" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
23 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 

116. วัดอุ้มโอ 1 ใน วัดร้าง ถ.บุญเรืองฤทธิ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดอุ้มโอ




9515. วัดอุ้มโอ

:ถ่ายมุมบนจากศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่





9470. ประวัติโดยสังเขป วัดอุ้มโอ

วัดอุ้มโอ

ตั้งอยู่บนถนนบุญเรืองฤทธิ์ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วัดอุ้มโอ เรียกชื่อตามที่มี "พระเจ้าอุ้มโอ" ทั้ง 4 ด้านขององค์เจดีย์

โบราณสถานแห่งนี้ ประกอบด้วย เจดีย์และวิหาร เจดีย์มีสภาพชำรุด เรือนธาตุสี่เหลี่ยม มีซุ้มพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน มีลวดลายปูนปั้นประดับซุ้ม ส่วนยอดพังทลายหมดแล้ว อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 21

โบราณสถานเป็นทรัพย์ อันทรงคุณค่าที่สำคัญยิ่งของแผ่นดิน ประชาชนคนไทยทุกคนล้วนมีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ โปรดช่วยกันทำนุบำรุงรักษา ไว้เป็นมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมของชาติสืบไป

สำนักงานโบราณคดี และ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่




9467. ถนนบุญเรืองฤทธิ์
:ถนน.ซอยข้างโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม ทางเข้าไปยังศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว (อาคารจอดรถจักรยายนยนต์)





9468. อาคารสูงด้านหลัง คือ อาคารศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว (ทิศใต้)





9469. ทางเข้าไปยัง พระเจดีย์แห่งวัดอุ้มโอ 1 ในวัดร้างจังหวัดเชียงใหม่




9473. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


คัดลอกบางส่วนมาจาก
การวิเคราะห์เบื้องต้น กู่ผียักษ์ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับกรณีของวัดอุ้มโอ(ร้าง)ในเชียงใหม่นั้น แม้ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงวัดอุ้มโอโดยตรง อ.จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา ได้เปรียบเทียบตำแหน่งของวัดอุ้มโอกับตำนานมูลศาสนาฝ่ายวัดยางควง เชียงตุง และตำนานมูลศาสนาฝ่ายวัดป่าแดง เชียงตุง แล้วเห็นว่า น่าจะตรงกับวัด “พันโล” ซึ่งเป็นวัดที่พระมหาธรรมกิตติวัดนันทารามรับอารธนาไปสร้างไว้ทางตะวันตกเฉียงเหนือไม่ไกลจากกำแพงเมืองเชียงใหม่นัก

เหตุการณ์ครั้งนี้คงเกิดขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ความสัมพันธ์ทางสถาปัตยกรรมและพระพุทธรูปตกแต่งซุ้มจระนำที่เหลืออยู่ของวัดอุ้มโอก็สามารถจัดอยู่ในยุคนี้ กล่าวคือ เป็นอาคารเรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยมยื่นเก็จทั้งสี่ด้าน มีซุ้มจระนำในแต่ละด้านพอเห็นร่องรอยการก่อซุ้มแบบสันโค้ง ซึ่งเป็นเทคนิคร่วมสมัยกับการก่อจระนำสันโค้งที่วิหารเก่าวัดอุโมงค์อารยมณฑลในตัวนครเชียงใหม่ ลวดลายปูนปั้นเท่าที่เหลืออยู่จะปรากฏเฉพาะที่เสากรอบซุ้มและเสามุมผนังในชุดกาบบน การล่าง และประจำยามอก โดยมีการออกลายในแต่ละกรอบเป็นรูปดอกไม้หลายกลีบที่มุมผนังเช่นเดียวกับที่วัดป่าสัก รวมทั้งแนวคิดในการออกลายกลีบบัวหัวเสาก็มีทั้งอิทธิพลจากวัดป่าสักพอ ๆ กับจากหริภุญชัย

