" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
9 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
028. การลงทุนในชุมชน (community investment)

การลงทุนในชุมชน (community investment)

การลงทุนในชุมชนเป็นหนึ่งในการมีส่วนร่วมในสังคมแต่มักเป็นไปในรูปของการช่วยเหลือทางการเงิน สำหรับการลงทุนในชุมชนหรือการลงทุนเพื่อช่วยเหลือสังคมมีความหมายครอบคลุมถึงแผนการลงทุนซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการช่วยพัฒนาหรือกระจายความเจริญไปสู่ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นแผนการลงทุนเพื่อการพัฒนาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนั้นยังรวมถึงการลงทุนในธุรกิจเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Social or Environmental enterprises

การลงทุนในชุมชนในยุโรปหรืออเมริกาได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบที่ค่อนข้างชัดเจนซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าเป็นอีกตลาดหนึ่งที่ได้รับความสนใจทั้งจากนักลงทุนทั่วไป นักลงทุนสถาบันหรือแม้แต่ประชาชนที่หวังผลตอบแทนทางสังคมนอกเหนือไปจากผลตอบแทนทางกำไรและยังเป็นการช่วยเหลือชุมชน ที่ยังเข้าไม่ถึงสถาบันการเงินโดยทั่วไป ดังนั้นการลงทุนในชุมชนจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเหล่านี้ได้เข้าถึงเครดิต แหล่งเงิน ทุน รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆที่ธนาคารไม่ต้องการเสนอให้กับบุคคล หรือองค์กรที่ถือว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเป็นหนี้เสีย

ที่ผ่านมาการลงทุนในชุมชนทำให้องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น บางแห่งสามารถกระจายเงินและเครดิตต่อไปยังผู้มีรายได้น้อยหรือส่งต่อทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมรวมถึงการบริการต่างๆในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันรับเลี้ยงเด็กหรือคนชรา การเคหะสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือสถานอนามัยต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกด้วย

การลงทุนเพื่อสังคมเป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของ Socially Responsible Investment (หรือการลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม) ซึ่งมีมูลค่ารวมของทรัพย์สินสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ในยุโรปและสหรัฐมีมูลค่าทรัพย์สิน (SRI asset) รวมกว่า 3.3 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ นอกจากนี้การลงทุนในชุมชนยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้นำไปใช้อย่างแพร่หลายในการทำ CSR หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ บริษัทสามารถลงทุนโดยตรงในโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือลงใน financial institution หรือ intermediaries ต่างๆที่ตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ

ธนาคารเพื่อการพัฒนาชุมชน (Community Development Banks) หรือ Community Development Credit Union เป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยเครดิตหรือให้ทุนแก่ชุมชนที่มีรายได้น้อย สถาบันการเงินลักษณะนี้มักอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ และรัฐก็ค้ำประกันผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆของธนาคาร เช่น Community Development Loan Fund ก็เป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนหรือแหล่งเงินกู้แก่โครงการที่ก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชนโดยไม่หวังผลกำไร ซึ่ง Loan Fund ลักษณะนี้มักดำเนินการโดยเอกชนและไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ดังนั้นนอกจากการปล่อยกู้แล้ว กองทุนยังมักให้การสนับสนุนในด้านอื่นๆด้วย

เพื่อให้เงินกู้ที่ปล่อยออกไปเกิดประโยชน์สูงสุด กองทุนประเภทนี้ยังอาจร่วมมือกับสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาในประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อกระจายเงินจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยหรือธุรกิจขนาดเล็กในทวีปอื่นๆ และนอกจาก Loan Fund แล้วยังมีกองทุนในลักษณะของ Community Development Venture Capital Funds ซึ่งลงทุนในรูปของ equity หรือ equity-like investment กับธุรกิจใหม่หรือธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาด กลางที่มีศักยภาพในการขยายได้สูงและสามารถก่อให้เกิดการสร้างงาน และการกระจายรายได้ในชุมชน ในภาพรวมยังมี Community Development Pooled Funds ซึ่งรวมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อชุมชนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นในการกระจายความเสี่ยง นอกจากนี้ Social Enterprise ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มักดำเนินการคล้ายกับธุรกิจ แต่มีวัตถุ ประสงค์เพื่อสร้างงานให้กับชุมชนในขณะเดียวกันก็ระดมทุน (raise fund)เพื่อทำงานหรือโครงการเพื่อสังคมต่างๆ

เงินหมุนเวียนที่อยู่ในสถาบันการเงินต่างๆที่กล่าวมานั้นมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามรายงานจาก Social Investment Forum หนึ่งในสถาบันการลงทุนเพื่อสังคมที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในสหรัฐ รวมมูลค่าของการลงทุนในชุมชนสูงถึง 25.8 พันล้านดอลล่าร์หรือประมาณเก้าแสนกว่าล้านบาทในปี 2007

ในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่ทำให้ตัวเลขการลงทุนในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ กฎหมายดังกล่าวเรียกว่า “กฎหมายการลงทุนกลับสู่ชุมชน (community reinvestment act)” ซึ่งมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับการให้หน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ (federal reserve banks) สนับสนุนให้ธนาคารและสถาบันการเงินมีบริการฝากเงิน (saving) ในการลงทุนกลับไปสู่ชุมชนที่ตนเองมีสาขาอยู่ผ่านการปล่อยสินเชื่อไปยังโครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ ทั้งนี้ยังจะต้องคงระเบียบและแนวทางการปล่อยสินเชื่อที่ถูกต้องและมีความรับผิดชอบ ไม่ใช่โครงการที่มีความเสี่ยงสูง โดยกิจกรรมการปล่อยกู้ไปยังชุมชนนั้นจะเน้นไปยังการสนับสนุนกลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำในชุมชน ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินจะใช้ข้อมูลการดำเนินงานลงทุนกลับไปยังชุมชนของธนาคารและสถาบันการเงินในการพิจารณาประเด็น ต่างๆที่เกี่ยวกับการขยายกิจการ เช่น การเพิ่มสาขา การควบรวมกิจการ ฯลฯ


Responsible Finance

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute (CSRI)
ชั้น 10 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โทร. 02 229 2604, 02 229 2605, 02 229 2608
โทรสาร 02 654 5414
E-mail: csri@set.or.th

Source://www.csri.or.th/knowledge/responsible-finance/218

-----------------------------------------------------------------------------

Re-reporter by Moonfleet







นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง


Create Date : 09 มีนาคม 2554
Last Update : 9 มีนาคม 2554 10:13:06 น. 0 comments
Counter : 1419 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.