3.83 และ ไม่แตกต่าง
19.6 ผู้คน = 4.12 , 4.07 และ ไม่แตกต่าง


20.
การเปรียบเทียบคุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับช่วงก่อน และ หลังการปิดสนามบิน


21.
คุณค่าที่นักท่องเที่ยวได้รับ

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

21.1 ยินดีจ่ายเพื่อกลับมาอีกครั้ง = 4.18 , 3.72 และ 99 %
21.2 คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป = 4.16 , 3.81 และ 99 %
21.3 ประสบการณ์ที่คุ้มค่า = 4.17 , 3.87 และ 99 %
21.4 คุ้มค่า กับ เงินที่จ่าย = 3.96 , 3.72 และ 99 %


22.
การเปรียบเทียบความพึงพอใจรวมต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย ช่วงก่อน และ หลังการปิดสนามบิน


23.
ความพึงพอใจรวม

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

23.1 ดีกว่าที่คาดหวัง = 3.89 , 3.40 และ 99 %
23.2 พอใจที่เลือกมาเที่ยวประเทศไทย = 4.24 , 3.86 และ 99 %
23.3 ได้รับความพากเพียร = 4.36 , 4.03 และ 99 %


24.
การเปรียบเทียบความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย ช่วงก่อนและหลังการปิดสนามบิน


25.
ความจงรักภักดีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต และ ระดับความเชื่อมั่น

25.1 จะแนะนำให้เพื่อนและครอบครัวมาเที่ยว = 4.38 , 3.87 และ 99 %
25.2 จะกลับมาเที่ยวอีกครั้งอย่างแน่นอน = 4.12 , 3.67 และ 99 %
25.3 ต้องการกลับมาเที่ยวอีกครั้ง = 4.26 , 3.90 และ 99 %
25.4 จะกลับมาประเทศไทยเพราะธุรกิจหรืองานที่เกี่ยวข้อง = 3.32 , 3.08 และ 99 %


26. นักท่องเที่ยวที่จะกลับมาประเทศไทย

รายการ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มก่อนวิกฤต/กลุ่มหลังวิกฤต

26.1 จะกลับประเทศไทยเพราะธุรกิจ หรือ งานที่เกี่ยวข้อง = 47.8, 36.0
26.2 ต้องการกลับมาเที่ยวอีกครั้ง = 87.8 , 71.9
26.3 จะกลับมาเที่ยวอีกครั้งอย่างแน่นอน = 78.4 , 58.0
26.4 จะแนะนำให้เพื่อนและครอบครัวมาเที่ยว = 91.8 , 71.1

์N = 245, 495


27.
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

27.1 มีตัวแปรที่สังเกตได้จำนวน 19 ตัวแปร เป็นตัวแปรอิสระ 5 ตัวแปร ตัวแปรตาม 14 ตัวแปร

27.2 มีตัวแปรแฝงจำนวน 5 ตัวแปร

* ตัวแปรอิสระ 1 ตัวแปร ได้แก่ ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว

* ตัวแปรตาม 4 ตัวแปร ได้แก่

:- ความพึงพอใจในคุณลักษณะต่างๆของแหล่งท่องเที่ยว
:- คุณค่าที่ได้รับจากการท่องเที่ยว
:- ความพึงพอใจโดยรวมที่เกิดจากการท่องเที่ยว
:- ความจงรักภักดีที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว


28.-30

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

Latent Variable (ตัวแปรแฝง)

1. Destination Image (DI) :

2. Attribute Satisfaction (ATTRI_S):

3. Perceived Value (PV)

4. Overall Satisfaction (OVS)

5. Destination Loyalty (DL)


28.
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

Latent Variable (ตัวแปรแฝง)

1. Destination Image (DI) :

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.1 Attractions Nature (ATT_N)

Question

1. Beautiful beaches and clear sky
2. Other beatiful natural attractions

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.2 Attractions Man Made (ATT_MM)

Question

4. Wide - variety of cultural attractions
5. Delicious food
14. Very reasonable prices

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.3 Entertainment (ENTER)

Question

6. Colorful nightlife
7. Great shopping
8. Relaxing massage / spa


Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.4 Atmosphere (ATMO)

Question

3. Relaxing way of life
9. Wonderful people
10. High quality service

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1.5 Environment (ENV)

Question

11. Very clean
12. Very safe
13. Efficient & reliable transportatiom / communication



29.
Latent Variable

2. Attribute Satisfaction (ATTRI_S)

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1. Attraction Nature (ATT_N)

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

Question

1. Sun and sea
2. Other natural attractions
3. Weather

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

2.Attractions Man made (ATT_MM)

Question

4. World heritage sites
5. Other cultural attractions
6. Food

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

3. Entertainment (ENTER)

Question

7. Night life
8. Shopping
9. Massage / spa

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

4.Facility

Question

11. Accommodation
12. Cleanliness
13. Safety


30.
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

Latent Variable

1. Percieved Value (PV)

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

1. Value for money (VM)

Question

1. This trip to Thailand was good value for money

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

2. Used of my time (UT)

Question

2. This trip to Thailand was a good used of my time


Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)


3. Worth while experirnce (WE)

Question

3. Thailand offered a worth while tourism experience

Observe Variable ( ตัวแปรที่สังเกตได้)

4. Will pay to come again (WPC)

Question

4. I will to come to Thailand for a vocation again


Latent Variable

2. Overall Satisfaction (OVS)

Observw Variable

1. OVSI-OVS3

Question

1. Overall, I enjoyed my trip to Thailand
2. Overall, my satisfaction with this trip is greater than my expectation
3. I am satisfied with my decision to select Thailand as my travel destination