ที่มา
://www.finearts.cmu.ac.th





9474. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

อ.จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา ได้เปรียบเทียบตำแหน่งของวัดอุ้มโอกับตำนานมูลศาสนาฝ่ายวัดยางควง เชียงตุง และตำนานมูลศาสนาฝ่ายวัดป่าแดง เชียงตุง แล้วเห็นว่า น่าจะตรงกับวัด “พันโล”




9475. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ถ้าวัดอุ้มโอ อาจจะหมายถึง วัดพันโล จะมีความสอดคล้องกับชื่อวัดที่ขึ้นด้วยคำว่า "พัน" หรือเปล่า เช่น วัดพันอ้น, วัดพันเตา เป็นต้น




9476. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




9477. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่





9478. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
:อาคารสูงด้านหลังพระเจดีย์ คือ ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว จ.เชียงใหม่




9479. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
:อาคารสูงด้านหลังพระเจดีย์ คือ ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว จ.เชียงใหม่




9480. พระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาประดับผนังเรือนธาตุด้านทิศตะวันออก แห่ง พระเจดีย์วัดอุ้มโอ






9481. พระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาประดับผนังเรือนธาตุด้านทิศตะวันออก แห่ง พระเจดีย์วัดอุ้มโอ





9482. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่





9483. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




9484. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




9485. พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
:อาคารสูงที่เห็นเบื้องหลังนั้น คือ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม




9486. ซุ้ม หรือ โพลง หรือ อุโมงค์ แห่ง พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ ???





9487. บริเวณรอบๆพระเจดีย์ คือ บ้านพัก หรือ บ้านให้เช่า มีอยู่จำนวนพอสมควร





9514.บันทึกภาพ พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ จากมุมสูงจากศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว





9515.บันทึกภาพ พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ จากมุมสูงจากศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว

จากรูป ถ้าต้นไม้เติบใหญ่ขึ้น จะเป็น"ภัย" หรือ สร้างความเสียหายให้แก่พระเจดีย์ แห่ง วัดอุ้มโอ แน่นอน




9516.บันทึกภาพ พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ จากมุมสูงจากศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว




9517.บันทึกภาพ พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ จากมุมสูงจากศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว

มีบ้านพักจำนวนหลายหลังอยู่รอบบริเวณ พระเจดีย์ และ พื้นที่แห่งพระวิหารเก่าวัดอุ้มโออยู่ ณ.บริเวณใด ก็ไม่อาจจะทราบได้

อาคารสูงนั้น คือ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม โรงพยาบาลเอกชนที่ดีที่สุด บริการยอดเยี่ยมที่สุด ในจังหวัดเชียงใหม่ หรือ อาจจะภาคเหนือ หรือ อาจจะเป็นหนึ่งในสยามเลยก็ได้ครับ




9518.บันทึกภาพ พระเจดีย์ วัดอุ้มโอ จากมุมสูงจากศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว





9519. บริเวณพื้นที่ 9 ไร่ ของ บริษัท เจริญมอเตอร์ จำกัด ที่ทางศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว "เช่า" สำหรับเป็นที่จอดรถฯ





9520.




9521.




9522.




วันพุธ ที่ 23 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2552




นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2552
4 comments
Last Update : 27 ธันวาคม 2552 9:19:35 น.
Counter : 5302 Pageviews.

 

กู่ผียักษ์...กู่โบราณเมืองลำพูน

"กู่ผียักษ์ หรือ กู่สิงห์ตอง นี้น่าจะเป็นกลุ่มโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสกุลช่างเชียงแสน ในราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 20 ก่อนที่บทบาทของศิลปะเชียงใหม่สมัยพญาติโลกราชจะรุ่งเรืองขึ้นมาแทน และยังอาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีพระสงฆ์จากเชียงแสนเข้ามาศึกษาในสำนักวัดสวนดอก เพราะนับตั้งแต่ยุครุ่งเรืองของศิลปกรรมสกุลช่างเชียงใหม่ก็ไม่ปรากฏสถาปัตยกรรมแบบสกุลช่างเชียงแสนในเขตอาณาบริเวณเชียงใหม่ ลำพูนอีกเลย"

