" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
9 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
027. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลระบบการเงินและสถาบันการเงิน

บทบาทและหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลระบบการเงินและสถาบันการเงิน

ตัวอย่างบทบาทและหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลระบบการเงินและสถาบันการเงินต่างๆ เช่น

1.รัฐบาลออสเตรเลีย (Australian Government)

รัฐบาลออสเตรเลียได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบออกและควบคุมกฎข้อบังคับในเรื่อง “consumer credit” ที่ไม่เพียงแต่เป็นการปกป้องผู้บริโภคเท่านั้น แต่ให้เป็นโครงสร้างสำหรับธุรกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของ consumer credit market ทั้งนี้รัฐบาลออสเตรเลียได้ให้ความสำคัญกับ RL เป็นอย่างมากโดยในวันที่ 27 เมษายน ได้ออกร่าง The National Consumer Credit Protection Bill 2009 เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศที่เน้นหนักในเรื่องของ RL

เป้าหมาย
• ปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภคโดยที่ผู้ให้กู้จะต้องจัดหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมแก่ผู้กู้และให้ ประเมินความสามารถในการชำระคืนหนี้ของผู้กู้ด้วย
• ยกเลิกระบบแบบ red tape และลดภาระของธุรกิจ รวมถึงการลดความซับซ้อนของกฎหมายของแต่ละรัฐโดยรวมให้เป็นกฎหมายระดับชาติอันเดียว
• ประกาศให้มีการใช้ the Australian Credit Licence (ACL) ทั่วประเทศ

The Australian Credit Licence (ACL) ออกโดย the Australian Securities and Investments Commission (ASIC) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกำกับตรวจสอบระบบเครดิตของประเทศ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตปล่อยกู้ (ACL) นี้เท่านั้นจึงจะสามารถปล่อยกู้ และเก็บเงินกู้ภายใต้สัญญาที่ทำไว้ และสามารถเป็นเสมือนโบรคเกอร์ ตัวกลาง หรือผู้ให้คำปรึกษา แก่ลูกค้าเกี่ยวกับสินเชื่อประเภทต่างๆได้ โดยใบอนุญาตฉบับนี้จะออกให้แก่ผู้ให้กู้ได้ ก็ต่อเมื่อผู้ให้กู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของ ASIC ซึ่งจะเน้นในเรื่องการปกป้องผู้บริโภคในทุกๆครั้งที่มีการขอกู้ รวมทั้งมีเงินทุนพร้อมทั้งบุคคลากรที่เพียงพอ หากเมื่อใดผู้ที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้วไม่ปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ ก็สามารถถูกเพิกถอนสิทธิ์ได้ทันที ซึ่งระบบดังกล่าวจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม ปี 2010

หากไม่มีระบบ ACL นี้ เมื่อผู้ขอกู้ไปขอกู้เงินเพื่อกิจกรรมต่างๆกับ finance/mortgage broker ผู้ขอกู้จะไม่สามารถทราบถึงขีดความสามารถในการปล่อยกู้ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน ในการเสนอให้เงินกู้ในรูปแบบอื่นแทนที่จะเป็นอันที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด และเหมาะกับผู้กู้มากที่สุด นอกจากนี้ finance/mortgage broker ก็อาจส่งเรื่องขอกู้ผ่าน intermediaries หรือส่งเรื่องไปยังผู้ให้กู้โดยตรง โดยไปทำให้ intermediaries หรือผู้ให้กู้ เกิดความสับสนในข้อมูล เช่น ผู้กู้ชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน (subprime borrower) อาจได้รับอนุมัติเงินกู้ เนื่องจากข้อมูลที่บิดเบือน หรือถูกทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยง ซึ่งนี่เป็นสาเหตุของวิกฤต Subprime ในปัจจุบัน

แต่ในระบบ ACL นี้ broker จะต้องได้รับใบอนุญาตนี้ ส่วน intermediaries หรือ lender อาจจะได้รับใบอนุญาตนี้หรือหากไม่ได้รับในอนุญาตก็ต้องทำงานให้แก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต นี่จึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตทางการเงินที่เกิดจากกระบวน การกู้เงินที่ไม่มีความรับผิดชอบ เนื่องจาก broker และ lender จะถูกกำกับดูแลเรื่องการให้สินเชื่ออย่าง รับผิดชอบ (RL) อย่างเข้มงวดโดย ASIC



2. ธนาคารกลางสหรัฐ (The Fed)


จากวิกฤต subprime ที่เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลมาจากการให้สินเชื่ออย่างไม่รับผิดชอบในธุรกิจสถาบันการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐให้ความสำคัญและแก้ไขปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับการให้สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ (mortgage loans)อย่างรับผิดชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน

H.R. 1728 Mortgage Reform and Anti-Predatory Lending Act of 2009 เป็นร่างกฎหมายที่ได้ผ่านการลงมติเห็นชอบโดย the U.S. House of Representatives ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจาก the Truth in Lending Act โดยในร่าง H.R. 1728 ได้แต่งตั้งให้คณะกรรมการของ the Federal Reserve มีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่กำกับระบบการเงิน ในการกำหนดกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ และกำกับการใช้ H.R.1728

ภายใต้ร่างกฎหมาย H.R. 1728 ได้มีการเพิ่มเติมในเรื่องการจำนองสินทรัพย์ (consumer mortgage practices) โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับการให้ลูกค้ากู้เงินโดยการรับจำนองสินทรัพย์ (consumer mortgage loans) และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้กู้และนักลงทุน นอกจากนี้ ยังครอบคลุมถึงการกำกับดูแล Appraisal Management Companies (AMCs) มีการควบคุมคุณภาพสินเชื่อ ผู้กู้ และผู้ให้กู้ รวมถึงการห้ามอนุมัติ subprime loan ตราบใดที่ไม่มีการเขียนรายงานการประเมินไว้ (appraisal report) และยังสนับสนุนการให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่เจ้าบ้าน และจะให้มีการก่อตั้ง an Office of Housing Counseling สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการให้สินเชื่อบ้านอย่างรับผิดชอบ


Responsible Finance

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute (CSRI)
ชั้น 10 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โทร. 02 229 2604, 02 229 2605, 02 229 2608
โทรสาร 02 654 5414
E-mail: csri@set.or.th

Source: //www.csri.or.th/knowledge/responsible-finance/219

----------------------------------------------------------------------------

Re-reporter by Moonfleet






นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง


Create Date : 09 มีนาคม 2554
Last Update : 9 มีนาคม 2554 10:08:27 น. 0 comments
Counter : 484 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.