Latent Variable

1. Destination Loyalty (DL)

Observe Variable

1. DL1 -DL3

Question

1. I would like to visit Thailand again
2. I will definitely revisit Thailand for another vocation
3. I will recommed Thailand as a travel destination to my friends and family


31.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (ก่อนเหตุการณ์ปิดสนามบิน)


32.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (ช่วงเหตุการณ์ปิดสนามบิน)

33.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (หลังปิดสนามบิน แต่ก่อนสงกรานต์เลือด)

34.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (เหตุการณ์สงกรานต์เลือด)


35.
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน (หลังสงกรานต์เลือด)

36.
ค่าสถิติความสอดคล้อง


อภิปรายผลการศึกษา

1. บรรยากาศ และ สภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว เช่น การใช้ชีวิตที่ผ่อนคลาย, ความสนุกสนาน และ ความน่ารักของคน และ คุณภาพในการบริการที่ดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของไทย

2. ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวมีอิทธิพล โดยตรงต่อความพึงพอใจและคุณค่าที่ได้รับ นอกจานนี้ยังมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อความจงรักภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยว


38.
อภิปรายผลการศึกษา

1. ก่อนเหตุการณ์ปิดสนามบิน / เหตุการณ์ปิดสนามบิน

:แบบจำลองปกติ โดยสภาพบรรยากาศเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ช่วงปิดสนามบินสภาพแวดล้อมเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น และ ภาพลักษณ์มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจรวมในทางลบ

2. หลังปิดสนามบินแต่ก่อนสงกรานต์เลือด/เหตุการณ์สงกรานต์เลือด

:แบบจำลองใหม่ โดยภาพลักษณ์จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อความจงรักภักดี และ สภาพแวดล้อมลอความสำคัญลงก่อนที่จะกลับมาเพิ่มอีกครั้งในช่วงเหตุการณ์สงกรานต์เลือด

3. หลังสงกรานต์เลือด

:แบบจำลองปกติ แต่ภาพลักษณ์มีผลต่อ ATTRI_S มาก และ สภาพแวดล้อมยังคงมีน้ำหนักความสำคัญเพิ่มขึ้น


39.
สรุปผลการศึกษา

1. เหตุการณ์วิกฤติการณ์ทางการเมือง ได้ทำให้ภาพลักษณ์ทางด้านการท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลง และ ยังคงมีอิทธิพลไปถึงความจงรักภักดีที่มีต่อการท่องเที่ยวของไทย

2. ไม่ว่าจะถึงเหตุการณ์วิกฤติใดๆ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมของความเป็นไทย ยังคงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของไทย

3. เหตุการณ์วิกฤติการณ์ทางการเมือง ได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวของไทยในช่วงสั้นๆ แสดงว่า การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง

24.
ขอบคุณ

Source: เอกสารประกอบการสัมมนา "วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย"





09973. ภาพในวันสัมมนา

ท่านผู้เข้าร่วมประชุมท่านหนึ่ง ได้แสดงความเห็นไว้ จับใจความส่วนหนึ่งได้ว่า

1.กลุ่มประชากรที่ตอบแบบสอบถาม กล่าวคือ ก่อนเหตุการณ์ปิดสนามบิน และ ระหว่างการปิดสนามบิน หรือ หลังการปิดสนามบิน หรือ สงกรานต์เลือด นั้นเป็นกลุ่มประชากรคนละกลุ่มกัน

ดังนั้นในการเปรียบเทียบกันควรคำนึงถึงกลุ่มประชากรที่เป็นคนละกลุ่มกันด้วย

และ ท่านผู้เข้าร่วมประชุมอีกท่านหนึ่งได้แสดงความเห็นที่น่าสนใจดังนี้

2. หญิงสาวที่สวย ก็ยังคง "สวย" อยู่เสมอไม่ว่าจะผ่านเหตุการณ์อย่างไรมาก็ตาม ก็ยังดูอย่างไร หรือ ยังไง ก็ยัง คง "สวย" เสมอ

ประเทศไทย เปรียบเทียบได้ กับ "หญิงสาวสวย" คนนั้น ที่ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีภาพลักษณ์ที่มองดู "สวยงาม"




Moonfleet ได้เข้ามาร่วม "ฟัง" การประชุมทางวิชาการเรื่อง วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง กับ ภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย และ มีความเห็นด้วยในเรื่อง

1. กลุ่มประชากรที่ตอบแบบสอบถามคนละกลุ่มกัน การเปรียบเทียบควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในการสรุปผล

2. ประเทศไทย เปรียบเทียบได้กับ สาวงาม ถึงจะผ่านเหตุการณ์ หรือ วิกฤตการณ์อย่างไรก็ตาม เธอก็ยังคงดูสวยอยู่เสมอ

3. ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็ตาม เหตุการณ์นั้นๆก็จะมีการปรับตัวเข้าหา "จุดดุลยภาพ" เสมอ


ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ ศ.ดร .มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ ทีมงานของท่าน ที่ได้กรุณาถ่ายทอดความรู้ที่ได้มาจากผลงานการวิจัยในครั้งนี้ ให้แก่ผู้ร่วมเข้าฟังการสัมมนาได้รับความรู้มากมาย ในครั้งนี้ด้วยครับ




ประเทศไทยเปรียบเทียบได้กับสาวงาม นาม "คาร์เมน"
Moonfleet ว่าเองนะครับ


Create Date : 11 กันยายน 2552
Last Update : 12 กันยายน 2552 0:24:51 น. 0 comments
Counter : 1171 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.