กู่ผียักษ์ เป็นโบราณสถานที่สำคัญมีอายุเก่าแก่หลายร้อยปีของเมืองลำพูน กู่แห่งนี้มีชื่อเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า "กู่สิงห์ตอง" ตามประวัติศาสตร์ไม่มีรายละเอียดความเป็นมาของกู่แห่งนี้ แต่จากรายงานการสำรวจโบราณสถานของกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ.2540 ทำให้ทราบว่า กู่ผียักษ์หรือกู่สิงห์ตองแห่งนี้มีอายุเก่าแก่กว่าการเข้ามาตั้งหลักแหล่งของชาวยองเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 24 อย่างแน่นอน โดยในรายงานดังกล่าวได้มีกล่าวถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานได้ว่ากู่แห่งนี้มีลักษณะเป็นมณฑปทรงสี่เหลี่ยสจัตุรัส กว้างประมาณ 3 เมตร มีฐานปัทม์ลูกแก้วรองรับเรือนธาตุ ทั้งฐานปัทม์และส่วนเรือนธาตุมีลักษณะยื่นเก็จออกมาหนึ่งชั้น ในส่วนยื่นเก็จของเรือนธาตุยังมีซุ้มประกอบด้านละหนึ่งซุ้ม ก่อซุ้มแบบสันเหลื่อมเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกเป็นซุ้มจระนำเข้าไปภายในกู่ได้ ซึ่งปรากฏร่องรอยว่าเดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน ทว่าปัจจุบันมีการลักลอบขุดค้นลึกลงไป

จากหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและลวดลายปูนปั้นที่ยังพอปรากฏให้เห็นอยู่ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุอยู่ระหว่างช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 มาจนถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 นอกจากนั้นกู่ผียักษ์ยังมีโครงสร้างของซุ้มที่สัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมสกุลช่างเชียงแสนเป็นอันมาก เห็นได้ชัดจากเสารับซุ้มซึ่งมีแต่บัวหัวเสา ไม่มีบัวโคนเสามีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดป่าสัก อ.เชียงแสนและเจดีย์วัดอุ้มโอทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมืองเชียงใหม่อีกด้วย

ความสำคัญของกู่ผียักษ์ บ้านแม่สารบ้านตอง อ.เมือง จ.ลำพูน เป็นโบราณสถานที่มีมาก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยองเมื่อราวปี พ.ศ.2348 จากการศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมและงานปูนปั้น ซึ่งพัฒนาการสืบต่อมาจากเจดีย์วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงรายนั้น อาจสรุปได้ว่า

กู่ผียักษ์ หรือ กู่สิงห์ตอง นี้น่าจะเป็นกลุ่มโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสกุลช่างเชียงแสน ในราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 20 ก่อนที่บทบาทของศิลปะเชียงใหม่สมัยพญาติโลกราชจะรุ่งเรืองขึ้นมาแทน นอกจากนั้นในแง่ประวัติศาสตร์สังคมทั้งเจดีย์วัดป่าสัก วัดอุ้มโอและกู่ผียักษ์ยังอาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีพระสงฆ์จากเชียงแสนเข้ามาศึกษาในสำนักวัดสวนดอก จากการอุปถัมภ์ของพญากือนา และได้สร้างวัดตามลักษณะสกุลช่างเชียงแสนขึ้นในระยะนั้น เพราะนับตั้งแต่ยุครุ่งเรืองของศิลปกรรมสกุลช่างเชียงใหม่คือสมัยพญาติโลกราชสืบต่อลงมาถึงคราวเสียเมืองให้แก่พม่าในปี พ.ศ.2101 ก็ไม่ปรากฏสถาปัตยกรรมแบบสกุลช่างเชียงแสนในเขตอาณาบริเวณเชียงใหม่ ลำพูนอีกเลย
อย่างไรก็ตาม กู่ผียักษ์ยังอาจบอกเล่าเรื่องราวในอดีตที่มีความเกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายของอาณาจักรล้านนาในอดีตได้

เอกสารประกอบ
รายงานการสำรวจกู่ผียักษ์ กรมศิลปากร พ.ศ.2540

จักรพงษ์ คำบุญเรือง
jakrapong@chiangmainews.co.th
20/9/51

Source
://www.chiangmainews.co.th/viewnews.php?id=4711&lyo=1

 

โดย: กู่ผียักษ์...กู่โบราณเมืองลำพูน (moonfleet ) 24 ธันวาคม 2552 0:14:17 น.  

 

สรุปผลการวิเคราะห์เบื้องต้น

กู่ผียักษ์ บ้านแม่สารบ้านต้อง ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นโบราณสถานที่มีมาก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยองครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.2348 จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและงานปูนปั้นตกแต่ง ซึ่งมีพัฒนาการสืบต่อมาจากเจดีย์ทรงมณฑปวัดอุ้มโอ เชียงใหม่ และเจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน กู่ผียักษ์น่าจะเป็นกลุ่มโบราณสถานอิทธิพลศิลปะสกุลช่างเชียงแสน ในราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 20 ก่อนที่บทบาทศิลปะเชียงใหม่สมัยพญาติโลกราชจะรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ ในแง่ประวัติศาสตร์สังคม ทั้งวัดอุ้มโอและกู่ผียักษ์นี้อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีพระสงฆ์จากเชียงแสนเข้ามาศึกษาในสำนักวัดสวนดอก จากการอุปถัมภ์ของพญากือนา และได้สร้างวัดตามลักษณะสกุลช่างเชียงแสนขึ้นในระยะนั้น เพราะนับตั้งแต่ยุครุ่งเรืองทางศิลปกรรมของสกุลช่างเชียงใหม่คือสมัยพญาติโลกราชสืบต่อลงมาถึงคราวเสียเมืองแก่พม่าในปี พ.ศ.2101 ก็ไม่ปรากฏสถาปัตยกรรมแบบสกุลช่างเชียงแสนอย่างวัดอุ้มโอและกู่ผียักษ์ในบริเวณเชียงใหม่ ลำพูน อีกเลย อย่างไรก็ตามเท่าที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการวิเคราะห์ขั้นต้นเท่านั้น เรายังคงต้องช่วยกันศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างศิลปกรรมแบบเชียงแสนและเชียงใหม่กันต่อไป โดยเฉพาะการค้นพบหลักฐานใหม่ๆ และการศึกษาติดตามอย่างต่อเนื่อง

คัดลอกบางส่วนมาจาก
//www.finearts.cmu.ac.th

 

โดย: moonfleet 24 ธันวาคม 2552 0:38:03 น.  

 

ละเอียดจังครับ ขออนุญาติ add ไว้ศึกษาหาความรู้นะครับ

 

โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา 24 ธันวาคม 2552 9:00:16 น.  

 

ขอบคุณค่ะสำหรับเรื่องวัดอุ้มโอ เป็นสิ่งใกล้ตัวที่ไม่เคยทราบมาก่อนเลยค่ะ

ตอนเด็ก ๆ ซอยนี้จะมีบ้านซ้ายมือปากซอย
บ้านปลูกผักทำผักกาดดองไห

มีหมู่บ้านเล็ก ๆ 5-10 หลังคาเรือนอยู่ 3 หย่อม

ป่าหญ้าเพียบ ตรงข้ามร้านบ้านสีลมเป็นทุ่งนา มีความสุขกับความเป็นชานเมืองมาก ๆ

บ้านที่อยู่รอบเจดีย์ก็มีแล้วค่ะแต่ไม่หนาแน่นขนาดนี้ เราจะเรียกว่าบ้านในธาตุ

ไม่ค่อยได้เข้าไปบ่อย ไม่ถึง 10 ครั้งเลย

 

โดย: tuk-tuk@korat 27 ธันวาคม 2552 9:45:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.